การปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด (cognitive reappraisal) กับการกีฬา

09 Aug 2024

ผศ. ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี

 

การปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด (cognitive reappraisal) กับการกีฬา:

เมื่อโค้ช คือ นักจิตวิทยาที่ใกล้ตัวที่สุดของนักกีฬา

 

 

ในระหว่างการแข่งขันที่สำคัญที่สุดของการเป็นนักกีฬาอย่าง Olympic Games ซึ่งการแข่งขันเกิดขึ้นเพียง 4 ปีต่อครั้ง ในสถานการณ์ที่คับขัน เมื่อแต้มการแข่งขันยังไล่ตามผู้ต่อสู้ หรือเมื่อแต้มของผู้แข่งขันไล่กระชั้นตามมา เหล่านักกีฬาอาจเต็มไปด้วยความคิดด้านลบที่บันทอนกำลังใจ หรือความกังวลใจ ซึ่งผลที่ตามมาอาจทำให้นักกีฬาไม่สามารถใช้ศักยภาพทางกายและทักษะการกีฬาที่ฝึกซ้อมมายาวนานได้อย่างเต็มที่ ทักษะการจัดการกับความคิดด้านลบจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักกีฬา ตัวอย่างเช่น

 

การปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด (cognitive reappraisal) คือ การมองสถานการณ์ที่คับขันให้เป็นเป็นโอกาส มองสถานการณ์นั้นให้เป็นความท้าทายและเป็นการพัฒนาตนเอง โดยการปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดเป็นทักษะที่นักกีฬาหรือโค้ชมักใช้ เพื่อปรับมุมมองความคิดของนักกีฬาที่อยู่ในยามคับขัน ให้กลับมาเป็นปกติ เกิดเป็นอารมณ์ทางบวก เพื่อให้นักกีฬาสามารถกลับมาใช้ศักยภาพทางกายและทักษะทางการกีฬาของตนได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง

 

งานวิจัยทางจิตวิทยาจำนวนมาก พบว่า การปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด เป็นทักษะที่ลดความเครียด และความวิตกกังวลในนักกีฬาที่มีประสิทธิภาพ เฉกเช่น “โค้ชเป้” ภัททพล เงินศรีสุข ที่ได้สื่อสารกับ กุลวุฒิ วิทิตศานต์ นักแบดมินตันทีมชาติไทย ในแมตช์ชิงเหรียญทอง ในกีฬา Olympic Games ณ กรุง Paris

 

“พี่บอกแล้วไง เอ็งจะหาประสบการณ์อย่างนี้ไม่ได้แล้ว เอ็งจะแพ้ชนะไม่เป็นไร เอ็งเอาความรู้ ความรู้สึก วิธีคิดวิธีเล่นเอาไปใช้ เรียนรู้จากเขา เขาคือสุดยอด”

 

 

คลิปจาก https://x.com/i/status/1820466243759153503

 

 

ผู้เขียน

 

 

ผศ. ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี

Share this content