Flower

Feature Articles

โครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จัก...เข้าใจ Cyberbullying"

  สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อเท่าทัน ป้องกัน และรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ในยุคสังคมดิจิทัลอย่างมีสุขภาวะที่ดี โดย โครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จักเข้าใจ Cyberbullying” คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์     Research Summary     การศึกษาความชุกของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) และผลกระทบทางจิตใจของเหยื่อในประเทศไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2567) เก็บข้อมูลระหว่าง มี.ค. – พ.ค. 2567 (จำนวน 445 คน)         มิติผู้กระทำ   พฤติกรรมกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ ในมุมของผู้กระทำ ที่มีความชุกมากที่สุด 3 อันดับแรก […]

Learn more

จิตวิทยาเชิงปริมาณคืออะไร?

  จิตวิทยาเชิงปริมาณ (Quantitative Psychology) เป็นสาขาหนึ่งของศาสตร์จิตวิทยาที่เน้นการพัฒนาและประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ (เชิงตัวเลข) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตใจของมนุษย์ และเนื่องจากงานวิจัยทางจิตวิทยาในปัจจุบันมักมาจากการวิจัยเชิงปริมาณ สาขานี้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางจิตวิทยาในสาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology) หรือสาขาอื่น ๆ ที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณ   นิยาม   “จิตวิทยาเชิงปริมาณ” เป็นการศึกษาวิธีการในการออกแบบการวิจัย การวัดคุณลักษณะของบุคคล และการวิเคราะห์ข้อมูลทางจิตวิทยา นอกจากนี้ยังรวมถึงการสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อศึกษากระบวนการทางจิตวิทยา (American Psychological Association [APA], 2009)   จากนิยามข้างต้น จิตวิทยาเชิงปริมาณสามารถแบ่งได้เป็น 4 ด้านหลัก ๆ ที่สัมพันธ์กัน โดยนักจิตวิทยาเชิงปริมาณคนหนึ่งอาจมีความเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องในด้านดังต่อไปนี้   1. การออกแบบการวิจัย (Research Design)   การออกแบบการวิจัย […]

Learn more

Psi - Psyche - Psychology ตำนานและสัญลักษณ์

  Psychology: Study of Mind     คำว่า psychology หรือในภาษาฝรั่งเศสคือ psychologie เป็นคำยืมมาจากภาษาละติน psychologia ซึ่งมีรากศัพท์มาจากการประสมคำสองคำของภาษากรีกโบราณคือ psukhḗ (จิต วิญญาณ) และ logía (ศาสตร์ วิชา)     Latin Greek meaning psycho psychē psukhḗ (ψυχή) soul logy logia logía (λογία) study of       Symbol: Psi, Butterfly and Psyche (Greek goddess)   จากที่มาข้างต้น Ψψ ตัวอักษรตัวแรกของคำว่า ψυχή ซึ่งเป็นตัวอักษรลำดับที่ 23 ในภาษากรีก […]

Learn more

จิตวิทยาปริชาน

  เมื่อพูดถึงสาขาต่าง ๆ ในจิตวิทยา ส่วนมากแล้วสาขาที่หลาย ๆ คนรู้จักจะมี จิตวิทยาสังคม (social psychology) จิตวิทยาพัฒนาการ (developmental psychology) จิตวิทยาการปรึกษา (counselling psychology) จิตวิทยาคลินิก (clinical psychology) จิตวิทยาองค์การ (organizational psychology) และ จิตวิทยาประยุกต์ (applied psychology) แต่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักจิตวิทยาปริชาน หรือ อีกชื่อหนึ่งที่มักจะถูกเรียกคือ จิตวิทยาปัญญา หรือ จิตวิทยาการรู้คิด เท่าไรนัก   จิตวิทยาปริชาน มุ่งศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ และตัดสินใจว่าเราควรจะทำอย่างไรในสถานการณ์นั้น ๆ กระบวนการที่ว่านี้รวมไปถึง การใส่ใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ความจำ ภาษา การแก้ปัญหา การให้เหตุผล และการคิด ทั้งหมดที่ว่ามานี้เราสามารถสรุปได้ว่า   จิตวิทยาปริชานพยายามศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจการรับรู้ของมนุษย์ผ่านการสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้เรายังสามารถนำความรู้ทางจิตวิทยาปริชานมารวมกับความรู้ทางด้านประสาทวิทยา (cognitive neuroscience) เพื่อทำให้เราสามารถศึกษาการรับรู้ของมนุษย์ผ่านการทำงานของสมองและโครงสร้างของสมองได้อีก […]

Learn more

จิตวิทยาการกีฬา

“จิตวิทยาการกีฬา” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Sport Psychology” เป็นสาขาวิชาที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการกีฬาของชาติเป็นอย่างมาก ยิ่งในช่วงเวลานี้คนไทยเราสนใจกีฬาและการออกกำลังกายมากขึ้น เรามีนักกีฬาที่เป็นแชมป์ระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น น้องเมย์ (รัชนก อินทนนท์) โปรเมย์ (เอรียา จุฑานุกาล) และ น้องณี (สุธิยา จิวเฉลิมมิตร) รวมถึงกีฬาประเภททีมที่ไทยเราติดอันดับโลกหลายประเภท เช่น วอลเลย์บอลหญิง ฟุตซอลชาย ลีกกีฬาในประเทศหลายประเภทก็กำลังเติบโตอย่างน่าสนใจ จึงน่าที่จะถึงเวลาที่เราจะหันมาสนใจในเรื่องของจิตวิทยาการกีฬาอย่างจริงจังเสียที   เมื่อก่อนนี้ เรามักจะคิดกันว่านักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์จะเป็นผู้ชนะเสมอ เราจึงไปเน้นที่การฝึกฝนทางร่างกายแต่เพียงอย่างเดียว นักกีฬาในยุคนั้นจึงถูกมองว่ามีแต่ความแข็งแรง ในส่วนของความฉลาดหรือความสามารถด้านอื่น ๆ ได้ถูกมองข้ามไป แต่หลังจากที่สาขาวิชาทางจิตวิทยาการกีฬาเกิดขึ้น ทำให้มุมมองเรื่องการฝึกนักกีฬาเปลี่ยนไป นักกีฬาที่มีแต่ความแข็งแรงของร่างกายแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่มีโอกาสที่จะชนะในการแข่งขันได้เลย ถ้าไม่รู้จักใช้ปัญญาในการวางแผนในการแข่งขัน จะเห็นจากตัวอย่าง เช่น โมฮัมมัท อาลี อดีตแชมป์นักมวยรุ่น เฮฟวีเวท ที่ใช้ปัญญาในการวางแผนชกกับคู่ต่อสู้ที่ตัวใหญ่กว่า โดยการพูดยั่วยุให้คู่ต่อสู้สูญเสียสมาธิ เมื่อคู่ต่อสู้สูญเสียสมาธิ โอกาสที่อาลีจะชนะก็มากขึ้น หรืออย่างเช่นถ้าเราดูการแข่งขันเทนนิสระดับโลก เราจะสังเกตเห็นว่านักเทนนิสที่ควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่า มักตีได้ดีกว่าผิดพลาดน้อยกว่า จึงมีโอกาสชนะได้มากกว่า ในกรณีที่มีฝีมือไม่ต่างกันมากนัก   ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า นักกีฬาก็คือคน […]

Learn more

จิตวิทยาการปรึกษา

“จิตวิทยาการปรึกษา” หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Counseling Psychology นั้น เป็นศาสตร์หนึ่งด้านจิตวิทยา ที่มุ่งเน้นในการให้บริการแก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้บุคคลสามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างเต็มศักยภาพในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิตส่วนตัว และด้านการทำงาน โดยเราจะเรียกบุคคลที่ประกอบวิชาชีพในด้านจิตวิทยาการปรึกษาว่า “นักจิตวิทยาการปรึกษา”   การทำงานของนักจิตวิทยาการปรึกษา เป็นกระบวนการที่นักจิตวิทยาการปรึกษาทำหน้าที่ในฐานะผู้เอื้ออำนวยให้บุคคลที่มารับบริการ ได้เข้าใจปัญหาของตนเองได้อย่างชัดเจน ผ่านกระบวนการสำรวจภายในตนเอง จนสามารถตระหนักรู้ในตนเองตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่ตนมี และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคคล   จากความหมายดังกล่าวจะสรุปได้ว่าศาสตร์ด้านจิตวิทยาการปรึกษาเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจและเอื้ออำนวยบุคคลให้พัฒนาตนอย่างเต็มศักยภาพ   ชมรมจิตวิทยาการปรึกษา (Society of Counseling Psychology) สังกัดสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับความเฉพาะทางของจิตวิทยาการปรึกษาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้   มุมมองต่อผู้มารับบริการ บุคคลในวิชาชีพจิตวิทยาการปรึกษามีการมองผู้มารับบริการอย่างให้คุณค่าและความสำคัญในความเป็นมนุษย์ อันจะสะท้อนต่อมาที่แนวทางในการทำงานร่วมกับผู้มารับบริการของนักจิตวิทยาการปรึกษา จะมุ่งเน้นในการพัฒนาความเข้มแข็งของบุคคล นอกจากนี้นักจิตวิทยาการปรึกษาจะทำความเข้าใจปัญหาของผู้มารับบริการผ่านมุมมองด้านการพัฒนาการ เป้าหมายของการทำงานในด้านจิตวิทยาการปรึกษานั้น สามารถทำงานทั้งในลักษณะการมุ่งป้องกันการเกิดขึ้นของปัญหาในอนาคต โดยส่งเสริมให้มีผู้มารับบริการมีความเข้มแข็งทางจิตใจ มีสุขภาวะ หรือที่เรียกกันว่างานในลักษณะการป้องกันและส่งเสริม และการให้การช่วยเหลือเพื่อเยียวยาปัญหาต่าง ๆ ในจิตใจ หรือที่เรียกกันว่างานในลักษณะการบำบัดเยียวยา     […]

Learn more

จิตวิทยาสังคม

“จิตวิทยาสังคม” หรือ “Social Psychology” เป็นจิตวิทยาสาขาหนึ่งในหลากหลายสาขาทางจิตวิทยา โดยจุดเน้นของจิตวิทยาสังคมคือ การศึกษาพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึกของคนเรา ที่ได้รับอิทธิพลจากคนอื่น ๆ รอบตัวเรา เพราะคนเราอยู่ร่วมกันเป็นสังคมและเกี่ยวข้องกับคนอื่น ๆ อยู่เสมอ ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว ครูอาจารย์ เพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนที่ทำงานและเจ้านาย หรือกระทั่งพนักงานขายอาหาร และคนแปลกหน้าที่เราพบเจอ หรือคนที่เราไปติดต่อธุระด้วยในแต่ละวัน   จิตวิทยาสังคมเป็นศาสตร์ที่ศึกษาว่า รูปร่างท่าทาง การกระทำต่าง ๆ การแสดงออกของคนเหล่านั้น ส่งผลต่อการตอบสนองของเราอย่างไรบ้าง และในทางกลับกัน ท่าทีและการกระทำของเราส่งผลอย่างไรต่อคนรอบข้างเรา   ยกตัวอย่างเช่น การที่เราแต่งตัวปอน ๆ เดินเข้าไปในร้านอาหาร อาจจะทำให้พนักงานบริการเราไม่ดี เทียบกับเมื่อเราแต่งตัวภูมิฐานเข้าไปใช้บริการ และการที่บริกรพูดกับเราไม่ดี ก็อาจจะทำให้เราตอบโต้ด้วยท่าทางไม่เป็นมิตร กลายเป็นวัฎจักรของการส่งอิทธิพลต่อกันและกันได้   นักจิตวิทยาสังคมจึงมีหัวข้อให้ศึกษามากมาย ตั้งแต่เรื่องการตีความและตัดสินบุคคลอื่น เช่น ในการสัมภาษณ์งานเราควรจะแต่งกายและนำเสนอตัวเองอย่างไร จึงจะสร้างความประทับใจได้ ความคิดความรู้สึกที่เรามีต่อตัวเอง ส่งผลต่อการไปเกี่ยวข้องกับผู้อื่นอย่างไร เช่น คนที่เห็นคุณค่าในตัวเองต่ำอาจจะพยายามโพสต์แต่สิ่งดี ๆ เกี่ยวกับตัวเองให้คนอื่นเห็นในเฟซบุ๊ก ไปจนถึงเรื่องการโน้มน้าวใจผู้อื่น […]

Learn more

จิตวิทยาพัฒนาการ

“จิตวิทยาพัฒนาการ” คือ ศาสตร์แห่งการเข้าใจมนุษย์ โดยใช้องค์ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์มาช่วยอธิบาย   นักจิตวิทยาพัฒนาการมองว่า พัฒนาการมนุษย์นี้ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วินาทีแรกที่ชีวิตเกิดขึ้น ก็คือตั้งแต่เมื่อเซลล์จากทางพ่อ และรังไข่จากทางแม่ผสมกันสำเร็จเป็นเซลล์แรกของชีวิตใหม่ ดังนั้น พัฒนาการของชีวิตหนึ่งชีวิต จะเริ่มดูกันตั้งแต่ภายในครรภ์มารดาเลยว่า มีความสมบูรณ์ในระดับโครโมโซมหรือไม่ ระดับฮอร์โมนเพศอย่างไรที่ทำให้เป็นเพศหญิงหรือเพศชาย มลภาวะ หรือสารพิษ อะไรบ้างที่ไม่เป็นผลดีต่อเด็กในครรภ์ เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการในช่วงนี้ ต้องอาศัยศาสตร์ทางชีววิทยาเข้ามาช่วยอธิบาย ประกอบกับดูปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย จากนั้นเมื่อทารกเกิด นักวิจัยทางจิตวิทยาพัฒนาการจะทำการศึกษาวิจัยเพื่อทำความเข้าใจ และอธิบายพัฒนาการทารก ในช่วง 0 – 2 ปี เช่นว่าบุคลิกภาพที่ติดตัวมากับทารกแรกเกิดแต่ละคน มีทั้งแบบที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย บางคนก็ปรับตัวได้ปานกลาง บางคนก็ปรับตัวได้ยาก พ่อแม่บางคนจึงอาจรู้สึกท้อใจว่าบุคลิกภาพนี้จะติดตัวเด็กคนหนึ่งไปตลอดชีวิต   จากผลการวิจัยที่ติดตามพัฒนาการระยะยาวของทารกไปจนถึงวัยรุ่น พบว่า เด็กทารกจะเติบโตมาเป็นอย่างไรนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพแรกเกิดเท่าใดนัก เพราะการเลี้ยงดูและประสบการณ์ที่พ่อแม่สร้างกับลูก ก็มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้เช่นกัน จึงไม่จำเป็นว่าเด็กทารกที่เลี้ยงยาก จะเติบโตมาเป็นเด็กที่มีพัฒนาการไม่ดีเสมอไป หากทารกได้รับความรัก ความใส่ใจ และการตอบสนองที่เหมาะสม ก็จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังสร้างสรรค์สังคมได้ นอกจากนี้ นักจิตวิทยาพัฒนาการยังสนใจว่าทารกมีความสามารถในการรับรู้และตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมอย่างไร เช่น ผลจากการศึกษาที่พบว่า ทารกสามารถแยกแยะเสียงของแม่กับเสียงของคนแปลกหน้าได้ หรือการศึกษาที่พบว่าทารกชอบมองภาพที่มีลายเส้น มากกว่าภาพพื้น […]

Learn more

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

…ทำไมคุณถึงทำงาน?…   หลายท่านคงรีบตอบอย่างไม่ลังเลว่า ก็ทำงานเพื่อเงินน่ะสิ ซึ่งก็อาจไม่จริงเสมอไป แต่ละคนอาจมองหางานที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น บางท่านอาจจะบอกว่าต้องการทำงานที่ให้อิสระในการควบคุมและกำหนดสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ในขณะที่บางท่านอาจจะบอกว่าชอบงานที่ทำให้เรามีอิทธิพลต่อผู้อื่น มีอำนาจ   จากผลการสำรวจ National Research Council survey (1999) พบว่า ร้อยละ 70 ของคนอเมริกันตอบว่ายังคงทำงานต่อไป แม้ว่าจะถูกล็อตเตอรี่รางวัลใหญ่ จนสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้สบาย ๆ โดยไม่ต้องทำงาน นั่นก็สะท้อนว่าคนเราทำงานเพื่อสิ่งอื่น ๆ ไม่ใช่เพียงแค่เงิน ซึ่งสิ่งที่นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การสนใจศึกษาก็คือ อะไรที่ทำให้คนเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีสุขภาวะที่ดีในการทำงาน   “จิตวิทยาอุตสหกรรมและองค์การ” หรือ I/O Psychology จัดเป็นสาขาวิชาหนึ่งของศาสตร์จิตวิทยา จิตวิทยาเป็นการศึกษาพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตของมนุษย์อย่างเป็นระบบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ อาจจะทำโดยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม การสังเกตพฤติกรรม หรือปรากฎการณ์ตามสภาพแวดล้อมจริง เพื่อทำความเข้าใจ ทำนาย หรือจัดกระทำปรากฎการณ์ต่าง ๆ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเป็นการประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยา มาอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ในบริบทการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งเสริมสุขภาวะขององค์การและคนในองค์การ     นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ไม่เพียงแต่สนใจแค่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างความพึงพอใจในการทำงานเท่านั้น นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การยังคงสนใจปัจจัยภายนอกที่ทำงาน […]

Learn more
1 2 45