ภูมิหลังการจัดตั้งคณะจิตวิทยา

25 Jun 2024

รศ. ดร.ธีระพร อุวรรณโณ

 

ภูมิหลังการจัดตั้งคณะจิตวิทยาที่เผยแพร่สู่สาธารณะได้

๗ ก.ค. ๒๕๖๗


 

ถึงวาระที่คณะจิตวิทยาครบรอบการจัดตั้ง ๒๘ ปี ในวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ จึงสมควรทำบันทึกประวัติศาสตร์ไว้สำหรับการจัดตั้งคณะจิตวิทยาขึ้นในจุฬา ฯ ดูได้จากเอกสาร ๘ แผ่นนี้ นอกจาก ๘ แผ่นนี้ยังหาเอกสารไม่ได้

 

รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ เภกะนันทน์ ศิริวรรณบุศย์ เป็นคณบดีเป็นคนแรกของคณะจิตวิทยา และเป็นคณบดีติดต่อกัน ๒ วาระ รวม ๘ ปี ระหว่างปี ๒๕๓๙ ถึง ๒๕๔๗

 

 

 

 

ขอบันทึกไว้ด้วยว่าคณาจารย์และบุคคลต่อไปนี้ได้ให้การสนับสนุนในการจัดตั้งคณะจิตวิทยาในบทบาทที่แตกต่างกัน

 

๑.๑ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธินานุวัฒน์ ซึ่งเป็นคณบดีคณะครุศาสตร์ในช่วงการทำแผนก่อตั้งคณะ มอบให้รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ซึ่งเป็นรองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะครุศาสตร์ได้ยกร่างแผนจัดตั้งคณะจิตวิทยา ส่งให้ฝ่ายวางแผนของจุฬา ฯ

 

๑.๒ ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยในช่วงเวลานั้นได้ให้การสนับสนุนตั้งแต่การบรรจุในแผน ๕ ปีของจุฬา ฯ

 

๒. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดีในช่วงเวลานั้นได้ให้การสนับสนุนและผลักดันให้มีการก่อตั้งขึ้น และได้ริเริ่มทำแผนให้จุฬา ฯ จัดงบประมาณสนับสนุนคณะเล็กที่เกิดใหม่เป็นเงินทุนคงยอดเงินต้น (Endowment fund) คณะละ ๕ ล้านบาทเป็นเวลา ๕ ปี คณะเล็กที่เกิดใหม่ในเวลานั้นมี ๔ คณะ คือ คณะจิตวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา แต่เมื่ออธิการบดีคนใหม่เข้ารับตำแหน่ง มีการจัดสรรเงินแบบนั้นให้ ๑ ปี ปีต่อ ๆ ไปก็เปลี่ยนนโยบายเป็นจัดสรรให้เท่ากับที่คณะจะสามารถเก็บเงินของคณะได้เอง (Matched fund) ในวงเงินไม่เกินปีละ ๕ ล้านบาท ครบตามที่จุฬา ฯ ได้วางแผนไว้แต่แรก

 

๓. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการในช่วงเวลานั้น ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนคณบดีคณะจิตวิทยา จนกระทั่งรองศาสตราจารย์ ดร. พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งคณบดีเป็นคนแรกของคณะจิตวิทยา

 

 

 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ซึ่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย จากการเลือกตั้งได้สนับสนุนในการประชุมสภามหาวิทยาลัยในวาระการจัดตั้งคณะจิตวิทยา

 

ที่ทบวงมหาวิทยาลัย ท่านอมเรศ ศิลาอ่อน ประธานกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้ผู้แทนคณะผู้ก่อตั้งคณะจิตวิทยาจำนวน ๕ คน ธีระพรเป็นคนหนึ่งในนั้น เข้าไปพูดชี้แจงในที่ประชุมคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย

 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยและเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้พูดสนับสนุนการจัดตั้ง ฯ ในคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย, ดูแลการนำวาระเสนอคณะรัฐมนตรี (เพราะท่านเป็นเลขาธิการกคณะรัฐมนตรีในเวลานั้น) จนได้รับการอนุมัติจัดตั้ง และดูแลการนำให้ผู้รับผิดชอบลงนามสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นการตั้งหน่วยงานราชการใหม่เป็นหน่วยงานสุดท้าย ในช่วงเวลานั้น ก่อนที่ไอเอ็มเอฟจะมาให้ไทยกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

 

พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ เป็นผู้กราบบังคมทูลเกล้าฯให้ลงพระปรมาภิไธยก่อตั้งคณะจิตวิทยา แต่ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ คุณบรรหาร ศิลปอาชา

 

 

 

 

คณะกรรมการของมหาวิทยาลัยที่รองศาสตราจารย์ ดร. ปราณี กุลลวณิชย์ (ตำแหน่งทางวิชาการในเวลานั้น) เป็นประธานยังได้จัดสรรทุนให้อาจารย์ของคณะจิตวิทยาไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ National University of Singapore

 

ช่วงเวลาที่ รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ เภกะนันทน์ ศิริวรรณบุศย์ เป็นคณบดีเป็นคนแรกของคณะจิตวิทยาตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ ได้ทำคุณประโยชน์ให้คณะมากมาย ตั้งแต่ติดต่อกัน

 

พลอากาศโท นายแพทย์อภิชาติ โกยสุโข ในนามแพทยสมาคมให้บริจาครถตู้ให้คณะจิตวิทยา ๑ คัน ได้จัดหาคอมพิวเตอร์ ๒๐ เครื่องสำหรับการเรียนการสอนของคณะฯ และมีเงินบริจาคให้คณะอีกจำนวนหนึ่ง

 

รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ เภกะนันทน์ ศิริวรรณบุศย์ นำคณะไปร่วมจัดงานส่งเสริมการส่งออก กับกรมส่งเสริมการส่งออก (ภายหลังมีการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมพาณิชยสัมพันธ์) ได้เงินมาสมทบคณะปีละระหว่าง ๒ ถึง ๓ แสนบาท อีกหลายปีติดต่อกัน

 

ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา และ ศาสตราจารย์ ดร.สุรางค์ โค้วตระกูล ได้บริจาคเงินทุนท่านละ ๑๐๐,๐๐๐ บาทในการดำเนินเนินงานของคณะ

 

 

ทีมบริหารชุดแรกได้แก่

  • รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รศ. ดร.เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์
  • รองคณบดีฝ่ายบริหาร รศ.สุภาพรรณ โคตรจรัส
  • รองคณบดีฝ่ายวางแผนฯ รศ. ดร.ธีระพร อุวรรณโณ
  • รองคณบดีฝ่ายวิจัย รศ. ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
  • รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รศ.วัชรี ทรัพย์มี

 

 

 


 

 

ปี ๒๕๔๖ ธีระพรเจรจากับ รองศาสตราจารย์ ดร. ทพ.จิรศักดิ์ นพคุณ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการขณะนั้น ขอรับการสนับสนุนในการบอกรับฐานข้อมูล PsycARITCLE ซึ่งมีวารสารทั้งหมดของ American Psychological Association ๔๓ ชื่อ รวมทั้งวารสารของแคนาดาอีกหลายฉบับ ซึ่งท่านก็ให้การสนับสนุน โดย เวลานั้น Science Direct คิดเงินมา ๑๔,๔๘๒ ดอลลาร์ ซึ่งถ้าเทียบเป็นเงินไทย ที่ดอลลาร์ละ ๓๑ บาท (ในเวลานั้น) ก็เป็นเงินประมาณ ๔๔๘,๙๘๒ บาท โดยจุฬาฯ ขอให้คณะจิตวิทยาจ่ายสมทบ ๒ แสน + ๑ แสนบาท (ที่ขอเพิ่มมาในบันทึกที่แสดงให้ดู) (จุฬาฯ

จ่าย ๑๔๘,๘๙๒ บาท)

 

ปี ๒๕๖๕ ถามจนท.จากหอสมุดกลาง ได้รับแจ้งว่าบอกรับจาก Epsco ในราคา ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท ถามจากจนท.คณะจิตวิทยา ได้คำตอบว่าคณะจิตวิทยาจ่ายสมทบ ๕๐% ที่เก้าแสนบาท

 

จาก พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง ๒๕๖๖ (๒๖ ปี) “จุฬา ฯ เป็นเพียงสถาบันเดียวที่มีการบอกรับฐานข้อมูล PsycARTICLE” ซึ่งไม่ได้ใช้เฉพาะชาวจิตวิทยาเท่านั้น แต่ชาวการศึกษา สังคมวิทยา นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ ฯลฯ ได้ใช้ประโยชน์ด้วย

 

 

 

 

ปี ๒๕๖๗ ห้องสมุดม.เกษตรศาสตร์ บอกรับฐานข้อมูล PsycARTICLE เป็นปีแรก

 

ประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะจิตวิทยาก็ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มรว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการขณะนั้น โดยคณะกรรมการที่ท่านกำกับดูแล ได้อนุมัติทุนการศึกษาให้อาจารย์ของคณะจิตวิทยาไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ Clairmont Graduate University, USA.

 

ธีระพรในฐานเป็นผู้มีชื่อในคณะกรรมการทั้ง ๓ ชุดที่จุฬา ฯ ตั้งขึ้น (เป็นผู้แทนอาจารย์ในชุดที่ไม่ได้เอ่ยชื่อด้วย) ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่เอ่ยนามมาที่มีส่วนสำคัญในการทำให้คณะจิตวิทยาเติบโต เป็นคณะเดียวในมหาวิทยาลัยของรัฐ จนถึงอย่างน้อย เดือน พฤษภาคม ๒๕๖๗

 

 

Share this content