News & Events

ผ่อนคลายใจด้วยการผ่อนคลายกาย

 

การผ่อนคลาย พูดง่ายแต่คงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนทำยากหรือลืมที่จะทำมัน เคยสังเกตไหมว่าเวลาที่รู้สึกเครียด ทำไมถึงปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือเวลาที่รู้สึกกลัวและวิตกกังวล ทำไมถึงรู้สึกเหนื่อยและอึดอัดเหมือนหายใจไม่เต็มอิ่ม นั่นเป็นเพราะเวลาที่รู้สึกเครียดหรือกลัวและวิตกกังวล ร่างกายของมนุษย์มักจะมีการตอบสนองต่ออารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น หรืออาจจะเรียกว่าเป็น อาการทางกาย เช่น การหายใจเร็วขึ้นถี่ขึ้น การเกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยอาการทางกายเหล่านี้มักจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ ทำให้มักจะไม่ได้กลับมาสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น พอเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันนาน ๆ ก็ส่งผลกับร่างกายเรื้อรังจนทำให้เริ่มสังเกตเห็นได้

 

หลาย ๆ คนคงมีวิธีหลาย ๆ วิธีในการจัดการกับความเครียด ความกลัวและความวิตกกังวล เป็นของตัวเอง เช่น การออกกำลังกาย การอ่านหนังสือ การวาดภาพ หรืองานอดิเรกต่าง ๆ นอกเหนือจากวิธีเหล่านี้แล้ว ในทางจิตวิทยามีสิ่งที่เรียกว่า เทคนิคการผ่อนคลาย (Relaxation technique) ที่เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการกับอาการทางกายที่เป็นผลมาจากความเครียด ความกลัว และความวิตกกังวลได้ มีผลทำให้อารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ลดลงได้ด้วย

 

เทคนิคการผ่อนคลายมีหลายวิธี แต่วิธีที่เป็นที่นิยมได้แก่ การฝึกการหายใจ (Breathing exercise) และการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Progressive muscle relaxation)

 

 

การฝึกการหายใจ (Breathing exercise)

 

เวลาที่ร่างกายตื่นตัวจากความเครียด ความกลัวและวิตกกังวล บางครั้งจังหวะการหายใจอาจจะเกิดความผิดปกติได้ สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นคือการหายใจเร็วขึ้น ถี่ขึ้น เรียกได้ว่าหายใจเข้ามากเกินไป ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สมดุลกัน ส่งผลให้ร่างกายยิ่งเกิดการตื่นตัวขึ้น

 

การฝึกการหายใจมีขั้นตอนที่จะช่วยปรับจังหวะการหายใจให้กลับมามีสมดุลขึ้น ดังนี้

  1. นั่งในท่าที่รู้สึกผ่อนคลาย หลับตา
  2. หายใจเข้า นับ 1 2 3
  3. กลั้นหายใจนับ 1 2 3 4
  4. หายใจออกนับ 1 2 3 4 5
  5. ทำซ้ำเรื่อย ๆ จนรู้สึกผ่อนคลายขึ้น

 

 

การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Progressive muscle relaxation)

 

เวลาที่เกิดความเครียด ความกลัวและวิตกกังวล บางครั้งร่างกายจะเกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อบางส่วนขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวด เมื่อยล้า ทำให้รู้สึกเหนื่อยมากขึ้นได้

 

การผ่อนคลายกล้ามเนื้อเป็นเทคนิคการผ่อนคลายหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้สามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ โดยมีวิธีดังนี้

  1. สังเกตกล้ามเนื้อส่วนที่ปวดเมื่อยจากการเกร็งโดยไม่รู้ตัว
  2. เกร็งกล้ามเนื้อส่วนนั้นจนรู้สึกแน่น เกร็ง ตึง เต็มที่ โดยไล่ระดับความเกร็งจาก 0 ไปจนถึง 10
  3. เมื่อรู้สึกว่าแน่น เกร็ง ตึงเต็มที่แล้ว ให้ค่อยๆผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนนั้นจากระดับ 10 จนลงมาถึง 0
  4. ทำซ้ำเรื่อย ๆ จนรู้สึกผ่อนคลายขึ้น และให้กล้ามเนื้อสามารถจดจำวิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้

 

 

เมื่อเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายร่างกายมากขึ้น เวลาที่ร่างกายเกิดอาการทางกายที่เป็นผลมาจากความเครียด ความกลัวและวิตกกังวล ก็จะสามารถรับมือกับอาการทางกายได้ดีขึ้น เมื่อร่างกายผ่อนคลายจิตใจก็จะผ่อนคลายได้มากขึ้น เมื่อจิตใจผ่อนคลายได้มากขึ้นอาการทางกายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายก็จะลดลง การผ่อนคลายร่างกายอาจจะไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาที่ทำให้ความเครียด ความกลัวและวิตกกังวลหายไป แต่ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถนำมาใช้รับมืออาการทางกายที่เกิดขึ้นได้ ไม่ทำให้รู้สึกเหนื่อยทางกายมากขึ้น มีแรงที่จะนำไปใช้ในการรับมือและจัดการกับต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด ความกลัวและวิตกกังวลได้

 

 

Reference

Wright, J. H., Brown, G. K., Thase, M. E., & Basco, M. R. (2017). Learning cognitive-behavior therapy: An illustrated guide. American Psychiatric Pub.

 

 

 


 

 

บทความโดย
คงพล แวววรวิทย์
นักจิตวิทยาประจำศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ความนิยมความสมบูรณ์แบบ – Perfectionism

 

 

 

ความนิยมความสมบูรณ์แบบ เป็นลักษณะนิสัยที่ต้องการหรือปรารถนาความสมบูรณ์เพียบพร้อมจากตนเองหรือผู้อื่น พยายามไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดหรือความบกพร่องใดๆ มีแนวโน้มที่จะประเมินพฤติกรรมหรือผลการทำงานที่ได้ต่ำกว่าที่ควรจำเป็น และวิพากษ์วิจารณ์มากเกินความจริง

 

 

Hewitt และ Flett (1991) ได้แบ่งมิติของความนิยมความสมบูรณ์แบบออกเป็น 3 มิติ คือ

 

1. ความนิยมความสมบูรณ์แบบในตนเอง

เป็นลักษณะที่ชอบตั้งมาตรฐานกับตนเอง มักจะประเมินตนเองอย่างเช้มงวด ตำหนิตนเองอย่างรุนแรงเมื่อไม่สามารถทำตามมาตรฐานที่ตนเองตั้งไว้ได้ การวิจัยพบว่า ความนิยมความสมบูรณ์แบบในตนเองสัมพันธ์กับพฤติกรรมชอบบังคับ และการโทษตนเอง ทั้งยังพบว่าสัมพันธ์กับการปรับตัวที่ผิดปกติหลายประเภท เช่น ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า โรคอะนอเร็กเซีย เป็นต้น

 

2. ความนิยมความสมบูรณ์แบบตามความคาดหวังของสังคม

เป็นลักษณะการรับรู้ว่าผู้อื่นหรือสังคมคาดหวังให้ตนเองกระทำได้ตามมาตรฐานที่สังคมวางไว้ โดยเชื่อและรับรู้ว่าผู้อื่นคาดหวังมาตรฐานจากตนเองโดยผิดจากความเป็นจริง คิดว่าผู้อื่นประเมินตนอย่างเข้มงวด และสังคมพยายามกดดันให้ตนเองต้องสมบูรณ์แบบ และด้วยการรับรู้เช่นนี้ ทำให้ประสบความรู้สึกล้มเหลวบ่อยครั้ง ความนิยมความสมบูรณ์แบบตามความคาดหวังของสังคมก่อให้เกิดอารมณ์ทางลบหลายอย่าง เช่น ความโกรธ ความวิตกกังวล ความหดหู่

 

3. ความนิยมความสมบูรณ์แบบจากผู้อื่น

เป็นลักษณะที่เชื่อว่าผู้อื่นควรปฏิบัติตามมาตรฐานซึ่งสูงกว่าความเป็นจริง ให้ความสำคัญแก่ความสมบูรณ์แบบของคนรอบข้าง ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อื่นอย่างเข้มงวด

 

 

นอกจากนี้ Slaney และคณะ (2001) ได้แบ่งลักษณะความนิยมความสมบูรณ์แบบออกเป็น 3 มิติ ซึ่งมีลักษณะทางบวกและทางลบ ดังนี้

 

1. การตั้งมาตรฐานสูง

เป็นการคาดหวังต่อตนเอง ตั้งเป้าหมายด้วยมาตรฐานที่สูงและต้องการจะทำงานให้ได้ตามมาตรฐานที่ตั้งไว้อย่างสมบูรณ์แบบ ในด้านบวก นับเป็นแรงจูงใจในการทำงานต่างๆ ให้บรรลุตามเป้าหมาย แต่ทางด้านลบ ก็ทำให้เกิดความเครียดและอารมณ์ทางลบต่างๆ ได้

 

2. การเป็นระเบียบเรียบร้อย

เป็นมิติในด้านบวก คือมีความสามารถที่จะจัดการสิ่งต่างๆ ได้ตามลำดับอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

 

3. ความไม่สอดคล้องระหว่างมาตรฐานที่ตั้งไว้กับความเป็นจริง

เป็นมิติด้านลบเนื่องจากเป็นการรับรู้ความไม่สอดคล้องของมาตรฐานที่ตนเองตั้งไว้ในระดับสูงกับผลงานที่ตนเองทำได้ ทำให้รู้สึกว่าตนเองล้มเหลว และเกิดอารมณ์ทางลบต่างๆ

 

 

การมุ่งเน้นความสมบูรณ์แบบนั้นมีส่วนทำให้สูญเสียพลังงานทางจิต ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อาทิ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย และเชื่อมโยงกับอาการป่วยต่าง ๆ ได้ เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โรคสำไส้แปรปรวน ปวดท้อง ซึมเศร้า โรคกลัวอ้วน โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น ในการทำงาน ผู้ที่นิยมความสมบูรณ์แบบมีแนวโน้มที่จะมีความเหนื่อยหน่ายในการทำงานสูง ประเมินในด้านลบและให้ความสำคัญกับงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินจริง และยังทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ใช้ทักษะการเขียนลดลง นอกจากนี้ ในด้านสัมพันธภาพ การมุ่งเน้นความสมบูรณ์แบบยังทำให้บุคคลมีระดับความสามารถในการควบคุมตนเองต่ำลง ส่งผลให้ความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่น และทำให้บุคคลเห็นคุณค่าในตนเองต่ำลง

 

 

วิธีทางจิตบำบัดในการลดความนิยมความสมบูรณ์แบบสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่

  • การบำบัดทางปัญญา-พฤติกรรม คือ การพยายามปรับความคิดให้มีความสมเหตุสมผลและสร้างทางเลือกอื่น ๆ ให้กับวิธีคิดวิธีแก้ปัญหา
  • การบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ คือ การพยายามวิเคราะห์ถึงมูลเหตุแรงจูงใจที่ซ่อนอยู่
  • การบำบัดเป็นกลุ่ม คือ การบำบัดพร้อมกันหลายคนเกี่ยวกับประเด็นที่เฉพาะเจาะจง วิธีนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมการบำบัดรู้สึกว่าตนไม่ใช่ผู้เดียวที่ประสบปัญหาที่เผชิญอยู่
  • การบำบัดแบบมนุษยนิยม คือ การให้บุคคลได้ทบทวนตนเอง โดยเน้นมุมมองด้านบวก
  • การบำบัดตนเอง คือการสำรวจและบันทึกอย่างซื่อสัตย์ถึงอาการและการกำกับตนเองของตน

 

ทั้งนี้ วิธีที่ได้รับความนิยมว่าประสบความสำเร็จ คือการบำบัดทางปัญญา-พฤติกรรม ที่ช่วยให้บุคคลที่นิยมความสมบูรณ์แบบลดความวิตกกังวลทางสังคม และความคิดที่ไม่สมเหตุสมผลหรือความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกับความจริงลงได้ ช่วยให้บุคคลรู้จักคิดหาทางเลือกอื่น ๆ รวมทั้งตระหนักว่าความผิดพลาดต่าง ๆ ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่เป็นโอกาสที่เราจะได้เรียนรู้มากกว่า

 

 


 

 

ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์ เรื่อง

 

“อิทธิพลของความนิยมความสมบูรณ์แบบต่อเจตคติในการทำศัลยกรรมเสริมความงาม โดยมีการนำเสนอตนเองด้วยความสมบูรณ์แบบและการซึมซับจากวัฒนธรรมสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน” โดย กมลกานต์ จีนช้าง (2553) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18853

 

“ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะมุ่งเน้นความสมบูรณ์แบบกับความตั้งใจในการลาออกของพนักงานโดยมีความเหนื่อยหน่ายในการทำงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน” โดย ณัฐฎาภรณ์ ห้วยกรดวัฒนา, รณกร ตั้งมั่นสุจริต และสุกฤตา พรรณเทว (2555) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49060

 

 

https://en.wikipedia.org/wiki/Perfectionism_(psychology)#Personality_traits

 

Workshop : เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง รุ่นที่ 3

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง รุ่นที่ 3”

 

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง รุ่นที่ 3” ประจำปี 2567 ในวันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้อง 809 ชั้น 8 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

 

 

 

 

“การเจรจาตอรอง” เปนสถานการณที่เกิดขึ้นไดเปนปกติในชีวิตประจําวัน ไมวาจะเปนการเจรจาตอรองภายใน ครอบครัว การเจรจาตอรองในการทํางาน หรือการเจรจาตอรองทางธุรกิจ เปนตน การเจรจาตอรองจึงกลายเปนเรื่องจําเปน เนื่องจากในปจจุบันองคกรตาง ๆ รวมถึงผูคนในสังคมมีความหลากหลายและความตองการที่แตกตางกัน ซึ่งในการติดตอประสานงานเพื่อการทํางานรวมกัน หรือการสรางความรวมมือตาง ๆ องคกรและกลุมคนเหลานี้ มักจะใชทักษะการเจรจา ตอรองเปนเครื่องมือในการหาจุดรวมที่แตละฝายพึงพอใจ ดังนั้น ผลที่เราคาดหวังวาจะไดรับจากการเจรจาตอรองจากทุกสถานการณ ถือเปนสิ่งที่เราตองคํานึงถึงเปนอันดับแรก ๆ เพื่อใหเราสามารถวางแผนการเจรจาตอรอง การประเมินสถานการณ รวมถึงเลือกใชขอมูล รูปแบบและวิธีการเจรจาตอรองที่เหมาะสม เพื่อใหการเจรจาในครั้งนั้นสําเร็จอยางมีประสิทธิภาพ บรรลุ ตามวัตถุประสงคที่วางไว และไมเกิดความขัดแยง

 

งานบริการวิชาการ รวมกับ แขนงวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จึงจะจัดโครงการอบรมความรูทางจิตวิทยา หัวขอ “เทคนิคพื้นฐานสําหรับการเจรจาตอรอง” ขึ้น โดยมี ผูชวยศาสตราจารย ดร.วัชราภรณ บุญญศิริวัฒน ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม เป็นวิทยากร เพื่อเปนการนําความรูดานจิตวิทยามาใชสําหรับเสริมทักษะการเจรจาตอรองใหแกผูสนใจทั่วไป โดยคาดหวังวาผูที่ผานการอบรมจะสามารถนําความรูและเทคนิคที่ไดจากการอบรมไปใชไดอยางมั่นใจ และประยุกตใชในชีวิตประจําวันเพื่อใหสามารถรับมือกับสถานการณตาง ๆ ไดอยางมีประสิทธิภาพ

 

 

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการจากคณะจิตวิทยา

 

 

วิธีการฝึกอบรม
  • ภาคทฤษฎี – โดยการบรรยาย ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
  • ภาคปฏิบัติ – โดยการฝึกปฏิบัติ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง

 

 

การอบรมมีอัตราค่าลงทะเบียน ท่านละ 4,000 บาท

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน
  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วันทำการ
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์จะจัดส่งให้ทางอีเมลที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

———————————- ปิดรับลงทะเบียนแล้วค่ะ ———————————–

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี โทร. 02-218-1307 E-mail: wathinee.s@chula.ac.th

 

 


 

 

การเดินทางมายังคณะจิตวิทยา

 

อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ
ขนส่งสาธารณะ
BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทางออก 2 แล้วเดินตรงเข้ามาทางประตูสนามนิมิบุตร ประมาณ 300 เมตร
รถเมล์ ป้ายสนามกีฬาแห่งชาติ / มาบุญครอง / โอสถศาลา

 

ที่จอดรถ
อาคารจอดรถ 4 ติดกับอาคารจุฬาพัฒน์ 14

 

โครงการอบรมความรู้สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยา ประจำปี 2567

 

โครงการอบรมความรู้สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยา ประจำปี 2567

 

 

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม โครงการอบรมความรู้สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยา ประจำปี 2567 โดย อบรมผ่านโปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ 1–15 กรกฎาคม 2567 เวลา 18.00 – 21.00 น. รวมใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง

 

อบรมและบรรยายโดย รองศาสตราจารย์ สักกพัฒน์ งามเอก Faculty of Psychology, Chulalongkorn University

 

โครงการอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยาให้แก่ผู้สนใจทั่วไป และเป็นการปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในทฤษฏีทางสถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัยทางจิตวิทยา ให้แก่ผู้ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางจิตวิทยาให้แก่ผู้สนใจทั่วไป

 

เนื้อหาการอบรมจะมุ่งเน้นไปที่ พื้นฐานความรู้ด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย และการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ โดยคาดหวังว่าผู้ที่เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ และความเข้าใจทฤษฎีทางสถิติศาสตร์เบื้องต้น โดยเฉพาะเนื้อหาในด้านสถิติเบื้องต้นสำหรับงานวิจัย ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านและอิทธิพลกำกับ เพื่อนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ต่อยอดในการทำความเข้าใจ และสร้างผลงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาในเชิงลึกต่อไปได้

 

 

หลังเสร็จสิ้นการอบรมผู้เข้าร่วมจะได้รับ เกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมอบรม (E-certificate) โดยจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง (15 ชั่วโมง)

 

 

หัวข้อการฝึกอบรม

 

 

 

หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแต่ละครั้ง ทางผู้จัดโครงการจะอัพโหลดไฟล์วิดีโอการอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้จนถึงวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2567 เวลา 23.59 น

 

 

อัตราค่าลงทะเบียน

 

 

*บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว

มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ*

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วัน
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์จะจัดส่งให้ทางอีเมล กรุณาตรวจสอบข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ และอีเมล
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

     

    —————————————– ปิดรับสมัครแล้ว ———————————————-

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี สนลอย โทร. 02-218-1307 หรือ email: Wathinee.s@chula.ac.th

 

โครงการอบรมความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาพัฒนาการ ประจำปี 2567

 

โครงการอบรมความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาพัฒนาการ ประจำปี 2567

 

 

 

Faculty of Psychology, Chulalongkorn University ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม โครงการอบรมความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาพัฒนาการ ประจำปี 2567 โดยอบรมผ่านโปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ 17 – 25 มิถุนายน 2567 เวลา 18.00 – 21.00 น. และสอบวัดผล ในวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 18.00 – 21.00 น. รวมใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมและสอบวัดผลทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง อบรมและบรรยายโดย คณาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

โครงการอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการให้แก่ผู้สนใจทั่วไป และเป็นการปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในทฤษฏีและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการให้แก่ผู้ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการให้แก่ผู้สนใจทั่วไป

 

เนื้อหาการอบรมจะมุ่งเน้นไปที่ พื้นฐานความรู้ด้านจิตวิทยาพัฒนาการ และความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ในแต่ละช่วงวัย โดยคาดหวังว่าผู้ที่เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ และความเข้าใจทฤษฎีทางจิตวิทยาพัฒนาการ รวมถึงเนื้อหาในด้านจิตวิทยาพัฒนาการเบื้องต้น เพื่อนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ต่อยอดในการทำความเข้าใจ และสร้างผลงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการในเชิงลึกต่อไปได้

 

 

ผู้เข้าอบรมจะได้รับ วุฒิบัตรเพื่อใช้ประกอบการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา ได้ผู้เข้าอบรมจะต้องผ่านเกณฑ์การวัดผลดังนี้

  • ต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง (18 ชั่วโมง)
  • สอบวัดผลข้อเขียน โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน 70% ขึ้นไป

 

 

หัวข้อการฝึกอบรม

 

 

 

หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแต่ละครั้ง ทางผู้จัดโครงการจะอัพโหลดไฟล์วิดีโอการอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้จนถึงวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2567 (ลิงค์สำหรับดูย้อนหลังจะถูกจัดส่งทางอีเมล)

 

 

อัตราค่าลงทะเบียน

 

 

*บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว
มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ*

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วัน
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์จะจัดส่งให้อีเมล กรุณาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ และอีเมล
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

—————————————– ปิดรับสมัครแล้ว ———————————————-

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี สนลอยโทร. 02-218-1307 หรือ email: Wathinee.s@chula.ac.th

JIPP parent meeting 2024

 

Exciting News from the Joint International Psychology Program (JIPP)!

The Joint International Psychology Program (JIPP) between Chulalongkorn University and The University of Queensland (UQ) hosted its launch “Parent Meeting for JIPP13 Students” on February 13, 2024, at the Chaloem Rajakumari 60 Building, Chulalongkorn University.
Welcomed parents and JIPP13 students were Asst. Prof. Natthasuda Taephan, Ph.D., Dean of Faculty Psychology, Phot Dhammapeera, Ph.D., Director of JIPP, Prof. Jolanda Jetten, Ph.D., Head of the School of Psychology, and Miss Donna Guest, International Development Manager.
The event provided valuable insights into preparing for the Chula-UQ transfer, navigating studies and life in Brisbane at The University of Queensland, and the insights information from JIPP12 students. This event has sparked excitement as we embark on this academic journey together.

คณะจิตวิทยา ร่วมบริจาคเงินและเครื่องอุปโภคบริโภคมอบให้แก่ มูลนิธิเพื่อคนตาบอดแห่งประเทศไทย

 

นิสิต คณาจารย์ และบุคลากรคณะจิตวิทยา ร่วมบริจาคเงินและเครื่องอุปโภคบริโภคมอบให้แก่ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ภายใต้โครงการ ๕ สายธารแห่งความดี เราทำดีด้วยหัวใจ โดยสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567

 

การบรรยายความรู้เชิงจิตวิทยา เรื่อง Increasing Life Balance: Test Yourself and Get Tips for Better Stress & Burnout Management 

 

ศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมการบรรยายความรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสุขภาวะทางจิตบุคลากรของจุฬาฯ เรื่อง Increasing Life Balance: Test Yourself and Get Tips for Better Stress & Burnout Management ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการป้องกันสร้างเสริมสุขภาวะผ่านปัจจัยจิตวิทยาทางบวก เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเครียดและภาวะหมดไฟของบุคลากรจุฬาฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการ CU Sustainable Well-being: เสริมสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืน

 

 

 

วิทยากร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 20 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

โครงการอบรมจิตวิทยาการบริหารจัดการความหลากหลายในองค์กร สำหรับผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรบุคคล

 

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ

“จิตวิทยาการบริหารจัดการความหลากหลายในองค์กร สำหรับผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรบุคคล”

 

 

 

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “จิตวิทยาการบริหารจัดการความหลากหลายในองค์กร สำหรับผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรบุคคล” ในวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย อาจารย์ ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

 

ในปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งความหลากหลายและเท่าเทียมอย่างแท้จริง ถึงแม้บางเรื่องจะยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่เห็นได้ว่าชุดความคิดของคนในสมัยนี้เริ่มถูกพัฒนาไปในทางที่ดีมากขึ้น ความชัดเจนเรื่องการมองทุกคนเท่ากัน เคารพเรื่องความแตกต่างที่หลากหลาย โดยไม่มีเรื่องของเพศ วัย สัญชาติหรืออะไรอื่น ๆ มาล้อมกรอบ ทุกคนเป็นคนเหมือนกันในฐานะเป็นคนของประชาคมโลก เมื่อการขับเคลื่อนของสังคมกำลังดำเนินไปในทิศทางดังกล่าว ในฐานะ HR จำเป็นต้องปรับความคิดและการบริหารให้เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในองค์กรเองซึ่งเป็นแหล่งรวมความหลากหลายแห่งใหญ่ การบริหารจัดการความหลากหลายในองค์กร (Diversity Management) จึงจำเป็นต้องทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากเลือกที่จะละเลย ท้ายสุดแล้วจากเรื่องเล็ก ๆ อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขนาดใหญ่ภายในได้ เป็นหนึ่งในความท้าทายและเป็นโอกาสในการพัฒนาองค์กรนั่นเอง

 

การบริการและจัดการความหลากหลายในองค์กรเป็นแนวทางที่สำคัญที่ช่วยสร้างสรรค์สังคมที่มีความทุ่มเททั้งในด้านกายภาพและจิตใจของพนักงาน การจัดการความหลากหลายให้ได้ผลเต็มประสิทธิภาพต้องเป็นกระบวนการที่ผ่านการวางแผนและปฏิบัติที่รอบคอบ นอกจากนี้ยังต้องมีการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรที่ยืดหยุ่นและรับรู้ความหลากหลายอย่างเต็มที่

 

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “จิตวิทยาการบริการจัดการความหลากหลายในองค์กร สำหรับผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรบุคคล (Diversity Management in Organizations for Human Resources)” จึงเป็นโครงการสำหรับผู้สำหรับผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรบุคคลที่ต้องเข้าใจในพื้นฐานของการบริการจัดการความหลากหลายในองค์กร โดยมุ่งเน้นการศึกษาไปยังแนวทางการบริการและจัดการความหลากหลายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทำงานที่เต็มไปด้วยความคุ้มค่าและความหลากหลายที่เป็นประโยชน์ทั้งสำหรับองค์กรและพนักงาน

 

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการจากคณะจิตวิทยา

 

 

วิธีการฝึกอบรม
  • การบรรยายและฝึกปฏิบัติ ระยะเวลา 6 ชั่วโมง เวลา 9.00 – 16.00 น.
    วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567

 

สถานที่ฝึกอบรม
  • ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

การอบรมมีอัตราค่าลงทะเบียน ท่านละ 5,500 บาท

ราคานี้รวมค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการอบรม และวุฒิบัตร

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน
  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วันทำการ
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี โทร. 02-218-1307 E-mail: wathinee.s@chula.ac.th

 

 

Boosting Research Impact Series Vol.1:

ขอเชิญเข้าร่วมฟังการนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความรู้จากผลงานวิจัยในหัวข้อจิตวิทยาภาษาศาสตร์และการใช้สองภาษา ภายใต้โครงการ “Research Project Talk” ครั้งที่ 1 ในวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.00-10.00 น. ทางออนไลน์ (Zoom)

 

วิทยากร:
  • อาจารย์ ดร.สุภสิรี จันทวรินทร์
    ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาปริชาน
  • ดร. ศิรดา โรจนวิภาต
    นักวิจัยหลังปริญญาเอกด้านจิตวิทยาภาษาศาสตร์

 

Dive into the world of Psycholinguistics & Bilingualism with the “Research Project Talk” online talk featuring
  • Dr. Suphasiree Chantavarin (Head of Cognitive Psychology at Chulalongkorn University) &
  • Dr. Sirada Rochanavibhata (Postdoctoral Fellow at Northwestern University)

 

Date: Thursday, February 22, 2024
Time: 9:00 AM – 10:00 AM (Thailand Time)
Location: Zoom (Online session in English)

 

 

* Zoom details will be emailed to registered participants.

 

Registration: FREE! Whether you’re a student, researcher, or simply interested in the subject matter, this is an opportunity not to be missed! Secure your spot now via – –