News & Events

ถอดความ PSY Talk เรื่อง ไขรหัสกลโกง : เมื่อการโกงออนไลน์แพร่หลายเหมือนโรคระบาด

การเสวนาทางจิตวิทยา (PSY Talk) เรื่อง

ไขรหัสกลโกง : เมื่อการโกงออนไลน์แพร่หลายเหมือนโรคระบาด

 

โดยวิทยากร
  • รศ. ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการปรับพฤติกรรม
  • อ. ดร.กฤษณ์ อริยะพุทธิพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาปริชาน

 

วิทยากรและผู้ดำเนินรายการ
  • อ. ดร.พูลทรัพย์ อารีกิจ ผู้ช่วยคณบดี และผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการปรึกษา

 

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 10.00-11.00 น.

 

รับชม LIVE ย้อนหลังได้ที่

https://www.facebook.com/CUPsychBooks/videos/1191956768366252/

 

 

 

 

นิยามการโกง


 

อ.สมโภชน์ :

การโกงคือการพยายามใช้กลวิธีหรือ strategy ต่าง ๆ ใช้เล่ห์เพทุบายทั้งหลาย เพื่อล่อลวงเพื่อชักจูงให้คนทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของตัวผู้กระทำ โดยเจตนา

 

อ.กฤษณ์ :

จุดสำคัญของการโกงคือเจตนา และอีกส่วนหนึ่งคือการลวง (deception) คือการทำให้ผู้ถูกหลอกลวงเข้าใจผิดในบางสิ่งบางอย่างว่าสิ่งนี้คือความจริง หรือเป็นสิ่งทีเกิดขึ้น เช่น การโกงการสอบ ก็มีเจตนาให้เข้าใจผิดว่าเราเป็นผู้มีความสามารถในการทำข้อสอบสูง

 

 

การโกงออนไลน์มีลักษณะอย่างไรบ้าง


 

อ.สมโภชน์ :

ตำรวจเขาได้แบ่งการโกงออนไลน์ออกเป็น 18 ประเภท เช่น การหลอกให้รัก การโกงให้ไปลงทุน แชร์ลูกโซ่ การถ่ายภาพเว็บโป๊ เป็นต้น แต่ถ้ามองในทางจิตวิทยา กลโกงทั้งหลายอยู่บนพื้นฐานของ 2 มิติเท่านั้น เป็นมิติทางจิตวิทยาโดยตรง คือเรื่องแรงจูงใจ (motivation) ที่ถ้าเข้าใจตรงนี้แล้วก็สามารถสร้างกลโกงได้อีกหลายร้อยวิธี คือหนึ่งมนุษย์เรามีตัณหา ความโลภ ความอยาก เรื่องที่สองคือความกลัว มนุษย์มี 2 มิตินี้ เช่นเดียวกับในทางพุทธที่กล่าวว่า เรามีสิ่งที่อยากได้ และหลีกเลี่ยงในสิ่งที่ไม่อยากได้

  • เรื่องตัณหา เช่น การหลอกเรื่องชู้สาว การหลอกให้ลงทุน
  • เรื่องความกลัว เช่น การหลอกเรื่องภาษี การหลอกว่าเราไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือสิ่งผิดกฎหมาย คือหลอกให้เรารู้สึกกลัว เมื่อกลัวก็ทำตาม

 

อ.กฤษณ์ :

จากฐานสองตัวนี้ บวกกับเทคโนโลยี และบวกกับปัจจัยอื่น ๆ ของแต่ละบริบทสังคม ทำให้เกิดเป็นรูปแบบการโกงที่หลากหลาย การโกงบางอย่างใช้ได้ในสังคมไทย แต่อาจใช้ไม่ได้ในประเทศอื่น เพราะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

ประเทศไทยมีบริบทของการเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีคนที่ต้องการจะไต่ขึ้นในทางเศรษฐานะ การชักจูงในเรื่องของรางวัล โอกาสในทางธุรกิจ ก็ดึงดูดได้ง่าย

 

หรือเราอยู่ในประเทศที่มีระยะห่างของอำนาจสูง (power distance) เวลามีคนที่อ้างว่ามาจากหน่วยงานรัฐ เป็นเจ้าหน้าที่ คนก็จะรู้สึกว่าต้องให้ความเคารพเชื่อถือ ทำให้คนที่แฝงตัวมาในคราบนี้สามารถกระทำการได้ง่ายขึ้น เทียบกับประเทศที่มีกฎหมายที่ปกป้องสิทธิ์ของประชาชนมาก ประชาชนอาจรู้สึกว่าฉันไม่ต้องทำ มีปัญหาก็ไปเจอกันในศาล ขณะที่ถ้าเป็นเราอาจจะกังวลว่าจะถูกข้อหาขัดขวางการปฏิบัติงานฯ ก็จะคล้อยตามได้

 

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องบริบททางการทำธุรกรรมด้วย ในบางประเทศการโอนเงินจากคนต่อคนเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยทำกันในเชิงธุรกิจ เขาจะให้ตัดบัตรเครดิต หรือผ่านระบบ payment ที่มีธนาคารหรือองค์กรเป็นตัวกลางรองรับ ไม่ใช่โอนเงินเข้าบัญชีโดยตรง ดังนั้นเทคนิคที่หลอกว่ามีองค์กรของรัฐมาบอกให้โอนเงินเข้าบัญชีบุคคล เพราะเป็นคนที่ดูแลด้านนี้อยู่ จึงเป็นวิธีการที่ไม่ได้ผล ขณะที่ของเราอาจจะมองว่าปกติ คุ้นชิน และไม่ฉุกใจ

 

 

อะไรที่กระตุ้นความอยากและความกลัวได้ผล


 

อ.สมโภชน์ :

เวลาเขาสุ่มคนเป็นร้อยเป็นพัน ใครที่อยู่ในภาวะจิตตก หรืออยู่ในจังหวะชีวิตที่กำลังดาวน์ กำลังเซหรือสูญเสียบางอย่าง สิ่งที่เข้ามาเสนอก็จะเข้ามาประจวบเหมาะพอดี การชักจูงคนแบบนี้มันไม่ได้ง่าย ถ้าจังหวะสถานการณ์ไม่ได้เอื้อ คือคนที่ทำการโกงเขาก็มีความสามารถ แต่ไม่ใช่ว่าจะสามารถชักจูงได้ทุกคน เขาสุ่มสักพันคน โอกาสที่จะได้สักคนก็ไม่แปลก และมันก็คุ้มสำหรับเขาแล้ว

 

อ.กฤษณ์ :

ถ้ามองอัตราความสำเร็จในการโกงมันคงไม่ได้สูง พอมีเคสอะไรเกิดขึ้นมา ก็มีการทำข่าว ตีข่าว ว่ามีผู้เสียหาย ในมุมมองของคนที่รับรู้ก็จะเห็นภาพว่ามีเคสแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย แต่ถ้ามองในมุมของผู้กระทำ จำนวนครั้งที่ต้องโทรมันมาก มีคนที่วางสายใส่ มีคนที่ไม่เชื่อ เขาก็ต้องพัฒนาเทคนิคให้มีโอกาสเจอกับบางคนที่อยู่ในภาวะที่ไม่พร้อมจะระวังตัวเต็มที่แล้วทำให้เกิดเหตุตรงนี้ได้ ซึ่งเขาก็พยายามที่จะสร้างสถานการณ์ให้น่าเชื่อถือ เช่น เปิดด้วยเทปเสียงว่าหน่วยงานนี้กำลังติดต่อท่านและกำลังจะโอนสายให้เจ้าหน้าที่ ซึ่งมันก็ดูคล้าย ๆ กับประสบการณ์ที่บางคนเคยมี ส่วนนี้ก็จะเป็นขั้นตอนการสร้างความน่าเชื่อถือ จากนั้นเมื่อมาคุยสาย ก็จะโน้มน้าวด้วยการกระตุ้นให้เกิดความอยากหรือความกลัว เช่น คุณติดหนี้บัตรเครดิตอยู่นะ คุณมีพัสดุค้างอยู่ถ้าไม่จ่ายก็จะมีผลที่ตามมา ไม่ว่าจะถูกปรับ หรือถูกหมายศาลเรียก เมื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกแล้ว ถ้าเขาปล่อยให้มีเวลาให้คนได้คิดทบทวน คนก็จะตกหลุมพรางน้อยกว่า ดังนั้นเขาก็จะต่อเนื่องด้วยความเร่งด่วนว่าจะต้องจัดการให้เสร็จภายในการคุยสายนี้ ถ้าปล่อยไว้ไม่แก้ปัญหานี้ค่าปรับจะเพิ่มขึ้น กล่าวคือเมื่อกระตุ้นให้เกิดความกลัว เขาก็จะต่อด้วยการเผยทางรอดให้เรา เช่น คุณจะต้องโอนเงินมาที่นี่ หรือคุณต้องส่งข้อมูลบัญชีให้เขาตรวจสอบ โดยตลอดกระบวนการนี้ต้องมีการขัดขวางให้คนไม่อยู่ในภาวะที่จะตั้งสติคิดทบทวนอย่างมีเหตุผลได้ โดยการหว่านล้อมต่าง ๆ นานา ใช้ความกลัวใช้ความเร่งด่วนมากดดัน

 

เมื่อกระบวนการทางความคิดของเราไม่สามารถทำได้เต็มที่ ก็มีแนวโน้มที่เราจะตัดสินใจอะไรลงไปตามที่เขาชักจูงได้ และยิ่งเกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับคนที่อยู่ในภาวะจิตตก มีปัญหาทางอารมณ์ หรือมี cognitive capacity ไม่เต็มที่ เช่นในเด็ก หรือผู้สูงวัยมาก ๆ หรือแม้แต่คนทำงานทั่วไปที่ทุกวันนี้ก็เหนื่อยอยู่แล้วกับการหาเช้ากินค่ำ แล้วพอได้ยินว่าจะต้องไปศาลหรือไปไหนที่ทำให้ยุ่งยาก พอเขาเสนอทางรอดอะไรมาจึงคล้อยตามและตกหลุมพรางโดยไม่รู้ตัวได้

 

อ.สมโภชน์ :

ถ้าปล่อยให้คิดคนก็จะถอยได้ แต่เขาจะใช้วิธีรุกตลอดเวลา กระตุ้นเร้าตลอดเวลาให้เราทำอะไร

 

อ.กฤษณ์ :

คนที่โดนหลอกแล้วไปเล่าให้คนอื่นฟัง ทุกคนก็จะพูดว่า ไปโดนหลอกได้อย่างไร แต่นั่นเพราะว่าคุณไม่ได้อยู่ตรงนั้น ไม่ได้อยู่ใต้สภาวะอารมณ์เดียวกัน สถานการณ์เดียวกัน พอให้มานึกย้อนหลังทุกอย่างมันจะดูชัดไปหมดว่าเป็นการหลอกลวง แต่ ณ เวลาที่เจอเราอาจจะบอกไม่ได้

 

 

เราจะสามารถป้องกันตนเองไม่ได้ให้ตกเป็นเหยื่อได้อย่างไร


 

อ.สมโภชน์ :

ยาก เพราะในสถานการณ์ที่ถูก Hi jack ความคิดไปแล้ว ก็เหมือนเราถูกดึงไปที่จุดจุดหนึ่ง คือถ้าเผื่อเราได้มีเวลาที่จะหยุดคิด แล้วไปโทรไปตรวจสอบกับคนอื่นก่อนก็จะสามารถช่วยได้ แต่ก็เป็นเรื่องยากมาก เพราะทางฝ่ายผู้กระทำเขามีวิธีการกระตุ้นเร้าตลอดเวลา เขาถูกเทรนด์มาอย่างดี ว่าถ้าคนพูดมาอย่างนี้ จะไปต่ออย่างไร จนคนตกหลุมพรางจนได้

 

อ.กฤษณ์ :

เวลามีเคสเกิดขึ้นแล้วและมีการออกข่าว ก็จะมีการเตือนให้คนระวังตัว ซึ่ง warning sign พวกนี้สำคัญมาก เพราะจะช่วยให้คนได้เตรียมตัวก่อนที่จะเจอ มีทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เสนอว่าถ้าเราได้ซักซ้อมเหตุการณ์พวกนี้ในหัวเอาไว้ก่อน เมื่อวันหนึ่งที่เราเจอรูปแบบพฤติกรรมที่คล้าย ๆ กันนี้ เราจะจับไต๋ได้ง่ายขึ้น เพราะเราเคยมีภาพในหัวแล้วว่าเขาสามารถโทรมาหาเราแบบนี้ได้นะ มีคำพูดแบบนี้ได้ เช่น พอเราได้ยินว่าโทรมาจาก…คุณมีพัสดุรออยู่… เราก็ตัดสินใจกดวางสายได้เลย ไม่ฟังเลย หรือบางคนก็คุยต่อแล้วตอบโต้กลับไป

ซึ่งการที่เราสามารถทำแบบนี้ได้เพราะมันมีข่าวออกมามาก คนก็สามารถเตรียมตัวได้ว่าถ้าเขามาแบบนี้ฉันจะตอบอย่างไร พอข้อมูลพวกนี้มันถูกวางแผนเอาไว้ เป็น if…then… ก็จะช่วยให้คนป้องกันตนเองก่อนเดินเข้าไปในหลุมได้ แต่ถ้าไม่มีการตระหนักแบบนี้มาก่อนก็จะเข้าไปได้ง่ายมาก จะสังเกตได้ว่าเขาจะมีการเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อย ๆ ถ้ามุกพัสดุตกค้างไม่ได้ผลแล้ว ก็เปลี่ยนไปเป็นเรื่องภาษีแทน หรือค่าบัตรเครดิตแทน ไปเรื่อย ๆ ดังนั้นการสร้างการตระหนัก (awareness) เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าทางตำรวจหรือทางธนาคารมาช่วยในการประชาสัมพันธ์ตรงนี้มากขึ้น ก็เป็นส่วนที่จะช่วยได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง ที่เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารพวกนี้ก็จะยิ่งน่ากังวล ใครที่มีโอกาสมีปฏิสัมพันธ์กับคนกลุ่มนี้โดยตรง เช่น คนที่ดูแลผู้สูงอายุในบ้านพัก ก็ควรให้มีกิจกรรมส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ให้ได้รู้ตัวกันเอาไว้ก่อนล่วงหน้า ก็เป็นทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันได้

 

อ.สาม :

การรู้ข้อมูลก่อนเป็นเหมือนการได้มีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้เราได้ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม

 

อ.กฤษณ์ :

เมื่อเราเข้าไปอยู่ตรงนั้นแล้ว การจะบอกว่าฉันยังไม่ตัดสินใจ ฉันยังไม่ทำตามที่เขาบอก แล้วขอไปตรวจสอบก่อน ไปคิดก่อน มันฟังดูง่าย แต่ในบริบทของสังคมไทย และประสบการณ์ที่เราเคยมี เรามีแนวโน้มที่จะเชื่อผู้มีอำนาจมากกว่า เรารู้สึกว่าถ้าไม่ทำจะมีผลร้ายตามมา ดังนั้นการฝึกให้คนรู้สึกว่าเขาควบคุมชะตาชีวิตของตนเองได้ เรียกว่ามี internal locus of control ก็สำคัญ เพราะมันเป็นจุดที่เราจะบอกตนเองได้ว่า เรื่องนี้ฉันไม่ผิด ฉันไม่เคยมีหนี้บัตรเครดิต ไม่เคยทำอะไร ดังนั้นฉันสามารถจัดการเรื่องนี้ได้ ไม่จำเป็นต้องเชื่อคำพูดของใครวันนี้ ถ้าใครอยากจะมีปัญหาก็ไปเจอกันที่สำนักงาน ไปเจอกันในศาล

 

สิ่งนี้เป็นการฝึกให้ตัวบุคคลได้ควบคุมชีวิตตัวเองได้มากขึ้น ถ้าทำได้ เราก็จะกล้าปฏิเสธ กล้าที่จะบอกว่าไม่ ฉันจะจัดการเรื่องนี้ด้วยวิธีอื่น ไม่ทำตามวิธีที่ใครพูดมา จะทำด้วยวิธีที่คิดว่าถูกต้องกว่า ไม่ใช่ทางออกไว ๆ ที่ใครเสนอ ตรงนี้ต้องอาศัยการพัฒนาการบุคลิกภาพในตัวบุคคล และรวมไปถึงสภาวะแวดล้อมตลอดจนวัฒนธรรมในสังคม ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเขาได้รับการปกป้องสิทธิของเขาจากรัฐบาล ในฐานะพลเมืองของประเทศ มันไม่ใช่ที่อยู่ ๆ จะมีใครมาบอกว่าเรามีหนี้ แล้วเขาต้องยอมรับว่าเขามีทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ทำ เราสามารถสู้เพื่อสิทธิของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม หรือกฎหมายอะไรก็ตามที่ทำให้คนรู้สึกว่าฉันควบคุมปัจจัยในชีวิตของตนเองได้ ถ้าสร้างสิ่งนี้ได้ ก็เพิ่มโอกาสที่เราจะเดินออกจากหลุมตรงนั้นได้มากขึ้น

 

 

มีลักษณะของคนที่จะตกเป็นเหยื่อได้ง่ายหรือไม่


 

อ.สมโภชน์ :

ทุกคนมีโอกาสตกหลุมพรางได้หมดไม่ว่าใครก็ตาม ไม่ว่าเราจะคิดว่าเราเก่ง หรือมั่นใจในตนเองแค่ไหน ยิ่งคิดว่าเก่งยิ่งตกหลุมพรางได้ง่าย พอเราลงไปเล่นเกม เกมมันไม่ได้เป็นแบบที่เราคิด เพราะเราไม่ได้เห็นภาพรวมทั้งหมด ดังนั้นปัญหานี้จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพ แต่ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของแต่ละคนว่าได้ศึกษาข้อมูลมาขนาดไหน

 

ผมคิดว่าการกระตุ้นด้วยความกลัวจะใช้ได้ยากขึ้น เพราะคนเริ่มจะเข้าใจ และรับมือมันได้ดีขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กรุ่นใหม่ ๆ ที่เขาเชื่อในอำนาจควบคุมของตนเอง รวมถึงทางฝ่ายราชการให้ข้อมูลมากขึ้น และเรื่องอำนาจนิยมถ้าลดลงไปได้ ปัญหาเรื่องความกลัวก็แก้ไม่ยาก

 

แต่ส่วนที่แก้ได้ยากคือการกระตุ้นด้วยตัณหา ความโลภ ความอยาก มันไม่มีทางที่จะหมดลงได้ มันขึ้นอยู่กับสภาพสังคม เราจะสอนให้คนไม่โลภ ไม่มีตัณหาได้อย่างไร มันอาจจะแก้ไม่ได้ เพียงแต่พอจะลดลงได้เท่านั้น

 

อ.กฤษณ์ :

ถ้าเรานึกถึงเรื่องแชร์ลูกโซ่ หรือการหลอกให้ลงทุน ปัญหานี้มีมากี่สิบปีก็ทริคเดิม ไม่ได้ซับซ้อนหรือมีการเปลี่ยนแปลงมาก แค่เปลี่ยนจากการลงเล่นแชร์ เปลี่ยนไปเป็นคริปโตหรือการลงทุนในรูปแบบอื่น แต่จะเห็นว่ามันก็ไม่ได้ซับซ้อนเหมือนอย่างการมาหลอกให้กลัว การหลอกให้กลัว อย่างเมื่อก่อนที่จะปลอมตัวมาเคาะประตูบ้าน เดี๋ยวนี้มาเป็นออนไลน์ เป็นคอลเซ็นเตอร์ แล้วต้องสร้างเรื่องให้สมจริงสมจัง ในขณะที่การหลอกว่าจะมีความสัมพันธ์ด้วย แล้วขอให้โอนเงินมาหน่อย จะเห็นว่าการเล่นกับตัณหาของคนมันจะตรงไปตรงมา ชักดาบหรือชิ่งกันซึ่ง ๆ หน้าก็ทำได้

 

เปรียบเทียบกันในสองกรณีนี้ ผู้ถูกหลอกก็จะถูกสังคมมองต่างกัน เวลาเป็นเรื่องของการหลอกลวงด้วยความกลัว เราจะรู้สึกว่าเขาเป็นเหยื่อ เขาถูกกระทำ แต่พอเป็นเรื่องการหลอกให้ลงทุน จะถูกมองว่าเพราะโลภมากเองถึงได้ถูกหลอก มีการซ้ำเติม ถึงแม้ว่าทั้งสองกรณีจะเป็นการถูกโกงเหมือนกัน แต่ด้วยแรงจูงใจที่ต่างกัน มนุษย์เราก็มีแนวโน้มที่จะบอกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีน้ำหนักไม่เท่ากัน มีที่มาไม่เท่ากัน

 

สิ่งนี้ทำให้การรับรู้สาธารณะ (public perception) รับรู้ไม่เหมือนกันว่าการโกงแบบไหนที่รุนแรง อันตราย น่ากลัวมากกว่า ซึ่งก็จะส่งผลต่อการทำงานของตำรวจที่จะเข้าไปกวาดล้าง เขาก็อาจเลือกเข้าไปจัดการการกระทำผิดบางอย่างก่อน มากกว่าการกระทำผิดบางอย่าง เช่น เขาอาจมองว่าแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์เป็นเรื่องอันตรายกว่า มีคนเฒ่าคนแก่ เด็ก ตกเป็นเหยื่อ ส่วนกรณีการหลอกให้ลงทุนในคริปโต เขาอาจจะมองว่าเพราะคุณไม่ศึกษาให้ดีก่อนลงทุน ก็ควรรับความเสี่ยงกันเอง ก็เป็นไปได้

 

 

ทำไมคนถึงกล้าโกง กล้าทำตั้งแต่ยังเด็ก


 

อ.สมโภชน์ :

เพราะมันไม่ใช่เรื่องยาก คนก็อยากหาเงินด้วยวิธีง่าย ๆ สบาย และโอกาสที่จะได้รับการลงโทษมันน้อย

 

ทางราชการเขาก็อาจจะไม่ได้จัดการอย่างจริงจัง ดังที่อ.กฤษณ์พูดตอนต้น จากการรับรู้ทางสังคมที่มองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหารุนแรงหรือไม่ พอเขาคิดว่าไม่รุนแรง เขาก็จะวางเรื่องนี้ไปจัดการเรื่องที่สำคัญกว่าก่อน

 

ดังนั้นเมื่อเทียบกับโอกาสที่จะได้(รับจากการโกง) และโอกาสที่จะถูกจับมาลงโทษ มันก็เป็นธรรมดาที่จะคิดทำตามหลักความน่าจะเป็น ยิ่งคนยุคใหม่เป็นคนที่เก่งด้านเทคโนโลยี เขาฉลาดเรื่องนี้ เขามีความสามารถที่จะทำ และมีเรื่องของตัวแบบด้วย สามารถศึกษาจากอินเทอร์เน็ตได้ การมีตัวแบบก็นำพาให้คนไปสู่จุดนั้นได้ง่าย และอย่างที่บอกว่าโอกาสที่จะถูกจับมันน้อย ขณะที่โอกาสที่จะได้มันสูงกว่า มันก็น่าเสี่ยง

 

อ.กฤษณ์ :

เรื่องความเป็นไปได้ที่จะถูกจับ ถ้ามองตามทฤษฎีทางจิตวิทยาเรื่องแรงจูงใจ ว่าด้วย expectancy theory คือว่าคนเราจะทำอะไรก็ตาม เราจะคาดหวังว่าเหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นมากหรือน้อย ทั้งนี้ความคาดหวังจุดสำคัญของมันไม่ใช่โอกาส (probability) ที่จะเกิดขึ้นในความเป็นจริง มันไม่ใช่ว่ามีกรณีที่ถูกจับทั้งหมดกี่กรณี แต่มันเป็นการรับรู้ของผู้กระทำ ว่าตัวเขามีโอกาสที่จะถูกจับหรือไม่ เช่น เขามองว่าเขาทำเล็ก ๆ ไม่ใช่แก๊งใหญ่ เห็นตำรวจเอาแต่ทลายแก๊งใหญ่ พวกเล็ก ๆ เขาไม่น่ามาใส่ใจหรอก เขาก็อาจเลือกที่จะทำ

 

ตัวที่ทำให้คนหลีกเลี่ยงที่จะกระทำความผิด เช่นที่พบในงานวิจัยเรื่องการโกงในชั้นเรียน การทำความผิดบนท้องถนน ก็เป็นในเรื่องของความรู้สึกว่าฉันจะถูกจับได้หรือเปล่า ถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีโอกาสจะถูกจับได้ก็จะไม่ทำ

 

ในสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ ก็เป็นไปได้ว่าเพราะคนไม่รู้สึกว่าฉันจะถูกจับ สาวมาไม่ถึงตัวฉันหรอก ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะว่ามันเกิดขึ้นน้อยจริง ๆ ก็ได้ หรือมันอาจจะเกิดขึ้นแต่มันไม่มีการออกข่าวก็ได้ มันไม่มีการพูดถึง ไม่มีเคสขึ้นมาว่าเขาจับกันอุตลุดเลย คนนี้โดนโกง อีกสามวันจับได้แล้ว ถ้าคนคิดว่าสิ่งที่ฉันไปโกงออนไลน์เอาไว้ จะถูกแกะรอยได้ ตามถึงตัวได้อย่างรวดเร็ว มันก็จะทำให้คนเสี่ยงที่จะกระทำความผิดน้อยลง

 

ดังนั้นคงต้องบอกว่าทุกคนวันนี้คนไม่ได้คิดว่าคนโกงจะถูกจับได้ คนทำก็ชะล่าใจ เครื่องไม้เครื่องมือที่จะสร้างเรื่องไปหลอกก็ทำได้ง่ายขึ้น จะอัดเสียงหรือสร้างหน้าเว็บให้เหมือนของจริง เมื่อก่อนมันไม่ง่าย แต่ตอนนี้ด้วยเทคโนโลยีมันทำได้ง่ายขึ้นเยอะ เรียกว่าอุปสรรคในการกระทำผิดมันน้อย

 

 

การเตือนภัยจากภาครัฐเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพหรือไม่


 

อ.สมโภชน์ :

การเตือนก็ดีกว่าการไม่เตือน แต่อย่างที่บอกว่ามันช่วยเรื่องการหลอกให้เกิดความกลัวได้ แต่การหลอกให้เกิดตัณหาคงช่วยไม่ได้มาก ตราบใดที่คนเรายังอยากรวย ห้าสิบปีที่แล้วใช้กลยุทธ์อะไร ทุกวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม แค่เปลี่ยนรูปแบบ และสิ่งที่ทำให้การหลอกแบบนี้สำเร็จ คือการทำให้เห็นโมเดลของคนที่ได้ เช่น เขาทำอันนี้แล้วได้เงินเท่าไหร่ มีรถหรูขับ คือเห็นว่าเขาได้ ก็เลยเกิดให้มีแมงเม่าบินเข้ากองไฟกันตามมา และตัวแบบนั้นอาจจะไม่ใช่ของจริงก็ได้ เป็นตัวแบบที่สร้างขึ้นมา

 

ปัญหานี้จึงแก้ยาก ถ้าจะแก้คือต้องทำให้คนคิดให้ได้ว่า ทุกอย่างในชีวิตไม่มีอะไรที่ได้มาโดยง่าย ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความพยายาม ถ้าเราปลูกฝังเด็กแบบนี้ตั้งแต่ต้น ให้การศึกษา ให้ข้อมูล ก็ช่วยได้ส่วนหนึ่ง

และนอกเหนือจากตำรวจ ก็อาจจะต้องมีหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง เป็นหน่วยไอที ที่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้โดยเฉพาะ

 

อ.กฤษณ์ :

การเตือนเป็นการปรับพฤติกรรมของผู้เป็นเหยื่อให้เขาระวังตัว ซึ่งก็จะใช้ได้ผลในบางกรณีดังที่อ.สมโภชน์ได้อธิบายไป ซึ่งจุดนี้ก็ยังไม่พอ เราต้องปรับพฤติกรรมของผู้ที่ทำความผิดด้วย จะให้เหยื่อระวังตัวอย่างเดียวไม่พอ สำหรับตัวผู้กระทำ การมีข้อกฎหมาย มีบทลงโทษ ทำเอาไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าไม่ทำให้เห็นว่ามีการบังคับใช้กฎหมายเหล่านั้นอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ผู้กระทำผิดก็จะไม่รู้สึกว่าสิ่งนี้คือความเสี่ยง ดังนั้นเราต้องทำให้เกิดความรู้สึกของการบังคับให้กฎหมายที่จริงจัง ดังที่เราทราบว่าตำรวจเขามีงานเยอะ และมีการจับเคสพวกนี้ได้เหมือนกัน แต่การนำเสนอหรือการออกข่าวที่อาจจะยังไม่ไปถึงคน อย่างออกข่าวทีวีจะถึงคนสักกี่เปอร์เซ็นต์สำหรับยุคสมัยนี้ ยิ่งถ้ามองไปยังเด็กรุ่นใหม่ที่อยู่บนแพล็ตฟอร์มออนไลน์เกือบ 100% จะทำให้ข่าวพวกนี้ไปถึงการรับรู้ของเขาได้อย่างไร ว่ามีการบังคับใช้กฎหมายพวกนี้อย่างจริงจังอยู่ เรื่อง public perception ตรงนี้จึงควรต้องมีการปรับปรุงด้วย ให้คนรู้สึกว่าเกรงกลัวต่อกฎหมายมากขึ้น

 

 

ถ้ามีคนใกล้ตัวเป็นเหยื่อควรตอบสนองอย่างไร


 

อ.สมโภชน์ :

เราคงไม่ซ้ำเติมกันอยู่แล้ว ควรให้กำลังใจกัน อาจไม่ต้องพูดอะไรมาก แค่จับไหล่จับมือ มีอะไรก็คุยกัน และรับฟังเป็นสำคัญ บางครั้งการที่เราพูดอะไรออกไป เราอาจจะคิดว่าเราระวังแล้ว แต่สำหรับคนที่ยังมีจิตใจเปราะบางอยู่เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ เขาจะรู้สึกอ่อนไหวกว่าปกติ ถ้าเป็นผมผมคงไม่พูดอะไรมาก แค่แสดงให้รู้ว่ายังอยู่ข้าง ๆ นะ แล้วมีอะไรก็คุยกันได้ อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไป ถ้าเขาอยากระบายอะไรก็ฟังเขา ไม่ต้องพูดอะไรที่เป็นการซ้ำเติม ฟังอย่างตั้งใจ สนับสนุน ให้กำลังใจว่าชีวิตต้องเดินต่อไปข้างหน้า โดยไม่ต้องคอมเมนต์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

 

อ.กฤษณ์

สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องเตรียมตัวก่อนคือเราต้องสำรวจทัศนคติตัวเราเองด้วย ว่าเรามีอคติในใจหรือไม่ เรามองว่าเขาเป็นเหยื่อ หรือมองว่าเขาโง่เอง พลาดเอง เราต้องปรับทัศนคติของเราก่อนว่าจริง ๆ เขาก็เป็นเหยื่อเหมือนกัน ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบการหลอกลวงแบบไหน สุดท้ายเขาก็คือคนที่ถูกหลอก การที่เราเข้าหาเขาด้วยความเข้าใจว่าทุกคนผิดพลาดได้ ทุกคนตกเป็นเหยื่อได้ ตรงนี้เป็นท่าทีที่สำคัญในจุดแรก เวลาเข้าไปคุยเราจึงจะทำให้เขารู้สึกว่าเราเข้าไปรับฟังจริง ๆ ไม่ไปตัดสิน เราเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้ ถ้าเราสร้างความรู้สึกว่าเราอยู่ข้างเดียวกัน เมื่อเขาพร้อมเขาก็จะเปิดใจและเล่าสิ่งต่าง ๆ ให้ฟัง โดยที่เราไม่ต้องพูดอะไร เขาก็จะค้นพบบทเรียนต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

 

 

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “Psychology of Love”

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ

“Psychology of Love” 
รู้จักรัก – เปิดประตูความรัก – เข้าใจรัก 

 

รูปแบบการอบรม : อบรมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม ZOOM
(ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถดูย้อนหลังได้)

 

 

 

DAY 1 : รู้จักรัก

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566
  • นานารูปแบบความรักความสัมพันธ์ – ผศ. ดร.ประพิมพา จรัลรัตนกุล (13.00 – 14.30 น.)
  • สุขที่ได้เลือก เลือกดีไหมว่าจะโสด – ผศ. ดร.ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล (14.30 – 16.00 น.)

 

DAY 2 : เปิดประตูความรัก

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566
  • รักอยู่หนใด สร้างโอกาสให้มีรัก – ผศ. ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ (09.00 – 10.30 น.)
  • รู้ได้อย่างไรว่าใช่หรือเปล่า แบบไหนคือ Healthy Relationship – ผศ. ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ (10.30 – 12.00 น.)

 

DAY 3 : เข้าใจรัก

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566
  • ไม่มีรักไหนไร้ปัญหา วิธีก้าวฝ่าอุปสรรค – อ. ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน (09.00 – 10.30 น.)
  • เจ็บแต่จบ จบอย่างไรไม่ให้ฝากแผลใจและ Move On ได้ – ผศ. ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ (10.30 – 12.00 น.)

 

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ :
  • กรณีลงทะเบียน 1-2 วัน ราคาวันละ 200 บาท
  • กรณีลงทะเบียนครบ 3 วัน ราคา 500 บาท

 

ลงทะเบียนได้ที่

https://forms.gle/fg72u7dfb43jLUnR6

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

คุณวาทินี โทร 02-218-1307 อีเมล Wathinee.S@chula.ac.th

คณะจิตวิทยาต้อนรับ Dr. Tomás Izquierdo Rus จาก University of Murcia

 

คณะจิตวิทยาต้อนรับ Dr. Tomás Izquierdo Rus จาก University of Murcia ประเทศสเปน ในโอกาสการพบปะหารือกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ รองคณบดีคณะจิตวิทยา เพื่อพูดคุยกันถึงแนวทางในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยระหว่างทั้งสองสถาบันภายใต้โครงการความร่วมมือ Erasmus Mundus เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา

 

 

 

Social comparison – การเปรียบเทียบทางสังคม

 

 

 

การเปรียบเทียบทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่นเพราะต้องการข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง สภาพแวดล้อม เพื่อประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพของตนเอง และเป็นการตั้งเป้าหมายส่วนตัว

 

โดย Festinger (1954) ได้สรุปแนวคิดการเปรียบเทียบทางสังคมไว้ว่า เมื่อบุคคลเผชิญสถานการณ์ที่กำกวม สับสน บุคคลจะเกิดปฏิกิริยาทางจิตอันได้แก่ เกิดความรู้สึกทางลบ ความไม่แน่ใจ ความต้องการข้อมูลข่าวสาร บุคคลจึงพยายามเข้าร่วมและเปรียบเทียบทางสังคมกับบุคคลอื่น ซึ่งนำไปสู่กระบวนการคิด กระบวนการรับรู้ที่ชัดเจน

 

การเลือกบุคคลที่จะเปรียบเทียบด้วยนั้น บุคคลมักจะเลือกเปรียบเทียบกับบุคคลใกล้ชิด โดยเฉพาะคนที่มีทัศนะและความสามารถที่ใกล้เคียงกัน บุคคลจะไม่ชอบสถานการณ์ที่บุคคลอื่นๆ มีทัศนะและความสามารถแตกต่างกันกับตน หรือก็คือ บุคคลจะถูกดึงดูดไปยังกลุ่มหรือบุคคลที่มีทัศนะเหมือนกับตน และมีแนวโน้มที่จะหลบออกจากกลุ่มที่มีทัศนะและความสามารถต่างกัน

 

 

Forsyth (2006) ได้ระบุประเภทของการเปรียบเทียบทางสังคมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

 

1. Misery loves company – คนที่มีความทุกข์ต้องได้รับการรับรู้หรือปลอบโยนจากบุคคลอื่น

บุคคลที่ไม่มีความสุขอาจจะเข้าร่วมกับบุคคลอื่นเพื่อขอหรือหาข้อมูลโดยการเปรียบเทียบมุมมอง ของตนเองกับมุมมองของผู้อื่นที่ไม่มีความสุขเหมือนกับตนเอง เพื่อกำหนดมุมมองของตนเองที่ถูกต้อง เที่ยงตรง หรือเหมาะสม

 

2. Misery loves miserable company – คนที่มีความทุกข์จะหาเพื่อนหรือกลุ่มที่มีความทุกข์เหมือนกันตนเอง

บุคคลจะให้ความสนใจในข้อมูลที่ช่วยให้เกิดความกระจ่างและร่วมประสบการณ์กับบุคคลที่มีประสบการณ์เหมือนกับตนเอง หรือการที่บุคคลนั้นมีปัญหาเหมือนกับตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์นั้นเป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างอันตราย ทำให้บุคคลผู้นั้นพูดคุยอย่าเงปิดเผยกับผู้ร่วมประสบการณ์เดียวกันมากกว่าบุคคลอื่นที่ไม่ได้มีประสบการณ์ร่วมกัน เพราะดีกว่าการที่ต้องอยู่คนเดียวโดยไม่ทราบข้อมูล

 

3. Embarrassed misery avoids company – คนที่มีความทุกข์จากความละอายจะหลีกเลี่ยงการพบเพื่อนหรือกลุ่มตน

บุคคลที่มีความอายจะหลีกเลี่ยงการพบเพื่อนหรือไม่อยากเข้าร่วมกลุ่ม เพราะกลัวความอาย มากกว่ากลัวอันตราย คนที่อายจะสับสน กระวนกระวายใจ กลัว ไม่มั่นใจ ไม่กล้าที่จะไปพูดคุยกับบุคคลอื่น ทำให้ไม่อยากอยู่กับผู้อื่น จึงเลือกการแยกตัวออกจากกลุ่ม โดยอาจเลือกทำกิจกรรมที่สามารถทำได้คนเดียว

 

4. Misery loves more miserable company sometimes – คนที่มีความทุกข์ ในบางครั้งอาจจะคบกับเพื่อนหรือกลุ่มคนที่มีความทุกข์มากกว่าตนเอง

การเปรียบเทียบทางสังคมในด้านนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

  • Downward social comparison การเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่า
  • Upward social comparison การเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่า

บุคคลจะเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง หรือเรื่องที่ตนเองให้ความสำคัญ ในหลายๆ กรณีบุคคลชอบที่จะเปรียบเทียบกับคนที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่าตนเอง เพราะทำให้บุคคลที่เปรียบเทียบนั้นรู้สึกดีกว่าบุคคลอื่นที่ตนไปเปรียบเทียบด้วย ในทางตรงกันข้าม การเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่าตนเอง จะทำให้รู้สึกล้มเหลวหรือด้อยกว่าบุคคลอื่น แต่ในบางครั้งการเปรียบเทียบกับคนที่ประสบความสำเร็จมากกว่าก็ทำให้เกิดแรงบันดาลใจและความหวัง เมื่อบุคคลนั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกับตนเอง เป็นพวกเดียวกับตนเอง

 

 


 

ข้อมูลจาก

 

“อิทธิพลของการเปรียบเทียบทางสังคมและรายได้ต่อความสุขเชิงอัตวิสัย” โดย พัชรี ศุภดิษฐ์ (2551) –  http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21590

 

ถอดความ PSY Talk เรื่อง ตีโจทย์ปัญหาการ Bully: เจ็บที่ไม่จบ ผลกระทบของการ Bully

การเสวนาทางจิตวิทยา (PSY Talk) เรื่อง

ตีโจทย์ปัญหาการ Bully: เจ็บที่ไม่จบ ผลกระทบของการ Bully

 

โดยวิทยากร
  • ผศ. ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ (อ.หยก) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสังคม
  • ผศ. ดร.ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล (อ.นุท) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการปรึกษา
  • อ. ดร.จิรภัทร รวีภัทรกุล (อ.ฝน) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาพัฒนาการ

 

วิทยากรและผู้ดำเนินรายการ
  • อ. ดร.พูลทรัพย์ อารีกิจ ผู้ช่วยคณบดี และผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการปรึกษา

 

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 15.00-16.00 น.

 

รับชม LIVE ย้อนหลังได้ที่

https://www.facebook.com/CUPsychBooks/videos/531594558936045

 

 

 

 

 

 

Bully คืออะไร


 

อ.หยก :

นิยามของการ bully คือการข่มเหงรังแก เป็นพฤติกรรมทางลบ เพราะเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวที่คนหนึ่งกระทำกับอีกคนหนึ่งโดยเจตนา และทำซ้ำ ๆ ในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง เจตนานั้นคือต้องการให้คนที่ถูกกระทำได้รับความเจ็บปวดทางร่างกายหรือจิตใจ โดยส่วนใหญ่คนที่ไปข่มเหงรังแกคนอื่นจะรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจ อยู่เหนือกว่าคนอื่น มีความสามารถมากกว่า ตัวใหญ่กว่า จึงกระทำต่อคนที่มองว่าอ่อนแอกว่า ซึ่งคนที่ถูกมองว่าอ่อนแอกว่าเหล่านั้นอาจเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม มีลักษณะแตกต่าง หรือมีความเฉพาะทาง มีความพิเศษ เป็นคนที่สังคมมองว่าคนกลุ่มนั้นเป็นคนที่มีอำนาจน้อยกว่าในสังคม

 

 

ประเภทของการ Bully


 

อ.หยก :
  • ประเภทแรก คือการรังแกทางร่างกาย (physical) การตี ต่อย เตะ การถ่มน้ำลาย ดึงผม กระชากผม หรือการขังเอาไว้ในล็อกเกอร์ ในห้องน้ำ เป็นลักษณะที่ทำซ้ำ ๆ กับคนเดิม ๆ
  • ประเภทที่สอง คือการรังแกทางวาจา (verbal) การใช้คำพูดที่ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกเจ็บปวดใจ รู้สึกอับอาย เป็นการพูดยั่วยุ ยั่วเย้า เสียดสี นินทา ปล่อยข่าวโคมลอย ให้บุคคลที่เป็นเหยื่อรู้สึกเสียหายจากสิ่งที่ผู้กระทำได้พูดออกมา การรังแกประเภทนี้จึงมีเส้นบาง ๆ ระหว่างการรับรู้ของผู้กระทำที่มองว่าเป็นการล้อเล่นเฉย ๆ ขณะที่ผู้ถูกกระทำอาจตีความได้ว่าผู้กระทำมีเจตนาที่ทำให้เขารู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจ และได้รับผลในระยะยาว
  • ประเภทที่สาม คือการรังแกทางสังคม (social) เป็นลักษณะของการกดดัน บีบบังคับ เช่น ไม่ให้มีใครเป็นเพื่อน การโดดเดี่ยวเหยื่อให้รู้สึกว่าไม่มีใครดบด้วย
  • ประเภทที่สี่ คือการรังแกในโลกไซเบอร์ (cyber bullying) ซึ่งปรากฏขึ้นมากในช่วงสิบปีให้หลัง เป็นลักษณะของการสาดกันด้วยคำพูดทางลบ การปล่อยข่าวโคมลอย การนำภาพที่ไม่ดีนักไปประจาน ให้เกิดความเสียหายกับเหยื่อ การคอยติดตามแบบประสงค์ร้าย (stalking) การรังแกในโลกไซเบอร์นั้นมีผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะมีผู้คนพบเห็นได้มากและผลิตซ้ำได้ คือมีคนเป็นพันเป็นหมื่นมาพบเห็นได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง และมาดูซ้ำ ๆ ได้เหมือนเราถูกกระทำซ้ำไปซ้ำมา

 

 

ความชุกของการ Bully


 

อ.ฝน :

เราสามารถพบเห็นการ bully ได้ตั้งแต่ระดับอนุบาล ไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย โดยเรามักจะพบความชุกทั้งในด้านความถี่และความรุนแรงของการ bully ในทุกประเภทในระดับมัธยม

 

เวลาที่เราสังเกตเห็นการรังแกกันในวัยอนุบาล เช่น การตี การกัด การแย่งของ ในมุมมองของเด็กอนุบาล เขาอาจไม่รู้จักคำว่ากลั่นแกล้งรังแก แต่เป็นพฤติกรรมที่เขามองว่าไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะไม่รู้จักการขอหรือการเจรจาเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ จึงออกมาในรูปของความก้าวร้าวและไปรังแกคนอื่น ดังนั้นการพิจารณาการ bully ในวัยอนุบาลอาจต้องวิเคราะห์ถึงเจตนาและการรับรู้ของผู้กระทำด้วย

 

ส่วนในวัยมัธยม บริบทที่เจอการ bully ได้บ่อย ยกเว้นในโลกไซเบอร์ คือการรังแกในโรงเรียน ทั้งนี้การให้คุณค่าของเด็กวัยรุ่นคือการได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะจากเพื่อน พฤติกรรมการรังแกหรือการแสดงให้เห็นว่าฉันมีอำนาจ ฉันแข็งแรง บางครั้งเขาก็มองว่าเป็นสิ่งที่นำไปสู่การได้รับการยอมรับจากเพื่อน วัยรุ่นบางคนจึงใช้การรังแกผู้อื่นเพื่อสร้างสถานะทางสังคมของตน และสร้างการยอมรับจากเพื่อน ๆ ในโรงเรียน

 

 

ธรรมชาติของมนุษย์มีความสงสาร เห็นใจ ทำไมบางคนจึงเลือกที่จะรังแกผู้อื่นให้เกิดความเจ็บปวดทางกายหรือทางใจ


 

อ.นุท :

ในบุคคลที่โตขึ้นจนน่าจะมีพัฒนาการเรื่องความเห็นอกเห็นใจแล้ว แต่ยังมีพฤติกรรมรังแกผู้อื่นให้รู้สึกเจ็บปวด อับอาย ด้วยความรู้สึกสนุก ความรู้สึกสะใจอยู่นั้น อาจเป็นได้จากหลายปัจจัย ถ้ามองในปัจจัยส่วนบุคคล การ bully อาจมาจากความต้องการภายในที่ต้องการแสดงออกถึงการมีอำนาจ การเป็นที่ยอมรับของสังคม การได้รับความนิยมชมชอบว่าฉันมีความเหนือกว่า มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่มากกว่า ปัจจัยตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการอยากเป็นผู้นำ อยากสร้างความรู้สึกดีกับตนเอง อยากให้ผู้อื่นรู้สึกชมชอบ ก็เป็นปัจจัยหลักในการเกิดพฤติกรรม bully แม้แต่ผู้ที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นแต่ก็กระทำซ้ำในการ bully ผู้อื่น ก็อาจจะมาจากภูมิหลังที่เขาเคยถูก bully ด้วยเช่นกัน คือคนที่ถูกรังแกก็รังแกผู้อื่นต่อ เป็นวงจร ทำให้วงจรของการ bully นั้นไม่สิ้นสุดและส่งต่อความเจ็บปวดนั้นไปเรื่อย ๆ ถ้ามองในด้านสภาวะทางจิตใจ อาจมองได้ถึงการได้ระบายความเจ็บแค้น เป็นการแทนที่ความเจ็บปวดไปยังผู้อื่น เพื่อทำให้ตนเองรู้สึกกลับมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ตนเองอาจจะรู้สึกถูกลดอำนาจ รู้สึกสูญเสียความรู้สึกดีกับตัวเอง

 

เราอาจจะต้องศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ที่รังแกคนอื่นที่อยู่ในวัยมัธยมหรือมหาวิทยาลัยแล้ว ว่าเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่เขาเจ็บช้ำในอดีตหรือไม่ หรืออาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของเขาได้เหมือนกัน ซึ่งอาจจะส่งผลจากการเลี้ยงดูของครอบครัว ที่ขาดตัวแบบของการดูแลที่เหมาะสม มีความรุนแรงในครอบครัว และเขารู้สึกชินชาหรือคุ้นเคยกับการใช้ความรุนแรง และมองว่าการกระทำการรุนแรงต่อผู้อื่น โดยไม่ใส่ใจ ไม่แยแส เป็นเรื่องปกติ

 

อีกปัจจัยหนึ่งคือเรื่องการเสพสื่อ ไม่ว่าจะเป็นทอล์กโชว์ เกมโชว์ ที่มีการหยอกเย้าด้วยมุกต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความบันเทิง จึงอาจกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เรามองว่าการหลอกล้อ เย้าแหย่คน เพื่อความสะใจ เพื่อความสนุกสนาน มันเป็นเรื่องปกติที่เราสามารถกระทำต่อผู้อื่นได้

 

อ.ฝน :

พฤติกรรมก้าวร้าวและการ bully คือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เราไม่ได้เกิดมาพร้อมการรู้ว่าอะไรคือการรังแก คำถามคือแล้วเราเรียนรู้มาจากที่ไหน สิ่งหนึ่งที่อธิบายได้คือการอบรมเลี้ยงดูจากที่บ้าน เราทุกคนเรียนรู้รูปแบบความสัมพันธ์โดยมีพื้นฐานมาจากการสังเกตคนในบ้าน เราสังเกตว่าคุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติต่อกันอย่างไร ปฏิบัติต่อลูกอย่างไร เพราะฉะนั้นการปฏิบัติต่อกันในบ้าน ทำให้เด็กสร้างกรอบภาพความคิดขึ้นมาว่าการที่เราจะมีความสัมพันธ์กับใครสักคนเราควรปฏิบัติต่อกันอย่างไร ถ้าเด็กเจอความรุนแรงในบ้าน ไม่ว่าเป็นการกระทำ หรือการใช้วาจา แล้วนำมาซึ่งการได้รับในสิ่งที่ต้องการ เด็กก็จะเรียนรู้ว่าถ้าฉันมีความสัมพันธ์กับใครและอยากได้อะไรก็ตาม ฉันก็จะใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้สิ่งนั้นหรือมีความสัมพันธ์กับคนนั้นได้ จากสิ่งที่เกิดขึ้นภายในบ้านอาจพัฒนาเป็นพฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแกที่นำไปใช้กับคนภายนอก เพื่อใช้ในการสร้างความสัมพันธ์หรือสร้างการยอมรับ

 

อ.หยก :

ในบางกรณี ครอบครัวอาจไม่ได้เป็นแหล่งกำเนิดความรุนแรง แต่บุคคลสามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น โรงเรียน หรือในที่ทำงาน การเห็นว่าคนที่ bully คนอื่นได้รับการยอมรับจากสังคมจริง ๆ คือพอทำแล้วได้รับคำชื่นชม ว่าเป็นคนเก่ง คนกล้า กล้าพูดในสิ่งที่ฉันไม่กล้า เป็นต้น ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ที่เห็นว่าผู้กระทำไม่ได้รับผลเสีย ไม่มีใครว่า ในทางตรงกันข้ามกลับได้รับผลดี จึงอยากทำตามเพื่อที่จะได้รับคำชมหรือถูกมองว่าเก่งเหมือนกัน

 

กลับไปที่ปัจจัยส่วนบุคคล การ bully คือพฤติกรรมก้าวร้าว ในความแตกต่างระหว่างบุคคล อาจมีบางคนที่มีแนวโน้มทำพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อมีความต้องการที่จะอยู่เหนือคนอื่น ก็ไม่รู้จะแสดงออกอย่างไร ก็จะทำพฤติกรรมก้าวร้าวใส่คนอื่นเพื่อให้ได้มาในสิ่งทีตนต้องการ

 

 

เราสามารถช่วยหรือป้องกันไม่ให้เกิดการ bully ได้อย่างไร


 

อ.หยก :

ในด้านจิตวิทยาสังคม การมีแหล่งสนับสนุนทางสังคม (social support) หรือการมีที่ปรึกษา มีคนรอบข้างที่เราสามารถไว้ใจบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในและแต่ละวันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบ้านด้วยว่ามีการสื่อสารกันในลักษณะใด เด็กรู้สึกว่าบ้านเป็นพื้นที่ปลอดภัยหรือไม่ หากเรามีพื้นที่หรือบุคคลที่สามารถบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ก็จะเกิดการรับรู้ว่าเราไม่ได้เผชิญปัญหาตามลำพัง มีคนที่ช่วยกันคิดว่าจะหาทางออกอย่างไร ที่จะไม่เป็นการทำลายคนที่มารังแกเราด้วย พื้นฐานครอบครัวจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยประคับประคองคนหนึ่งคนให้มีจิตใจที่แข็งแกร่งหากต้องเผชิญการรังแกทั้งทางร่างกาย วาจา สังคม หรือทางไซเบอร์ก็ตาม ให้บุคคลไม่รู้สึกโดดเดี่ยว มีที่พึ่ง มีคนปลอบใจ และมีคนที่ร่วมแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน

 

อ.สาม :

การที่บุคคลรู้สึกว่าที่ผ่านมาตนถูกเลี้ยงดูมาโดยได้รับการปฏิบัติที่ดี ยังเป็นภูมิต้านทานให้กับบุคคลสามารถยืนหยัดในตนเองอีกด้วยว่า การรังแกที่ตนเผชิญอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ตกไม่สมควรได้รับ ถ้าผู้ปกครองให้ความมั่นคงมั่นใจกับเด็กได้ ความรู้สึกตัวน้อย ความรู้สึกด้อย เมื่อถูกรังแกก็จะไม่เกิดผลกับเรา

 

อ. ฝน :

การเรียนรู้พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นได้สองทาง ทางแรกคือการสังเกตผ่านตัวแบบ (role model) ดังนั้นเมื่อมีปัญหาในความสัมพันธ์ พฤติกรรมที่แสดงออก คำพูด การจัดการปัญหาซึ่งกันและกันของคนในบ้าน เด็ก ๆ เขาก็จะสังเกต จดจำ และนำไปเป็นแบบอย่างที่จะนำไปปฏิบัติกับคนข้างนอก ดังนั้นหากเราต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่จะลดการ bully อย่างแรกจึงต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน ที่จะเป็นตัวแบบให้กับเด็ก ๆ ที่อยู่รอบข้าง
ทางที่สอง คือ การสอน การอธิบาย การได้คุยกัน การได้คุยกันในบ้านนอกจากทำให้เด็กรู้สึกมีที่พึ่งแล้ว ยังช่วยให้เขาเห็นถึงทางเลือกในการแสดงออกได้ด้วย ว่ามีทางอื่น ๆ ที่สามารถแสดงออกได้และไม่ต้องแก้ปัญหาด้วยการกลั่นแกล้ง หรือตอบสนองด้วยความรุนแรง

 

นอกจากนี้ การรังแกไม่ได้มีแค่ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ยังมีผู้เห็นเหตุการณ์ น้อง ๆ บางคนเมื่อพบเห็นการรังแกแล้วอาจจะรู้สึกไม่อยากเข้าไปยุ่ง เพราะกลัว ไม่แน่ใจว่าตนเองจะสามารถช่วยเหลือได้หรือไม่ หรือกล้วว่าคนรังแกจะหันมาหาตัวเองหรือไม่ มีงานวิจัยที่พบว่าถ้าเราสามารถทำให้คนรอบข้างหรือผู้เห็นเหตุการณ์พัฒนาขึ้นมาเป็นผู้ช่วยเหลือได้ ความชุกของการรังแกจะลดลง ทั้งนี้ ผู้ช่วยเหลือไม่ได้หมายถึงคนที่ไปเผชิญหน้ากับผู้กระทำเพื่อหยุดการรังแกเสมอไป ยังสามารถช่วยเหลือในมุมปลอบใจผู้ถูกกระทำก็ได้ ดังนั้นหากเราสามารถเป็นตัวแบบหรือสอนว่า เมื่อเราเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ที่มีการรังแก เราควรทำอย่างไรเพื่อช่วยเพื่อน หรือช่วยให้ความรุนแรงลดลง

 

 

สำหรับคนที่โตแล้ว เรามีวิธีการดูแลใจเราหรือคนข้าง ๆ เราอย่างไร


 

อ.นุท :

ในคนต่างวัยเราจะมีวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ความรุนแรงต่างกัน สำหรับในคนที่โตแล้วที่สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ด้วยตนเองแล้ว หมายถึงมีพัฒนาการทางความคิดและการใช้ภาษาพอสมควรแล้ว การตอบสนองเพื่อหยุดวงจรความรุนแรงนั้นต้องเริ่มด้วยการระงับการกลั่นแกล้งรังแก ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก และต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพราะเพียงลำพังตัวบุคคลอาจไม่สามารถหยุดหรือระงับวงจรนี้ได้ ต้องมีการขยับเขยื้อนตั้งแต่ระดับบุคคล ไปจนระดับครอบครัว โรงเรียน และสังคมโดยรวม

 

ในระดับบุคคล ในเด็กโต ถ้าเราตอบสนองความรุนแรงด้วยความรุนแรง ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม เพราะเป็นการเพิ่มพูนปัญหา การตอบสนองที่เหมาะสมคือการยืนยันในความรู้สึกของเรา ว่าเราไม่ชอบ และต้องการให้เขาหยุดการกระทำ หรือถ้าเราสามารถหลีกเลี่ยงการพบเจอคนเหล่านี้ได้เราอาจใช้การถอยห่างออกจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ โดยสรุปคือ หลักการพื้นฐานคือการตอบสนองโดยไม่ใช้อารมณ์ อย่างที่ยืนยันในสิทธิ์ของเราที่จะไม่ถูกคุกคาม ที่จะได้รับการให้เกียรติในฐานะที่เราเป็นบุคคลคนหนึ่ง

 

ถ้าเป็นนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย อาจจะตอบโต้ไปในในลักษณะของการบ่งบอกว่าเรารู้สึกอย่างไรในสิ่งที่เขาทำกับเรา และหากสิ่งนี้ยังเกิดขึ้นเราจะดำเนินการอย่างไร ตั้งแต่เบาไปหาหนัก และอาจไปถึงการดำเนินการทางกฎหมายได้เช่นกัน

 

หากเราหลีกหนีสถานการณ์โดยการยินยอมให้เขาทำ การแอบไปร้องไห้ โดยการไม่พูดกับใคร ไม่ทำอะไรเลย เช่นนี้คือการที่เรายอมจำนนต่อสถานการณ์ คนที่รังแกข่มเหงก็จะรู้สึกมีอำนาจมากชึ้น และไม่ได้รับผลทางลบอะไรเลย พฤติกรรมรังแกก็จะวนเวียนซ้ำ ๆ ดังนั้นเราต้อง assertive แล้วต้องไม่ aggressive และไม่ passive ด้วย จึงจะหยุดยั้งวงจรนั้นได้

 

ส่วนเด็กเล็กที่ยังไม่มีความสามารถในการต่อกร ต้องเริ่มจากคนใกล้ชิดเขาที่มีอำนาจ เช่นผู้ปกครอง โดยใช้วิธีการในการใส่ใจ ถามไถ่ความเป็นไปของเขาที่โรงเรียน เพราะไม่ใช่เด็กทุกคนที่เป็นนักเล่าเรื่อง เขาอาจไม่ช่างคุย หรืออยู่ในครอบครัวที่ไม่ได้มีสิ่งแวดล้อมที่เขารู้สึกปลอดภัยที่จะพูดคุยได้ ดังนั้นพ่อแม่ต้องเป็นคน active ที่จะเข้าหาพูดคุย ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจจะถามว่า “เป็นยังไงบ้างลูก ที่โรงเรียนเป็นยังไง” และถามคำถามที่เจาะจงลงไป เช่น “มีอะไรที่ทำแล้วสนุกจังที่โรงเรียน มีอะไรที่ทำแล้วรู้สึกไม่ชอบบ้าง” “มีเพื่อนคนไหนที่ชอบคุย มีเพื่อนคนไหนบ้างมั้ยที่ไม่ชอบเล่นด้วย เพราะอะไร”

 

การพูดคุยเช่นนี้นอกจากเป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างกันแล้ว ยังทำให้เราได้รู้เรื่องราวปัญหาที่เขาเผชิญและเข้าไปช่วยแก้ไขได้อย่างทันท่วงที จากนั้นถ้าลูกเปิดเผยในสิ่งที่ลูกเจอ เช่น บอกว่าไม่ชอบเล่นที่ถูกเพื่อนดึงผม มาจี้เอว พ่อแม่อาจจะชวนคุยว่าลูกทำอย่างไรต่อ เพื่อดูปฏิกิริยาในการตอบสนองเพื่อแก้ปัญหาของเขา และชวนคุยถึงแนวทางที่จะแก้ปัญหา เช่น การบอกเพื่อนให้หยุด การไปแจ้งคุณครู อย่างไรก็ตามในระหว่างการพูดคุย ก่อนที่จะให้แนวทางใด เราต้องตั้งใจฟังเขาก่อน อย่าเพิ่งไปพยายามแก้ปัญหา เพราะการที่เรารีบกระโจนเพื่อไปแก้ปัญหา อาจเป็นการที่เราไม่ได้ฟังเขาจริง ๆ เราจะต้องรับรู้และอยู่เคียงข้างความรู้สึกของเขาก่อน ที่เขารู้สึกโกรธเพื่อน น้องใจเพื่อน กลัว ไม่อยากไปโรงเรียน หรือความรู้สึกใดก็ตาม และไม่ไปพยายามวิจารณ์เขาว่าเป็นเพราะเขาทำอย่างนั้นเพื่อนจึงมาทำอย่างนี้ ไม่ว่าในสถานการณ์ใดก็ตาม ให้แสดงให้เขารับรู้ว่าเราเข้าใจเขา รับรู้ว่าเขารู้สึกอย่างไร

 

ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกเรื่องที่เด็กมีปัญหากับเพื่อนแล้วผู้ใหญ่ต้องเข้าไปจัดการแทรกแซง เราต้องดูตามความเข้มข้นของสถานการณ์และความเข้มข้นของความรู้สึกเขาเขาว่ามันรบกวนการใช้ชีวิตในโรงเรียนหรือไม่ เช่น เด็กบางคนอาจไม่กล้าไปที่สนามเด็กเล่น หรือไปห้องน้ำ ไปในที่ลับตาคน เพราะเคยถูกรังแกที่นั่น ดังนั้นผู้ปกครองต้องใส่ใจ เข้าใจ และเทรกแซงเมื่อจำเป็น ซึ่งการแทรกแซงนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทางโรงเรียนด้วย ความใส่ใจของคุณครูเช่นกัน โดยคุณครูต้องทำหน้าที่ลักษณะเดียวกับพ่อแม่ด้วย คือการสอดส่องดูแล สังเกตไม่ให้การกลั่นแกล้งรังแกเกิดขึ้น และสามารถเข้าระงับเหตุได้ทันท่วงที โดยคุณครูต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กด้วยที่เด็กจะสามารถเข้าหาและบอกปัญหาของตนได้

ทั้งนี้การที่ครูจะมีพฤติกรรมใส่ใจเด็กนักเรียนได้นั้น ก็มีผลมาจากนโยบายของโรงเรียนด้วย โรงเรียนต้องมีนโยบายในการต่อต้านการ bully ด้วย เช่นมีแคมเปญออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่ไม่อนุญาต ไม่เป็นที่ยอมรับในโรงเรียน และหากใครถูกกระทำสิ่งนั้นเด็กควรจะทำอย่างไร จะมีช่องทางในการเข้าหาคุณครูหรือมีช่องทางการได้รับความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง สิ่งนี้จะต้องเป็นแคมเปญของทั้งโรงเรียน และอาจเป็นนโยบายในระดับชั้นด้วย ในชั้นเรียนคุณครูก็ต้องชี้แจงกฎเหล่านี้

 

และในระดับสังคม ก็ต้องช่วยกันสร้างการตระหนักรู้ถึงโทษหรือผลกระทบทางลบเกินกว่าจะคาดหมายของการ bully ด้วย ว่าการ bully นั้นสามารถฆ่าคนให้ตายได้ และได้ฆ่าหลาย ๆ คนให้ตายมาแล้ว

 

ในปัจจุบันที่ปัญหาการ bully ได้รับการตระหนักจากสังคมมากขึ้น ก็ทำให้คนหลาย ๆ คนย้อนกลับไประลึกถึงสิ่งที่เคยทำในวัยเด็ก ซึ่งเมื่อสิบกว่าปีก่อน การ bully เป็นเรื่องที่ไม่ได้ถูกพูดถึง ไม่ได้ทำให้คนในสังคมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องผิดปกติ เป็นเรื่องที่ไม่ได้รับการยอมรับ แต่ทุกวันนี้สังคมมองว่าการ bully เป็นปัญหา ทั้งต่อระดับสังคมและต่อสุขภาพจิตในขั้นรุนแรงของบุคคล ซึ่งตรงนี้เองที่จะเป็นการช่วยกันเขยื้อนสังคมในระดับใหญ่ได้

 

 

การปรับพฤติกรรมของผู้ bully ทำได้อย่างไร


 

อ.นุท :

คนที่ bully เองก็ต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน เป็นวิธีการเดียวกันเลย คือคุณพ่อคุณแม่เมื่อรู้ว่าลูกข่มเหงรังแกผู้อื่น นั่นก็เป็นสัญญาณให้ทราบว่าลูกอาจจะมีสภาวะความยากลำบากในทางจิตใจที่ต้องการรับฟังการช่วยเหลือเพื่อให้คลี่คลายปัญหาได้ถูกจุด รวมถึงการที่ครูควรจะต้องมีช่องทางในการช่วยเหลือ ต้องเห็นความสำคัญของการที่เด็กคนหนึ่งกล้าที่จะบอกคุณครูในเรื่องที่เขาต้องใช้ความกล้าหาญอย่างมาก ในการจะเข้าหาบอกเรื่องอะไรสักอย่างหนึ่ง ไม่มองว่าเป็นแค่เรื่องเด็กทะเลาะกัน เดี๋ยวก็ดีกัน และตอบสนองอย่างจริงจัง ไม่มองเป็นเรื่องเล่น ๆ เห็นเป็นเรื่องเล็ก ๆ

 

และในโรงเรียนอาจมีผู้ให้การปรึกษาทางจิตวิทยาในโรงเรียน (school counsellor) ในการช่วยเหลือทั้งบุคคลที่ถูกรังแกและบุคคลที่รังแกผู้อื่น ในการปรับวิธีการคิด และการทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะการ bully เรามักจะ bully คนที่อ่อนด้อยกว่าเรา หรือคนที่มีลักษณะแตกต่างจากเรา ไม่ fit in ในสังคม ในโรงเรียน เช่น เรื่องรูปลักษณ์ วัย อายุ เพศสภาพ เชื้อชาติ ศาสนา อะไรก็ตามที่เป็นความแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ ผู้ที่แตกต่างมักจะถูกพูดถึงในเชิงของการ make fun การทำให้ตลกขบขัน ทำให้อับอาย ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้ว่าความแตกต่างเป็นเรื่องปกติ ส่วนการไม่ยอมรับ หรือการไป bully หรือ make fun ต่างหากคือเรื่องไม่ปกติ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

เราจำเป็นต้องทำให้เกิดการตระหนักรู้ในทุกภาคส่วน ทั้งในระดับสังคม ในระดับโรงเรียน และการปลูกฝังในระดับครอบครัวด้วย

 

อ.ฝน :

เมื่อมองจากภายนอก เราอาจมองว่าผู้กระทำการ bully เป็นผู้ได้รับประโยชน์ เขาน่าจะได้รับในสิ่งที่เขาอยากได้ แต่ในงานวิจัยพบว่าในฝั่งผู้กระทำเองก็ไม่ได้รู้สึกดีเสมอไป เขาอาจมีสภาวะทางจิตที่ไม่ได้ดีเช่นกัน เนื่องจากบางครั้งการที่เขาเลือกแสดงออกด้วยพฤติกรรมความรุนแรงหรือการกลั่นแกล้งรังแกนั่นอาจเป็นเพราะเขาเกิดการรับรู้มาก่อนแล้วก็ได้ว่าเขาไม่ได้รับการยอมรับ เขาอาจทำพฤติกรรมอะไรก็ตามแล้วยังไม่มีเพื่อน ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่สำเร็จ สุดท้ายกลายเป็นว่าพฤติกรรมนี้ทำแล้วสำเร็จ เหมือนว่าความรุนแรงเป็นทางเลือกสุดท้ายของเด็กคนนั้นเพื่อให้เขาได้อยู่ในกลุ่มสังคมหรือให้เขาได้รับในสิ่งที่ต้องการ

 

ดังนั้น ไม่เพียงแค่พ่อแม่ แต่ยังต้องรวมถึงบริบททางสังคม คุณครูในโรงเรียน ที่ต้องเปิดใจรับฟังเวลาที่เด็กเขามาคุย หรือถ้าเด็กไม่ยอมเข้ามาคุย หรือไม่รู้จะเล่าให้ฟังอย่างไร พ่อแม่และคุณครูก็ต้องคอยสังเกตเด็ก ๆ ถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น จากที่เคยเล่น ก็ไม่เล่น เริ่มเก็บตัว ไม่เล่าถึงเพื่อนไม่พูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน ไม่ทำการบ้าน และไม่ทำกิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน จนถึงการปฏิเสธการไปโรงเรียน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้นอกจากเป็นสัญญาณของผู้ถูกกระทำแล้ว ตัวผู้กระทำเองก็มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในลักษณะนี้เช่นกัน เด็กบางคนเริ่มจากการเก็บตัว แยกตัว ไม่มีเพื่อน ไม่เข้ากิจกรรมทางสังคม และพัฒนาไปสู่พฤติกรรมความรุนแรง เพื่อให้สามารถสร้างกลุ่มและอยู่ในกลุ่มเพื่อนได้

 

เมื่อพบเห็นสัญญาณเหล่านี้ผู้ใหญ่ก็สามารถที่จะเริ่มเข้าไปแทรกแซงหรือถามไถ่เพื่อให้เกิดการพูดคุย ให้เขารู้สึกได้ว่าเขามีที่พึ่ง เขาไม่ได้ต้องแก้ปัญหาด้วยตนเองเพียงคนเดียว

 

 

เราสามารถส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างหลากหลายเพื่อลดการแบ่งแยกที่จะนำไปสู่การกลั่นแกล้งรังแกได้อย่างไร


 

อ.หยก :

การแบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นพวกเขาพวกเรานั้นถือเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ใครที่เหมือนกับเราเราก็จะรู้สึกอยากเป็นเพื่อนด้วย ส่วนใครที่ไม่เหมือนเราเราก็จะมองว่าเขาต่าง เขาเบี่ยงเบน เขาไม่ปกติหรือเปล่า อันนี้เป็นพื้นฐานธรรมชาติของเรา และในสังคมไทย เราจะมีลักษณะยึดโยงที่จะทำอะไรตามเสียงของคนส่วนใหญ่ หากคนหมู่มากทำอะไรก็จะมองว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นบรรทัดฐานของสังคม พอใครทำสิ่งที่ต่างจากบรรทัดฐานของสังคม บางทีก็จะใช้คำว่าเบี่ยงเบน ใช้คำว่าผิดปกติ และมองด้วยสายตาแปลก ๆ ซึ่งค่านิยมเหล่านี้ก็ฝังรากลึกในสังคมของเราเหมือนกัน ดังนั้นคนที่มีลักษณะแตกต่าง หรือมีลักษณะพิเศษ จึงมักตกเป็นเหยื่อหรือเป็นเป้าหมายการ bully ได้

 

ดังนั้นถามว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้คนเข้าในถึงความหลากหลายในสังคม ให้พูดนั้นพูดง่าย แต่เราก็ต้องฝึก ฝึกให้เข้าใจความหลากหลาย ตั้งแต่เล็ก ๆ เลย ว่าเราทุกคนสามารถเกิดมาแล้วมีวิธีคิด มีรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันได้ มีบุคลิกภาพไม่เหมือนกับเราได้ ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องเหมือนกันทุกคน ทุกอย่าง การฝึกนี้ก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากคนในสังคมด้วย เวลาเห็นอะไรที่แตกต่างเราก็ต้องไม่ไปตีตราว่าสิ่งนั้นไม่ดีตั้งแต่แรก เราอาจจะต้องทำความเข้าใจ ปรับเป็นสังคมที่เปิดใจ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย โดยเฉพาะความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งจริง ๆ ในสังคมไทยก็เปิดรับวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้ามาในสังคมค่อนข้างมาก เราเปิดใจง่าย ละคร เพลง เรารับมาทั้งหมด ไม่มีการเหยียด แต่พอเป็นลักษณะของการเป็นเพื่อน เราจะเริ่มคิดเยอะ พอมันเริ่มใกล้ตัวเรามากขึ้น เพราะเราไม่ค่อยมีประสบการณ์ตรงกับการทำความรู้จักหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่มีความแตกต่างหลากหลายกับเราจริง ๆ บางทีเราเจอคนที่แตกต่างจากเรา เราหนีไปเลย เราเลือกที่จะไม่เป็นเพื่อน ไม่คุย หรือพอเจอคนที่คิดต่าง เราเลือกที่จะไม่เถียง เพราะบางทีเราไม่ได้ถูกฝึกมาให้โต้แย้งกันทางความคิด แต่เรากลายเป็นโต้เถียงกันระหว่างบุคคล

 

เพราะฉะนั้นก็ต้องมานึกย้อนเหมือนกันว่าจะทำอย่างไรดีให้สังคมของเราเป็นสังคมที่มีการยอมรับในความแตกต่างหลากหลายให้มากขึ้นกว่านี้ มันไม่ใช่แค่พ่อแม่ผู้ปกครอง แต่ทุกคนในสังคมจะต้องเปิดใจให้มากขึ้น บางทีเราก็ต้องย้อนถามตัวเองเหมือนกันว่าเคยหรือเปล่า ที่ไป bully คนอื่นเพราะแค่ว่าเขาไม่เหมือนเรา บางทีเราก็เผลอ เพราะโดยพื้นฐานธรรมชาติที่เราชอบแบ่งพรรคแบ่งพวก แล้วเราก็คุ้นชินว่าสิ่งนี้มันทำได้ และเราก็ไม่เคยฝึกฝนตัวเองให้เปิดใจรับความแตกต่างหลากหลายเข้ามาในประสบการณ์ของเราเลย

 

และสังคมไทย ในภาษาจิตวิทยาเรียกว่า เป็นสังคมที่มีความกลมกลืน กลมเกลียว มีความคล้ายคลึงกันสูง ขณะที่ในสังคมตะวันตกบางประเทศ เขามีความแตกต่างหลากหลายของผู้คนเต็มไปหมด เขาได้รับการฝึกให้เรียนรู้ถึงความแตกต่างหลากหลายตั้งแต่เด็ก ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ส่วนในสังคมไทยก็จะเจอว่าคนจะคล้ายๆ กัน มีวิธีคิด หรือตีกรอบให้คล้ายๆ กันเพราะไม่อยากเป็นแกะดำ หรือกลัวว่าคนอื่นจะมองไม่ดี ซึ่งเป็นค่านิยมที่ปลูกฝังกันเช่นนี้กันมานานแล้ว เพราะฉะนั้นบางทีก็ต้องรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักว่าความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ แม้แต่ตัวเราเองเมื่อเจอคนที่แตกต่างหรือคิดต่างจากเรา อย่าเพิ่งชวนทะเลาะ ให้คิดว่าเขาก็คิดแบบนี้ได้เหมือนกัน เราเองก็ไม่ได้คิดอย่างที่เขาคิด แล้วเรามาคุยกันด้วยเหตุผล คุยกันบนพื้นฐานของการโต้แย้งในทางสร้างสรรค์ และไม่เอาอารมณ์ส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง

 

ถ้าสังคมเราสามารถทำความเข้าใจในระดับผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะแล้ว ก็เป็นต้นแบบให้กับเด็ก ๆ ได้ เด็ก ๆ จะสังเกตพฤติกรรม ดูปฏิสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ของครูในโรงเรียน เช่น เวลามีครูต่างชาติเข้ามาแล้วมีการพูดจา มีการแซวกันมั้ย เพราะคนเราก็ไม่ได้เกิดมาแล้วเรียนรู้ที่จะแซวกันเลย เราต้องเห็นตัวอย่างจากคนอื่นทำมาก่อนถึงได้ทำตาม เพราะฉะนั้นเราต้องฝึกให้ทุกคนเปิดใจ เบื้องต้นเลยคือยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายก่อน เพราะบางทีเราก็ไปกลั่นแกล้งคนที่คิดเห็นไม่เหมือนเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกโซเชียล เวลาเจอคนที่มีความคิดขัดแย้งกับเรา เราก็ตามไปถากถาง ตามไปล่าแม่มดกันเต็มไปหมด นี่ก็เป็นการกลั่นแกล้งทางวาจาบนพื้นฐานของการไม่ลงรอยกันทางความคิด ถ้าเราทำให้ทุกคนรู้สึกว่าความหลากหลายเป็นเรื่องปกติ ก็เชื่อว่าการข่มเหงรังแกกันก็จะลดลง แต่ก็ต้องช่วยกันทุกคน ตัวเราเองก็ต้องระงับให้ได้ คิดให้ได้ว่าสิ่งนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น และสิ่งที่ควรจะเป็นคืออะไร ทั้งนี้บางทีในสังคมไทยเราก็ไม่ได้มีต้นแบบว่าเวลาเจอเหตุการณ์แบบนี้ให้ทำอย่างไร บางทีเราก็จะพูดกันว่าให้เดินหนีไปเลย เราไม่รู้ว่ามีทางออกไหนเวลาเจอคนที่ไม่เหมือนเรา คิดต่างจากเรา เราไม่ได้ถูกฝึกมา จึงเป็นสิ่งที่ต้องฝากหลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะหน่วยงานในระบบการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวกับครอบครัว ให้ช่วยกันปลูกฝังเรื่องเหล่านี้ เปิดใจให้กว้างกับความแตกต่างหลากหลาย และมีวิธีที่จะระงับอารมณ์ตนเอง

 

 

Classroom – Faculty of Psychology: Second semester, 2022

 

Classroom – Faculty of Psychology: Second semester, 2022

Joint International Psychology Program; JIPP

 

 

Monday

 

Time
Course No.
Course Name
Sec.
Lecturer
Building
Classroom
13:00 – 16:00
3807130
INTRO SOC PSY
1
Thipnapa Huansuriya
Comm Arts
09:00 – 12:00
3807250
SOC ORG PSY
1
Watcharaporn Boonyasiriwat
CHULAPAT 13
601
13:00 – 16:00
3807470
CAREER PSY
1
Kullaya Pisitsungkagarn
CHULAPAT 13
601

 

 

Tuesday

 

Time
Course No.
Course Name
Sec.
Lecturer
Building
Classroom
09:00 – 12:00
3800202
PSY LIFE WORK
1
Kullaya Pisitsungkagarn
CHAMCHUREE 10
613
09:00 – 12:00
3807101
INTRO RES METH
1
Graham Pluck
CHULAPAT 13
601
09:00 – 12:00
3807230
SOCIAL COGNITION
1
Adi Shaked
CHULAPAT 13
712
09:00 – 12:00
3807480
SEM INTE EW PSY
1
Panita Suavansri
CHAMCHUREE 10
612
13:00 – 16:00
3807240
SOCIAL DEVELOPMENT
1
Nipat Pichayayothin
Suphasiree Chantavarin
Panrapee Suttiwan
CHULAPAT 13
501
13:00 – 16:00
3807480
SEM INTE EW PSY
1
Jennifer Chavanovanich
CHAMCHUREE 10
612

 

 

Wednesday

 

Time
Course No.
Course Name
Sec.
Lecturer
Building
Classroom
08:00 – 10:00
3807170
INTRO COG (LECT)
1
Suphasiree Chantavarin
Phot Dhammapeera
Kris Ariyabuddhiphongs
CHULAPAT 13
601
10:00 – 12:00
3807170
INTRO COG (LAB)
09:00 – 12:00
3807380
APPLIED PSYCHOLOGY
1
Kullaya Pisitsungkagarn
CHULAPAT 13
713
13:00 – 16:00
2200201
ACAD REPORT WRIT
1
JDV
MAHIT
501
13:00 – 16:00
2200201
ACAD REPORT WRIT
2
PWS
MAHIT
502
13:00 – 16:00
2200201
ACAD REPORT WRIT
3
STAFF
MAHIT
503
13:00 – 16:00
5518122
ESS ENG PSY II
1
STAFF
CHULAPAT 13
712
13:00 – 16:00
5518122
ESS ENG PSY II
2
STAFF
CHULAPAT 13
713
13:00 – 16:00
5518122
ESS ENG PSY II
3
STAFF
CHULAPAT 13
714

 

 

Thursday

 

Time
Course No.
Course Name
Sec.
Lecturer
Building
Classroom
09:00 – 12:00
3800130
SOC PSY EVERY LIFE
2
Watcharaporn Boonyasiriwat
AR
AR
13:00 – 16:00
3800130
SOC PSY EVERY LIFE
3
Watcharaporn Boonyasiriwat
AR
AR
09:00 – 12:00
3800202
PSY LIFE WORK
2
Kullaya Pisitsungkagarn
ISE
13:00 – 16:00
3800202
PSY LIFE WORK
4
Kullaya Pisitsungkagarn
INDA
09:00 – 12:00
2403185
JUV DEL
1
STAFF
CHULAPAT 13
713
09:00 – 12:00
3494101
LAW HUM RES MGT
1
STAFF
CHULAPAT 13
714
09:00 – 12:00
2403284
CROSS-CULT MGT
1
CTT
CHAMCHUREE 10
613
13:00 – 16:00
2308303
HISTORY OF SCI
1
STAFF
CHAMCHUREE 10
612
13:00 – 16:00
0201107
LRN STUD ACT
1
STAFF
CHAMCHUREE 10
615
13:00 – 16:00
2403284
CROSS-CULT MGT
2
CTT
CHAMCHUREE 10
613

 

 

Friday

 

Time
Course No.
Course Name
Sec.
Lecturer
Building
Classroom
08:00 – 10:00
3807210
PSY METH APP (LECT)
1
Phot Dhammapeera
Suphasiree Chantavarin
CUP4
421
10:00 – 12:00
3807210
PSY METH APP (LAB)

ห้องเรียนของรายวิชาคณะจิตวิทยา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2565 ปริญญาตรี (ไทย)

 

ห้องเรียนของรายวิชาคณะจิตวิทยา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2565 ปริญญาตรี (ไทย)

 

 

วันจันทร์

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
ตอนเรียน
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
08:00 – 10:00
3804103
จิตวิทยาพัฒนาการ (บรรยาย)
1
อ.อาภาพร อุษณรัศมี
จุฬาพัฒน์ 4
422
10:00 – 12:00
3804103
จิตวิทยาพัฒนาการ (ปฏิบัติ)
1
08:00 – 12:00
3802202
จิตวิทยาการปรึกษา
1
STAFF
จุฬาพัฒน์ 13
508
10:00 – 12:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
1
STAFF
(ปิดตอนเรียน)
09:00 – 12:00
3800316
ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ
1
ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์
จุฬาพัฒน์ 13
401
09:00 – 12:00
3803350
พลวัตกลุ่มขั้นนำ
1
ผศ. ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์
จุฬาพัฒน์ 13
501
13:00 – 15:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
2-3
STAFF
จุฬาพัฒน์ 5
302
13:00 – 16:00
3800111
ระะเบียบวิธีวิจัยและสถิติทางจิตวิทยา (บรรยาย)
1
ผศ. ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา
จุฬาพัฒน์ 4
422
13:00 – 16:00
3800111
ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติทางจิตวิทยา (บรรยาย)
2
13:00 – 16:00
3800111
ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติทางจิตวิทยา (บรรยาย)
3
13:00 – 16:00
3804300
พัฒนาการอปกติในเด็กและวัยรุ่น
1
ผศ. ดร.สุภลัคน์ ลวดลาย
จุฬาพัฒน์ 13
709
13:00 – 17:00
3804301
การใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาพัฒนาการ
1
STAFF
จุฬาพัฒน์ 13
501

 

 

วันอังคาร

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
ตอนเรียน
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
08:00 – 10:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
4
STAFF
จุฬาพัฒน์ 5
302
10:00 – 12:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (บรรยาย)
2,6
STAFF
ONLINE
ฟังการชี้แจงครั้งแรก 10 ม.ค. 66 ที่
Zoom Meeting ID: 948 1239 5975
PW: 271078
13:00 – 15:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (บรรยาย)
1,3,4,5,7
STAFF
09:00 – 12:00
3802313
จิตวิทยาเชิงบวกและความงอกงามส่วนบุคคล
1
ผศ. ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์
จุฬาพัฒน์ 13
401
09:00 – 12:00
3803425
ทฤษฎีและการเปลี่ยนเจตคติ
1
ผศ. ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์
จุฬาพัฒน์ 13
501
09:00 – 12:00
3806201
จิตวิทยาสุขภาพ
1
ผศ. ดร.เรวดี วัฒฑกโกศล
จุฬาพัฒน์ 13
309
09:00 – 12:00
3806221
จิตวิทยาสุขภาพ
1
13:00 – 16:00
3801301
ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงปริชาน
1
อ. ดร.พจ ธรรมพีร
จามจุรี 10
613
13:00 – 17:00
3801331
ประสาทศาสตร์เชิงพฤติกรรม
1
13:00 – 16:00
3805302
จิตวิทยาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
1
อ. ดร.วิทสีนี บวรอัศวกุล
จุฬาพัฒน์ 13
401
13:00 – 14:00
3800120
อาชีพทางจิตวิทยา
1
ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์
จุฬาพัฒน์ 4
422
13:00 – 16:00
3800250
มนุษยสัมพันธ์
1
อ. ดร.จิรภัทร รวีภัทรกุล
จุฬาพัฒน์ 4
421
08:00 – 10:00
3801110
จิตวิทยาปริชาน (บรรยาย)
1-6
อ. ดร.กฤษณ์ อริยะพุฒิพงศ์
อ. ดร.พจ ธรรมพีร
อ. ดร.สุภสิรี จันทวรินทร์
จุฬาพัฒน์ 4
422
10:00 – 12:00
3801110
จิตวิทยาปริชาน (ปฏิบัติ)
1,2
อ. ดร.กฤษณ์ อริยะพุฒิพงศ์
   3,4
อ. ดร.พจ ธรรมพีร
   5,6
อ. ดร.สุภสิรี จันทวรินทร์
13:00 – 16:00
5500272
ภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชา 2
1
STAFF
จุฬาพัฒน์ 13
712
13:00 – 16:00
5500272
ภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชา 2
2
STAFF
จุฬาพัฒน์ 13
713
13:00 – 16:00
5500272
ภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชา 2
3
STAFF
จุฬาพัฒน์ 13
714

 

 

วันพุธ

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
ตอนเรียน
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
13:00 – 15:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
5
STAFF
(ปิดตอนเรียน)
08:00 – 10:00
3800111
ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติทางจิตวิทยา (ปฏิบัติ)
1
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
10:00 – 12:00
3800111
ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติทางจิตวิทยา (ปฏิบัติ)
2
STAFF
13:00 – 15:00
3800111
ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติทางจิตวิทยา (ปฏิบัติ)
3
STAFF
09:00 – 12:00
3800219
การออกแบบและวิเคราะห์เชิงสำรวจ
1-3
ผศ. ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา
จุฬาพัฒน์ 4
422
09:00 – 12:00
3800250
มนุษยสัมพันธ์
2
อ.อาภาพร อุษณรัศมี
จุฬาพัฒน์ 13
401
13:00 – 16:00
3800312
การปรับพฤติกรรม
1
รศ. ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
จุฬาพัฒน์ 13
401
09:00 – 12:00
3800355
จิตวิทยาการลงความเห็นและการตัดสินใจ
1
รศ.สักกพัฒน์ งามเอก
จามจุรี 10
614
10:00 – 12:00
3804102
มูลสารจิตวิทยาพัฒนาการ
1
STAFF
จุฬาพัฒน์ 13
501
09:00 – 12:00
3805340
จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมและการทำงาน
1
อ. ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช
จุฬาพัฒน์ 13
712

 

 

วันพฤหัสบดี

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
ตอนเรียน
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
09:00 – 12:00
3800250
มนุษยสัมพันธ์
3
ผศ. ดร.เรวดี วัฒฑกโกศล
จุฬาพัฒน์ 4
421
09:00 – 12:00
3803379
จิตวิทยาสังคมความก้าวร้าว
1
ผศ. ดร.อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
จุฬาพัฒน์ 13
609
09:00 – 12:00
3804231
จิตวิทยาวัยรุ่น
1
อ. ดร.จิรภัทร รวีภัทรกุล
จุฬาพัฒน์ 13
610
09:00 – 12:00
3805201
จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
1
ผศ. ดร.ประพิมพา จรัลรัตนกุล
จุฬาพัฒน์ 4
422
09:00 – 12:00
3805301
จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การขั้นนำ
1
13:00 – 16:00
3800202
จิตวิทยาในชีวิตและการทำงาน
1
ผศ. ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี
จุฬาพัฒน์ 4
422
13:00 – 16:00
3808201
จิตพยาธิวิทยา
1-2
ศ. ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
จุฬาพัฒน์ 4
421
18:00 – 22:00
3804353
การกระตุ้นพัฒนาการขั้นนำ
1
รศ. ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
614
13:00 – 16:00
5500112
ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 2
159
STAFF
จุฬาพัฒน์ 13
712
13:00 – 16:00
5500112
ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 2
160
STAFF
จุฬาพัฒน์ 13
713
13:00 – 16:00
5500112
ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 2
161
STAFF
จุฬาพัฒน์ 13
714

 

 

วันศุกร์

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
ตอนเรียน
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
08:00 – 10:00
3800219
การออกแบบและวิเคราะห์เชิงสำรวจ (ปฏิบัติ)
1
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
08:00 – 12:00
3802301
กระบวนการและทักษะการช่วยเหลือเชิงจิตวิทยาการปรึกษา
1
อ. ดร.วรัญญู กองชัยมงคล
จุฬาพัฒน์ 13
714
08:00 – 12:00
3802501
กระบวนการและทักษะการช่วยเหลือเชิงจิตวิทยาการปรึกษา
1
อ. ดร.วรัญญู กองชัยมงคล
0900 – 12:00
3804451
จิตวิทยาครอบครัวและชีวิต
1
อ. ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน
จุฬาพัฒน์ 13
713
10:00 – 12:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
6-7
STAFF
จุฬาพัฒน์ 5
302
10:00 – 12:00
3800219
การออกแบบและวิเคราะห์เชิงสำรวจ (ปฏิบัติ)
2
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
13:00 – 15:00
3800219
การออกแบบและวิเคราะห์เชิงสำรวจ (ปฏิบัติ)
3
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
13:00 – 16:00
3805300
จิตวิทยาบุคลากร
1
ผศ. ดร.ประพิมพา จรัลรัตนกุล
จุฬาพัฒน์ 4
422
13:00 – 16:00
3805309
จิตวิทยาบุคลากร
13:00 – 17:00
3800381
การประเมินทางจิตวิทยาคลินิก 1
1
ผศ. ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
จุฬาพัฒน์ 4
421
13:00 – 17:00
3808311
การประเมินทางจิตวิทยาคลินิก 1

ห้องเรียนของรายวิชาคณะจิตวิทยา ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565 ปริญญาโท – เอก

ห้องเรียนของรายวิชาคณะจิตวิทยา ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565 ปริญญาโท – เอก

 

วันจันทร์

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
ตอนเรียน
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
10:00 – 12:00
3802745
กลุ่มการเรียนรู้ระหว่างบุคคล 2
1
อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602
09:00 – 12:00
3800784
การวิจัยเชิงจิตวิทยา
1
อ. ดร.กฤษณ์ อริยะพุฒิพงศ์
ผศ. ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
09:00 – 13:00
3802645
เทคนิคกลุ่มในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
1
ผศ. ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
13:00 – 16:00
3802796
การฝึกปฏิบัติงานขั้นต้นด้านการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
1
อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602
13:00 – 16:00
3802796
การฝึกปฏิบัติงานขั้นต้นด้านการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
2
อ. ดร.พูลทรัพย์ อารีกิจ
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
17:00 – 20:00
3810702
สัมมนาวิจัยจิตวิทยาประยุกต์ 2
1
ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602
18:00 – 21:00
3802797
การนิเทศแบบรายบุคคลสำหรับการฝึกปฏิบัติงานขั้นต้นด้านการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
1
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
614
18:00 – 21:00
3809603
ประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับจิตวิทยาทรัพยากรมนุษย์และการทำงาน
1
อ. ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
18:00 – 20:00
3804665
รูปแบบการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางจิตวิทยาพัฒนาการ
1
รศ.สักกพัฒน์ งามเอก
ONLINE

 

 

วันอังคาร

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
ตอนเรียน
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
09:00 – 12:00
3802785
สัมมนาจิตวิทยาการปรึกษา
1
ศ. ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
13:00 – 16:00
3800702
สถิติสำหรับจิตวิทยา 2
1
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
13:00 – 15:00
3802741
กลุ่มการเรียนรู้ระหว่างบุคคล 1
1
อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602
16:00 – 20:00
3802775
การอบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักจิตบำบัดแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางและแบบพลวัต
1
อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602
18:00 – 21:00
3804667
สัมมนาหัวข้อคัดสรรทางจิตวิทยาสุขภาพ
1
อ. ดร.จิรภัทร รวีภัทรกุล
ONLINE
18:00 – 21:00
3809602
จิตวิทยาประยุกต์สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
1
อ. ดร.วิทสินี บวรอัศวกุล
ONLINE
10:00 – 12:00
3802779
แนวโน้มปัจจุบันในการวิจัยทางจิตวิทยาการปรึกษา
2
ผศ. ดร.ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602

 

 

วันพุธ

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
ตอนเรียน
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
09:00 – 12:00
3802777
การอบบรมเชิงปฏิบัติการด้านการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ
1
อ. ดร.วรัญญู กองชัยมงคล
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
18:00 – 21:00
3800717
หลักและการปฏิบัติในการปรับพฤติกรรม
2
รศ. ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
18:00 – 21:00
3802711
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาตามแนวความคิดพุทธศาสตร์
1
อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
ONLINE

 

 

วันพฤหัสบดี

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
ตอนเรียน
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
09:00 – 12:00
3803803
เอกัตศึกษาในจิตวิทยาสังคม 3
1
อ. ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม
ONLINE
13:00 – 16:00
3803637
อารมณ์และปริชานทางสังคม
1
อ. ดร.อาดิ เช็คเค็ด
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
13:00 – 16:00
3803710
พลวัตของกลุ่ม
1
ผศ. ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602
16:30 – 19:30
3802662
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัดตามแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม
1
ผศ. ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602
18:00 – 21:00
3804727
การกระตุ้นพัฒนาการ
1
รศ. ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
614
18:00 – 21:00
3809701
สัมมนาจิตวิทยาทรัพยากรมนุษย์และการทำงาน
1
อ. ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
18:00 – 21:00
3810602
หัวข้อคัดสรรทางวิจัยจิตวิทยาประยุกต์
1
ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์
ONLINE

 

 

วันศุกร์

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
ตอนเรียน
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
18:00 – 21:00
3800702
สถิติสำหรับจิตวิทยา 2
2
รศ.สักกพัฒน์ งามเอก
ONLINE

ทำไมยิ่งโต ยิ่งดื้อ – วิธีการฝึกวินัยให้เจ้าตัวน้อย

ทำไมยิ่งโต ยิ่งดื้อ – วิธีการฝึกวินัยให้เจ้าตัวน้อย

 

 

“ทำไมยิ่งโต ยิ่งดื้อ” ประโยคนี้พ่อแม่หลายบ้านต้องเคยพูดมาแล้วใช่ไหมคะ จริง ๆ แล้ว คำว่า “ดื้อ” นั้น เป็นการแสดงพัฒนาการของเด็กอย่างหนึ่ง วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจ และหาวิธีรับมือกับเรื่องนี้กันค่ะ

 

ที่บอกว่าเป็นพัฒนาการของเด็ก เพราะว่าเด็กในวัย 1.5 ปี ขึ้นไป จะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เริ่มเดินได้ เริ่มทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เด็กอยากทดลอง เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว และที่สำคัญเด็กจะเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับอารมณ์ต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้การจัดการอารมณ์ของเด็กไม่คงที่ ยิ่งพอโตขึ้นการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์รอบตัวที่เพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้เด็กต้องจัดการกับสิ่งที่เข้ามาในชีวิตมากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการต้องไปโรงเรียน การมีเพื่อนวัยเดียวกัน และการคาดหวังจากพ่อแม่ที่มากขึ้นตามวัย ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจที่เด็กจะมีพฤติกรรมที่พ่อแม่หลายบ้านรู้สึกว่า ดื้อ เอาแต่ใจ เจ้าอารมณ์

 

Free photo i don't know what to do. exhausted young mom feeling tired while trying to stop her children from screaming and fighting at home

Image by tonodiaz on Freepik

 

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากเด็กแต่เพียงฝ่ายเดียวค่ะ การเลี้ยงดูก็มีส่วนที่จะทำให้ดีกรีของพฤติกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละบ้านด้วย เช่น ถ้าบ้านไหนทนไม่ได้กับการร้องไห้ของเด็ก ให้เด็กทุกอย่างเมื่อเด็กร้องไห้ บ้านนั้นก็จะได้เด็กเจ้าอารมณ์ ขี้งอแง เพราะเด็กจะเรียนรู้จากวิธีที่ผู้ใหญ่ตอบสนองต่ออารมณ์ที่เขาแสดงออก และเจ้าตัวน้อยก็จะพัฒนาเชื่อมโยงเอาสิ่งเหล่านี้ไปใช้กับเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่เขาต้องการนั่นเอง

 

ดังนั้นการสอนและฝึกวินัยให้กับเด็กจึงเป็นสิ่งที่ควรเริ่มทำตั้งแต่เด็ก บางบ้านมักบอกว่ายังเล็กอยู่เลย เดี๋ยวโตค่อยสอนก็ได้ แต่การฝึกวินัยให้ลูกตั้งแต่เด็กจะทำให้เด็กได้เรียนรู้การควบคุมตนเอง และเป็นการปลูกฝังให้เด็กมั่นใจว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ วัยที่เหมาะสมจะฝึกวินัยให้กับเด็กก็คือวัยอนุบาลไปจนถึงวัยประถม เพราะเด็กจะสามารถเรียนรู้จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ และพร้อมที่จะตัดสินใจเรื่องที่เข้ามาในชีวิต ท่ามกลางความปลอดภัยและการสนับสนุนที่พ่อแม่ยังคอยดูแลให้อยู่ รวมถึงเด็กต้องการการยอมรับจากพ่อแม่ทำให้ยินยอมที่จะเรียนรู้และทำตามสิ่งที่พ่อแม่สอน หากปล่อยให้ไปถึงวัยรุ่นแล้วจะไม่ทัน เพราะในวัยนั้นเด็กจะเริ่มต้องการการยอมรับจากเพื่อนไม่ใช่พ่อแม่ ทำให้ยากที่จะฝึกวินัยให้เด็กแล้วค่ะ

 

 

 

เรามาดูวิธีที่จะสอนและฝึกวินัยให้ลูกกันค่ะ

 

 

1. กำหนดกฎเกณฑ์ให้ลูกอย่างเหมาะสมตามวัย และให้ลูกมีส่วนร่วมในการช่วยกำหนดกฎเกณฑ์นั้น

 

การเรียนรู้และทดลองต่าง ๆ ของเด็กสามารถทำได้โดยที่พ่อแม่ต้องตกลงกับลูกก่อนว่า ทำได้ในขอบเขตแค่ไหน และเพราะอะไร ทางที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน พ่อแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ให้คำอธิบายถึงข้อดี ข้อเสียของสิ่งที่จะเกิดขึ้น บอกกติกาอย่างชัดเจน เช่น ลูกสามารถเล่นในสนามเด็กเล่นได้อย่างอิสระ แต่ไม่ออกไปเกินพื้นที่ตรงไหน เพราะอะไร ที่สำคัญที่สุดอย่าใช้คำสั่ง การบังคับ และห้ามไม่ให้ทำ เพราะนั่นจะเป็นการท้าทายให้เด็กอยากจะทำมากยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดให้เด็กเข้านอนตอน 2-3 ทุ่ม ควรมีการพูดคุยกับเด็กก่อนว่า หนูต้องนอนพักผ่อนเพื่อที่ตัวจะได้สูง ๆ หนูอยากเข้านอนตอน 2 ทุ่ม หรือ 3 ทุ่มคะ แม่ให้หนูเลือกเอง ซึ่งตัวเลือกที่จะให้เด็กเลือกนั้นควรระบุให้ชัดเจนค่ะ (เวลาตกลงกับเด็กอย่าให้เลือกว่า เอาหรือไม่เอา นะคะ เพราะพอเด็ก ๆ เลือกไม่เอา แล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่ให้ เด็กจะสับสนว่าแล้วให้เลือกทำไม ในเมื่อเขาเลือกแล้ว พ่อแม่ก็ไม่สนใจความต้องการของเขา)

 

2. ใช้คำพูดที่เป็นทางบวกและเข้าใจง่าย ในการสื่อสารความต้องการและอธิบายสิ่งต่าง ๆ กับเด็ก

 

คำว่า “อย่า…นะ” สำหรับเด็กเล็ก จะไม่เป็นผลเท่าที่ควร เพราะเด็กต้องแปลความหมายก่อน และมักจะไม่ทันกับการกระทำที่เด็กกำลังทำอยู่ เช่น การที่แม่บอกลูกว่า “อย่าวิ่งนะ อันตราย” กับการบอกลูกว่า “ลูกเดินข้าง ๆ แม่นะคะ แม่อยากให้หนูเดินเป็นเพื่อนแม่” ประโยคแรกเด็กต้องแปลความหมาย ในขณะที่ประโยคหลังเด็กสามารถเข้าใจได้ทันทีเมื่อได้ยิน ในการอธิบายสิ่งต่าง ๆ กับเด็กก็เช่นกัน หากเราใช้คำที่ง่าย (แต่ต้องเป็นความจริง อย่าหลอกเด็ก) เด็กจะสามารถเข้าใจได้ตามวัยของเขาค่ะ

 

3. คุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ

 

เด็ก ๆ มักจะเลียนแบบตัวอย่างที่อยู่ใกล้ตัวค่ะ ดังนั้นพ่อแม่จึงเป็นต้นแบบที่เด็กสามารถเห็นได้ตลอดเวลา ถ้าอยากให้เด็กเป็นอย่างไร ทำให้ลูกดูคือสิ่งที่ง่ายที่สุดค่ะ และที่สำคัญควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กยอมรับและจดจำได้ เช่น อยากให้เด็กไหว้ทักทายผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องไหว้ทักทายคนอื่น ๆ ให้เด็กเห็นเป็นประจำ

 

4. ให้ลูกรู้จักรอคอย

 

การตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างรวดเร็วเกินไปจะทำให้เด็กคอยไม่เป็น อยากได้อะไรต้องได้ทันที พ่อแม่จึงควรฝึกให้เด็กรู้จักรอคอย เช่น “หนูอยากกินขนมที่ซื้อมาเมื่อวานใช่ไหมคะ รอแม่ทำกับข้าวเสร็จแล้วแม่ไปหยิบให้นะคะ” หรือแม้แต่การพาเด็ก ๆ ไปต่อคิวซื้ออาหาร ต่อคิวจ่ายเงินในร้านสะดวกซื้อ ก็เป็นการฝึกการรอคอยที่ดีค่ะ นอกจากนี้การซื้อของเล่นให้เด็กตามวาระโอกาสที่เหมาะสม ก็สามารถฝึกการรอคอยได้เช่นกันค่ะ เช่น ตกลงกับเด็กว่าจะซื้อของเล่นให้ในโอกาสวันเกิด วันปีใหม่ วันเด็ก เท่านั้น หากอยากได้ของเล่นในโอกาสอื่น ๆ จะต้องมีข้อตกลง เช่น เก็บดาวความดีที่แม่ให้ครบ … ดวง จึงจะซื้อของเล่นพิเศษได้ 1 ชิ้น เป็นต้น

 

5. ปฏิบัติกับเด็กด้วยการยอมรับความต้องการ เข้าใจ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

เด็กต้องการการยอมรับจากพ่อแม่ค่ะ ดังนั้นการรับฟังเด็กว่าเขารู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร แล้วพูดคุยกันด้วยเหตุผลว่าเหตุใดจึงได้ เหตุใดจึงไม่ได้ จะช่วยให้เด็กรับรู้ว่าพ่อแม่รับฟังเขา ยอมรับความต้องการของเขา การเอาแต่ใจ เจ้าอารมณ์ ก็จะลดลง (ถึงจะไม่ได้อย่างที่ต้องการก็ตาม) แต่ที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องปฏิบัติกับเด็กให้เหมือนกันค่ะ เช่น ถ้าคุณแม่บอกว่าเรื่องนี้ไม่ได้นะคะ คุณพ่อก็ต้องตอบเหมือนกัน เพราะถ้าคนหนึ่งไม่ให้ คนหนึ่งใจอ่อนให้ เด็กจะไม่เกิดการเรียนรู้ว่าสิ่งใดได้ สิ่งใดไม่ได้ การสอนก็จะไม่ได้ผล

 

 


 

บทความโดย

เวณิกา บวรสิน

ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ คณะจิตวิทยา

 

 

Event Photo Gallery: Special Talk “Growth mindset and academic engagement”

Event Photo Gallery:

 

Special Talk:

“Growth mindset and academic engagement:
How cultural context inspires new theories and practices.”

 

The speaker:

Professor Chi-yue Chiu

Dean of Social Science, Choh-Ming Li Professor of Psychology, Chinese University of Hong Kong

 

On Friday, December 23th, 2022
Time 10.30 am. – 12.00 pm.
At room 614, 6th floor, Boromarajonani Srisatapat Building, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University