News & Events

Emotion regulation: managing our Emotions

Emotion regulation: managing our Emotions

 

We experience emotions, such as happiness, fear, sadness, and anger, in response to significant events in our lives. Emotions often help us appropriately respond to our surroundings and add color and meaning to our experiences. But emotions can also cloud our judgment when we need to make important decisions, distract us from work, interfere with our relationships, and motivate us to behave in ways we later regret. In these circumstances we may want to influence the way we feel.

 

Emotion regulation refers to ways to control or manage which emotions we feel, when we feel them, and how intensely we feel them (Gross, 2002). This article provides you with 1) an accessible introduction to emotion regulation and 2) basic tools for thinking about and improving your emotional experiences.

 

 

How do we regulate our emotions?


 

The most influential and practical way to think about and classify emotion regulation strategies is based on James Gross’s process model (Gross, 2002). The process model classifies emotion regulation strategies based on where they occur within an emotional experience. We can think of emotional experience as consisting of 4 parts: situation (something happens), attention (we notice specific aspects of the situation), an appraisal (we interpret the situation in terms of how the situation affects us), and a response (we react to the situation).

 

For example, imagine your relative from out of town who is staying with you for the week leaves his clothes and belongings everywhere. The situation is the mess your relative made, you noticed the mess, you interpreted the situation as unfair and inconsiderate, and you may choose to react by complaining loudly.

 

In this scenario, many of us would react by expressing our anger. Releasing an emotion, whether by yelling or hitting a pillow in frustration, is known as catharsis. Catharsis has a long history in psychotherapy and makes intuitive sense, but research suggests that catharsis has negative consequences including intensifying negative feelings (e.g. Kraemer & Hastrup, 1988) and damaging relationships (e.g. Jerome & Liss, 2005). What are your other options?

 

 

Situation-focused strategies

 

Situation-focused strategies are simple and effective ways to influence emotions through their situational causes. We can seek situations that make us feel good and avoid situations that make us feel bad (Gross, 2001). To avoid getting mad at the relative, you can look for something to pleasant to do to give yourself time to cool down and your relative time to clean up. Selecting situations is most effective when an unpleasant situation has no foreseeable costs, but unpleasant situations may offer long-term opportunities or simply be unavoidable. Habitually avoiding bad situations prevents us from learning to cope with life’s difficulties.

 

Alternatively, we can change the situation to make it more pleasant, or at least less unpleasant. If your relative’s mess is upsetting, you can start cleaning the dishes and talk about the situation later. In studies, people who frequently use this strategy, known as situation modification, enjoy better physical and psychological health than the average person (Penley, Tomaka, & Wiebe, 2002). While situation modification is most effective when we have some control over a situation, we benefit from merely trying to change the situation (e.g. Salomons et al, 2007).

 

 

Cognition-focused strategies:

 

If we cannot choose or change an unpleasant situation, we can employ cognition-focused strategies where we think about the situation differently.
One approach is to focus our attention elsewhere. Even focusing on an irrelevant aspect of a distressing situation, e.g. what people are wearing, can distract us from emotional aspects of a situation and change the way we feel (e.g. Ayduk, Mischel, & Downey, 2002).

 

Another option is to think about the situation in a different way, i.e., to reappraise it. For example, you can interpret your relative’s mess as a reminder that you get to spend time with your relative. Reappraisal is best used when we cannot change the situation causing the emotion. Reappraisal can cause long-term harm if we rely on positive thinking as a substitute for trying to improve changeable situations (Troy, Shallcross, & Mauss, 2013).

 

 

Response-focused strategies:

 

Sometimes we find ourselves experiencing an undesirable and unpleasant situation and it is too late to change or think differently about the situation. Under these circumstances, we can change our behavioral response to the event.

 

If we are in a public situation and we are worried about exhibiting undesirable behavior, we can try to suppress (hide) our emotions (e.g. Gross & Levenson, 1997). While others typically cannot tell when we hide our emotions, doing so can be exhausting.

 

If we want to change our feelings rather than our behavior, relaxation techniques and meditation are effective ways to reduce the intensity of our feelings. As an added benefit, frequently practicing these techniques can reduce the intensity of future negative feelings (Goyal et al, 2014).

 

 

Concluding remarks

 

We are not helpless in the face of negative emotions. While the best way to respond to unpleasant situations varies from person to person and situation to situation, emotion regulation is a skill. With practice, we can improve at emotion regulation and enhance our mental and physical health.

 

 


 

 

References

 

Ayduk, O., Mischel, W., & Downey, G. (2002). Attentional mechanisms linking rejection to hostile reactivity: The role of “hot” versus “cool” focus. Psychological science, 13(5), 443-448. https://doi.org/10.1111/1467-9280.00478

 

Gross, J. J. (2001). Emotion regulation in adulthood: Timing is everything. Current directions in psychological science, 10(6), 214-219. https://doi.org/10.1111/1467-8721.00152

 

Goyal, M., Singh, S., Sibinga, E. M., Gould, N. F., Rowland-Seymour, A., Sharma, R., … & Haythornthwaite, J. A. (2014). Meditation programs for psychological stress and well-being: a systematic review and meta-analysis. JAMA internal medicine, 174(3), 357-368. https://doi.org/10.1001/jamainternmed.2013.13018

 

Gross, J. J. (2002). Emotion regulation: Affective, cognitive, and social consequences. Psychophysiology, 39(3), 281-291. https://doi.org/10.1017/S0048577201393198

 

Gross, J. J., & Levenson, R. W. (1997). Hiding feelings: the acute effects of inhibiting negative and positive emotion. Journal of abnormal psychology, 106(1), 95. https://doi.org/10.1037/0021-843X.106.1.95

 

Jerome, E. M., & Liss, M. (2005). Relationships between sensory processing style, adult attachment, and coping. Personality and individual differences, 38(6), 1341-1352. https://doi.org/10.1016/j.paid.2004.08.016

 

Kraemer, D. L., & Hastrup, J. L. (1988). Crying in adults: Self-control and autonomic correlates. Journal of Social and Clinical Psychology, 6(1), 53. https://doi.org/10.1521/jscp.1988.6.1.53

 

Penley, J. A., Tomaka, J., & Wiebe, J. S. (2002). The association of coping to physical and psychological health outcomes: A meta-analytic review. Journal of behavioral medicine, 25(6), 551-603. https://doi.org/10.1023/A:1020641400589

 

Salomons, T. V., Johnstone, T., Backonja, M. M., Shackman, A. J., & Davidson, R. J. (2007). Individual differences in the effects of perceived controllability on pain perception: critical role of the prefrontal cortex. Journal of cognitive neuroscience, 19(6), 993-1003. https://doi.org/10.1162/jocn.2007.19.6.993

 

Troy, A. S., Shallcross, A. J., & Mauss, I. B. (2013). A person-by-situation approach to emotion regulation: Cognitive reappraisal can either help or hurt, depending on the context. Psychological science, 24(12), 2505-2514. https://doi.org/10.1177/0956797613496434

 

 


 

Author

 

Dr. Adi Shaked
Lecturer in Social Psychology Area

 

เมื่อต้องสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก

เมื่อต้องสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก

: ทำความเข้าใจภาวะของจิตใจยามสูญเสีย

 

 

เราต่างคงมีใคร หรือมีอะไร เช่น สิ่งของ หรือสถานที่ ให้เราได้คิดถึงนะคะ ความคิดถึงนั้นแบ่งง่าย ๆ ได้เป็นสองแบบค่ะ คือ คิดถึงแล้วใจฟู กับ คิดถึงแล้วใจแฟ่บ

 

ความคิดถึงแบบใจฟู ก็คือการคิดถึงสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราชอบ โดยที่เรายังรู้อยู่ในใจว่า สิ่งที่เราคิดถึงนั้นยังอยู่ใกล้ ๆ ให้เราไปหา ให้เราไปเจอ สมกับความคิดถึงที่เรามี เช่น เมื่อเราออกจากบ้านมาโรงเรียน แล้วเราคิดถึงเจ้าลูกสุนัขตัวน้อย ขนสีขาวฟูของเรา พอคิดถึงอย่างนี้ ก็มีความสุข เพราะเดี๋ยวตอนเย็นหลังเลิกเรียน ก็ได้กลับไปเจอกัน หรือเวลาสามีภรรยาที่เพิ่งแต่งงานกัน ตอนเช้าต่างคนต่างก็ออกไปทำงาน ระหว่างวันอาจมีการนึกถึงกันด้วยความคิดถึง ความคิดถึงประเภทนี้ เป็นความคิดถึงที่ทำให้ใจเราฟู มีความสุขได้

 

ส่วนความคิดถึงประเภทที่สอง เป็นความคิดถึงที่เกิดขึ้นมาแล้วใจเราแฟ่บลง ความคิดถึงแบบนี้ก็มาจากการที่เราคิดถึงสิ่งที่เรารัก เราผูกพันเช่นเดียวกัน แต่ทว่าเมื่อเราคิดถึงคน คิดถึงสิ่งของ คิดถึงสถานที่เหล่านั้นแล้ว เราไม่มีโอกาสจะได้พบ ได้ไป ได้เห็นสิ่งที่เราคิดถึงอีก

กล่าวง่าย ๆ คือ ความคิดถึงแบบนี้ มีคำตามหลังพ่วงมาด้วยว่า คิดถึง แต่ไม่มีสิ่งเหล่านั้นแล้ว

 

ยิ่งคิดถึงมาก ก็ยิ่งทำให้เรารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมีค่ามาก แล้วคำตอบที่ตามหลังมา ก็ยิ่งทำให้ใจแฟ่บ ห่อเหี่ยวลงไปได้มากยิ่งกว่า เมื่อเรารู้ว่าไม่มีสิ่งเหล่านั้นแล้ว ความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามมานี้ เป็นความรู้สึกที่ตระหนักได้ชัดถึงการเสียไปแล้วซึ่งของรักของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเสียแบบขาดจากกันด้วยอีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในโลกนี้แล้ว หรือเป็นการเสียแบบขาดจากการด้วยการไม่มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกันแล้วก็ตาม

 

ความรู้สึกที่ตามมาจาการเสียของรักนี้ บางครั้งเราเรียกมันได้ว่า “ความโศกเศร้า“

 

หากเราจะสรุปง่ายๆ ว่า ใจที่แฟ่บ หรือ ความโศกเศร้า ก็เป็นการตอบสนองแบบหนึ่งของคนเราต่อความสูญเสีย โดยความความเศร้าโศกนี้คนเราสามารถแสดงออกมาได้ทั้งทางพฤติกรรมภายนอกให้เห็น เช่น ร้องไห้ฟูมฟาย เหม่อลอย หรือเป็นพฤติกรรมภายในเช่น ความรู้สึกหวนหา คิดย้อนระลึกถึงวันคืนเก่า

 

ในการแสดงออกทั้งภายในและภายนอกบุคคลดังกล่าว คนเราแต่ละคนก็จะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป

 

นักจิตวิทยาได้มีการศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึกโศกเศร้านี้มากมาย เพื่อเข้าใจความรู้สึกที่คนเราจะต้องเผชิญเมื่อต้องเสียของรักค่ะ สิ่งที่น่าสนใจคือ มีนักจิตวิทยากล่าวถึง ระยะของความเศร้าโศก โดยการทำความเข้าใจระยะของความเศร้าโศกนี้ จะช่วยให้เราสามารถเตรียมตัวเตรียมใจว่าเราจะต้องเผชิญกับอะไรบ้าง เมื่อเราอาจต้องเสียของรักไป นอกจากนี้ยังจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจคนที่อยู่รอบตัวเรา เมื่อเขาต้องเสียของที่เขารักไปได้เช่นกัน

 

 

ระยะของความเศร้าโศกนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 ระยะ

คือ

  1. ระยะของการไม่ยอมรับ
  2. ระยะของการเริ่มต้นยอมรับความจริง
  3. ระยะของการยอมรับความจริง และ
  4. ระยะของการกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

 

 

เรามารู้จักกับระยะแรกของความโศกเศร้าก่อนนะคะ

 

 

ระยะแรกที่นักจิตวิทยาเรียกว่า เป็น ระยะของการไม่ยอมรับ นี้ เป็นช่วงต้นที่บุคคลเริ่มรับรู้ถึงการสูญเสีย การพลัดพรากที่เกิดขึ้น เมื่อเราต้องพรากจากสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เราอยากให้อยู่กับเราไปนาน ๆ ปฏิกริยาตอบสนองแรกที่ย่อมจะเกิดขึ้นก็คือ การพยายามไม่ยอมรับความจริงเกี่ยวกับการสูญเสีย เช่น บางคนเมื่อคนรักมาตัดรอน บอกเลิก ก็อาจจะแสดงออกเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่ยอมรับว่าเราสองคนจบกันแล้ว แสดงตัวประหนึ่งว่ายังรักกันเช่นเดิม

 

นักจิตวิทยาก็ได้อธิบายว่า พฤติกรรมทั้งภายนอกภายในที่บุคคลแสดงในขั้นนี้ เป็นพฤติกรรมที่แสดงมาจากความไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริงเกี่ยวกับการสูญเสีย บางคนอาจจะมีการใช้วิธีที่เรียกว่า กลวิธีการยืดเวลา คือ พยายามขยายเวลาออก ให้ช่วงเวลาของการที่ไม่ต้องยอมรับและเผชิญกับความจริงนานออกไปเรื่อย ๆ เช่น เมื่อชายหนุ่มทราบว่า หญิงสาวที่ตนรักเป็นอื่นไปแล้ว เขากลับพยายามทำทุกอย่างให้เหมือนเดิม เหมือนตอนที่ยังรักกันดีอยู่ ไม่ยอมรับกับความจริงว่าหญิงสาวนั้น ได้จบความสัมพันธ์กับเขาแล้ว

 

การไม่ยอมรับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการความเศร้าโศก ที่จะช่วยให้บุคคลมีเวลาสำหรับฟื้นความรู้สึก และช่วยให้บุคคลมีเวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อทำใจยอมรับความจริง ว่าเราได้สูญเสียสิ่งที่รักไปแล้วนั่นเอง เมื่อการยืดเวลา การไม่ยอมรับสิ้นสุดลง บุคคลจะเริ่มยอมรับความจริงเกี่ยวกับการสูญเสีย และจะเข้าสู่ระยะต่อไปของการสูญเสียค่ะ

 

ระยะที่สอง ระยะของการเริ่มยอมรับความจริง

 

เนื่องจากแม้ใจเราอยากจะปฏิเสธความจริงเท่าใดก็ตาม ว่าสิ่งที่เรารักยังอยู่กับเรา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นทั้งสิ้น หากความจริงภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ก็เข้ามากระทบ มาย้ำให้เรารับรู้อยู่ตลอดเวลาว่าเราเสียของรักไปแล้ว เมื่อมีความจริงมาปรากฏตรงหน้าเช่นนี้อยู่บ่อยครั้ง คนเราก็จะหันหน้ามาเผชิญกับความจริงว่าเราได้เสียของรักไปแล้วจริง ๆ

 

ในตอนต้นของการยอมรับนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนคือความรู้สึกเจ็บปวด อาจถึงขั้นเจียนใจจะขาดลงเสียให้ได้ เพราะต้องมายอมรับกับความจริงว่าต้องสูญเสียสิ่งที่เราไม่อยากให้สูญเสีย หากเราก็ต้องค่อย ๆ ขยับใจให้มายอมรับกับความจริงที่แม้จะเจ็บปวดเช่นนี้ เพราะมันก็คือความจริง ซึ่งเราจะสามารถผ่านพ้นความรู้สึกเจ็บปวดนี้ไปได้สักวันอย่างแน่นอน ความรู้สึกเจ็บปวดในใจที่เกิดขึ้นจากการเริ่มต้นยอมรับความจริงนี้เป็นอาการเบื้องต้นที่จะเกิดขึ้น บุคคลอาจแสดงออกถึงความเจ็บปวดที่ตนได้รับผ่านการร้องไห้คร่ำครวญ บางครั้งอาจมีการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย บ้างก็อาจมีการคิดหมกมุ่นถึงสิ่งที่เราเสียไป ใจกลับไปคิดทบทวนถึงแต่เรื่องเก่า ๆ ที่เคยผ่านมา

 

หากการสูญเสียของรักของเราเป็นการสูญเสียที่รุนแรงที่สุด คือ การจากกันเพราะอีกฝ่ายไม่อยู่ในโลกนี้แล้ว ในระยะของการเริ่มต้นยอมรับความจริงนี้ บุคคลที่สูญเสียยังอาจมีการแสดงความโกรธ เนื่องจากความผิดหวังที่เกิดขึ้นจากความหวังว่าผู้เราต้องสูญเสียจะยังมีชิวิตอยู่ หรือมีความโกรธต่อผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ หรือ มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการสูญเสียของเรา เมื่อบุคคลเข้าสู่ระยะของการเริ่มต้นยอมรับความจริง แม้ในระยะนี้บุคคลอาจจะมีอารมณ์รุนแรง เนื่องจากความจริงที่แสนจะเจ็บปวดนี้ แต่บุคคลก็จะพร้อมที่จะก้าวไปสู่ระยะต่อไปในที่สุดค่ะ

 

 

 

ระยะที่สาม ระยะของการยอมรับความจริง

 

คือ ระยะที่คนเราจะมีการตระหนักและยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น โดยการยอมรับความจริงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแบบปุบปับ เช่นว่าวันนี้ยังมีความโกรธต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น ร้องไห้ฟูมฟาย แล้ววันรุ่งขึ้นอยู่ ๆ ก็จะยอมรับความสูญเสียได้ การเปลี่ยนแปลงนี้บุคคลจะค่อย ๆ ตระหนักถึงความสูญเสีย และยอมรับว่าความสูญเสีย การพรากจากของรักของตนนั้นได้เกิดขึ้นจริงแล้ว

 

สิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากการตระหนักและยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นนี้ จะเป็นความเสียใจอย่างสุดซื้ง เพราะสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราผูกพัน ย่อมเป็นสิ่งที่เราพึงใจ มีความสุขกับสิ่งนั้น อยากให้มีสิ่งนั้นอยู่กับเราตลอดไป เมื่อต้องมาเผชิญกับความจริงว่าเราไม่มีโอกาสมีสิ่งที่เราพึงใจ อยากมีมันตลอดไปแล้ว ความรู้สึกเศร้า เสียใจอย่างสุดซึ้งย่อมจะเกิดขึ้นตาม โดยในบางครั้งอาจมีความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง มีอารมณ์ซึมเศร้า ไม่อยากทำอะไร หมดแรง หมดกำลังใจ หมดความสนใจต่อสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต

 

อารมณ์เหล่านี้บางครั้งอาจส่งผลตามมาต่ออาการทางกายของเราด้วยนะคะ บางทีอาจเกิดอาการนอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร พอทราบเช่นนี้แล้วบางท่านอาจคิดในใจว่า อย่างนี้การยอมรับความจริงก็ไม่ดีเลย มีสารพัดอาการของความไม่สบายใจ ไม่สบายกายที่จะเกิดขึ้นได้ ดิฉันอยากเรียนให้ทราบว่าการยอมรับความจริงนี้เป็นสิ่งดีค่ะ ยิ่งเรายอมรับแบบเห็นจริง ยอมรับว่าเราจะไม่มีสิ่งที่เราเคยรัก เคยผูกพันอยู่แล้ว

 

สารพัดอาการทางใจและทางกายที่เกิดขึ้น เป็นกลไกของมนุษย์ที่พยายามเหนี่ยวรั้งให้สิ่งที่รักอยู่กับตัวเราให้นานที่สุด เมื่อไม่ได้สิ่งที่รักอยู่กับเราแน่ ๆ แล้ว ใจของเราก็ยากที่จะยอมรับมันโดยง่าย แม้จะยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นนอกตัวได้แล้วว่า ไม่มี ไม่มีแล้วจริง ๆ แต่สิ่งที่เป็นความคาดหวังในตัวเราต่างหากละคะที่จัดการได้ยาก

 

การที่เราไม่เห็นว่าตัวเราทุกข์ เศร้าใจ หมดแรงใจ หมดแรงกาย ก็ไม่ได้แปลว่าไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในตัวเราค่ะ ถ้าเราไม่เห็นมันเราก็จะไม่สามารถจัดการกับมันได้ แต่เมื่อเราได้เห็นมัน หรือมันปรากฏขึ้นมาชัดเจน เราย่อมสามารถจัดการกับมันได้ และเราก็จะผ่านระยะของการยอมรับความจริงนี้ไปได้ ไปสู่ระยะสุดท้ายของความเศร้าโศกได้

 

กว่าจะเดินทางมาถึงระยะสุดท้ายนี้ไม่ใช่ง่าย ๆ เลยนะคะ

 

บุคคลจะต้องต่อสู้กับสารพัดความรู้สึกที่เราได้รับทราบกันไปข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการหนีจากความรู้สึก หรือความจริงที่ต้องเผชิญ อารมณ์เจ็บปวดเสียใจ อารมณ์เศร้า หวนหา อยากให้มีสิ่งที่รักอยู่กับตัวเรา แต่ทุกความรู้สึกที่ยากลำบาก ล้วนแต่เป็นเหมือนกับก้อนหินแต่ละก้อนที่ช่วยให้เรารู้จักและยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต และก้าวข้ามมาสู่ก้อนหินก้อนสุดท้ายก่อนจะข้ามถึงฝั่งนั้นก็คือ การกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ค่ะ

 

การกลับเข้าสู่ภาวะปกติ คือการที่บุคคลที่ต้องสูญเสียหรือพรากจากของที่รัก สามารถเริ่มที่จะปรับตัวเอง และจัดระบบระเบียบในการดำเนินชีวิตใหม่ ปรับบทบาทของตนเองใหม่ ให้เข้ากับการที่ต้องอยู่โดยไม่มีของรักนั้นแล้ว

 

ดูเหมือนไม่มีอะไรซับซ้อนนะคะ แต่ความจริงแล้วในบางคนกว่าจะเดินมาถึงขั้นสุดท้ายนี้ได้ อาจต้องใช้เวลาเป็นปี หรือหลายปี หรือบางคนอาจต้องพยายามเดินแล้วเดินอีกก็ยังไม่ถึง การที่เราจะสามารถปรับตัวเองและกลับเข้ามาสู่ภาวะปกติได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับใจของเราเป็นหลักค่ะ คนรอบตัวอย่างมากก็เป็นได้เพียงกำลังใจ ซึ่งกำลังใจนี้อาจช่วยให้เรามีแรงมากขึ้นที่จะพยายาม แต่คนที่ต้องพยายามก็คือตัวเราเองอยู่ดี

 

การกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จะเกิดขึ้นเมื่อเรายอมรับ ทั้งด้วยเหตุผลและด้วยจิตใจของเราได้ว่า เราไม่มีสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราพึงใจแล้ว และการเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้เกิดขึ้นจริง ๆ เราสามารถเสียใจ ร้องไห้ ซึมเศร้า แต่ไม่ว่าเราจะรู้สึกเท่าไร สิ่งที่เรารักก็จะไม่ได้กลับมาแล้ว แม้ว่าความจริงจะเป็นสิ่งที่เจ็บปวด แต่การยอมรับความจริงนั้นอย่างหมดหัวใจ ก็เป็นหนทางเดียวที่เราจะกลับมาสู่ภาวะปกติของตัวเราได้ค่ะ

 

 

 

 

สิ่งที่ยากก็คือการยอมรับความจริง แต่ดิฉันมีหลักง่าย ๆ ที่หลายท่านคงจะคุ้นเคยกันมาบ้าง ที่จะช่วยให้เราปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้ นั่นก็คือ หากเรายอมรับได้ว่า “สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตเราไม่มีอะไรอยู่กับเราอย่างถาวรเลย มันมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ เป็นกฎของธรรมชาติ เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เราก็ไม่สามารถเปลี่ยนกฎของธรรมชาติได้”

 

เมื่อวานร้อน พรุ่งนี้อาจจะมีฝนตก สิบปีที่แล้วเราเป็นเด็กน้อย ตอนนี้เราโตมาเป็นนักศึกษา การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในทุกสิ่งรอบตัวเรา ดังนั้นวันหนึ่งเรามีคนที่เรารัก เราผูกพัน ในอีกวันหนึ่งก็ย่อมจะไม่มีได้ เพราะ การเปลี่ยนแปลงเป็นกฎของธรรมชาติ หากเราสามารถเริ่มต้นมองการเปลี่ยนแปลง การต้องพรากจากสิ่งที่รักว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎธรรมชาติแล้ว เราก็สามารถค่อย ๆ ยอมรับความจริงอย่างหมดหัวใจ

 

แน่นอนค่ะว่าสิ่งที่รัก ที่ผูกพัน ขาดหายไป เราย่อมมีความทุกข์ใจ ทุกข์กายเกิดขึ้น แต่หลักธรรมชาติที่เราเข้าใจนี้ จะช่วยให้เรากลับมาสู่ภาวะปกติได้เร็ว แล้วยอมรับกับสิ่งที่เกิดได้ค่ะ

 

 

หากท่านใดพบว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดประสบความยากลำบากในการก้าวผ่านความโศกเศร้าจากการสูญเสีย คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม ที่Wellness Center โดยมีเวลาทำการในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00 -17.00 น. หมายเลขโทรศัพท์ 061-736-2859 รวมทั้งสามารถติดต่อได้ทาง E-mail ที่ wellness.chula@gmail.com หรือ Facebook : Wellness Center

 

 


 

 

บทความจากสารคดีทางวิทยุรายการจิตวิทยาเพื่อคุณ – วิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์

แขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
Faculty of Psychology, Chulalongkorn University

คณะจิตวิทยาร่วมหารือกับคณาจารย์จาก UNIVERSITI TUNKU ABDUL RAHMAN

 

คณาจารย์จาก UNIVERSITI TUNKU ABDUL RAHMAN (UTAR) ประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย

 

  1. Tan Chee Seng, Ph.D. ประธานการประชุม
  2. Nurul Iman Binti Abdul Jalil, Ph.D. Chairperson, Centre for Applied Psychology
  3. Mr. Pheh Kai Shuen Head of Programme, BSocSc (Hons) Guidance and Counselling
  4. Mr. Tan Soon Aun Head of Programme, Master of Industrial and Organizational Psychology

 

ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ รองคณบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี ผู้ช่วยคณบดี ถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบัน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ทางออนไลน์

 

 

 

Graduation Celebration for JIPP10 & JIPP9

 

วันที่ 14-16 ธันวาคม 2565 คณบดีคณะจิตวิทยา ผศ. ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ และผู้ติดตาม ประกอบด้วย รองคณบดี ผศ.ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ ผู้ช่วยคณบดี ผศ. ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี ผู้อำนวยการหลักสูตร JIPP อ. ดร.พจ ธรรมพีร ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาปริชาน อ. ดร.สุภสิรี จันทวรินทร์ และ หัวหน้างานบริการการศึกษาและวิรัชกิจ คุณกรินทร์ วิลาวรณ์ ได้เดินทางไปร่วมแสดงความยินดีกับนิสิต JIPP รุ่น 10 และรุ่น 9 ในพิธีมอบปริญญาบัตรของ School of Psychology, Faculty of Health and Behavioural Sciences, University of Queensland ณ เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย

 

ในโอกาสนี้คณาจารย์คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้ร่วมหารือกับ Prof. Virginia Slaughter, Head of School of Psychology และ Assoc. Prof. Philip Grove ในเรื่องความร่วมมือด้านวิชาการ อาทิ การปรับหลักสูตร และการขยายความร่วมมือแลกเปลี่ยนนิสิตระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท อีกทั้งได้ประชุมร่วมกับ Prof. Jolanda Jetton, incoming Head of School ในเรื่องการขยายความร่วมมือด้านการวิจัย และการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International conference) ร่วมกันในปี 2023

 

นอกจากนี้ คณาจารย์คณะจิตวิทยา ได้พบปะพูดคุยกับนิสิต JIPP รุ่น 11 ที่อยู่ในระหว่างการศึกษาที่ University of Queensland อีกด้วย

 

 

Fixed and growth mindset – กรอบความคิดแบบยึดติด-เติบโต

 

 

 

กรอบความคิดแบบยึดติด-เติบโต มีรากฐานมาจากทฤษฎีบุคลิกภาพด้านความคิด ว่าบุคคลมีการตอบสนองอยู่ 2 ประเภท คือ แบบช่วยตนเองไม่ได้ (helpless) และ แบบเน้นการเรียนรู้ (mastery orientation)

 

บุคคลที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ใด ๆ แบบช่วยเหลือตัวเองไม่ได้มักหลีกหนีปัญหาเมื่อเจออุปสรรค ส่วนการตอบสนองแบบเน้นการเรียนรู้จะเผชิญกับปัญหาแม้เจออุปสรรค ซึ่งความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลและได้พัฒนาต่อมาเป็นทฤษฎีความเชื่อส่วนบุคคลหรือหรือกรอบความคิดแบบยึดติด-เติบโต

 

คนที่มีความเชื่อว่าความฉลาด ความสามารถ เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เรียกว่าเป็นคนมีกรอบความคิดแบบยึดติด (fixed mindset) ส่วนคนที่เชื่อว่าความฉลาด ความสามารถ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และคนเราสามารถฉลาดหรือเก่งขึ้นได้โดยใช้ความพยายามกับสิ่งนั้น เรียกว่กรอบความคิดแบบเติบโต (growth mindset)

 

ผู้มีกรอบความคิดแบบยึดติดจะมีเป้าหมายยึดติดกับผลลัพธ์ ซึ่งเน้นการพิสูจน์ตนเองเพื่อให้ได้รับคำชมและหลีกเลี่ยงคำตำหนิ ส่วนผู้มีกรอบความคิดแบบเติบโตจะมีเป้าหมายแบบมุ่งเน้นการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เน้นการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกัน

 

คนที่มีมองว่าความสามารถปรับเปลี่ยนได้ นอกจากจะพัฒนาตนเองได้ดีกว่า ยอมรับคำแนะนำมากกว่า ยอมรับคนอื่นได้มากกว่า มีแนวโน้มในการต้องการคนยกย่อง สรรเสริญน้อยกว่า และทำงานที่ท้าทายได้มากกว่าคนที่มีกรอบความคิดแบบยึดติด

 

อย่างไรก็ดี ข้อเสียของผู้มีกรอบความคิดแบบเติบโต คือ เมื่อบุคคลทำสิ่งใหม่ ๆ แล้วพยายามอย่างสุดความสามารถแต่ก็ยังไม่สำเร็จ เขาจะรู้สึกแย่มากกว่าคนที่มีกรอบความคิดแบบยึดติด อีกทั้ง เมื่อเขามองตนเองว่าพยายามจึงจะสำเร็จ เขาก็จะคาดหวังในคนอื่นพยายามด้วย ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาในความสัมพันธ์เพราะเขาจะคิดว่าคนอื่นพยายามไม่พอ นอกจากนี้ ผู้มีกรอบความคิดแบบเติบโตมักมองไปในอนาคต แต่ผู้มีกรอบความคิดแบบยึดติดมักอยู่กับปัจจุบันมากกว่า

 

กรอบความคิดแบบยึดติด-เติบโต มีพื้นฐานจากความเชื่อ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เราได้รับ โดยที่เราสามารถเปลี่ยนกรอบความคิดในช่วงไหนของชีวิตก็ได้เพื่อที่จะประสบความสำเร็จและได้รับความพึงพอใจ ทั้งนี้คนที่มีกรอบความคิดแบบยึดติดในเรื่องหนึ่ง อาจมีกรอบความคิดแบบเติบโตในอีกเรื่องหนึ่งได้

 

*****************

 

ข้อมูลจาก

 

“ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมในงานและความพึงพอใจในงาน โดยมีรูปแบบการเผชิญปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่านและกรอบความคิดแบบยึดติด-เติบโตเป็นตัวแปรกำกับ” โดย ภัทรพร กังวานพรชัย (2559) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52349

Can you get smarter?

Can you get smarter?

 

A common belief is that a person’s cognitive ability, such as their skill at planning, attention and problem solving, is a fixed factor. But this is a misconception. There are many things that we can do to improve our cognitive ability.

 

Part of the reason for this misconception is that intelligence, which is really just one’s average cognitive ability, and IQ scores, are often described as if they were a fixed trait. A person may tell you that their IQ is 130, or whatever, as if it hasn’t changed since they were assessed many years ago. In reality, our cognitive ability changes over time, even within a day- think about how well you can concentrate when you are tired, compared to when you are refreshed.

 

It is true that people do vary a lot in their cognitive ability. And within the overall population, about 50% of that variation is due to genetic factors. But, importantly, that leaves a lot which is due to experience, and, in fact, there is almost no limit to how much we can enhance that experience aspect. A great example of this is when children are taken from homes in which the parents have trouble caring for them, and are adopted by more able families. This leads to a substantial increase in the children’s intelligence test scores (see Nisbett et al., 2012). The point is that the environments and experiences that we create for children, and for ourselves, will have either negative or positive effects on our cognitive ability, and these can be very large effects. But, fortunately, we have the ability to control that for the better.

 

 

Here are some ways that we can make ourselves smarter.


 

Firstly, education and training are powerful tools that increase cognitive ability, perhaps the most powerful tools available to us. Decades of research has shown that spending longer in formal education causes increase one’s intelligence. In fact, you can probably add about 3 IQ points for each additional year you spend in education (see Ritchie & Tucker-Drob, 2018). Even short courses over a few weeks can result in increased cognitive ability (see Crespo-Andrade et al., 2022). But if you can’t take classes, regular reading is an important and powerful way to enhance your own mind.

 

Education learning concept love of reading people reading or students studying and preparing for examination in library book lovers readers modern literature flat cartoon vector illustration

 

 

Secondly, your intelligence is completely dependent on the health or your brain. When we study psychology, we often talk of abilities and traits in very abstract ways. But in reality, every thought we ever have, every feeling we ever experience, and every action that we ever make, is the consequence of millions of physiological events in the brain. Our neurons constantly interact with glia (‘support cells’) and with blood vessels. Whatever is happening in your body, particularly your blood, affects your brain (see Pluck, 2022). A simple way to improve intelligence is to improve that environment for your brain. This could mean eating healthy food, exercising, and avoiding psychoactive substances (such as alcohol and nicotine). These will all make your brain fitter and help you to think more clearly, and make smarter decisions.

 

Thirdly, get vaccinated and keep up to date with Covid-19 boosters, and wear masks in public. There is now a lot of evidence that catching Covid can lead to neurological and cognitive disorders. We can’t avoid the disease completely, unfortunately. But the evidence suggests that severe illness (see Tsvetanov et al., 2022), or repeated infections are a particular risk cognitive impairment, and we can reduce our risk in that way.

 

Mental health awarness concept

 

Fourthly, manage your stress. We all often feel that we have to complete tasks and achieve things against time deadlines and quality standards. But there is a huge amount of psychological and neuroscience research showing how stress damages our health, and our ability to think clearly (see Marin et al., 2011). Anything that you can do to manage stress, or overall mental health, will be good for you and your brain. It may even make your performance better. Getting out of the urban environment and walking in a natural environment, such as Lumpini park, is great for stress control, and brain health in general.

 

Finally, take sleep seriously. Although psychologists still don’t know what sleep and dreaming is for, the fact that we spend so long doing it, and all animals do it (even spiders dream!) indicates that it’s doing something very important. We usually don’t remember what happens to us during sleep, but it is possible that we remain conscious the whole time. Psychologists are now realizing that during sleep we may be planning for future events, and processing and consolidating things that we learnt while awake (see Windt et al., 2016). Sleeping well will improve your future cognitive ability, and your stored knowledge and skills. We can improve our sleep quality by sticking to routines, giving ourselves enough time in bed, and making sure we have a comfortable space, that is quiet and dark.

 

Flat person sleeping at night in bed background

 

Does it matter? Well yes, psychological research has shown that better cognitive ability only ever has positive consequences for our lives, such as increased earnings, life satisfaction, family harmony, and longevity (see Brown et al., 2021). Furthermore, cognitive ability is a protective factor against a range of neurological and mental health disorders. So, we can all make small changes to improve our lives, by improving our cognitive ability.

It’s time to get smart about your cognitive health.

 

 

Author

Dr Graham Pluck

Lecturer in JIPP Program

 

 

 

References

 

Brown, M. I., Wai, J., & Chabris, C. F. (2021). Can you ever be too smart for your own good? Comparing linear and nonlinear effects of cognitive ability on life outcomes. Perspectives on Psychological Science, 16(6), 1337-1359. https://doi.org/10.1177/1745691620964122

 

Crespo-Andrade, C., Trueba, A. F., Garcés, M. S., & Pluck, G. (2022). Multicomponent intervention associated with improved emotional and cognitive outcomes of marginalized unemployed youth of Latin America. Social Sciences, 11(4), 155. https://doi.org/10.3390/socsci11040155

 

Marin, M. F., Lord, C., Andrews, J., Juster, R. P., Sindi, S., Arsenault-Lapierre, G., … & Lupien, S. J. (2011). Chronic stress, cognitive functioning and mental health. Neurobiology of Learning and Memory, 96(4), 583-595. https://doi.org/10.1016/j.nlm.2011.02.016

 

Nisbett, R. E., Aronson, J., Blair, C., Dickens, W., Flynn, J., Halpern, D. F., & Turkheimer, E. (2012). Intelligence: new findings and theoretical developments. American Psychologist, 67(2), 130-159. https://doi.org/10.1037/a0026699

 

Pluck, G. (2022). ABO blood group, socioeconomic status, and cognitive function: Evidence from college students for better visual recognition associated with the Type O phenotype. Journal of Cognitive Science, 23(4), 493-524. https://doi.org/10.17791/jcs.2022.23.4.493

 

Ritchie, S. J., & Tucker-Drob, E. M. (2018). How much does education improve intelligence? A meta-analysis. Psychological Science, 29(8), 1358-1369. https://doi.org/10.1177/0956797618774253

 

Tsvetanov, K. A., Spindler, L. R., Stamatakis, E. A., Newcombe, V. F., Lupson, V. C., Chatfield, D. A., … & CITIID-NIHR BioResource COVID-19 Collaboration. (2022). Hospitalisation for COVID-19 predicts long lasting cerebrovascular impairment: A prospective observational cohort study. NeuroImage: Clinical, 36, 103253. https://doi.org/10.1016/j.nicl.2022.103253

 

Windt, J. M., Nielsen, T., & Thompson, E. (2016). Does consciousness disappear in dreamless sleep? Trends in Cognitive Sciences, 20(12), 871-882. https://doi.org/10.1016/j.tics.2016.09.006

 

Cr. Pic – https://www.freepik.com/

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเข้าใจเทคนิคภาพยนตร์บำบัดเบื้องต้น”

 

 

ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง

 

“การเข้าใจเทคนิคภาพยนตร์บำบัดเบื้องต้น”

 

โดยวิทยากร

นพ. การันตร์ วงศ์ปราการสันติ

จิตแพทย์โรงพยาบาลสวนปรุง

 

ในวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น.

ณ ห้อง 614 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

รายละเอียดกิจกรรม
– การผสมผสานระหว่างทฤษฎีกับ workshop ต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจทฤษฎีของเทคนิคภาพยนตร์บำบัดเบื้องต้น

– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคภาพยนตร์บำบัดเบื้องต้น ได้แก่ *externalization
*landscape of action
*landscape of consciousness

 

ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

ลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรมได้ที่ https://forms.gle/5cbAFgZVHTjJMQ8R7

รับจำนวน 30 คน เท่านั้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง FB Here to Heal

Special Talk “Growth mindset and academic engagement: How cultural context inspires new theories and practices.”

การบรรยายพิเศษ เรื่อง

“Growth mindset and academic engagement:
How cultural context inspires new theories and practices.”

 

Growth (fixed) mindset refers to the belief in the malleability (unchangeability) of valued personal attributes, such as intelligence, sociability and morality (Dweck, 1999; Dweck, Chiu, & Hong, 1995). Growth mindset has received much attention from both psychologists and educators because of the consistent finding that compared to others, students who possess or are situationally induced to embrace a growth mindset are more motivated to pursue challenging goals, remain resilient in the face of hardship and setbacks, improve their performance and have better emotional wellbeing. These findings confer confidence in the efficacy of using growth mindset interventions to bolster students’ resilience and social emotional competence. Subsequent intervention studies have shown that growth mindset intervention in schools can improve students’ academic performance and social-emotional wellbeing.
The sizes of psychological benefits of growth mindset intervention vary across cultural contexts. For example, the benefits are more sizeable in Western individualist cultures than Asian collectivist cultures. We attribute the small effect size of growth mindset intervention in Asian societies to three inter-related factors: (1) keen academic competition among students in Asian societies, (2) the Asian cultural belief that effort is a way to compensate for low ability, and (3) the lack of academic mobility in Asian societies. We further propose an ecological perspective to guide theory construction and practices of growth mindset educational intervention. In this talk, I will present the gist of this perspective and our attempts to develop growth mindset educational practices in Hong Kong Asian contexts.

 

 

โดยวิทยากร :
Professor Chi-yue Chiu
Dean of Social Science, Choh-Ming Li Professor of Psychology, Chinese University of Hong Kong

 

 

* บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ

 

 

ในวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ณ ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
จำกัด 60 ที่นั่งเท่านั้น
ลงทะเบียนเข้าร่วมได้ทาง
Register-Button - SiamQuant
สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ :
คุณพิพัฒน์พน โทร 02-218-1193 อีเมล Bhibhatbhon.P@chula.ac.th

 

 


 

 

การเดินทางมายัง Faculty of Psychology, Chulalongkorn University

 

 

  • การเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ
    ลงรถไฟฟ้า BTS ที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ หรือลงรถเมล์ป้ายสนามกีฬาแห่งชาติ หรือป้ายมาบุญครอง
    และเดินต่ออีก 3-4 นาที
  • การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
    สามารถจอดรถที่
    1. อาคารจุฬาพัฒน์ 14 (อาคารจอดรถ 4) ค่าบริการ : ชั่วโมงละ 20 บาท
    https://goo.gl/maps/CsiNtQd81mEv5DSa9
    2. ลานจอดรถสวนหลวงสแควร์ ค่าบริการ : 2 ชั่วโมงแรก 20 บาท จากนั้นชั่วโมงละ 20 บาท
    https://goo.gl/maps/jpqU6po83DKM5TAh7

Anxiety – ความวิตกกังวล

 

 

 

ความวิตกกังวล หมายถึง สภาวะทางอารมณ์ที่บุคคลรู้สึกกังวล กระวนกระวายใจ เครียด รู้สึกว้าเหว่ มีความคิดเกี่ยวกับความตาย รวมถึงมีอาการนอนไม่หลับ และอาการชาหรือเจ็บแปลบตามร่างกายในชีวิต

 

ความวิตกกังวลคือลักษณะอารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงอันตราย เป็นความรู้สึกของการเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่เกิดขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ไม่คุ้นเคย หรือความขัดข้องใจที่คุกคามสวัสดิภาพ ภาวะสมดุล วิถีชีวิตของบุคคล หรือกลุ่มสังคมที่บุคคลนั้นเป็นเจ้าของอยู่

 

กล่าวได้ว่า ความวิตกกังวลไม่ได้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับบุคคลโดยตรงจากสถานการณ์ที่เข้ามากระทบ แต่เป็นกระบวนการที่เกิดจากการที่บุคคลประเมินความน่าจะเป็นของสถานการณ์ในอนาคต ซึ่งเป็นผลจากการที่บุคคลเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตที่เคยประสบ

 

สรุปคือ ความวิตกกังวลเป็นผลจากการที่บุคคลได้รับสิ่งเร้าแล้วคิดประเมินหรือคาดคะเนว่าสิ่งเร้านั้นจะทำให้เกิดความไม่พึงพอใจหรือทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคล ส่งผลให้บุคคลไม่สาม

 

 

สาเหตุของการเกิดความวิตกกังวล


 

ความวิตกกังวลสามารถเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการในชีวิต เช่น การเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กเข้าสู่วัยรุ่น โดยจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลและความคับข้องใจ อีกทั้งความวิตกกังวลยังสามารถเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือเกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ความขัดแย้งกับบุคคลอื่น เป็นต้น

 

 

อาการของความวิตกกังวล


 

  1. ความรู้สึกวิตกกังวล – เป็นอาการหลักที่เกิดขึ้น บุคคลมักรายงานว่าตนเองรู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมาก รู้สึกว่าตนอยู่ในภาวะตึงเครียด อึดอัด หวาดหวั่น หงุดหงิด กระวนกระวาย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สิ้นหวัง รู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า ตำหนิตนเองและผู้อื่น คิดกลับไปกลับมา และมีการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะมีเคราะห์ร้ายเกิดขึ้นกับตนเอง อีกทั้งรู้สึกไม่สามารถควบคุมความวิตกกังวลของตนเองได้
  2. อาการด้านร่างกาย – บุคคลที่มีความวิตกกังวลจะมีการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติโดยเฉพาะระบบประสาทซิมพาเธติก ทำให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป และนำมาซึ่งอาการต่าง ๆ เช่น หัวใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก เท้าเย็น เหงื่อออก กล้ามเนื้อตึง ปวดเมื่อยตามร่างกาย เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ท้องอืด รู้สึกชาบริเวณปลายมือและเท้า ประจำเดือนมาผิดปกติ
  3. ปัญหาเรื่องการนอนหลับ – มีอาการนอนหลับยาก พักผ่อนไม่เพียงพอ รู้สึกไม่พึงพอใจการนอนหลับของตนเอง อาจมีปัญหาการตื่นขึ้นกลางดึกและไม่สามารถนอนหลับได้อีก ทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า
  4. ด้านความคิด สติปัญญา และการรับรู้ – มีความหมกมุ่น ฟุ้งซ่าน ไม่มีสมาธิ ลืมง่าย สับสน ความสามารถในการตัดสินใจลดลง ระดับการรับรู้ลดลง บางครั้งมีรายงานว่าอยู่ ๆ บุคคลก็รู้สึกว่าหัวตื้อ รู้สึกโหวง ๆ
  5. อารมณ์โกรธ โมโหง่าย – มีอาการโกรธง่าย ฉุนเฉียวกับเรื่องเล็กน้อย และไม่มีสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
  6. อาการอ่อนเพลีย – มักรู้สึกอ่อนเพลียแม้ไม่ได้ออกแรง โดยการพักผ่อนไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
  7. ด้านพฤติกรรม – บุคคลจะแสดงออกพฤติกรรมทั้งทางคำพูดและท่าทาง เช่น หน้านิ่ว คิ้วขมวด กระสับกระส่าย กำมือแน่น พูดเร็ว พูดเรื่องซ้ำเดิม ใจลอย เคลื่อนไหวโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมถดถอย และหลีกเลี่ยงบุคคลหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความกังวล

 

 

ระดับความวิตกกังวลของบุคคล


 

มี 4 ระดับ ดังนี้

  1. ระดับต่ำ Mild anxiety – ระดับนี้พบได้ทั่วไป เช่น การตึงเครียดจากการดำรงชีวิตประจำวัน เป็นระดับที่ทำให้บุคคลเกิดความตื่นตัว กระตือรือร้นที่จะเอาชนะปัญหา มีการรับรู้ที่ว่องไว ความจำดี สมาธิดี อารมณ์และการกระทำไม่เปลี่ยนจากปกติมากนัก รวมถึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้น เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ม่านตาขยาย ฝ่ามือมีเหงื่อออก การเคลื่อนไหวเร็วขึ้น บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับต่ำนี้ยังสามารถควบคุมตนเองได้ โดยอาจต้องการความช่วยเหลือบ้าง เช่น ต้องการข้อมูลเพิ่ม ต้องกาความสะดวก ต้องการให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ
  2. ระดับปานกลาง Moderate anxiety – ระดับนี้มีผลทำให้ประสาทสัมผัสและการรับรู้แคบลง ความสนใจน้อยลง ความสามารถในการเรียนรู้ลดลง อาจมีอาการทางสรีระ เช่น หายใจเข้าออกแรง รู้สึกปั่นป่วนในกระเพาะอาหาร ปวดศีรษะ บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับปานกลางนี้ยังสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองได้
  3. ระดับรุนแรง (Severe anxiety) – ระดับนี้มีผลทำให้ประสาทสัมผัสและการรับรู้แคบลง ทำให้หมกมุ่นในรายละเอียดมากจนเกินไป ไม่สามารถจับสาระสำคัญของเรื่องใดได้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาลดลงและทำงานได้ไม่เต็มสมรรถภาพ เกิดความสับสน มีพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อปกป้องตนเองมากขึ้น และมักเป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่สังเกตเห็นได้ เช่น กระวนกระวาย หงุดหงิด โมโหง่าย เรียกร้องเกินกว่าเหตุ ต่อต้าน ตื่นกลัว ตัวสั่น เกร็ง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ท้องเดิน หรือท้องผูก นอนไม่หลับ บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรงนี้ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  4. ระดับรุนแรงมาก (Panic anxiety) – ระดับนี้มีผลทำให้บุคคลเกิดความกลัวอย่างรุนแรงมาก หรือเป็นความกลัวสุดขีด ทำให้บุคคลขาดการควบคุมตนเอง และแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่มีในสภาวะปกติ เช่น กรีดร้อง วิ่งหนีไปอย่างไรจุดหมาย หรือตกตะลึงแน่นิ่งหมดสติทันทีทันใด บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรงมากนี้จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและไม่สามารถทำภารกิจเหมือนปกติได้

 

 

โรควิตกกังวล


 

คู่มือเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช DSM-5 ระบุถึงโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ซึ่งมีลักษณะและระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ได้แก่

  1. โรคการกลัวอยู่ในที่ชุมชน (Agoraphobia)
  2. โรคการกลัวเฉพาะเจาะจง (Specific Phobia)
  3. โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia)
  4. โรคกลัวการพูดเฉพาะสถานการณ์ (Selective Mutism)
  5. โรควิตกกังวลอย่างรุนแรง (Panic Disorder)
  6. โรควิตกกังวลจากการพลัดพราก (Separate Anxiety Disorder)
  7. โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)

 

 


 

 

“ความสัมพันธ์ระหว่างการล้อเลียนกับความซึมเศร้าและความวิตกกังวลในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น โดยมีคุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความสามารถในการฟื้นพลังเป็นตัวแปรกำกับ” โดย ณัฐพล ชัยกิตติพรเลิศ (2560) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59835

 

“ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลตามแนวการบำบัดที่เน้นการยอมรับและความมุ่งมั่นแบบสั้นต่อความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรัง” โดย สืบพงศ์ ฉัตรธัมมลักษณ์ (2558) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50258

 

ภาพประกอบ https://www.freepik.com/pikisuperstar

 

 

ต้อนรับ Dr.Hisayuki Uneyama จาก Ajinomoto Co., Inc.

 

คณะจิตวิทยาต้อนรับ Dr.Hisayuki Uneyama จาก Ajinomoto Co., Inc. ในโอกาสการเข้าพบเพื่อหารือถึงความร่วมมือทางวิชาการและวิจัย กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ รองคณบดี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย