News & Events

ห้องเรียนของรายวิชาคณะจิตวิทยา ภาคต้น ปีการศึกษา 2565 ปริญญาโท-เอก

ห้องเรียนของรายวิชาคณะจิตวิทยา ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565

ปริญญาโท – เอก

 

 

วันจันทร์

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
sec
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง 
08:00-12:00
3802743
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาวินิตและจิตบำบัด
1
อ. ดร.พูลทรัพย์ อารีกิจ
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
09:00-12:00
3800784
การวิจัยเชิงจิตวิทยา
1
ศ. ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
จามจุรี 10
512
09:00-12:00
3803625
ทฤษฎีและการวัดทัศนคติ
1
ผศ. ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์
จามจุรี 10
513
13:00-16:00
3803803
เอกัตศึกษาในจิตวิทยาสังคม 3
1
ผศ. ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์
จามจุรี 10
513
13:00-16:00
3802711
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาตามแนวความคิดพุทธศาสตร์
1
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
18:00-21:00
3802746
การนิเทศแบบรายบุคคลสำหรับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาวินิตและจิตบำบัด
1
STAFF
ONLINE
18:00-21:00
3800784
การวิจัยเชิงจิตวิทยา
2
ผศ. ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
18:00-21:00
3800784
การวิจัยเชิงจิตวิทยา
3
รศ. ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
614
17:00-2:000
3810701
สัมมนาวิจัยจิตวิทยาประยุกต์ 1
1
ผศ. ดร.สุภลัคน์ ลวดลาย
ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602

 

 

วันอังคาร

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
sec
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง 
08:00-12:00
3802641
กระบวนการการช่วยเหลือและทักษะในการปรึกษา เชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
1
อ. ดร.วรัญญู กองชัยมงคล
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
09:00-12:00
3802730
ประเด็นกฎหมายและจรรยาบรรณในวิชาชีพจิตวิทยาการปรึกษา และจิตบำบัด
1
อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602
09:00-12:00
3803601
จิตวิทยาสังคมและบุคลิกภาพ
1
ผศ. ดร.อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
จามจุรี 10
515
13:00-15:00
3802745
กลุ่มการเรียนรู้ระหว่างบุคคล 2
1
อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602
15:00-18:00
3800612
การประเมินลักษณะมนุษย์
1
ผศ. ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
18:00-21:00
3804718
สัมมนาหัวข้อคัดสรรทางจิตวิทยาพัฒนาการประยุกต์
1
อ. ดร.จิรภัทร รวีภัทรกุล
ONLINE
18:00-21:00
3809601
จิตวิทยาประยุกต์สำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1
อ. ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602

 

 

วันพุธ

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
sec
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง 
1800-2200
3804664
จิตวิทยาพัฒนาการ
1
อ. ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
614
1800-2100
3809608
วัฒนธรรมและจิตวิทยาการทำงาน
1
อ. ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605

 

 

วันพฤหัสบดี

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา (ภาษาไทย)
sec
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง 
09:00-12:00
3800602
สถิติสำหรับจิตวิทยา 1
3
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
603
09:00-12:00
3803651
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1
อ. ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม
จามจุรี 10
515
09:00-12:00
3800785
การวิจัยเชิงคุณภาพด้านจิตวิทยา
1
อ. ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605
10:00-12:00
3802741
กลุ่มการเรียนรู้ระหว่างบุคคล 1
1
อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
602
13:00-16:00
3800602
สถิติสำหรับจิตวิทยา 1
1
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
13:00-16:00
3805606
จิตวิทยาองค์การและการทำงาน
1
ผศ. ดร.ประพิมพา จรัลรัตนกุล
จุฬาพัฒน์ 13
708
18:00-21:00
3800602
สถิติสำหรับจิตวิทยา 1
2
รศ.สักกพัฒน์ งามเอก
ONLINE
18:00-21:00
3806601
จิตวิทยาสุขภาพในการทำงาน
1
อ. ดร.วิทสินี บวรอัศวกุล
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605

 

 

วันศุกร์

 

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา (ภาษาไทย)
sec
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง 
09:00-12:00
3802601
ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
1
อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
605

Classroom – Faculty of Psychology: First semester, 2022

Classroom – Faculty of Psychology: First semester, 2022

Joint International Psychology Program; JIPP

 

 

Monday

 

Time
Course No.
Course Name
Sec.
Lecturer
Building
Classroom
09:00-12:00
3807110
INTRO BIOPSY
1
Bruce Svare
ONLINE
13:00-15:00
3807200
PSY TEST MST (LECT)
1
Somboon Jarukasemthawee
Kullaya Pisitsungkagarn
CHULAPAT 4
422
15:00-17:00
PSY TEST MST (LAB)
13:00-15:00
3800101
GENERAL PSYCHOLOGY (LECT)
1
Graham Pluck
CHULAPAT 13
601
15:00-17:00
GENERAL PSYCHOLOGY (LAB)
09:00-12:00
2403183
SOCIETY AND CULTURE
1
PSB
POL 3
608

 

 

Tuesday

 

Time
Course No.
Course Name
Sec.
Lecturer
Building
Classroom
09:00-12:00
3807130
INTRO SOC PSY
2
Watcharaporn Boonyasiriwat
CHULAPAT 13
501
09:00-12:00
3807260
COGNITIVE DEVELOPMENT
1
Nipat Pichayayothin
CHULAPAT 13
601
13:00-16:00
3807201
LANGUAGE/COGNITION
1
Suphasiree Chantavarin
CHULAPAT 13
608
13:00-16:00
3807382
PERS DEV EAST PSY
1
William H. O’Brien
Nattasuda Taephant
PSY
614
13:00-16:00
3800105
INTRO PSY
1
STAFF
MAHITALADHIBESRA
305
13:00-16:00
3800105
INTRO PSY
2
STAFF
MAHITALADHIBESRA
306
13:00-16:00
3800105
INTRO PSY
3
STAFF
MAHITALADHIBESRA
408
13:00-17:00
3807140
INTRO DEV PSY
1
Trawin Chaleeraktrakoon
CHULAPAT 4
421
09:00-12:00
3800202
PSY LIFE WORK
2
Kullaya Pisitsungkagarn
MAHITALADHIBESRA
1305

 

 

Wednesday

 

Time
Course No.
Course Name
Sec.
Lecturer
Building
Classroom
13:00-16:00
3807100
INTRODUCTION TO STATISTICS
1
APN, NKN
ONLINE
09:00-12:00
5518111
ESS ENG PSY I
1
Mark Bradbury
CHULAPAT 13
713
09:00-12:00
5518111
ESS ENG PSY I
2
Grant Richard Thomas
CHULAPAT 13
714
13:00-16:00
5518213
ACAD ENG PSY
1
Mark Bradbury
CHULAPAT 13
708
09:00-12:00
3807220
SEM SOC PSY EMO
1
Adi Shaked
CHULAPAT 13
712

 

 

Thursday

 

Time
Course No.
Course Name
Sec.
Lecturer
Building
Classroom
09:00-12:00
2403183
SOCIETY AND CULTURE
2
PSB
POL 3
509
09:00-12:00
33404117
INTRO TO LAW
1
Panthip Pruksacholavit
ONLINE
09:00-12:00
3800202
PSY LIFE WORK
3
Kullaya Pisitsungkagarn
ENGINEERING 2
303/1
09:00-12:00
3800130
SOC PSY EVERY LIFE
2
Watcharaporn Boonyasiriwat
ENGINEERING 2
304/1
13:00-16:00
3800202
PSY LIFE WORK
4
Kullaya Pisitsungkagarn
OPR Building
30811
13:00-16:00
4000101
AGR PROD DEV CONS
1
PSS
CHAMCHUREE 10
613

 

 

Friday

 

Time
Course No.
Course Name
Sec.
Lecturer
Building
Classroom
09:00-12:00
3807120
INTRO COUN PSY
1
Nattasuda Taephant
Kullaya Pisitsungkagarn
CHULAPAT 13
501
13:00-16:00
3807251
IND ORG PSY
1
Jennifer Chavanovanich
CHULAPAT 13
401
09:00-12:00
5518213
ACAD ENG PSY
2
Juke Lutz
CHULAPAT 13
709
09:00-12:00
5518213
ACAD ENG PSY
3
Mark Bradbury
ONLINE
13:00-16:00
5518111
ESS ENG PSY I
3
Mintra Puripunyavanich
CHULAPAT 13
709

ห้องเรียนของรายวิชาคณะจิตวิทยา ภาคต้น ปีการศึกษา 2565 ปรัญญาตรี (ไทย)

ห้องเรียนของรายวิชาคณะจิตวิทยา ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565

ปริญญาตรี หลักสูตรภาษาไทย

 

วันจันทร์

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
sec
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
09:00-12:00
3805306
จิตวิทยาการพัฒนาองค์การ
1
ผศ. ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา
จุฬาพัฒน์ 13
401
10:00-12:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
1
STAFF
จุฬาพัฒน์ 5
302
13:00-15:00
3800110
ทักษะคอมพิวเตอร์สำหรับจิตวิทยา
1
อ. ดร.กฤษณ์ อริยะพุฒิพงศ์
อ. ดร.พจ ธรรมพีร
ผศ. ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
15:00-17:00
ทักษะคอมพิวเตอร์สำหรับจิตวิทยา
2
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
13:00-16:00
3800208
แรงจูงใจและอารมณ์
1
ผศ. ดร.ประพิมพา จรัลรัตนกุล
ผศ. ดร.สุภลัคน์ ลวดลาย
ผศ. ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา
จุฬาพัฒน์ 13
401
13:00-16:00
3803306
การจูงใจมนุษย์
1
13:00-16:00
3810301
จิตวิทยาเพื่อการบริหารจัดการภัยพิบัติ
1
ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์
จามจุรี 10
512

 

วันอังคาร

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
sec
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
08:00-12:00
3801201
(หลักสูตร 63)
จิตชีววิทยา (บรรยาย)
1
รศ. ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ
ONLINE
Zoom Meeting ID: 999 4244 4500
PW: 3801201
   จิตชีววิทยา (ปฏิบัติ)
08:00-1:000
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
2
STAFF
จุฬาพัฒน์ 5
302
10:00-12:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
3
STAFF
จุฬาพัฒน์ 5
302
09:00-12:00
3800252
การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำ
1
ผศ.ชูพงศ์ ปัญจมะวัต
CUP13 – 401
401
10:00-12:00
3800204
จิตวิทยาการรู้คิด (บรรยาย)
1
อ. ดร.กฤษณ์ อริยะพุทธิพงศ์
ONLINE
13:00-15:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
4
STAFF
จุฬาพัฒน์ 5
302
13:00-15:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (บรรยาย)
6-8
ผศ. ดร.สุภลัคน์ ลวดลาย
ONLINE
ฟังการชี้แจงครั้งแรก 9 สค 65 ที่
Zoom Meeting ID: 955 3867 9441
PW: 649800
13:00-16:00
3800250
มนุษยสัมพันธ์
1
อ. ดร.จิรภัทร รวีภัทรกุล
จุฬาพัฒน์ 4
422
13:00-16:00
3800433
สัมมนาทางจิตวิทยา
1
อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
จุฬาพัฒน์ 13
601
17:00-2:000
3800433
สัมมนาทางจิตวิทยา
2
อ. ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน
ONLINE
13:00-16:00
3801315
ภาษาและปริชาน
1
อ. ดร.สุภสิรี จันทวรินทร์
จุฬาพัฒน์ 13
608
13:00-16:00
3805318
มนุษยปัจจัยและจิตวิทยาวิศวกรรม
1
อ. ดร.วิทสินี บวรอัศวกุล
จุฬาพัฒน์ 13
714
13:00-16:00
5500271
ภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชา (จิตวิทยา)1
1
CIS
จามจุรี 10
611
13:00-16:00
5500271
ภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชา (จิตวิทยา)1
2
RBM
จามจุรี 10
612
13:00-16:00
5500271
ภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชา (จิตวิทยา)1
3
MDN
จามจุรี 10
613

 

วันพุธ

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
sec
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง 
09:00-12:00
3800201
พื้นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้
1
อ. ดร.พจ ธรรมพีร
จุฬาพัฒน์ 13
M101
09:00-12:00
3801312
การเรียนรู้และความจำ
1
09:00-12:00
3800218
การออกแบบและวิเคราะห์เชิงทดลอง (บรรยาย)
1-4
อ. ดร.กฤษณ์ อริยะพุทธิพงศ์
จุฬาพัฒน์ 13
601
13:00-15:00
3800218
การออกแบบและวิเคราะห์เชิงทดลอง (ปฏิบัติ)
1
อ. ดร.กฤษณ์ อริยะพุทธิพงศ์
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
15:00-17:00
3800218
การออกแบบและวิเคราะห์เชิงทดลอง (ปฏิบัติ)
2
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
09:00-12:00
3800250
มนุษยสัมพันธ์
2
อ.อาภาพร อุษณรัศมี
จุฬาพัฒน์ 4
422
09:00-12:00
3803351
ความสัมพันธ์ทางสังคม
1
อ. ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม
จุฬาพัฒน์ 13
708
09:00-12:00
3803353
ความสัมพันธ์ใกล้ชิด
1
09:00-12:00
3808301
จิตวิทยาคลินิก
1
ผศ. ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
จุฬาพัฒน์ 13
608
09:00-12:00
3803410
สัมมนาจิตวิทยาสังคมแห่งอารมณ์
1
STAFF
จุฬาพัฒน์ 13
712

 

วันพฤหัสบดี

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
sec
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
13:00-16:00
3800202
จิตวิทยาในชีวิตและการทำงาน
1
ผศ. ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
อ.ป.ร.
308/11
10:00-12:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (บรรยาย)
1-5
ผศ. ดร.สุภลัคน์ ลวดลาย
ONLINE
ฟังการชี้แจงครั้งแรก 11 สค 65 ที่
Zoom Meeting ID: 931 5100 2094
PW: 216625
13:00-15:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
8
STAFF
จุฬาพัฒน์ 5
302
13:00-16:00
3800200
จิตวิทยาบุคลิกภาพ
1
ผศ. ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี
จุฬาพัฒน์ 4
422
08:00-1:000
3800218
การออกแบบและวิเคราะห์เชิงทดลอง (ปฏิบัติ)
3
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
10:00-12:00
3800218
การออกแบบและวิเคราะห์เชิงทดลอง (ปฏิบัติ)
4
STAFF
บรมราชชนนีศรีศตพรรษ
705
09:00-12:00
3800250
มนุษยสัมพันธ์
3
ผศ. ดร.เรวดี วัฒฑกโกศล
จุฬาพัฒน์ 4
422
13:00-16:00
3800433
สัมมนาทางจิตวิทยา
3
ผศ. ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์
จุฬาพัฒน์ 13
709
13:00-16:00
3800433
สัมมนาทางจิตวิทยา
4
อ. ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช
ผศ. ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์
จุฬาพัฒน์ 13
711
13:00-16:00
3800433
สัมมนาทางจิตวิทยา
5
อ. ดร.กฤษณ์ อริยะพุฒิพงศ์
อ. ดร.พจ ธรรมพีร
อ. ดร.สุภสิรี จันทวรินทร์
จุฬาพัฒน์ 13
712
09:00-12:00
3803352
จิตวิทยากับอาชญากรรม
1
ผศ. ดร.อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
จุฬาพัฒน์ 13
601
09:00-12:00
3804221
จิตวิทยาเด็ก
1
อ.อาภาพร อุษณรัศมี
จุฬาพัฒน์ 13
711
09:00-12:00
3804341
จิตวิทยาผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ
1
อ. ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน
จุฬาพัฒน์ 13
608
09:00-12:00
5500111
ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 1
163
ITM
จามจุรี 10
611
09:00-12:00
5500111
ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 1
164
SUM
จามจุรี 10
612
09:00-12:00
5500111
ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 1
165
KRW
จามจุรี 10
613

 

วันศุกร์

เวลา
รหัสวิชา
รายวิชา
sec
ผู้สอน
อาคาร
ห้อง
08:00-1:000
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
6
STAFF
จุฬาพัฒน์ 5
302
10:00-12:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
7
STAFF
จุฬาพัฒน์ 5
302
13:00-15:00
3800101
จิตวิทยาทั่วไป (ปฏิบัติ)
5
STAFF
จุฬาพัฒน์ 5
302
09:00-12:00
3800315
(หลักสูตร 63)
การทดสอบและการวัดทางจิตวิทยา
1
รศ.สักกพัฒน์ งามเอก
ONLINE
13:00-15:00
การทดสอบและการวัดทางจิตวิทยา
09:00-12:00
3800351
จิตวิทยาการคิดและความคิดสร้างสรรค์
1
ผศ.ชูพงศ์ ปัญจมะวัต
จุฬาพัฒน์ 13
401
08:00-12:00
3802306
ทฤษฎีและการปฏิบัติการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัดแบบกลุ่ม
1
อ. ดร.วรัญญู กองชัยมงคล
จุฬาพัฒน์ 13
708
08:00-1:000
3803201
จิตวิทยาสังคม (บรรยาย)
1
อ. ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม
จุฬาพัฒน์ 4
422
10:00-12:00
จิตวิทยาสังคม (ปฏิบัติ)

การตั้งเป้าหมายการออมเงิน

การวางแผนการเงินเป็นพฤติกรรมที่จำเป็นมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากสภาวการณ์การแพร่ระบาดของโรค สภาวะทางการเมือง และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคง ความไม่แน่นอน
ดังนั้นเพื่อให้มีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายในเรื่องต่าง ๆ การคิดก่อนซื้อ การจัดสรรเงิน และการออมเงิน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

 

 

พฤติกรรมการออมเงิน (Saving behavior) คือ การเก็บเงินส่วนหนึ่งที่ได้แบ่งมาจากค่าใช้จ่าย ที่จะช่วยให้เรามีเงินเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งพฤติกรรมการออมเงินเป็นหนึ่งในพฤติกรรมทางการเงิน (Financial behavior) โดยการออมเงินจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรามี

  1. ความสามารถที่จะออม หรือก็คือ มีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายและยังคงมีเงินส่วนหนึ่งที่เหลือไว้สำหรับออมได้
  2. มีเจตคติที่ดีต่อการออม คือเรามองว่าการออมเงินนั้นเป็นประโยชน์ต่อตัวเองหรือไม่
  3. มีความเต็มใจที่จะออม หรือเลือกที่จะออมเงินด้วยตนเอง
  4. เรามีแรงจูงใจที่จะออม หรือมีเป้าหมายที่คิดไว้ว่าเราจะออมเงินเพื่ออะไร ซึ่งเป้าหมายนี้จะกลายมาเป็นสิ่งที่ผลักดันให้เรามีความพยายามที่จะออมเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ๆ

 

แรงจูงใจ (Motivation) เป็นส่วนสำคัญที่กระตุ้นให้เราทำพฤติกรรม เปรียบเสมือนแรงผลักที่ทำให้เราลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง เพื่อที่จะสำเร็จในสิ่งที่คาดหวัง

 

Maslow ได้เสนอทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ ซึ่งบอกว่าเราทุกคนมีความต้องการอยู่ 5 ขั้นด้วยกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรม โดยความต้องการทั้ง 5 ขั้น ได้แก่

 

  1. ความต้องการด้านร่างกาย เป็นความต้องการสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำ อากาศ
  2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย คือเราอยากให้ตัวเราและทรัพย์สินของเราปลอดภัย เช่น เราอยากมีบ้านที่มั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย บ้านคือที่ที่เราสามารถนอนหลับได้สนิท ไม่ต้องกลัวว่าจะมีอันตรายใด ๆ เกิดขึ้นกับเรา
  3. ความต้องการความรักหรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม คือเราอยากที่จะเป็นที่รักของใครสักคน หรือ อยากได้รับการยอมรับจากคนอื่น ๆ
  4. ความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า คือเราอยากจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีประโยชน์ มีความสามารถ รวมไปถึงอยากให้คนอื่น ๆ เห็นคุณค่าในตัวของเราด้วย
  5. ความต้องการที่จะเข้าถึงศักยภาพของตนเอง คือการที่เราอยากจะรู้จักตนเองอย่างแท้จริงว่า อะไรที่ทำให้เรามีความสุข เรารักที่จะทำในสิ่งใด และอยากที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อให้ไปถึงสิ่งนั้น

 

Front view of plant growing from golden coins

 

 

ทั้งนี้ Maslow ได้เสนอไว้ว่า เราจะพยายามเติมเต็มความต้องการในขั้นแรก ๆ ก่อน หากเรารู้สึกพอใจกับความต้องการในขั้นแรก ๆ แล้ว เราจึงจะมีความต้องการในขั้นต่อไปได้

 

ความต้องการทั้ง 5 ขั้นนี้ถูกนำมาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ว่า เพราะเรากำลังมีความต้องการหรือมีเป้าหมาย เราจึงตัดสินใจทำพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อให้ความต้องการนั้น ๆ ได้รับการเติมเต็ม หรือทำให้เรารู้สึกพอใจ เช่นเดียวกันกับพฤติกรรมการออมเงิน

 

มีงานวิจัยที่ศึกษาเป้าหมายของการออมเงิน (Saving goal) ที่เป็นไปตามลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้นของ Maslow ในผู้ใหญ่วัยเริ่ม (อายุประมาณ 20-25 ปี) ที่มีงานทำ ผู้ใหญ่ในกลุ่มนี้ได้ให้ตัวอย่างเป้าหมายของการออมเงินในแต่ละขั้นไว้ ดังนี้

 

  1. การตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการด้านร่างกาย เช่น ออมเงินเพื่อซื้อของจำเป็นในบ้าน ออมเงินเพื่อซื้อยารักษาโรค
  2. การตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการความมั่นคงปลอดภัย เช่น ออมเงินไว้เผื่อตกงานกะทันหัน ออมเงินเพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน
  3. การตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการความรัก เช่น ออมเงินไว้สำหรับการดูแลครอบครัว ออมเงินเพื่อเลี้ยงดูบุตร
  4. การตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เช่น ออมเงินเพื่อซื้อของใช้เสริมความงาม ออมเงินไว้เพื่อเรียนต่อหรือหาประสบการณ์เพิ่มเติม และ
  5. การตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการที่จะเข้าถึงศักยภาพของตนเอง เช่น ออมเงินไว้เพื่อสร้างธุรกิจของตัวเอง เพื่อจะได้ทำในสิ่งที่อยากจะทำหรือได้ทำในสิ่งที่รัก

 

จากเป้าหมายการออมเงินทั้ง 5 ขั้นนี้ การที่เราตัดสินใจว่า เราจะอดใจ ไม่ใช้เงินบางส่วนเพื่อออมเงินส่วนนั้นไว้ใช้กับเป้าหมายบางอย่าง หรือ ออมเงินไว้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการอะไรบางอย่าง เป้าหมายของการออมเงินในรูปแบบไหนล่ะ มีคุณค่าเพียงพอที่จะกระตุ้นให้เราตัดสินใจออมเงินบางส่วนไว้ โดยไม่เผลอใช้ไปเสียก่อนได้…

 

จากงานวิจัยพบว่า เป้าหมายที่อาจจะสามารถกระตุ้นให้เรามีพฤติกรรมการออมเงินได้ คือ การตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และ การตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อความต้องการที่จะเข้าถึงศักยภาพของตนเอง หรือก็คือ หากเรามีเป้าหมายไว้ว่า เราอยากจะเรียนต่อเพิ่มเติมในอนาคต เพื่อให้เรามีความสามารถมากขึ้น (สะท้อนถึงความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า) หรือ ความฝันของเราคือการได้เปิดร้านขายขนมเป็นของตัวเองสักร้าน การได้ทำขนมคือสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข (สะท้อนถึงความต้องการที่จะเข้าถึงศักยภาพของตนเอง) เป้าหมายในลักษณะนี้จะกระตุ้นให้เราพยายามที่จะออมเงินได้มากขึ้น

 

นั่นอาจเป็นเพราะการตั้งเป้าหมายในลักษณะนี้ช่วยสร้างความสุข ความรู้สึกดีให้กับตัวเราเอง ช่วยทำให้เรารู้สึกได้ถึงความสามารถที่เราสามารถพัฒนาเองได้ ความมีอิสระที่เราสามารถตัดสินใจทำตามความฝันของเราเองได้ หรือได้ทำในสิ่งที่เรารักและมีความสุขด้วยตัวของเราเอง

 

ดังนั้น หากอยากจะเริ่มต้นออมเงินสักก้อน ลองมองหาเป้าหมายที่ช่วยสร้างความรู้สึกถึงคุณค่าในตนเอง ความสามารถในตนเอง หรือ เป้าหมายที่สะท้อนถึงความรักและความฝันที่เราอยากจะมี เป้าหมายลักษณะนี้อาจจะเป็นอีกแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้เราสามารถออมเงินได้สำเร็จ และได้นำเงินก้อนนั้นไปใช้ได้อย่างที่หวัง

 


 

 

รายการอ้างอิง

 

กอข้าว เพิ่มตระกูล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเงินและเป้าหมายการออมในผู้ใหญ่วัยเริ่ม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69648

 

Gudmunson, C. G., & Danes, S. M. (2011). Family financial socialization: Theory and critical review. Journal of Family and Economic Issues, 32(4), 644-667. https://doi.org/10.1007/s10834-011-9275-7

 

Otto, A. (2013). Saving in childhood and adolescence: Insights from developmental psychology. Economics of Education Review, 33, 8-18. https://doi.org/10.1016/j.econedurev.2012.09.005

 

 


 

บทความวิชาการ
โดย อาจารย์ ดร.จิรภัทร รวีภัทรกุล
อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา

 

ภาพประกอบ https://www.freepik.com/

ต้อนรับคณะผู้แทนจาก Universitas Hasanuddin (UNHAS)

 

คณะผู้แทนจาก Universitas Hasanuddin (UNHAS) ประเทศอินโดนีเซีย นำโดย Prof. Dr. Eng. Adi Maulana เข้าร่วมหารือกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ รองคณบดี ถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการและวิจัย ณ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ. 2565

 

 

 

Here to heal Online Workshop: รู้สึกได้…ไม่เป็นไร

“รู้สึกได้… ไม่เป็นไร” Workshop ที่จะช่วยพากันสำรวจที่มาและช่วยให้ดูแลอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเข้าใจ

หลายครั้งที่เรามีความรู้สึกบางอย่างที่เราไม่อยากมี และอยากรู้ว่าต้องทำอย่างไรให้รู้สึกดีกว่าเดิม

 

 

 

 

Here to heal ชวนมาเข้าใจตนเอง และดูแลความรู้สึกอย่างเหมาะสม ใน Online Workshop ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

ในหัวข้อเรื่อง “รู้สึกได้… ไม่เป็นไร”

 

โดยวิทยากร อ. ดร.พนิตา เสือวรรณศรี หัวหน้าศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ในวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 18.00-20.00 น.

 

สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/…/1FAIpQLSekIC…/viewform…

โดยทางทีมงานจะจัดส่งลิงก์ Zoom ให้ผู้ลงทะเบียนทุกท่านในวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม เวลา 15.00 น. ผ่านทาง Email ที่ใช้ลงทะเบียนเข้าร่วม หรือหากไม่ได้รับอีเมลสามารถทักสอบถามข้อมูลที่ LINE OFFICIAL ACCOUNT

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://lin.ee/P77s2bW

ในเวลาทำการ 10.00-22.00 น.

 


 

 

Workshop นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ here to heal โดยคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สสส.
เป็นโครงการให้บริการแชทพูดคุยกับนักจิตวิทยา ฟรี
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อผ่าน Line official หรือทางเพจเฟซบุ๊ก Here-to-Heal เพื่อนัดหมายเวลาพูดคุยได้เลยค่ะ

Psi – Psyche – Psychology ตำนานและสัญลักษณ์

 

Psychology: Study of Mind

 

 

คำว่า psychology หรือในภาษาฝรั่งเศสคือ psychologie เป็นคำยืมมาจากภาษาละติน psychologia ซึ่งมีรากศัพท์มาจากการประสมคำสองคำของภาษากรีกโบราณคือ psukh (จิต วิญญาณ) และ logía (ศาสตร์ วิชา)

 

 

Latin
Greek
meaning
psycho
psychē
psukhḗ (ψυχή)
soul
logy
logia
logía (λογία)
study of

 

 

 

Symbol: Psi, Butterfly and Psyche (Greek goddess)

 

จากที่มาข้างต้น Ψψ ตัวอักษรตัวแรกของคำว่า ψυχή ซึ่งเป็นตัวอักษรลำดับที่ 23 ในภาษากรีก [ออกเสียงว่า พไซ /psaɪ/ (อังกฤษ) หรือ ปซี /psi:/ (กรีก)] จึงเป็นสัญลักษณ์ของคำว่า psychology ที่เป็นที่ยอมรับแพร่หลายมากที่สุด

 

 

 

 

นอกจากนี้ คำว่า psyche ซึ่งมีความหมายถึงจิตวิญญาณ ยังมีอีกความหมายหนึ่งคือ ผีเสื้อ ทั้งนี้ ผีเสื้อเป็นสัญลักษณ์ของ วิญญาณ ลมหายใจแห่งชีวิต การเกิดใหม่ การคืนชีพ และการเปลี่ยนรูป สะท้อนถึงวัฏจักรชีวิตของผีเสื้อ ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากไข่ หนอน ดักแด้ ไปสู่ผีเสื้อที่สวยงาม โดยตามความเชื่อของชาวกรีก เมื่อมีคนเสียชีวิตวิญญาณจะออกจากร่างไปในรูปของผีเสื้อ

 

 

 

เชื่อมโยงกับปกรณัมกรีก ไซคี (Psyche) คือชื่อของเทพีแห่งจิตวิญญาณ ชายาของเทพเอรอส (Eros) หรือที่รู้จักกันในชื่อโรมันคือเทพคิวปิด (Cupid) นางไซคีมีรูปลักษณ์เป็นเทพีมีปีกผีเสื้อ เคียงคู่กับสามีที่เป็นเทพมีปีกนกสีขาว

 

 

 

ตามตำนาน นางไซคีเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง เป็นเจ้าหญิงองค์เล็กของราชวงศ์กรีกโบราณ มีความงดงามเป็นที่เลื่องลือ ความงามของไซคีเอาชนะเทพีแอโฟรไดที (Aphrodite) หรือเทพีวีนัส (Venus) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความงามและความรักได้ ส่งผลให้เทพีแอโฟรไดทีไม่พอใจอย่างมาก เนื่องจากประชาชนสักการะบูชาองค์เทพีน้อยลง เพราะเข้าใจนางไซคีว่าเป็นร่างอวตารขององค์เทพี จึงหันไปบูชานางไซคีแทน

 

แอโฟรไดทีได้ส่งให้เอรอสโอรสของพระนางไปจัดการให้ไซคีตกหลุมรักคนน่าเกลียดน่ากลัวที่สุดในแผ่นดินเพื่อเป็นการลงโทษ ทว่าเมื่อเอรอสได้พบหน้าไซคี พระองค์กลับหลงใหลในความงามจนทำศรปักตนเองและตกหลุมรักนางในที่สุด

 

หลังจากวันนั้น พี่สาวทั้งสองของไซคีได้แต่งงานออกไป เหลือเพียงไซคีที่มีคนมากมายหลงใหลแต่ไม่มีผู้ใดกล้ามาสู่ขอ พระราชาจึงนำความไปสอบถามเทพพยากรณ์ที่วิหารแห่งเทพอะพอลโล ณ เมืองเดลฟี เทพพยากรณ์ให้คำตอบว่านางโซคีจะได้แต่งงานกับอสุรกายที่แม้แต่เหล่าเทพยังหวั่นเกรง จงพานางไปยังยอดผาที่สูงที่สุดของเมือง ณ ที่แห่งนั้นนางจะได้พบกับผู้เป็นคู่ครอง

พระราชาทำตามคำชี้แนะของเทพพยากรณ์ด้วยหัวใจที่สลาย ไซคีถูกทอดทิ้งไว้กับโชคชะตาของนางอยู่บนผาสูง อสุรกายมิได้ปรากฏกาย มีเพียงเอรอสที่แอบซ่อนอยู่ตรงนั้น ในที่สุดเซฟีรัสเทพแห่งลมตะวันตกก็ได้พัดพานางไปยังตำหนักที่สวยสดงดงามของเอรอส

 

ยามค่ำ เอรอสเข้าหานางไซคีในความมืดมิด และกล่าวกับนางว่าไม่อาจให้นางเห็นหน้าและบอกกล่าวนามอันแท้จริงแก่นางได้ มิเช่นนั้นทุกอย่างจะพังทลาย ทั้งยังบอกไม่ให้นางไปไหนเพราะครอบครัวของนางต่างเข้าใจว่านางได้ตายไปแล้วเนื่องจากไม่เห็นนางอยู่ที่ผานั้น ไซคีเชื่อฟังสามี นางดำรงตนอยู่ในวิมานที่สวยงามและเพียบพร้อมนั้นด้วยความรู้สึกเงียบเหงา

 

ความโศกเศร้าของนางทำให้เอรอสอนุญาตให้นางไปพบพี่สาวได้ แต่ได้เตือนนางไว้ว่าพวกพี่สาวของนางอาจจะพูดสิ่งใดให้ความสัมพันธ์ของเราต้องแตกหัก ไซคีได้รับปากสามีว่าจะไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด อย่างไรก็ดีเมื่อพี่สาวได้ยุยงให้นางเกิดความสงสัยต่อรูปโฉมที่แท้จริงของสามีของนาง ตกกลางคืนเมื่อเอรอสหลับไหล ไซคีก็ได้ถือตะเกียงน้ำมันส่องแสงไปยังสามี เมื่อได้เห็นความงดงามของเทพบุตรหาใช้ความอัปลักษณ์ของอสุรกายไม่ นางไซคีเกิดความยินดี ทว่าน้ำมันร้อน ๆ จากตะเกียงได้หยดลงไปต้องไหล่ของเอรอส ปลุกให้เอรอสตื่นขึ้นด้วยความแสบร้อน องค์เทพโกรธที่ชายาผิดคำพูดและได้สยายปีกหนีไป

 

ไซคีเสียใจที่ได้กระทำการอันเป็นการหักหลังผู้เป็นสามี ด้านเทพีแอโฟรไดทีเมื่อเห็นแผลของเอรอสก็ได้ทราบความจริงว่าชายาของโอรสคือคนเดียวกับคนที่นางแสนเกลียดชัง ทันทีที่พบว่าไซคีได้วิงวอนต่อเทพเจ้าให้ช่วยเหลือนางตามหาสามี แอโฟรไดทีจึงได้ลงมาโปรดโดยแลกกับการที่นางไซคีต้องเผชิญกับแบบทดสอบ 4 ประการ เพื่อที่องค์เทพีจะไม่ขัดขวางความรักระหว่างโอรสและสุณิสาอีก และจะช่วยเหลือให้ทั้งสองได้คืนดีกัน

 

แบบทดสอบที่ยากลำบากทั้ง 4 เริ่มด้วย 1. การแยกเมล็ดธัญพืชจำนวนมหาศาลที่ปะปนอยู่ 6 ชนิด ออกจากกัน ด้วยความช่วยเหลือของฝูงมดโดยการดลบันดาลของเอรอสทำให้ผ่านพ้นภารกิจนี้ไปได้ 2. การเก็บข้ามแม่น้ำที่แสนอันตรายไปเก็บขนแกะทองคำ ด้วยคำแนะนำของเทพแห่งสายน้ำที่บอกให้นางเก็บขนแกะที่พันเกี่ยวต้นอ้ออยู่ก็ทำให้ภารกิจนี้สำเร็จไปได้ด้วยดีเช่นกัน 3. การตักน้ำสีดำจากแม่น้ำสติสซ์จากดินแดนยมโลก ด้วยความช่วยเหลือของพญาเหยี่ยวแห่งมหาเทพซูส (Zeus) ที่ได้บินเอาถังไปตักน้ำมาให้ ภารกิจนี้ก็สำเร็จอีกครั้ง

 

ภารกิจสุดท้ายซึ่งยากที่สุด แอโฟรไดทีได้สั่งให้ไซคีไปขอแบ่งปันความงามจากเทพีเพอร์เซฟะนี (Persephone) ราชินีของเฮดีส (Hades) เทพเจ้าแห่งนรก เพื่อนำกลับมาให้องค์เทพี เนื่องจากนางได้สูญเสียความงามบางส่วนไปหลังจากรักษาบาดแผลให้โอรส ไซคีไม่รู้ว่าตนจะไปยังดินแดนแห่งนรกได้อย่างไร จึงตัดสินใจที่จะยอมตายด้วยการกระโดดหอคอย แต่ด้วยคำแนะนำจากหอคอย ไซคีก็ได้รู้หนทางไปพบองค์ราชินีแห่งนรกได้อย่างปลอดภัย ทว่าระหว่างทางกลับไปยังดินแดนแห่งทวยเทพ เมื่อใกล้ถึงเทือกเขาโอลิมปัส ไซคีได้เปิดกล่องออกดูโดยหวังจะขอปันความงามมาให้ตนเองบ้าง แทนที่จะได้พบกับความงาม ไซคีกลับต้องละอองแห่งความตาย เมื่อไซคีล้มลง เอรอสที่ฟื้นตัวจากบาดแผลและสามารถออกมาจากการกักขังของมารดาได้ ก็ได้เข้ามาช่วยชีวิตไซคีและพานางไปสานต่อภารกิจจนสำเร็จ

 

หลังจากนั้นเอรอสได้ขอให้มหาเทพซูสช่วยตัดสินเรื่องทั้งปวง เทพซูสจึงได้เรียกประชุมเหล่าทวยเทพ เจรจาให้เทพีอะโฟรไดทียอมรับในความรักของโอรสและสุณิสา และประกาศให้เทพเอรอสและไซคีเป็นสามีภรรยากันอย่างถูกต้อง เหล่าเทพเห็นใจในความยากลำบากที่ทั้งสองได้กระทำเพื่อความรัก จึงประทานน้ำอมฤตแก่ไซคี ให้นางกลายเป็นเทพีแห่งจิตวิญญาณ (the goddess of the soul) มีชีวิตอมตะเคียงคู่เอรอสได้นานเท่านาน

 


 

 

Faculty Color

 

สีประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ สีน้ำเงินแก่อมม่วง (สีขาบ หรือ Royal Blue)

 

#282E75
(40,46,117)

 

สีน้ำเงินเป็นสีที่อยู่ในโลโก้หรือสัญลักษณ์ของสมาคมจิตวิทยาหลายแห่งทั่วโลก

 

โดยสีน้ำเงินมีความหมายเกี่ยวโยงกับจิตใจ ความกลมกลืน ความสงบเยือกเย็น ลุ่มลึก ตรรกะเหตุผล จิตวิญญาณที่สงบสันโดษ ความไว้เนื้อเชื่อใจ เกียรติยศ และการผ่อนคลาย ในทางจิตวิทยาพบว่า เมื่อเราพบเห็นสีโทนเย็นอย่างสีฟ้าสีน้ำเงิน ร่างกายเราจะทำงานช้าลงและผลิตสารเคมีที่ทำให้ประสาทสงบผ่อนคลาย ช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายและความดันโลหิตได้เล็กน้อย

 

ส่วนสีม่วงก็เป็นสีที่มีความหมายถึงเกียรติยศ โดยสีม่วงเข้มแสดงถึงความรู้สึกสงบ เยือกเย็น ภาคภูมิ และเป็นสีที่เชื่อมโยงถึงอารมณ์ ความอ่อนไหว การปลอบโยน และการสร้างสมดุลภายในจิตใจ

 


 

 

 

 

รายการอ้างอิง

 

รากศัพท์คำว่า Psychology

https://erenow.net/common/the-greek-and-latin-roots-of-english/10.php

https://en.wiktionary.org/wiki/psychology

https://en.wiktionary.org/wiki/psyche

https://en.wiktionary.org/wiki/-logy#English

https://en.wikipedia.org/wiki/Psi_(Greek)

 

ตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับผีเสื้อ

https://www.gypzyworld.com/article/view/975

 

ตำนานของเทพีไซคี

https://en.wikipedia.org/wiki/Psyche_(mythology)

http://legendtheworld.blogspot.com/2013/09/psyche-wife-of-eros.html

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1200643

ทำความรู้จักคนที่มีบุคลิกภาพแบบละเอียดอ่อนสูง (Highly Sensitive Person) และความจำเป็นต่อวิวัฒนาการมนุษย์

 

ปราชญ์ อายุ 35 ปี เขารู้สึกมาตั้งแต่เด็ก ๆ ว่าตนเองนั้นแตกต่างจากคนรอบข้าง สมัยอนุบาล เขามักจะไม่ชอบกิจกรรมเข้าจังหวะเพราะรู้สึกว่าเสียงเพลงลำโพงดังเกินไปจนเขาต้องปิดหูร้องไห้ พ่อแม่ของเขารู้สึกว่าเขาเป็นเด็กที่อ่อนไหว โยเย เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เขาก็ยังไม่ชอบเสียงดัง จึงทำให้เขาไม่สนุกที่จะไปปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนฝูงและพูดคุยเรื่องสัพเพเหระที่เขามองว่าไม่ค่อยมีความหมายกับชีวิต เพื่อนของเขามักจะล้อว่าเขาเจ้าน้ำตาเพราะเขาซาบซึ้งกับบทกวี ศิลปะ มากเสียจนหลายครั้งเขาร้องไห้ออกมาด้วยความสงสารตัวละคร ปราชญ์รู้สึกอายกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะคิดว่าลูกผู้ชายไม่ควรจะเสียน้ำตาง่าย ๆ ในที่ทำงาน ปราชญ์รู้สึกเหนื่อยล้าง่ายเมื่อต้องรับอารมณ์รุนแรงของหัวหน้า เมื่อถึงวันพักผ่อนปราชญ์ปราชญ์ชอบที่จะอยู่ในที่เงียบ ๆ มีคนน้อย ๆ มากกว่าที่จะเดินทางไปเที่ยวไกลอยู่ในที่ที่มีคนพลุกพล่าน

 

หากคุณเคยได้พบเจอกับคนแบบปราชญ์ หรือรู้สึกว่าตัวเองมีลักษณะคล้ายกับปราชญ์ คุณอาจจะกำลังมองเห็นคนที่ “มีบุคลิกภาพแบบละเอียดอ่อนสูง” (Highly Sensitive Person: HSP) ซึ่งเป็นบุคลิกภาพที่เพิ่งจะได้รับความสนใจในการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์อย่างจริงจังไม่ถึงสองทศวรรษที่ผ่านมา

 

 

บุคลิกภาพแบบละเอียดอ่อนสูง คืออะไร

 

ในปี ค.ศ. 1997 คู่สามีภรรยานักวิจัยชาวอเมริกัน ดร. อาเธอร์ แอรอน และดร. เอเลน แอรอน ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 39 คน และทำการวิจัยเชิงปริมาณในกลุ่มตัวอย่าง 900 คน โดยได้พบว่า หัวใจของบุคลิกภาพแบบละเอียดอ่อนสูง หรือ HSP คือ ความลึกในการประมวลผลข้อมูล (depth of processing) นั่นคือ บุคคลที่เป็น HSP จะมีความสามารถในการครุ่นคิดหรือประมวลผลสิ่งเร้าที่เข้ามากระทบกับผัสสะต่าง ๆ ได้ละเอียดลึกซึ้งกว่าปกติ ทำให้ HSP มีแนวโน้มที่จะมีความคิดสร้างสรรค์สูง คิดลึกซึ้ง มีประสาทรับสัมผัสที่ไวกว่าปกติ และรับรู้เข้าใจอารมณ์ของผู้อื่นได้ดีเป็นพิเศษ

 

นอกจากความลึกในการประมวลผลข้อมูลแล้ว ดร. เอเลน แอรอนยังได้ระบุองค์ประกอบที่เป็นลักษณะสำคัญอื่น ๆ ของบุคคลที่เป็น HSP ไว้อีก สามอย่าง ได้แก่

 

  1. เหนื่อยล้าง่ายจากสิ่งที่เข้ามากระตุ้น (Easily Overstimulated) : HSP มักเกิดความเครียดได้ง่ายจากเสียง สภาพแวดล้อมที่วุ่นวาย กำหนดส่งงาน บุคคลที่เป็น HSP อาจจะไม่ตอบรับคำชวนไปทานอาหารหรือร่วมปาร์ตี้เพราะเพราะพวกเขาต้องการเวลาในการพักผ่อนมากกว่าปกติ (HSP บางกลุ่มอาจจะชอบแสวงหาความตื่นเต้นและชอบการเข้าสังคม แต่หลังจากที่ผ่านกิจกรรมแล้วพวกเขาต้องการเวลาในการพักผ่อนนานกว่าปกติเช่นกัน)
  2. การตอบสนองทางอารมณ์ที่ไว (Emotional Reactivity) หรือเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy) สิ่งที่บุคคลทั่วไปสังเกตได้ง่ายในบุคคลที่เป็น HSP คือ พวกเขามักจะมีอารมณ์ต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างเข้มข้น (ทั้งทางบวกและทางลบ) และเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้ง่าย
  3. รู้สึกไวต่อสิ่งเร้าแม้เพียงเล็กน้อย (Sensitivity to Subtle Stimuli) บุคคลที่เป็น HSP จะได้ยิน ได้กลิ่น รับรสและรับความรู้สึกทางกายได้ไวกว่าคนส่วนใหญ่ แม้จะเป็นความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยที่คนทั่วไปแทบไม่รู้สึก เช่น กลิ่นอับของห้อง หรือรสชาติของอาหารที่เปลี่ยนไปจากเดิม

 

ในความเข้าใจของคนทั่วไป คนอย่างปราชญ์อาจจะถูกมองว่า เป็นคนขี้อาย ไม่ชอบเข้าสังคม อ่อนไหวเกินไป หรือเรื่องมาก ซึ่งแท้จริงแล้วบุคลิกภาพแบบ HSP ของปราชญ์นั้นมีพื้นฐานมาจากพันธุกรรมที่อยู่ในประชากรประมาณร้อยละ 20 -30 ของประชากรทั้งหมด การศึกษาในระดับยีนส์พบว่า HSP มีรหัสพันธุกรรมที่ทำให้เกิดแนวโน้มที่จะมีความไวต่อการประมวลผลข้อมูล (Sensory Processing Sensitivity) ที่ลึกซึ้งกว่าคนอื่น แต่ลักษณะดังกล่าวไม่ใช่ความผิดพลาด และไม่ใช่โรคทางพันธุกรรม แต่เป็นการจัดสรรจากกระบวนการวัฒนาการเพื่อการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์

 

งานวิจัยทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์และชีววิทยาจำนวนมากสนับสนุนว่าทั้งมนุษย์และสัตว์มากกว่า 100 สายพันธุ์ มีลักษณะของ HSP ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 20- 30) ซึ่งแนวคิดทางด้านวิวัฒนาการ อธิบายสัดส่วนในการเกิด HSP ต่อ non-HSP ว่า เป็นการกระจายความเสี่ยงให้ประชากรในเผ่าพันธุ์มีทั้งแบบที่ระแวดระวัง (เช่น ไวต่ออาหารใหม่ที่อาจเป็นพิษ) เพื่อรักษาสถานะความปลอดภัยเดิมแก่เผ่าพันธุ์ (HSP) และกลุ่มที่กล้าเสี่ยง (non-HSP) เพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ ให้กับเผ่าพันธุ์ ในกรณีที่สภาพแวดล้อมเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลง

 

แม้ในปัจจุบัน วัฒนธรรมของมนุษย์จะวิวัฒนาการมาไกลเกินกว่าเพียงแค่การอยู่รอดทางร่างกายแล้ว แต่ในแง่พื้นฐานทางชีววิทยาของมนุษย์ยังคงติดอยู่ในกรอบของวิวัฒนาการอย่างเลี่ยงไม่ได้ แม้จะไม่สามารถเลือกได้ว่าคนในครอบครัวของเราจะมีพื้นฐานบุคลิกภาพแบบ HSP หรือไม่ แต่ในฐานะของผู้เลี้ยงดูเป็น HSP หรือมีบุตรหลานเป็น HSP สิ่งที่ทุกบ้านสามารถทำได้ คือการทำความเข้าใจบุคลิกภาพพื้นฐานที่เกิดขึ้น เพื่อหากลยุทธในการปรับตัวและมอบสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโตที่เหมาะสมให้กับบุตรหลาน และคนในครอบครัวที่เอื้อแก่พัฒนาการทางบวกของพวกเขาให้ได้มากที่สุด

 


 

 

 

บทความวิชาการ

 

อาจารย์อาภาพร อุษณรัศมี

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา

Online Seminar: An Introduction to Educational Psychology Practice in the UK

Research Affairs & International Affairs present online seminar
An Introduction to Educational Psychology Practice in the UK: Applying Psychological Theory and Research When Working to Support Children and Young People in Their Educational Settings

 

by Dr. Janchai King
Senior Practitioner Educational Psychologist
Barnet Educational Psychology Team, London, UK

Friday, 8 July 2022 at 6.00 – 7.00 pm. [GMT+7]
Registration Link – https://forms.gle/kg14y62muey4MSCU6


 

Workshop : เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง

Workshop : เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง

 

 

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง” ในวันที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 – 12.00 น. ซึ่งจะจัดอบรมรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom พร้อมกับการจัดอบรม ณ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Hybrid training) เพื่อตอบโจทย์สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมที่ไม่สะดวกเดินทาง ร่วมกับการจัดในสถานที่สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมที่สามารถเดินทางมาคณะจิตวิทยาได้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาสังคมพื้นฐานและประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

 

การเจรจาต่อรอง เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาระหว่างครอบครัว การเจรจาทางธุรกิจ เป็นต้น ผลประโยชน์ที่เราจะได้รับจาก “การเจรจาต่อรอง” ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากและมักจะเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อเราจะต้องประสานงานการทำงานกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นการเจรจาต่อรองกับผู้ที่เราจะต้องดำเนินธุรกิจด้วยหรือแม้แต่การเจรจาต่อรองที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในมิติอื่น ๆ ได้ เพียงแต่ว่าเรื่องนั้นควรต่อรองหรือไม่ คุ้มหรือไม่กับการต้องต่อรอง หากต้องนิยามคำว่าเจรจาต่อรอง ก็สามารถให้ความหมายแบบกว้าง ๆ คือ กระบวนการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) มีบุคคลร่วมเจรจา 2 ฝ่ายขึ้นไป ถือเป็นกิจกรรมที่มีความทางการ มีการกำหนดจุดยืน มีผลประโยชน์ที่ต้องการแลกเปลี่ยนกัน และมุ่งหวังให้ผลประโยชน์หรือข้อกำหนดนั้นบรรลุความต้องการของทุกฝ่าย

 

โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง” จึงเป็นโครงการสำหรับผู้ที่ต้องเข้าใจในพื้นฐานของการเจรจาต่อรอง โดยมุ่งเน้นการศึกษาไปยังเทคนิคพื้นฐานในกระบวนการของการต่อรอง ว่าการออกไปพบปะผู้คนนั้น ควรวางแผนและเตรียมตัวล่วงหน้าในการเจรจาอย่างไร จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับสิ่งต่าง ๆ รวมถึงการคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมไปนั้น จะสามารถนำเทคนิคดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถรับมือและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

 

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการจากคณะจิตวิทยา

 

หลังจากเสร็จสิ้นการอบรม ทางผู้จัดโครงการจะอัพโหลดไฟล์วิดีโอการอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้จนถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2565

 

 

 

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วันทำการ
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี โทร. 02-218-1307 E-mail: wathinee.s@chula.ac.th