News & Events

Clubhouse: พื้นที่แห่งความสมานฉันท์?

 

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยในตอนนี้เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ความขัดแย้งประเภทนี้นักจิตวิทยาสังคมเรียกว่าความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (intergroup conflict) ซึ่งมีที่มาได้จากหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการที่แต่ละกลุ่มมีความเชื่อ ความคิด เจตคติที่ต่างกัน การที่คนตั้งแง่กับคนกลุ่มอื่นเพียงเพราะไม่ได้เป็นคนกลุ่มเดียวกัน (mere categorization) ความลำเอียงเข้าข้างกลุ่มตนเอง (ingroup favouritism) การมองว่าคนที่ไม่ใช่กลุ่มตนเองเหมือนกันหมดทุกคน (outgroup homogeneity) การมีภาพเหมารวมต่อกลุ่มนั้นในทางลบ (stereotype) ซึ่งกระตุ้นอารมณ์และพฤติกรรมทางลบ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มในแต่ละกรณีมีความละเอียดอ่อน ซับซ้อนและมีที่มาแตกต่างกัน ผู้เขียนขอเก็บไว้เขียนในโอกาสหน้า วันนี้ขอเสนอวิธีแก้ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่น่าจะครอบคลุมความขัดแย้งระหว่างกลุ่มหลาย ๆ กรณี คือ Intergroup contact หรือ การที่คนจากคนละกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์กัน

 

การมีปฏิสัมพันธ์กันนี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากการมีปฏิสัมพันธ์ต่อหน้า (face-to-face) เช่น ในการทดลองหนึ่งผู้วิจัยสุ่มให้ทหารซึ่งมาจากชาติพันธุ์ที่เป็นกลุ่มหลักในประเทศนอรเวย์ (ethnic majority Norwegian) เป็นเพื่อนร่วมห้องกับทหารซึ่งมาจากชาติพันธุ์ที่เป็นกลุ่มน้อย (ethnic minority: Finseraas & Kotsadam, 2017) และในกรณีที่การปฏิสัมพันธ์ต่อหน้าเป็นไปได้ยาก การมีปฏิสัมพันธ์แบบถ่ายทอด (extended contact: Wright et al., 1997) ก็เป็นตัวเลือกได้ โดยการมีปฏิสัมพันธ์แบบถ่ายทอดแบ่งเป็นสองวิธี ได้แก่ การเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ว่าสมาชิกของกลุ่มอื่นกับสมาชิกของกลุ่มตนสามารถมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้ (vicarious contact) เช่น การทดลองหนึ่งผู้วิจัยสุ่มให้เด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์ มีอวัยวะครบ 32 (able-bodied) อ่านนิทานที่เกี่ยวกับมิตรภาพระหว่างเด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์กับเด็กที่มีร่างกายที่จำกัด (disabled) แม้กระทั่งการจินตนาการว่าตนได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่กลุ่มตนเอง (imagined contact) และการปฏิสัมพันธ์เป็นไปอย่างไหลลื่น ก็สามารถลดความประหม่าจากการปฏิสัมพันธ์กับคนที่มาจากกลุ่มอื่น และทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ในอนาคตเป็นไปในทางบวกมากขึ้น เช่น Turner et al. (2007 การศึกษาที่ 3) ให้ผู้ร่วมการทดลองชายที่ชอบเพศหญิง (heterosexual men) จินตนาการว่าได้พูดคุยกับผู้ชายที่ชอบเพศชาย (homosexual men) พบว่า ผู้ร่วมการทดลองที่ได้พบคนจากกลุ่มอื่น ได้อ่านเรื่องราวที่ดีของคนต่างกลุ่ม และจินตนาการว่าได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนจากกลุ่มอื่นมีเจตคติทางบวกต่อคนจากกลุ่มอื่น และมีความประหม่าในการปฏิสัมพันธ์น้อยลง (สามารถอ่านการวิเคราะห์อภิมานซึ่งพบผลของการปฏิสัมพันธ์ของคนต่างกลุ่มได้ในการศึกษาของ Paluck และคณะ 2021)

 

ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่การปฏิสัมพันธ์ใด ๆ ที่จะสามารถส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มได้ Allport (1954) ได้เสนอ Contact Hypothesis ซึ่งตั้งสมมติฐานว่าสาเหตุหลักของความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม คือ การที่กลุ่มคู่ขัดแย้งไม่ได้มีการปฏิสัมพันธ์กันอย่างมีคุณภาพ ดังนั้นเขาจึงได้เสนอเงื่อนไขของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มและสร้างความสามัคคีไว้ 4 เงื่อนไข ได้แก่

 

  1. Equal status ระหว่างที่ทั้งสองกลุ่มปฏิสัมพันธ์กัน ทั้งสองกลุ่มต้องมีสถานะเท่าเทียมกัน
  2. Common goals การที่ทั้งสองกลุ่มมีเป้าหมายร่วมกัน
  3. Intergroup cooperation ทั้งสองกลุ่มตระหนักว่าการกระทำของแต่ละกลุ่มส่งผลต่อกันและกัน (interdependence) จนทำให้สมาชิกจากทั้งสองกลุ่มต้องมีความร่วมไม้ร่วมมือกัน
  4. Authority sanction การได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ การมีกฎหมายหรือธรรมเนียมปฏิบัติที่ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองกลุ่ม

 

เงื่อนไขทั้งสี่นี้เป็นที่มาของข้อสังเกตของผู้เขียนว่า แอพพลิเคชั่นคลับเฮ้าส์สามารถเป็นพื้นที่ในการลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย คลับเฮ้าส์ คือ แอพพลิเคชั่นที่เพียงมีเบอร์โทรศัพท์และสมาร์ทโฟนใคร ๆ ก็สามารถเข้าใช้งานได้ มีเพียงชื่อของเราเท่านั้นที่ได้รับการแสดงผล ความเชื่อ ความสนใจอื่น ๆ ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มได้เอง ทำให้โอกาสในการพบปะกับคนที่มีพื้นฐานต่างกันเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับการใช้สื่อกระแสหลัก เช่น โทรทัศน์และสื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้ใช้อาจเลือกที่จะติดตามเพจใดเพจหนึ่งที่ตรงใจตนเอง และไม่เปิดรับสื่อที่ไม่ตรงใจตนเอง คลับเฮ้าส์นั้นคล้ายวิทยุ คือ มีห้องต่าง ๆ ซึ่งมีการตั้งหัวข้อตามความสนใจในระยะเวลาหนึ่ง หากห้องเปิดอยู่ผู้ฟังสามารถเข้าไปฟังได้อย่างอิสระ เนื่องจากไม่มีการล็อกห้อง ผู้ฟังสามารถยกมือได้หากต้องการร่วมสนทนา

 

คลับเฮ้าส์นั้น มี moderator เรียกสั้น ๆ ว่า “ม็อด” เป็นผู้ควบคุมห้อง ม็อดนี่เองที่มีผลเป็นอย่างมากต่อพลวัตของห้อง หากม็อดวางและสื่อสารกฎระเบียบให้ชัดเจนกับคนในห้อง เช่น ผู้พูดจะได้รับการอนุญาตให้พูดหากม็อดเรียกชื่อเท่านั้นและห้ามพูดแทรกคนอื่น และหากม็อดแจ้งบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนก็จะสอดคล้องกับเงื่อนไข authority sanction ในกรณีที่ห้องตั้งมาเพื่อให้คนที่มาจากคนละกลุ่มคุยกัน หากม็อดกำหนดเวลาในการพูดกับผู้พูดแต่ละคนอย่างเท่าเทียมก็จะเข้ากับเงื่อนไขของ equal status คือ สมาชิกจากแต่ละกลุ่มมีเวลาในการนำเสนอข้อมูลและความคิดของตนพอ ๆ กัน หากม็อดมีทักษะการฟังที่ดี ม็อดสามารถชี้ให้เห็นเป้าหมายที่กลุ่มสองกลุ่มมีร่วมกันได้ (common goal) และชี้ให้เห็นว่าในสถานการณ์นั้น คนทั้งสองกลุ่มต่างต้องพึ่งพากันและกันอย่างไรหากต้องการไปถึงจุดหมาย (intergroup cooperation) เช่น หากห้องตั้งหัวข้อว่า “จับโป๊ะ วัคซีน VVIP” ผู้ฟังอาจจะมาจากกลุ่มที่มีความเชื่อทั้งการเมืองที่ต่างกัน หากม็อดชี้ให้เห็นว่าบุคลากรทางการแพทย์หน้าด่านควรได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพก่อน เพราะกลุ่มนี้รักษาเราทุกคน และหากต่างคนต่างส่งเสียงเสียงอาจจะเบาไป แต่ถ้าทั้งสองกลุ่มช่วยกันส่งเสียง (intergroup cooperation) เสียงจะดังขึ้นทำให้บุคลากรทางการแพทย์หน้าด่านมีโอกาสที่จะได้รับวัคซีนมากขึ้น (common goal) และม็อดเปิดโอกาสให้คนจากสองฝั่งยกมือพูด โดยให้เวลาเท่าเทียมกัน (equal status) และให้การแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ (authority sanction) ก็จะเกิดการปฏิสัมพันธ์ที่มีคุณภาพตามเงื่อนไขของ Allport (1954) และทำให้ทั้งสองกลุ่มมีเจตคติที่ดีขึ้นต่อกันและกัน

 

ผู้เขียนเองได้รับประสบการณ์ดี ๆ จากการใช้งานคลับเฮ้าส์มาก คือ ได้เรียนรู้มุมมองของคนจากภาคอื่น ช่วงอายุอื่น สายอาชีพอื่น ซึ่งการใช้สื่อสังคมออนไลน์ปกติหรือเครือข่ายทางสังคมในชีวิตจริงของผู้เขียนมีข้อจำกัดอยู่มาก ทำให้การมองในมุมคนอื่น (perspective taking) ของผู้เขียนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ในสถานการณ์ที่บ้านเมืองเราเต็มไปด้วยความตึงเครียดแบบนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า การมองในมุมคนอื่นเป็นกุญแจสำคัญอีกดอกซึ่งจะช่วยให้คนไทยเราเปิดใจให้กันและรับฟังกันอย่างตั้งใจมากขึ้น ดังนั้น หากผู้อ่านสามารถทำได้ ผู้เขียนสนับสนุนให้รับฟังคลับเฮ้าส์หลาย ๆ ห้อง และขอให้ม็อดทำหน้าที่ของตนให้ดี เพื่อมีส่วนร่วมสร้างสังคมไทยที่สามัคคีและรักใคร่กัน

 

 

 

รายการอ้างอิง

 

Allport, G. W. (1954). The nature of prejudice. Addison-Wesley.

 

Finseraas, H., & Kotsadam, A. (2017). Does personal contact with ethnic minorities affect anti-immigrant sentiments? Evidence from a field experiment. European Journal of Political Research, 56(3), 703-722. https://doi.org/10.1111/1475-6765.12199

 

Paluck, E. L., Porat, R., Clark, C. S., & Green, D. P. (2021). Prejudice reduction: Progress and challenges. Annual Review of Psychology, 72, 533-560. https://doi.org/10.1146/annurev-psych-071620-030619

 

Turner, R. N., Crisp, R. J., & Lambert, E. (2007). Imagining Intergroup Contact Can Improve Intergroup Attitudes. Group Processes & Intergroup Relations, 10(4), 427–441. https://doi.org/10.1177/1368430207081533

 

Wright, S. C., Aron, A., McLaughlin-Volpe, T., & Ropp, S. A. (1997). The extended contact effect: Knowledge of cross-group friendships and prejudice. Journal of Personality and Social Psychology, 73(1), 73-90. https://psycnet.apa.org/buy/1997-04812-006

 

 


 

 

บทความวิชาการ

 

โดย อาจารย์ ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคมพื้นฐานและประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Transparent Research Practices in Psychology

Transparent Research Practices in Psychology

( 2508 Words (10 min read) )

 

 

There is a replication crisis in the social sciences.

How much can we trust the research findings published in psychological journals? We can’t be certain about the exact answer to this question and perceptions might vary depending on who you ask but there is a growing consensus that within psychology, many of the published findings are not as trustworthy as they should be. For example, in a recent survey of scientists in nature, 80% of researchers agreed that there was either a slight or significant crisis in the field (whatever a slight crisis is!?)

 

 

Why do people doubt the veracity of psychological research and think the field is in a crisis?

 

There are multiple reasons why researchers think the field is in crisis. First, there have been several repeated failures to replicate the effects of many published findings in psychology (Camerer et al., 2018; Open Science Collaboration, 2015)[1]. In these efforts, multiple labs set out to replicate the methods of hundreds of published studies and retested these experiments in a new (and typically much larger) sample of participants. As an observer, what you might reasonably expect to see here is that the majority of findings would demonstrate the same effects as were reported in the original study and, due to chance, a small number of these studies wouldn’t replicate. But, the rather earth-shattering outcome of these replication efforts is that only a minority of studies actually replicated the original research findings. Notably, several high-profile effects have been brought into question. For example, the concept of power posing was promoted in a TED talk by Amy Cuddy that has been viewed more than 60m times, yet the research that forms the basis of this effect does not always replicate. Social priming research has emphasised how subtle cues in the environment can affect our behaviour, often in dramatic ways. For example, unscrambling some sentences that include concepts related to elderly people can make us walk slower, holding a hot drink can make us think more warmly of others. This research has featured in many bestselling pop psychology books, such as Daniel Kahneman’s Thinking Fast and Slow, yet the construct of social priming is another area that has major replication issues. Thus, the low replicability rate in psychology presents a challenge to the credibility of the field and has resulted in much attention being directed to understanding both the causes of this replication “crisis” and how researchers can reform practices to increase the replicability, robustness, and credibility of the research.

 

 

The cause of the replications crisis: questionable research practices.

 

So what underpins this credibility crisis? Why are many original effects not as trustworthy as they should be? Well, it turns out that many of the norms of the research process favoured the publication of false-positive findings (in other words, reporting effects when no such effect exists). Among the most basic principles that guide scientists is a commitment to objectivity, honesty, and openness (Committee on Science & Panel on Scientific Responsibility and the Conduct of Research, 1992; p.36). And we would expect that these principles should guide best scientific practices during the design of experiments, analysis of data, and communication of knowledge. In other words, researchers should, in practice, be as honest and as objective as possible when designing and reporting their findings. However, individual biases, norms, and systemic pressures can cause these principles to be corrupted during the research process.

 

For example, researchers are primarily incentivised for publications, yet the probability of a paper being accepted for publication in a journal is traditionally associated with the novelty (is it new and surprising) and statistical significance of the reported effects. The consequence of this publication bias is that researchers can be (implicitly or explicitly) motivated to exploit degrees of freedom in the way data is collected, analysed, and reported, that favour producing a publication with statistically significant (as opposed to null) effects (Simmons et al., 2011).

 

Questionable Research Practices (QRPs) is a term used to refer to the broad range of decisions in the design, analysis, and reporting of research that all increase the likelihood of achieving a statistically significant result, and therefore a positive response from journal editors and reviewers; for example., p-hacking, cherry picking, and Hypothesizing After the Results are Known (HARKing)[2]. P-hacking refers to researchers exploiting flexibility in the analysis; for example, by running statistical analyses with and without including covariates, deciding whether to include or exclude outliers on the basis of their impact on the effect of interest, etc (Simonsohn et al., 2014; Wicherts et al., 2016). Cherry picking refers to the practice of failing to disclose all the dependent variables and conditions in a study and instead only reporting the outcome measures and/or conditions that reach statistical significance. HARKing refers to the practice of presenting findings that were unexpected or unplanned as if they had been originally predicted and were tested using confirmatory hypothesis testing (Kerr, 1998). In summary, one explanation for the low replication rates is that many original findings are based, at least partly, on studies that involve the use of questionable research practices.

 

 

Widespread prevalence of QRPs in the West.

 

To what extent are researchers actually engaging in QRPs? To answer this question, John, Loewenstein and Prelec asked 2000 psychologists in 2012 about their involvement in QRPs. Rather remarkably, a high percentage of US psychologists openly admitted to having engaged in QRPs and they believed their colleagues engaged in them even more than they admitted to doing so!

 

Similar admissions of QRP use have been reported in an Italian sample of psychologists (Agnoli et al., 2017), and across other fields such as education (Makel et al., 2019) and ecology and evolution (Fraser et al., 2018).

 

When researchers flexibly use combinations of these QRPs, the likelihood of being able to find a statistically significant effect can dramatically increase, irrespective of whether there was actually an effect in what you were testing. For an illustration of how easy it is to find significant effects with subtle (and often justifiable) analysis decisions see: https://fivethirtyeight.com/features/science-isnt-broken/#part4

 

 

The credibility revolution and reforms to research practices.

 

So what is being done to improve the way research is conducted? In response to the replication crisis and growing awareness of the problematic nature of QRPs, scientists have proposed several reforms to research practices aimed at improving the transparency, and therefore the credibility of research. These reforms includepractices designed to increase the transparency in research practices: (1) preregistration, (2) open data; and reforms to improve research design, (3) power analyses.

 

1. Preregistration refers to the practice of explicitly stating one’s hypotheses and analysis plans prior to data collection. For example, a researcher would make clear what their primary outcome variable is, how they will define outliers, when they will stop collecting data, etc. Specifying these details in advance reduces researcher degrees of freedom in the analysis and makes it clear to other researchers what parts of your results are based on confirmatory hypothesis testing versus exploratory tests. A more advanced form of preregistration – which is becoming increasingly common – is to submit your introduction and proposed methods and planned analysis directly to a journal for peer review. In a registered report, the manuscript is evaluated on the basis of the introduction, methods, planned analysis (everything but the results!). If accepted, researchers are given a guarantee that provided they conduct their research according to the prespecified methods, the journal will publish their research, irrespective of the results! There are two key benefits to this approach to research. First, researchers get peer review feedback before the research is conducted which can allow improvements to the study design. Second, it reduces publication bias and encourages objective reporting of results.

 

2. Open data is the practice of sharing primary research data and materials (e.g., stimuli, code, etc) to a publicly accessible online repository. When psychology (and other fields) began there was no medium through which researchers could share their raw data alongside publications. This is no longer the case and there is a steady shift towards encouraging, or in many cases requiring, researchers to make their data available. Sharing data has multiple benefits for both the original researcher and for science more broadly. For the researcher, sharing data obviously makes it much more accessible for others, but a key benefit is that it also makes it accessible for your future self, if you want to return to the original data and conduct any reanalysis. Sharing data also makes us more accountable and more likely to avoid confirmation bias and be more rigorous in checking our analysis and data when we are aware that others may check this too! Data sharing accelerates scientific knowledge by allowing other researchers to build on your findings, avoid duplicate data collection efforts, include evidence in meta analysis, and also helps detect fraud or errors in reporting.

 

3. Power analysis refers to the practice of conducting a power calculation, before collecting any data, to estimate and justify the sample size required in order to detect a specified effect. This is important because running underpowered research designs is unethical, a waste of resources, and is a central cause of untrustworthy research findings in the published literature. Thus, researchers need to design studies that are powered to detect the effects we are expecting to observe.

 

 

Adoption of Research Practice Reforms.

 

These research practice reforms are designed to increase the transparency and robustness of the research process, thereby reducing opportunities for researchers to use QRPs, reducing the chance of false-positive findings, and ultimately improving the replicability of research. Within Western academia (North America, Europe, Australasia), there is a growing recognition of the problematic nature of QRPs and researchers are responding to this with lower (reported) use of QRPs and a willingness to adopt reformed research practices (Motyl et al., 2017). This increased engagement in research practice reforms (i.e., preregistration, data sharing, and power analyses) is driven by several factors. At one level, researchers are engaging with research practice reforms because they recognize that these practices are good for science and lead to more reliable, robust, and trustworthy research. At another level, research practice reforms are also driven by editorial policies, education, cultural norms, and incentives. For example, editorial policies now often require authors (as a condition of acceptance) to report a power analysis when justifying their sample size. Societies (e.g., Society for the Improvement of Psychological Science) have emerged dedicated to discussing best research practices, many psychology departments have open science clubs (e.g., ReproducibiliTea) that facilitate training and sharing knowledge of research practice reforms (e.g., where to go and how to write an effective preregistration). Journals are incentivising preregistration and data sharing (e.g., through the use of badges at Psychological Science) and many journals have adopted registered reports as a format to encourage researchers to submit preregistered research that can be offered in principal acceptance prior to data collection. In summary, researchers are rapidly adopting reforms to their research practices to make science more transparent and credible.

 

 

A local challenge.

 

Although many of the normative practices of researchers based in the West (i.e., North America, Europe and Australia) are reforming, few efforts have been made to examine how research practices are changing more locally in Thailand and South East Asia. To date, there is little evidence on how local researchers (1) perceive there to be an issue with the credibility of psychological research, (2) are motivated to adopt research practice reforms, and (3) face different barriers in their adoption of these reforms.

 

Concerning perceptions of credibility, there are far fewer open discussions around metascience in South East Asia that may result in less awareness and recognition of some of the systemic issues in research practices[3]. Similarly, there is little knowledge of the degree to which researchers in the region are motivated to adopt new practices. As an illustration of these combined challenges to have open discussion and understand local attitudes, a recent study attempted to include the attitudes of members of the Asian Society for Social Psychology (AASP) in their international survey on the use of QRPs and research practice reforms. Unfortunately, AASP declined to distribute the survey to members “… out of fear that our survey would give its membership cues that questionable research practices are normative, increasing the likelihood that its members would use those practices” (Motyl et al. 2017, p. 38). Understanding the local barriers to research reforms is also an important endeavour because many of the proposed reforms have been developed by researchers who are based in Western regions, and focus on how these reforms apply within their own Western research contexts. Although the basic principles behind conducting and reporting robust research are universal; the practices that researchers adopt may differ across regions, and there are inequalities in the incentives and barriers experienced by researchers in different contexts. For example, the barriers to engaging in practices such as data sharing are reducing in the West through education, training, and access to resources. Likewise, the incentives (both tangible and intangible) for data sharing are growing with transparent (i.e., open) research practices becoming a desirable (or required) criterion for academic employment in some departments and kudos attached to research (and researchers) that shares open data. In contrast, far fewer training opportunities exist for raising awareness of these practices within the SE Asia region and there are limited incentives for their uptake. Thus, an important direction for future work is to focus on local challenges to research practice reforms in Thailand and South East Asia. In other words, what are the barriers that local researchers face when implementing research practices such as preregistration, sharing open data, etc.? In addition to the absence of incentives, there may exist many culturally grounded barriers to reform. As an example of how culture may affect reform, many of the research practice reforms in Western cultures have been driven by graduate students and early career researchers challenging the status quo (and often the approach of more senior academics). However, the relatively tighter cultures in South East Asia typically favour conforming to the values, norms, and behaviours adopted by others and sanctioning deviance and the promotion of reforms. Thus, there might exist much stronger resistance to the adoption of counternormative behaviour in the region.

 

In summary, the research practice reforms adopted by most psychologists mean that the field is producing higher quality and more replicable effects now compared to ten years ago. However, there remains much to do and there is currently a need for trying to understand the context-specific challenges perceived by researchers in the SE Asia region and to develop solutions to tackle barriers to engaging in best scientific practices.

 

To stay updated with issues related to open science in the region follow the South East Asian Network for Open Science (SEANOS) on twitter here: https://twitter.com/opensciencesea

 

 

References

 

[1] There is evidence for low replicability across many other research fields; e.g., economics (C. F. Camerer et al., 2016; Ioannidis et al., 2017), pharmacology (Lancee et al., 2017).

 

[2] Other examples of QRPs not stated here include: selective reporting of significant studies and file drawing null effect studies; conducting low powered studies.

 

[3] This is not true across the entire region, i.e., open science is prominent in Indonesia.

 

Pic cr. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Research_Scene_Vector.svg ​

 

 


 

 

 

About the Author.

Dr.Harry Manley is a lecturer in the Faculty of Psychology at Chulalongkorn University. Twitter @harrisonmanley

 

อะไรทำให้เราลืมกันนะ?

ความทรงจำถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในชีวิตของเรา ความทรงจำทำให้เราสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ทำให้เราสามารถพัฒนาตนเองได้ในหลาย ๆ ด้าน และทำให้เราเป็นเราในทุกวันนี้ แต่หลายครั้งที่เรามักจะลืม บางคนก็ลืมว่าเราจะต้องทำอะไร บางคนลืมข้อมูลสำคัญที่จะต้องจำให้ได้ การลืมนั้นสามารถเกิดได้ขึ้นในทุก ๆ วัน มันเป็นเรื่องปกติที่เรามักจะลืมอะไรบ้างอย่าง ในบางครั้งถึงแม้ว่าเราอยากจะจำให้ได้มากเท่าไร พยายามจำมากเท่าไร เราก็ยังลืมอยู่ดี

 

ทำไมเราถึงลืม? เราไม่ลืมได้หรือไม่?

 

ผลการวิจัยพบว่า การลืม ถึงแม้ว่ามันจะดูเหมือนว่ามันไม่สำคัญเท่าไหร่ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เราจำเป็นจะต้องใช้ความทรงจำของเรา เช่น ในการให้การของผู้เห็นเหตุอาชญากรรม ความทรงจำของเราจึงมีความสำคัญมาก หลายคนจึงอาจจะใช้วิธีต่าง ๆ ในการกันลืม เช่น การจดโน้ต การบันทึกไว้ในโทรศัพท์ หรือแม้กระทั่งถ่ายรูปเก็บไว้

 

สิ่งที่สำคัญที่ทำให้เราลืมก็คือเวลา

 

มีงานวิจัยค้นพบว่ายิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไรหลังจากที่เราเรียนรู้สิ่งที่เราต้องการจะจำ เราก็ยิ่งมีโอกาสที่จะลืมมันมากเท่านั้น เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการจะจำเมื่อเราได้เข้ารหัสรับรู้มันผ่านประสาทสัมผัสของเรา และถูกเข้าไปเก็บในความทรงจำระยะสั้น ซึ่งสามารถจุความทรงจำได้อย่างจำกัดในระยะเวลาอันสั้น เมื่อข้อมูลที่อยู่ในความทรงจำระยะสั้นไม่ได้ถูกทบทวนซ้ำ เราก็จะลืมมันไปในที่สุด แต่ถ้าเราทวนสิ่งที่ต้องการจะจำซ้ำ ๆ ก็จะทำให้เราสามารถจำสิ่งนั้นได้ดีขึ้น เมื่อเราได้มีการทบทวนซ้ำถึงข้อมูลนั้นหลาย ๆ ครั้ง ก็จะทำให้ข้อมูลนั้นส่งต่อเข้าไปเก็บไว้ในความทรงจำระยะยาวของเรา ซึ่งสามารถบรรจุความทรงจำได้มากกว่าและนานกว่าความทรงจำระยะสั้น ทำให้เราสามารถที่จะจำข้อมูลนั้นได้ดีขึ้นและมีโอกาสที่จะลืมน้อยลง

 

อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เรามักจะจำในสิ่งที่เราต้องการจะจำไม่ได้ เป็นเพราะสิ่งที่เราต้องการจะจำได้ถูกรบกวนโดยสิ่งที่เราจำไปแล้วก่อนหน้านี้ ทำให้เราไม่สามารถจำสิ่งที่เราต้องการจะจำได้ (reactive interference) เช่น ในการเปิดเทอมใหม่ คุณครูพยายามที่จะจำชื่อนักเรียนในห้องให้ได้ ซึ่งคุณครูอาจจะจำชื่อนักเรียนสลับกันกับนักเรียนปีที่แล้ว ทำให้ไม่สามารถจำชื่อนักเรียนปีนี้ได้ถูกต้อง หรือ ถูกรบกวนจากสิ่งที่เราต้องการจะจำหลังจากนั้น (proactive interference) เช่น การจอดรถในที่ทำงาน เนื่องจากเราจะต้องเปลี่ยนที่จอดรถทุกวัน ทำให้เราไม่สามารถจำได้ว่าวันนี้เราจอดรถไว้ที่ไหน เพราะการจำว่าวันนี้เราจอดรถไว้ที่ไหนถูกรบกวนโดยอาจจะจำเป็นที่ ๆ เราจอดรถไว้เมื่อวานแทน วิธีการที่จะทำให้เราจำได้นั่นก็คือการพยายามทวนซ้ำ ๆ ว่าเราจอดรถไว้ที่ไหน หรือ พยายามหาดูว่ามีอะไรที่สามารถช่วยเราจำได้บ้าง เช่น เลขตรงเสาที่อยู่ใกล้รถของเรา หรือว่าเราออกมาแล้วเจออะไรเป็นอย่างแรก

 

อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าความทรงจำต่าง ๆ ที่ถูกเก็บไว้ในความทรงจำระยะยาวของเราแล้วนั้น เราจะไม่มีวันลืมความทรงจำเหล่านั้นไป เราก็มีโอกาสที่จะลืมความทรงจำเหล่านั้นได้หากเราไม่ได้นึกถึงมันเป็นเวลานาน หรือในบางครั้งเราก็อาจจะไม่สามารถนึกถึงหรือจำได้ทันที อาจจะต้องมีตัวบ่งชี้ หรือ คำใบ้ อะไรสักอย่างที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราต้องการจะนึกถึง ช่วยให้เราจำความทรงจำนั้นได้ ดังนั้นหากเราต้องการที่จะจำอะไร เราสามารถทบทวนมันซ้ำ ๆ เพื่อที่จะทำให้ข้อมูลนั้นถูกส่งจากความทรงจำระยะสั้นสู่ความทรงจำระยะยาว เมื่อความทรงจำนั้นถูกเก็บเข้าที่ความทรงจำระยะยาวนั่นหมายความว่า เราสามารถจำมันได้แล้วนั่นเอง

 

 


 

บทความวิชาการ

 

โดย อาจารย์ ดร.พจ ธรรมพีร

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาปริชาน

 

ล้มแล้วลุกได้…หากเรามีทุนทางจิตวิทยา (ตอนที่ 1)

ล้มแล้วลุกได้…หากเรามีทุนทางจิตวิทยา

“Resilience” ทุนทางจิตวิทยา ตอนที่ 1

 

 

จากสถานการณ์ของโรคระบาด COVID-19 ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงและยังคงส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้นต่อบุคคล ในการประกอบอาชีพ คือ ปัญหาการว่างงาน การถูกลดเงินเดือน หรือการถูกให้ออกจากงานกลางคัน ข้อมูลรายงานภาวะสังคมไทยประจำไตรมาสหนึ่ง ปี 2564 ของสำนักสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรุปว่า อัตราการว่างงานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และการว่างงานของแรงงานในระบบยังอยู่ในระดับสูง มีผู้ว่างงานจำนวน 0.76 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.96 สูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจาก COVID-19 ที่ยังคงมีอยู่ และมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานมากขึ้น หากการแพร่ระบาดยังคงรุนแรงและต่อเนื่องยาวนาน

 

ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้นในการเผชิญปัญหาและชะตากรรมที่เลวร้ายนี้ ในหน้าข่าวหนังสือพิมพ์และบนโลกโซเชียล พบโศกนาฏกรรมของคนพ่ายแพ้ชีวิตเพราะปัญหาการตกงาน ขาดรายได้ กิจการไปต่อไม่ไหว แบกรับหนี้สินจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาการฆ่าตัวตายตามมา จนกลายเป็นเรื่องที่น่าสะเทือนใจรายวัน แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังคงสู้ชีวิต ลุกขึ้นมาในยามที่ล้ม และก้าวเดินไปด้วยหัวใจนักสู้ ในเส้นทางชีวิตใหม่ ข่าวดาราขับรถส่งอาหาร หรือ กัปตันเครื่องบินเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ผันตัวเองไปเป็นแม่ค้าขายทุเรียน แม้แต่พนักงานเงินเดือนน้อยที่ตกงานแต่กลับประสบความสำเร็จในการขายของออนไลน์ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า คนเหล่านี้มีมุมมองชีวิตที่ต้องรับมือกับปัญหาและอุปสรรคอย่างไร สิ่งใดเป็นแรงผลักดันให้พวกเขาลุกขึ้นสู้ มองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แม้ในยามมืดมิด

 

ในปี 2002 ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา Fred Luthans ได้นำเสนอตัวแปรทางด้านจิตวิทยาเชิงบวก ที่เรียกว่า Psychological Capital หรือ ทุนทางจิตวิทยา ซึ่งเป็นคุณลักษณะและทรัพยากรทางจิตวิทยาที่มีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคลที่สามารถวัดได้ พัฒนาได้และนำไปบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น การเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานในองค์กร ส่งผลให้องค์กรมีผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น พนักงานมีสุขภาวะที่ดีมากขึ้น ทุนทางจิตวิทยาจึงเสมือนหนึ่งภูมิคุ้มกันที่ยอดเยี่ยมในการดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนเรา

 

Luthans (2002) ได้กล่าวว่า ทุนทางจิตวิทยามี 4 องค์ประกอบ ได้แก่

 

  1. การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-efficacy)
  2. การมองโลกในแง่ดี (Optimism)
  3. ความหวัง (Hope)
  4. ความสามารถในการฟื้นพลัง (Resilience)

 

ในปัจจุบันได้มีการขนานนามของทุนทางจิตวิทยาขึ้นมาใหม่ โดยการนำเอาตัวอักษรตัวแรกของแต่ละองค์ประกอบมาจัดเรียงต่อกันจนกลายเป็นคำว่า HERO หรือ ยอดมนุษย์ ซึ่ง H หมายถึง Hope E หมายถึง Efficacy R หมายถึง Resilience และ O หมายถึง Optimism ชื่อใหม่ในความหมายเดิมของทุนทางจิตวิทยา ยิ่งทำให้ตัวแปรทางจิตวิทยาเชิงบวกนี้ดูมีพลังพิเศษและจดจำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

สำหรับบทความตอนนี้ ผู้เขียนจะขอนำเสนอเพียง 1 ใน 4 องค์ประกอบของทุนทางจิตวิทยา นั่นคือ Resilience ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ถูกกล่าวขานมากในสถานการณ์ของโลกที่กำลังประสบอยู่ในขณะนี้ ทั้งวิกฤติจากโรคระบาด ความผันผวนทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ของภัยธรรมชาติ และ ความร้อนแรงทางการเมืองทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ แม้ว่า Resilience เป็นคำที่ยังไม่มีคำบัญญัติที่ชัดเจนในคำเดียว แต่เรายังอาจพบคำที่แทนความหมายของ Resilience ที่หลากหลายได้ในภาษาไทย เช่น ความสามารถในการกลับคืนสู่ปรกติ พลังแห่งการฟื้นตัว ความยืดหยุ่นทางจิตใจ การล้มแล้วลุกเร็ว หรือแม้แต่ ปัญญาล้มลุก เป็นต้น แต่ในบทความนี้ขอเลือกใช้คำว่า ความสามารถในการฟื้นพลัง เพื่อแทนความหมายของ Resilience

 

รากศัพท์ของคำว่า Resilience มาจากภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า ดีดตัวกลับมา หรือ สะท้อนกลับ ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 20 นั้น คำว่า Resilience ถูกใช้ในแวดวงของงานด้านวิศวกรรมเพื่อให้เข้าใจถึงความผิดปรกติเกี่ยวกับรูปทรงของวัสดุ (Deformation) ในช่วงปี 1970 คำว่า Resilience นี้ได้ก้าวออกมาจากวงการวิศวกรรมไปสู่แวดวงด้านจิตวิทยาและใช้อธิบายถึงการปรับตัวในทางที่ดีขึ้นต่อความเครียดหรือความชอกช้ำใจ (Garmezy, 1973) คำว่า Resilience ยังถูกนำมาใช้ในงานด้านนิเวศน์วิทยา เพื่อใช้ในการอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศน์ ที่ใช้การฟื้นคืนในการปรับตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือการก้าวไปสู่สภาวะใหม่ในระบบนิเวศน์ (Holling, 1973)

 

Luthans (2002) กล่าวว่า ความสามารถในการฟื้นพลังนี้จะช่วยให้บุคคลมองว่าความพ่ายแพ้ ความล้มเหลว การถูกคุมคาม เป็นการลงทุนทั้งทางด้านเวลา พลังงานชีวิต และทรัพยากรในตนเอง การปรับเปลี่ยนมุมมองและให้คุณค่าทางบวกกับความพ่ายแพ้ ความล้มเหลวและอุปสรรคที่เคยผ่านมาในชีวิต จะช่วยให้บุคคลเรียนรู้ที่จะผ่านพ้นความยากลำบากต่าง ๆ และกลับคืนมาสู่ภาวะปรกติได้ (Sutcliffe & Vogus, 2003; Youssef & Luthans, 2005)

 

ความสามารถในการฟื้นพลังนั้นจึงเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เองในทันที หากต้องผ่านการบ่มเพาะจากประสบการณ์ตั้งแต่วัยเยาว์ที่ได้ก้าวข้ามผ่านความพ่ายแพ้ ล้มเหลว ความไม่สมหวัง และสภาวะทางอารมณ์ที่เคยท้อแท้และหมดกำลังใจมาก่อน หากทุกคนเคย ขี่จักรยานล้ม สอบตก อกหักจากความรักครั้งแรก พลาดหวังจากการสอบคัดเลือกเข้าคณะหรือมหาวิทยาลัยที่ตั้งใจไว้ หรือ ล้มเหลวจากความคาดหวังและแม้แต่สูญสียบุคคลอันเป็นที่รัก ช่วงเวลาของประสบการณ์เหล่านี้ จะเป็นบทเรียนที่มีความหมาย ช่วยให้แง่คิดและสร้างมุมมองในการเรียนรู้ที่ต่างออกไปและช่วยประคับประคองให้สามารถลุกขึ้นเดินต่อได้ในหนทางของชีวิต การไม่จมอยู่กับอดีตและยอมทิ้งความฝันเดิมที่กลายเป็นความล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า และมุ่งคว้าความฝันใหม่ที่สามารถทำสำเร็จได้อย่างสวยงามด้วยสองมือของตนเองในที่สุด สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นรากฐานสำคัญของความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง ช่วยพัฒนามุมมองของการ “ล้มได้ก็ลุกได้” ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีพลังที่ไม่มีวันสิ้นสุด แม้จะต้องล้มลุกคลุกคลานอีกซักกี่ครั้งก็ตาม

 

Charles Darwin ผู้เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เคยกล่าวไว้ว่า “สิ่งมีชีวิตที่จะอยู่รอดได้ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุดแต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด” ดังนั้นการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้มีชีวิตรอดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่อาจรู้ล่วงหน้า เช่น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ภัยพิบัติ หรือแม้กระทั่งโรคระบาด จึงเป็นกุญแจสำคัญในการไขไปสู่ความลับที่ว่า ทุกสิ่งที่อาจเกิดขึ้นย่อมก่อให้เกิดผลกระทบที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้เสมอ

 

ในช่วงที่เกิดโรคระบาด COVID-19 Bozdag และ Ergun (2020) ศึกษาถึงความสามารถในการฟื้นพลังในกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ในประเทศตุรกี พบว่า การให้บริการสุขภาพอย่างต่อเนื่องในช่วงของการระบาดส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์เกิดความเครียดทั้งจากความกังวลใจที่อาจจะติดเชื้อโควิดจากผู้ป่วยและความเหนื่อยล้าในการปฏิบัติงาน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในช่วงการระบาดของ COVID-19 มีความสามารถในการฟื้นพลังเพิ่มมากขึ้นได้แก่ คุณภาพการนอนหลับ (Quality of sleep) อารมณ์ในเชิงบวก (Positive emotions) และความพึงพอใจในชีวิต (Life satisfaction)

 

นอกจากนั้น การศึกษาของ Walsh (2020) พบว่า ความสามารถในการฟื้นพลังหลังจากเหตุการณ์การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในครอบครัวเนื่องจากโรคระบาด COVID-19 นั้นประกอบไปด้วยปัจจัย 3 ประการได้แก่

 

1) กระบวนการสร้างความหมาย (Meaning making processes)

หมายถึง กระบวนการตีความและทำความเข้าใจกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่นั้นในทิศทางบวกหรือลบ เช่น การตีความว่าเหคุการณ์ร้ายนั้นว่าจะกลายเป็นบทเรียนที่ทรงคุณค่าต่อตนเอง หรือ จะมองว่าเหตุการณ์ร้ายนั้นยังคงเป็นบาดแผลในชีวิตตลอดไป

 

2) ทัศนคติเชิงบวก (Positive outlook)

หมายถึง การดำรงชีวิตของตนเองต่อไปอย่างคนที่มีความหวังและพลังภายในตนเองที่พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายในอนาคตด้วยความกระตือรือร้น อันได้แก่ ความกล้าหาญ ความเห็นอกเห็นใจและเอื้ออาทรเกื้อกูลกันระหว่างญาติมิตร

 

3) ค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อที่อยู่เหนือธรรมชาติ (Transcendent values and Spiritual moorings)

หมายถึง ความศรัทธาทางจิตวิญญาณหรือความเชื่อทางศาสนา สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลเกิดพลังในการหยัดยืนและลุกขึ้นมาดำเนินชีวิตต่อไปเพื่อสมาชิกในครอบครัวที่ยังคงเหลืออยู่

 

ความสามารถในการฟื้นพลังจึงเป็นคุณลักษณะทางจิตวิทยาที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้บุคคลสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลทางการวิจัยพบผลสอดคล้องกันจำนวนมากและเชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านคงพอจะเห็นแนวทางการสร้างเสริมความสามารถที่จะล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ได้ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ การเปลี่ยนวิธีคิดหรือเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อเหตุการณ์ร้ายๆ ที่เกิดขึ้นกับเราในทิศทางที่เป็นบวก นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่า องค์ประกอบทั้ง 4 ด้านของทุนทางจิตวิทยา หรือ HERO ( H หมายถึง Hope E หมายถึง Efficacy R หมายถึง Resilience และ O หมายถึง Optimism) มีความตรงเชิงอำนาจจำแนก (Discriminant validity) คือ แต่ละองค์ประกอบมีโครงสร้างที่แยกขาดออกจากกันอย่างชัดเจน (Luthans, et al., 2007) และแต่ละองค์ประกอบต่างส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางบวกต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและองค์กรที่บุคคลเป็นสมาชิกอยู่ งานวิจัยยังพบอีกว่า การเสริมสร้างให้บุคคลมีคุณลักษณะครบทั้ง 4 ด้านของ HERO จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อบุคคลและองค์กรนั้น (Luthans et al., 2005) โปรดติดตามอ่านเรื่องราวของ HERO ในองค์ประกอบย่อยที่เหลือได้ในตอนต่อไป

 

 


 

 

รายการอ้างอิง

 

Bozdağ, F., & Ergün, N. (2020). Psychological resilience of healthcare professionals during COVID-19 pandemic. Psychological Reports, 1–20.

 

Garmezy, N. (1973). Competence and adaptation in adult schizophrenic patients and children at risk. In S. R. Dean (Ed.), Schizophrenia: The first ten Dean Award Lectures (pp. 163–204). New York, NY: MSS Information Corp.

 

Holling, C. S. (1973). Resilience and stability of ecological systems. Annual Review of Ecology and Systematics, 4, 1–23.

 

Luthans, F. (2002) The need for and meaning of positive organizational behavior. Journal of Organizational Behavior, 23, 695–706.

 

Luthans, F., Avolio B. J., Walumbwa F., & Li W. (2005) The psychological capital of Chinese workers: Exploring the relationship with performance. Management and Organization Review, 1, 247–269.

 

Luthans, F., Avolio, B. J., Avey, J. B., & Norman, S.M. (2007). Positive psychological capital: Measurement and relationship with performance and satisfaction. Personnel psychology, 60(3), 541-572.

 

Sutcliffe, K. M., & Vogus, T. J. (2003). Organizing for resilience. In K. Cameron, J. E. Dutton, & R. E. Quinn (Eds.), Positive organizational scholarship (pp. 94-110). San Francisco, CA: Berrett-Koehler.

 

Walsh, F. (2020). Loss and resilience in the time of COVID-19: Meaning making, hope, and transcendence. Family Process, 59, 898–911.

 

Youssef, C. M., & Luthans, F. (2005). Resiliency development of organizations, leaders and employees: Multi-level theory building for sustained performance. In W. Gardner, B. Avolio, & F. Walumbwa (Eds.), Monographs in leadership and management (Vol. 3, pp. 303-343). Oxford: Elsevier.

 

เอกสารนำเสนอประกอบการแถลงข่าว ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2564 วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 521 อาคาร 5 ชั้น 2 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

ภาพประกอบ https://www.wallpaperup.com/

 

 


 

บทความวิชาการ

 

โดย คุณพัลพงศ์ สุวรรณวาทิน

นิสิตดุษฎีบัณฑิต แขนงการวิจัยจิตวิทยาประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร เรวดี วัฒฑกโกศล

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรียนแล้วเครียด! จัดการกับความเครียดอย่างไรดี?

 

ในสังคมปัจจุบันที่ทุกอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี การศึกษา วัฒนธรรม และสังคม ความคาดหวังที่สังคมมีต่อวัยรุ่นก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน และด้วยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้เอง ส่งผลให้ความคาดหวังของสังคมที่วัยรุ่นรับรู้นั้นมีลักษณะไม่ชัดเจน ไม่คงที่ และที่สำคัญคือ บางครั้งอาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ความคาดหวังเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความเครียดได้

 

เรื่องหนึ่งที่สร้างความเครียดให้กับวัยรุ่นในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมากคือ ความเครียดจากการเรียน

 

ความเครียดจากการเรียน (Academic stress) เกิดขึ้นได้จากความวิตกกังวลที่มีต่อเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ไม่ว่าจะเป็น การสอบ งานต่างๆ ที่จะต้องส่งในแต่ละวิชา ระบบการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน รวมไปถึง การวางแผนการเรียนเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ

 

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหาหรือความเครียดจากการเรียนที่เกิดขึ้น กระบวนการหนึ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ การจัดการกับความเครียด (Coping) ซึ่งเป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ความคิดและลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อจัดการกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่ว่าสาเหตุนั้นจะเป็นสาเหตุที่เกิดจากภายนอกตัวบุคคลหรือภายในตัวบุคคลก็ตาม

 

โดยทั่วไป การจัดการกับความเครียดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ การจัดการแบบเผชิญหน้ากับปัญหา (Approach coping) และ การจัดการแบบหลีกเลี่ยงปัญหา (Avoidance coping)

 

การจัดการแบบเผชิญหน้ากับปัญหา คือ บุคคลพยายามที่จะวิเคราะห์ถึงสาเหตุและผลของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อที่จะเตรียมตัวรับมือกับผลที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมา หรือแม้แต่พยายามที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อปัญหาเพื่อให้มองเห็นถึงมุมมองทางบวกจากปัญหาที่เกิดขึ้น รวมไปถึงพยายามที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้แก้ไขปัญหาได้

 

ตัวอย่างเช่น เมื่อทำข้อสอบไม่ได้ หากใช้การจัดการแบบเผชิญหน้ากับปัญหา สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ มีความพยายามวิเคราะห์ว่า เพราะอะไรถึงทำข้อสอบไม่ได้ ผลสอบที่ได้น่าจะเป็นอย่างไร (การวิเคราะห์ปัญหา) การทำข้อสอบไม่ได้ครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง (การเปลี่ยนมุมมอง) การสอบครั้งหน้าควรจะเตรียมตัวอย่างไร (การหาข้อมูลเพิ่มเติม)

 

ในขณะที่ การจัดการแบบหลีกเลี่ยงปัญหา มีลักษณะของการมุ่งเน้นที่อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความเครียด โดยหลีกเลี่ยงที่จะคิดถึงปัญหา ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของปัญหาหรือแม้แต่ผลที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาจากปัญหานั้น ๆ หรืออาจจะยอมรับว่ามีปัญหาเกิดขึ้นโดยไม่ได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหานั้น ๆ รวมไปถึงพยายามที่จะทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเอง บางครั้งอาจมีการแสดงออกถึงอารมณ์ทางลบเพื่อลดความเครียด เช่น บ่น ร้องไห้

 

ในเหตุการณ์ ‘ทำข้อสอบไม่ได้’ เหมือนกัน หากใช้การจัดการแบบหลีกเลี่ยงปัญหา สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ อาจจะไม่พูดถึงผลการสอบเลย (การหลีกเลี่ยง) หรืออาจจะมีคำพูด เช่น “อืม…ครั้งนี้ก็ทำไม่ได้แล้วนี่ เดี๋ยวครั้งหน้าก็อาจจะทำได้ก็ได้” (การยอมรับ) “ช่างมัน ไปเล่นเกมกันเถอะ” (การทำกิจกรรมอื่นๆ) “อาจารย์ออกข้อสอบอะไรก็ไม่รู้ ยากมาก ทำไม่ทันเลย เราว่ามันยากเกินไป…” (การแสดงออก)

 

ทั้ง 2 รูปแบบของการจัดการกับความเครียดนั้น ส่งผลต่อวัยรุ่นแตกต่างกันออกไป

 

การใช้การจัดการแบบเผชิญหน้ากับปัญหาช่วยลดปัญหาทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า รวมไปถึงปัญหาทางด้านพฤติกรรมของวัยรุ่น เช่น ความก้าวร้าว ได้

 

ในขณะที่ การใช้การจัดการแบบหลีกเลี่ยงปัญหา ส่งผลให้วัยรุ่นมีปัญหาในการกำกับอารมณ์ทางลบของตนเอง เพิ่มโอกาสในการเกิดปัญหาการติดแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่ความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย และยังส่งผลทางลบอย่างต่อเนื่องกับปัญหาทางด้านการเรียนด้วย

 

จะเห็นได้ว่า การจัดการแบบเผชิญหน้ากับปัญหา นอกจากจะช่วยให้วัยรุ่นมีการเตรียมตัวต่อปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตแล้ว ยังช่วยลดโอกาสที่จะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ด้วย

 

 

ทำอย่างไรที่จะช่วยให้วัยรุ่นเลือกที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา

 

นอกจากการชี้ให้วัยรุ่นเห็นถึงประโยชน์ของการเผชิญหน้ากับปัญหาแล้วนั้น สิ่งที่จะสร้างให้กับวัยรุ่นเพิ่มเติมได้คือ การเพิ่มทักษะต่าง ๆ ที่จะช่วยในการแก้ปัญหา เช่น ทักษะการวิเคราะห์เหตุและผลที่จะช่วยให้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น ทักษะการมองในหลากหลายมุมมองที่จะช่วยให้มองเห็นข้อดีของเรื่องราวต่างๆ ทักษะการมีสติ (Mindfulness) ที่จะช่วยให้เกิดการตระหนักรู้ในปัญหาและอารมณ์ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการที่มีคนรอบข้างเป็นแหล่งสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านข้อมูลที่จะช่วยให้วัยรุ่นเข้าใจและแก้ปัญหาได้ หรือแม้แต่ทางด้านอารมณ์ เช่น การรับฟัง การให้กำลัง ที่จะช่วยลดความเครียดหรืออารมณ์ทางลบต่าง ๆ ได้

 

วิธีการที่วัยรุ่นเรียนรู้ที่จะใช้จัดการกับปัญหาและความเครียดที่เกิดขึ้นนั้น จะส่งผลไปยังความคาดหวังต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปนั้นควรจะรู้สึกอย่างไร ควรจะคิดอย่างไร ควรจะจัดการอย่างไร ซึ่งสุดท้ายแล้ววิธีการที่วัยรุ่นเลือกที่จะใช้จัดการกับปัญหาก็จะส่งผลกลับมายังความคิดและอารมณ์ของวัยรุ่นเอง

 

 

รายการอ้างอิง

 

Arsenio, W. F., & Loria, S. (2014). Coping with negative emotions: Connections with adolescents’ academic performance and stress. The Journal of Genetic Psychology, 175(1), 76-90. https://doi.org/10.1080/00221325.2013.506293

 

Ramli, N. H. H., Alavi, M., Mehrinezhad, S. A., & Ahmadi, A. (2018). Academic stress and self-regulation among university students in Malaysia: Mediator role of mindfulness. Behavioral Sciences, 8(12). http://doi.org/10.3390/bs8010012

 

ภาพประกอบจาก https://pixabay.com/

 

 

 


 

บทความวิชาการ

 

โดย อาจารย์ ดร.จิรภัทร รวีภัทรกุล

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ
Faculty of Psychology, Chulalongkorn University

Empathy ในโลกออนไลน์…ไมตรีที่หยิบยื่นให้กันได้

 

ในโลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยแอพลิเคชั่นและเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้คนได้ติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายโลกออนไลน์หรือที่เรียกว่า Social Network นั้น สร้างความสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสารและทำความรู้จักกับผู้คนใหม่ ๆ มากมาย ฟังดูแล้วอาจเป็นความสะดวกสบายในการสร้างสังคมและความสัมพันธ์ใหม่ อย่างไรก็ตามข่าวสารของการใช้เครือข่ายออนไลน์ในทางที่ผิดต่างก็มีให้พบเห็นอยู่บ่อยครั้ง และหนึ่งในปัญหาที่พบเจอได้มากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ ทั้งในรูปแบบของความคิดเห็นที่ใช้ถ้อยคำรุนแรงและหยาบคาย การคุกคามทางเพศและความเป็นส่วนตัว หรือวิธีการอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก ทั้งในด้านความมั่นใจในตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง สุขภาวะทางจิตหรือเลวร้ายที่สุดคือการก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิต

 

สาเหตุสำคัญของการกลั่นแกล้งรังแกในโลกออนไลน์คือการขาดความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ต่อกัน เพราะการพัฒนาทางเทคโนโลยีแม้จะเชื่อมต่อผู้คนเข้าหากันแต่ก็ไม่สามารถทำให้คนเหล่านั้นรับรู้ถึงความเจ็บปวดของผู้ถูกกระทำได้ การรู้สึกว่าตนเองอยู่ห่างไกลจากความทุกข์และสถานการณ์เหล่านั้น หรือการที่ไม่สามารถจินตนาการถึงความรู้สึกของผู้ถูกกระทำได้นั้นส่งผลให้ฝ่ายกระทำไม่ได้รู้สึกทุกข์ร้อนกับสิ่งที่ได้ทำลงไป

เพราะไม่เห็นจึงไม่รับรู้ และเพราะไม่เข้าใจจึงไม่รู้สึก…

 

 

แล้ว Empathy คืออะไร? ทำไมถึงเป็นสิ่งที่ควรมีเพื่อช่วยลดการกลั่นแกล้งรังแกในโลกออนไลน์ ?

 

ความหมายของความเห็นใจหรือ Empathy นั้นสามารถแปลได้อย่างตรงตัวคือ เห็นในสิ่งที่อยู่ในใจ หรือเข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายรู้สึกเหมือนเห็นหรือรู้สึกด้วยตนเอง เป็นการเอาทัศนคติของผู้อื่นมาใส่ในใจเราเพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความคิดและความเป็นจริงโดยไม่ตัดสินความผิดถูกชั่วดี เพราะการตัดสินนั้นเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกออนไลน์อันเนื่องมาจากความคิดเห็นที่ว่า “คนคนนั้นสมควรได้รับ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวบน Social Network ที่ได้เห็นผ่านตาเพียงแค่ตัวอักษร

 

 

การสร้าง Empathy…เริ่มต้นไม่ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าจะทำ…

 

ในการเสริมสร้างความเข้าอกเข้าใจกันอย่างร่วมรู้สึกนั้นมีข้อแนะนำ 3 ประการที่ได้รับจาก Dr.Roman Krznaric ผู้ศึกษาเกี่ยวกับทักษะนี้คือ

 

1. การลดอัตตาและการเหมารวมว่าเราเข้าใจผู้อื่นเป็นอย่างดี

เพราะเราตัดสินว่าคนนี้เป็นแบบนั้น หรือคนนั้นเป็นแบบนี้ ด้วยความคิดเห็นและมุมมองของเราเพียงผู้เดียว ใช้ประสบการณ์ของตนเองในการเป็นแม่พิมพ์ของเหตุการณ์ที่ผู้อื่นเผชิญและคิดเอาเองว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร กับดักของความคิดเหล่านี้คือ “ฉันก็เคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้ฉันยังผ่านมันมาได้” หรือ “เรื่องเล็กเพียงเท่านี้ขนาดฉันเองยังไม่เป็นไร” หากปรับเปลี่ยนแนวคิดเหล่านี้ได้ ลดการตัดสินผู้อื่นลง ทำความเข้าใจว่าในทุกสถานการณ์ของแต่ละคนมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ก็สามารถเริ่มต้นการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้

 

2. สงบนิ่งเพื่อ “ฟัง” อย่างตั้งใจ

 

รับฟังในเหตุผลและความรู้สึก ไม่ขัดจังหวะและไม่สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวของตนเข้าไป ไม่เพียรพยายามหาส่วนดีที่หลงเหลือในความเจ็บปวดของใคร เช่น หากมีคนทุกข์ใจเพราะสามีนอกใจ ก็ไม่ควรปลอบใจว่าอย่างน้อยที่สุดก็ยังมีโอกาสได้แต่งงาน ในสถานการณ์เช่นนี้หากลองนึกดูแล้วผู้ฟังอาจยิ่งเจ็บปวดมากขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้

 

3. เพิ่มประสบการณ์ และใช้เวลากับกลุ่มคนที่หลากหลายมากขึ้น

 

เพื่อทำความเข้าใจถึงมุมมองและทัศนคติที่แตกต่างจากตนเอง เปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกลมากยิ่งขึ้นว่าบนโลกใบนี้ยังมีคนอีกมากมาย มีความคิดอีกนับล้านที่ไม่ได้ตรงกับสิ่งที่เรากำลังคิด มีสถานการณ์อีกหลากหลายที่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน เมื่อเรารับรู้มากขึ้น เข้าใจมากขึ้น เราย่อมตัดสินผู้อื่นน้อยลงและมองเห็นความเป็นจริงได้มากยิ่งขึ้น

 

 

เมื่อเห็นใจกันจึงทำร้ายกันน้อยลง…และเมื่อเข้าใจกันจึงไม่ยากที่จะมอบไมตรีให้แก่กันไม่ว่าจะในโลกออนไลน์หรือคนรอบข้างก็ตาม

 

 


 

 

รายการอ้างอิง 

ภาพประกอบจาก https://www.freepik.com

 

 

 

บทความวิชาการ

โดย คุณบุณยาพร อนะมาน

นักจิตวิทยา ศูนย์ประเมินทางจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Favoritism – การเลือกที่รักมักที่ชัง

 

 

การเลือกที่รักมักที่ชัง หมายถึง การเลือกปฏิบัติต่อบุคคลบางคนหรือบางกลุ่ม ในทางที่โปรดปรานเหนือบุคคลอื่นหรือกลุ่มอื่นภายใต้บริบทเดียวกัน อันเนื่องมาจากการมีอคติจากการใช้ปัจจัยอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบท เช่น เป้าหมายมีหน้าตาดึงดูดใจ มีเชื้อชาติเดียวกัน หรือตัวบุคคลมีการชื่นชอบเป้าหมายเป็นการส่วนตัว ซึ่งเป็นลักษณะอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่บุคคลนั้นทำ ถือเป็นรูปแบบของพฤติกรรมที่ไม่มีความยุติธรรม

 

ในแง่มุมมองของวิวัฒนาการ พฤติกรรมการเลือกที่รักมักที่ชังอาจเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอด (survivability) เช่น การประจบสอพลอ และเห็นด้วยกับผู้มีอำนาจ ทำให้มีโอกาสอยู่รอดสูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การเลือกที่รักมักที่ชังภายในกลุ่มมีอิทธิพลอย่างมากและสามารถเกิดขึ้นได้แม้กระทั่งสมาชิกภายในกลุ่มไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันมาก่อนก็ตาม

 

นักจิตวิทยาพบว่าการเลือกที่รักมักที่ชังไม่เพียงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ง่าย ยังเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงอีกด้วย การเลือกที่รักมักที่ชังภายในกลุ่มสามารถพบเห็นได้ทั่วไป ตั้งแต่สภาพแวดล้อมธรรมชาติซึ่งใช้ลักษณะของกลุ่มที่มีอยู่แล้ว เช่น เพศ เชื้อชาติ ไปจนสภาพแวดล้อมที่จัดกระทำอย่างเข้มข้น ทั้งนี้ พบถึงผลของปรากฏการณ์นี้ในการวัดหลายแบบ เช่น การให้คะแนน การประเมินคุณลักษณะ ความชื่นชอบ การอนุมานการตัดสินใจ ตลอดจนการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน การเลื่อนตำแหน่ง รวมถึงการให้รางวัล

 

 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่รักมักที่ชัง

 

ปัจจัยภายในบุคคล

 

บุคลิกภาพแมคคิเวลเลียน ผู้มีบุคลิกภาพแมคคิเวลเลียนสูงมีแนวโน้มสูงที่จะใช้พฤติกรรมแข่งขันเพื่อผลประโยชน์ของตนและของกลุ่ม เอาเปรียบผู้อื่นหรือกลุ่มอื่น พร้อมทำทุกวิถีทางเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตนโดยไม่คำนึงถึงความยุติธรรม อีกทั้งไม่สนับสนุนหรือรับคำแนะนำจากผู้ที่ตนมีอคติทางลบด้วย

 

บุคลิกภาพแบบหลงตนเอง ผู้มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงมักเห็นแก่ภาพลักษณ์ของกลุ่มตนเป็นหลัก เพราะภาพลักษณ์ของกลุ่มนั้นเกี่ยวโยงต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง จึงมักรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของกลุ่มไว้ โดยเอื้อผลประโยชน์ให้กลุ่มตนมากกว่า และมักมีอคติต่อกลุ่มอื่นๆ และรับรู้แรงคุกคามจากกลุ่มอื่นได้รวดเร็ว พร้อมที่จะตอบสนองกลับด้วยความก้าวร้าว

 

– บุคคลที่ได้รับการเห็นคุณค่าในตนเอง (self-esteem) และภาพลักษณ์แห่งตน (self-image) ทางบวก จากจากกลุ่มที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ บุคคลมีแรงจูงใจที่จะรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางบวกของกลุ่มตนเอง จึงนำไปสู่การเกิดอคติในการโปรดปรานกลุ่มตน

 

ปัจจัยด้านสังคม

 

การเรียนรู้พฤติกรรมจากตัวแบบ กล่าวคือ การได้พบเห็นพฤติกรรมจากสังคมและสื่อต่างๆ แล้วพบว่าผู้กระทำไม่ได้รับโทษ แต่ได้รับผลประโยชน์เป็นสิ่งสอบแทน เช่น การใช้เส้นสายฝากบุคคลเข้าเรียน เข้าทำงาน การเติบโตจากการเป็นที่โปรดปรานของผู้มีอำนาจ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้และมีแนวโน้มยอมรับพฤติกรรมดังกล่าวมากขึ้น

 

 

อ้างอิง

 

“ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแมคคิเวลเลียน บุคลิกภาพหลงตนเอง และการเลือกที่รักมักที่ชัง” โดย นิเซ็ง นิเงาะ ประกาศิต ถาวรศิริ และ พิเชฐพัชร ประทีปะวณิช (2564) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47864

ภาวะผู้นำร่วมจำเป็นอย่างไรในช่วงวิกฤติโควิด 19

 

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันเป็นวิกฤติทางสาธารณสุข เศรษฐกิจ และการทำงานทั่วโลกที่เกิดขึ้นอย่างคาดการณ์ได้ยาก แม้ว่าในช่วงก่อน หลาย ๆ บริษัทต่างเริ่มเปิดทำการและอนุญาตให้พนักงานกลับไปทำงานที่ออฟฟิศได้ แต่เมื่อมีการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้ที่ทำงานส่วนใหญ่ปรับกลับไปใช้นโยบายทำงานจากที่บ้านอย่างเต็มรูปโดยที่ไม่มีกำหนดแน่นอนว่าจะเริ่มกลับไปพบปะกันในที่ทำงานตามปกติได้เมื่อใด

 

การติดต่อประสานงานกันผ่านออนไลน์จึงเป็นช่องทางที่ช่วยให้องค์การหลายแห่งสามารถทำงานได้ตามปกติและยังคงรักษาความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือลูกค้าต่อไปได้

 

อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่ซับซ้อนเช่นนี้การแก้ไขปัญหาอาจต้องอาศัยการระดมสมอง การแบ่งปันความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนมุมมอง มากกว่าการรอคำสั่งหรือการตัดสินใจจากผู้บริหารเบื้องบน เพื่อให้สนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างทันถ่วงที

 

ภาวะผู้นำร่วม เป็นกระบวนการที่สมาชิกแต่ละคนต่างมีอิทธิพลต่อกันละกัน โดยอาจจะผลัดกันนำทีมเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน กระบวนการดังกล่าวสมาชิกในทีมอาจร่วมกันตัดสินใจและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ทำให้ยิ่งมีแรงจูงใจในการทำงานและร่วมกันรับผิดชอบผลลัพธ์ต่าง ๆ ร่วมกัน

เหตุผลที่ภาวะผู้นำร่วมเป็นกลยุทธ์ที่จะนำพาองค์การให้สามารถปรับตัวในวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นเพราะ ภาวะผู้นำร่วมส่งเสริมกระบวนการทำงานเป็นทีม 2 ด้าน ทั้งด้านกระบวนการคิด (เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และคุณภาพการสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงขององค์การต่าง ๆ) และ ด้านอารมณ์ (เช่น ความไว้วางใจระหว่างกัน ความกลมเกลียว และสุขภาวะที่ดีในการทำงาน)

 

ในลำดับแรก หากพูดถึงผลลัพธ์ที่ดีของภาวะผู้นำร่วมในแง่การเกิดกระบวนการคิดที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นฉับพลัน หลาย ๆ ธุรกิจต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นแบบออนไลน์เต็มรูป ส่งผลให้รูปแบบการสื่อสารและติดต่อประสานงานต่าง ๆ ต้องปรับตัวกันขนานใหญ่ การอาศัยการตัดสินใจจากผู้บริหารหรือหัวหน้าเป็นหลักเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถตอบสนองต่อปัญหา หรือสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที การแบ่งบันภาวะผู้นำให้ใคร ๆ ในทีมทำงานก็สามารถนำทิศทาง หรือมีส่วนในการริเริ่มแผนปฏิบัติการต่าง ๆ จะส่งผลให้มีคุณภาพการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ดี มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญ ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่นวัตกรรม แนวคิด และแนวปฏิบัติใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มากกว่าการทำงานงานแบบวิถีเดิมที่สมาชิกในกลุ่มทำงานเพียงแค่รอคำสั่งจากหัวหน้างานเท่านั้น

 

ส่วนผลลัพธ์ที่ดีในด้านอารมณ์นั้น การร่วมกันรับผิดชอบงานต่าง ๆ และการที่สมาชิกในทีมต่างมีความเชื่อมั่นว่าคนในทีมสามารถผลัดกันขึ้นมานำทีมตามทักษะ หรือความถนัดตามแต่ละสถานการณ์ ก็ยิ่งส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เกิดความไว้วางใจระหว่างบุคคลภายในทีม บรรยายกาศการทำงานทางบวกก็จะยิ่งส่งผลให้สมาชิกในทีมมีสุขภาวะทางจิตที่ดี มีพลังฟื้นคืนจากความเครียด หรือความล้มเหลวต่าง ๆ ทำให้สมาชิกในทีมพร้อมที่จะผูกใจมั่น ทุ่มเททำงานให้ดียิ่งขึ้น

 

ผลลัพธ์ทางบวกของภาวะผู้นำร่วมทั้งด้านกระบวนการคิดและอารมณ์ ต่างทำให้บรรยากาศในการทำงานน่าอยู่ รื่นรมย์ เป็นที่ทำงานที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเติบโตในด้านการทำงาน และการร่วมใจกันบรรลุเป้าหมายของทีมหรือองค์การร่วมกัน

 

จากสำรวจการทำงานของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานไทยในองค์การด้านการบริการ จำนวน 219 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ พบว่า พนักงานที่รับรู้ว่าทีมทำงานของตนมีภาวะผู้นำร่วม (เช่น มีการตัดสินใจร่วมกัน สนับสนุนช่วยเหลือกันภายในทีม ร่วมกันสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และรับผิดชอบต่อผลลัพธ์จากการทำงานร่วมกัน) จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกในทีม มีคุณภาพการสื่อสารระหว่างกันที่ดี และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในทีมทำงานที่ต้องทำงานในรูปแบบออนไลน์ ภาวะผู้นำร่วมยิ่งมีความสำคัญ

 

ในยุคที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารคงต้องปรับบทบาทเช่นกัน การนำแนวคิดภาวะผู้นำร่วมไปใช้ในองค์การนั้น ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายต่าง ๆ ยังมีบทบาทในการบริหาร ประสาน และคอยให้การสนับสนุนอยู่ตามปกติ เพียงแต่ปรับบทบาทจากเดิมที่อาจคอยสั่งงาน ตัดสินใจในทุก ๆ เรื่องส่วนใหญ่แทนพนักงาน ไปเป็นคนที่คอยสนับสนุนและส่งเสริมให้สมาชิกในทีมสามารถบริหารงานได้ด้วยตนเอง ร่วมกันรับผิดชอบผลลัพธ์ในการทำงานต่าง ๆ และริเริ่มแนวทางการทำงานใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับเป้าหมายองค์การที่นับวันจะยิ่งมีความซับซ้อนและต้องอาศัยการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

 

ภาวะผู้นำร่วมจึงกลายเป็นแนวปฏิบัติที่ดี สำหรับหลาย ๆ องค์การที่เน้นการสร้างนวัตกรรมและการปรับตัวให้ทันยุคสมัย

 

 

 

ภาพประกอบจาก : https://www.vectorstock.com

 


 

 

บทความวิชาการ

 

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพิมพา จรัลรัตนกุล

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

ความสะอาดของร่างกาย จริยธรรม และพฤติกรรมการช่วยเหลือ

 

ท่านผู้อ่านเคยนึกถึงหรือไม่ว่า ความสะอาดของร่างกายของเรานั้น ส่งผลต่อความนึกคิดด้านจริยธรรมในใจเราอย่างไร หากท่านเป็นแฟนตัวยงของวรรณกรรมเรื่อง โศกนาฎกรรมของแมคแบธ (The Tragedy of Macbeth) วรรณกรรมสุดคลาสสิกของ วิลเลียม เชคสเปียร์ (ค.ศ. 1606-1607) คำพูดของตัวละครเอก เลดี้แมคเบธ “Out, damned spot! Out” เป็นคำพูดที่พระนางเปล่งออกมาพร้อมกับล้างมืออย่างบ้าคลั่งหลังจากที่ได้โน้มน้าวให้สามีก่อการกบฏได้สำเร็จ สะท้อนความเชื่อที่ว่าเมื่อเกิดความรู้สึกผิดอย่างลึกซึ้ง บุคคลจะรับรู้ว่าร่างกายเกิดความสกปรก นำไปสู่การชำระล้าง เพื่อลดทอนความรู้สึกผิดบาปในจิตใจ

 

Chen-Bo Zhong ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กรและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยToronto ร่วมกับ Katie A. Liljenquist จากมหาวิทยาลัย Brigham Young University ได้ทำการทดลองทั้งหมด 4 ครั้งเพื่อทดสอบและได้ข้อสรุปว่า “ความรู้สึกผิดในใจมีความเชื่อมโยงเข้ากับการเรียกร้องหาความสะอาดของร่างกายได้” และได้ตั้งชื่อปรากฎการณ์นี้ว่า “ปรากฎการณ์แมคแบธ (Macbeth)” การค้นพบนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในบทความชื่อ “Washing Away Your Sins: Threatened Morality and Physical Cleansing” ปี ค.ศ. 2006 วารสาร “Science” ที่เป็นวารสารที่ทรงอิทธิพลสูงที่สุด 1 ใน 3 ของวงการวิทยาศาสตร์ บทความนี้ยังถูกอ้างอิงในบทความวิชาการอื่น ๆ เป็นจำนวน 1,318 ครั้ง (ข้อมูลจากฐาน Google Scholar ณ วันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2021)

 

การทดลองหนึ่งในนั้น ผู้วิจัยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองย้อนระลึกถึงความผิดที่ได้ทำลงไปแล้วในอดีตก่อนเล่นเกมเติมคำลงในช่องว่าง โดยคำที่ใช้จะสามารถเติมได้ทั้งคำที่มีความหมายสื่อถึงความสะอาด และความหมายอื่นๆ อย่างเช่น “W_ _ H” (WASH/WISH), “S H _ _ E R” (SHOWER/SHEKER) และ “S _ _ P”(SOAP/SLIP) ผลการทดลองพบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองที่ถูกขอให้ย้อนระลึกถึงความผิดในอดีต เติมคำด้วยคำศัพท์ที่สื่อความหมายด้านความสะอาดมากกว่าคำศัพท์ที่มีความหมายอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งสัดส่วนการเลือกคำตอบที่สื่อถึงความสะอาดในพวกเขายังมากกว่ากลุ่มควบคุมที่มิได้ถูกขอให้ย้อนระลึกถึงความผิดในอดีตด้วยเช่นกัน

 

ความสะอาดบริสุทธิ์เปรียบเสมือนดั่งจริยธรรมขั้นพื้นฐาน (Moral foundation) ที่เอาไว้ใช้แบ่งแยกความดีความชั่วของมนุษย์ (Haidt, 2012) เมื่อภาพลักษณ์แห่งศีลธรรมของตน (Moral self-image ยกตัวอย่างเช่นความคิดที่ว่า ฉันไม่ใช่คนโกหก) กับการรับรู้ตัวตนที่แท้จริง (Moral self-perception เช่น ฉันไม่น่าพูดโกหกไปเลย) เกิดช่องว่างทางจริยธรรมขึ้นระหว่างตัวตนทั้งสองแบบ จึงทำให้เกิดการเรียกร้องเพื่อกู้คืนตัวตนที่ยึดมั่นในหลักคุณธรรม (Moral integrity) นำไปสู่การเรียกร้องหาการชำระล้างนั่นเอง

 

พิธีศีลล้างบาปในศาสนาคริสต์ (Baptism) การล้างบาปแบบพุทธชินโต (Tsukubai) ในประเทศญี่ปุ่น การชำระล้างก่อนวันล้างบาปของศาสนายูดาห์ (Mikven) หรือแม้แต่การสรงน้ำทางศาสนาอิสลาม (Wudu) เหล่านี้ล้วนเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic) ของการชำระล้าง และความสะอาดบริสุทธิ์ (Purity) ยังเป็นสัญชาตญาณขั้นพื้นฐาน มาจากความต้องการที่จะปกป้องตนเองจากสิ่งอันตราย (Haidt & Joseph, 2007) และจะร้องเตือนหากมีการกระทำใดที่ขัดต่อจริยธรรม (Moral intuition) เกิดขึ้น

 

ถึงตรงนี้หากท่านผู้อ่านเกิดคำถามว่า การชำระล้างร่างกายนั้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใดทางจริยธรรมและพฤติกรรมหลังจากนั้นหรือไม่ Xu, Bègue และ Bushman (2014) ได้ประเมินความรู้สึกผิดของผู้เข้าร่วมการทดลองก่อนและหลังการล้างมือด้วยตนเอง หรือดูวิดีโอสาธิตวิธีการล้างมือ และพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีความรู้สึกผิดจากการระลึกถึงการกระทำที่ผิดในอดีต มีการประเมินความรู้สึกผิดที่ลดลง หลังการล้างมือด้วยตนเอง หรือดูวิดีโอสาธิตวิธีการล้างมือ หลังเสร็จสิ้นการทดลองนี้ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองถัดไปทันที โดยให้ผู้ช่วยวิจัยที่ไม่เปิดเผยตัวตน เข้ามาขอความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมการทดลองให้เข้าร่วมการวิจัยอีกหนึ่งชิ้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ผลปรากฏว่าผู้เข้าร่วมการทดลองที่ผ่านการล้างมือหรือดูวิดีโอสาธิตวิธีการล้างมือแล้วมีแนวโน้มที่จะไม่ช่วยเหลือบุคคลอื่นเมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วมการทดลองที่ไม่ได้ผ่านการชำระล้างดังกล่าว

 

เพราะฉะนั้นหากย้อนไปตอนต้นของบทความแล้วถาม Lady Macbeth ว่าหลังจากการล้างมือเสร็จแล้วความรู้สึกผิดที่อัดอั้นอยู่ภายในจิตใจของเธอได้ลดน้อยลงไปหรือไม่ จากการศึกษาค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์คงให้คำตอบได้แล้วว่าพฤติกรรมการล้างมือของเธอนั้นช่วยบรรเทาความรู้สึกผิดลงไปได้ไม่มากก็น้อย แต่ปรากฎการณ์นี้จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมไทยได้หรือไม่คงต้องหาคำตอบกันต่อไป เนื่องจากการศึกษาวิจัยและอิทธิพลของความเชื่อนั้นมาจากทางฝั่งประเทศตะวันตกเสียเป็นส่วนมาก

 

 

รายการอ้างอิง

 

Cui, Y., Errmann, A., Kim, J., Seo, Y., Xu, Y., & Zhao, F. (2020). Moral effects of physical cleansing and pro-environmental hotel choices. Journal of Travel Research, 59(6), 1105-1118. https://doi.org/10.1177/0047287519872821

 

Haidt, J., & Joseph, C. (2007). The moral mind: How five sets of innate intuitions guide the development of many culture-specific virtues, and perhaps even modules. The innate mind, 3, 367-391. http://dx.doi.org/10.1093/acprof:oso/9780195332834.003.0019

 

Haidt, J. (2012). The righteous mind: Why good people are divided by politics and religion. Vintage.

 

Xu, H., Bègue, L., & Bushman, B. (2014). Washing the guilt away: effects of personal versus vicarious cleansing on guilty feelings and prosocial behavior. Frontiers in human neuroscience, 8, 97. https://doi.org/10.3389/fnhum.2014.00097

 

Zhong, C. B., & Liljenquist, K. (2006). Washing away your sins: Threatened morality and physical cleansing. Science, 313(5792), 1451-1452. https://doi.org/10.1126/science.aaa2510

 

 


 

 

บทความโดย

 

คุณชญานิษย์ ตระกูลพิพัฒน์

นิสิตดุษฎีบัณฑิต แขนงการวิจัยจิตวิทยาประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

และ อาจารย์ ดร. จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์

อาจารย์ประจำแขนงการวิจัยจิตวิทยาประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทางลัดในความคิดกับการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน

 

ในชีวิตของเรามีเรื่องต้องตัดสินใจมากมาย ไม่ว่าเรื่องเล็ก ๆ เช่น การเลือกว่ากลางวันนี้จะทานอะไร หรือเวลาไปร้านขายของเราจะเลือกซื้อยาสีฟันยี่ห้อไหนดี ไปถึงเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อชีวิตในระยะยาว เช่น การเลือกคู่ครอง หรือการเลือกซื้อรถยนต์สักคัน

 

การตัดสินใจ คือ การเลือกระหว่างตัวเลือกต่าง ๆ ที่มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ประเด็นคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดของมนุษย์ คือ คนเราใช้เหตุผลมากน้อยแค่ไหนเมื่อเราต้องตัดสินใจระหว่างหลายตัวเลือก ?

 

“การคิดแบบมีเหตุผล” หมายถึง การเลือกตัวเลือกที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เลือก นักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์ได้กล่าวว่ามนุษย์เราจะใช้เหตุผลและหลักสถิติในการตัดสินใจ โดยเราจะประเมินคุณค่าของแต่ละทางเลือก และเลือกสิ่งที่ให้คุณค่ามากที่สุด โดยคนเราสามารถใช้มาตรวัดคุณค่าที่ต่างกัน เช่น การให้ความสำคัญต่อประโยชน์ทางการเงินในระยะยาว หรือคุณค่าด้านอื่น ๆ เช่น ความสุขหรือความพอใจ หรือการประหยัดเวลา

 

แต่นักจิตวิทยากล่าวว่ามนุษย์เราอาจไม่ได้คิดแบบมีเหตุมีผลเสมอไป เพราะวิธีการคิดของเราอาจถูกบิดเบือนโดยทางลัดในการคิด (cognitive heuristics) วิธีการคิดแบบนี้เป็นการประหยัดเวลาเมื่อเราจำเป็นต้องตัดสินใจภายในเวลาจำกัด หรือเมื่อเราต้องตัดสินเหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน วิธีคิดแบบทางลัดจะนำไปสู่การเลือกที่รวดเร็ว แต่สิ่งที่เราเลือกอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุดหรือเกิดประโยชน์สูงสุดเสมอไป

 

เรามาดู 4 ตัวอย่างของทางลัดในความคิดที่มีผลต่อการตัดสินใจของเรากันค่ะ

 

  1. Regret avoidanceเมื่อตัดสินใจไปแล้ว เรามักรู้สึกยึดติดกับสิ่งที่เราได้เลือกไป และเรามักกลัวการรู้สึกเสียดายถ้าเราเกิดเปลี่ยนใจ
    มีนักข่าวกลุ่มหนึ่งในสหรัฐฯ ได้สัมภาษณ์ผู้คนที่เพิ่งซื้อล๊อตเตอรี่ นักข่าวถามว่า “ดิฉันขอซื้อสลากของคุณได้ไหมคะ ดิฉันยินดีจ่ายสองเท่าเลยนะ” คนส่วนใหญ่ตอบกลับมาว่า “ไม่อยากขาย ถ้าสลากนี้เกิดถูกรางวัลขึ้นมาฉันคงรู้สึกเสียดายแย่เลย” ถ้ามีคนถามคุณแบบนี้ คุณควรตอบว่าอย่างไร ตัวเลือกที่มีเหตุผลที่สุดคือการขายสลากไปค่ะ เพราะคุณสุ่มเลือกซื้อสลากนี้มา ถ้าคุณยอมขายคุณจะมีเงินซื้อสลากเพิ่มอีกสองใบ ทำให้คุณมีโอกาสถูกรางวัลมากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่อยากขายเพราะกลัวเสียดายทีหลัง ในบางสถานการณ์คนเราจึงมักตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึกมากกว่าการใช้เหตุผลและข้อมูลทางสถิติ
  2. Availability heuristicถ้าเราสามารถนึกถึงตัวอย่างได้มากมาย เรามักจะตัดสินว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นบ่อยกว่า
    ถ้ามีคนถามว่า “คุณคิดว่าการเดินทางแบบไหนปลอดภัยกว่า ระหว่างการนั่งเครื่องบินหรือการขับรถ” คนส่วนใหญ่มักตอบว่า “ขับรถน่าจะปลอดภัยกว่า ดูสิมีข่าวเครื่องบินตกออกมาบ่อยนะช่วงนี้” แต่จริง ๆ แล้วตัวเลขสถิติได้ชี้ว่า การเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุทางรถยนต์นั้นเกิดขึ้นบ่อยกว่าการเสียชีวิตจากเครื่องบินตกอย่างมาก แต่เครื่องบินตกเป็นเหตุการณ์ที่น่าตกใจและมักจะปรากฏเป็นข่าวใหญ่ เราจึงอาจคิดว่าเหตุการณ์นี้มีความเสี่ยงมากกว่า แม้ว่าตามจริงแล้วอุบัติเหตุรถยนต์เกิดขึ้นบ่อยกว่ามาก จนเป็นเรื่องธรรมดาและไม่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากนัก เพราะฉะนั้นการนึกถึงตัวอย่างได้มากจึงไม่ได้หมายความว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้งเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวอย่างที่เราจำมาจากข่าวที่ถูกนำเสนอ
  3. Gambler’s fallacyถ้าผลลัพธ์หนึ่งไม่ได้เกิดขึ้นมาสักพักแล้ว นั่นหมายความว่าผลลัพธ์นั้นจะต้องเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้สิ
    สมมุติว่าคุณกำลังเล่นเกมโยนลูกเต๋า ในห้าตาที่ผ่านมาคุณได้แต่ตัวเล็กต่ำ เช่น 1, 1, 2, 1, 2 คุณอาจคิดว่า “ฉันได้แต่เลขต่ำ ๆ แสดงว่าฉันจะต้องได้เลขสูงเร็ว ๆ นี้แน่เลย” แต่ตามหลักคณิตศาสตร์คุณมีโอกาสได้เลข 1, 2, 3, 4, 5, 6 เท่ากันในทุก ๆ ครั้งที่โยนลูกเต๋า และความน่าจะเป็นนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะทุกครั้งที่โยนคือการสุ่มโยน มิใช่การเรียงลำดับของโอกาสแต่อย่างใด ทางลัดในการคิดทำนองนี้สามารถอธิบายความดึงดูดของการเล่นพนันได้ เพราะผู้เล่นการพนันมักคิดว่า “ฉันแพ้มาตั้งหลายตาแล้ว แสดงว่าตาต่อไปฉันจะต้องชนะแน่เลย” แม้แต่นักเรียนนักศึกษาก็อาจตกหลุมพรางในแนวคิดแบบนี้ นักเรียนอาจกำลังทำข้อสอบที่ต้องเลือกคำตอบ (ก, ข, ค, ง) และนึกเอาเองว่า “ข้อนี้ฉันไม่รู้คำตอบ ฉันไม่ได้เลือกตอบข้อ ก มาหลายข้อแล้ว งั้นฉันตอบข้อ ก ดีกว่า” หรือคนทั่วไปอาจมีความเชื่อว่า “ปีนี้มีแต่เรื่องโชคร้ายเกิดขึ้นกับฉัน แสดงว่าปีหน้าจะต้องมีเรื่องโชคดีเกิดขึ้นแน่เลย” โดยไม่ได้นึกว่าเหตุการณ์หรือตัวเลือกเหล่านั้นล้วนแต่ไม่สามารถคาดเดาได้ และผลลัพธ์ใด ๆ ก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นเท่าๆกัน แต่เรามักจะไม่ใช้เหตุผลเท่าที่ควรในเวลาที่เราตัดสินใจในสถานการณ์แบบนี้
  4. Framing biasวิธีการนำเสนอมีผลต่อการตัดสินใจอย่างมาก
    แม้ว่าตัวเลือกต่างก็มีผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์เท่ากัน สมมุติว่าคุณต้องตัดสินใจว่าจะรับการผ่าตัดหรือไม่ โดยมีหมอคนหนึ่งบอกคุณว่า “การผ่าตัดนี้ปลอดภัยค่ะ เพียงแต่มีโอกาส 5% ที่คุณอาจจะไม่รอดชีวิต คุณจะรับการผ่าตัดไหมคะ” คนส่วนใหญ่มักตอบว่า “ขอคิดดูก่อนดีกว่า ฉันไม่อยากเสี่ยงชีวิตเลย” ในทางกลับกันหากมีคุณหมออีกท่านบอกคุณว่า “การผ่าตัดนี้ปลอดภัยค่ะ 95% ของผู้รับการผ่าตัดนี้รอดชีวิตและฟื้นตัวดีค่ะ” คุณและคนส่วนใหญ่คงจะตอบว่า “ตกลงรับการผ่าตัด ดูเหมือนจะปลอดภัยดีนะ” สองสถานการณ์นี้มีผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์เท่ากัน เพราะโอกาสเสียชีวิต 5% นั้นเท่ากับโอกาสรอดชีวิต 95% สิ่งที่แตกต่าง คือ การนำเสนอที่เน้นข้อดีหรือข้อเสีย ถ้าคนเราใช้เหตุผลในการตัดสินใจ เราควรเลือกตอบเหมือนกันในทั้งสองสถานการณ์ เพราะมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่วิธีการนำเสนอหรือการใช้ถ้อยคำนั้นกลับมีผลอย่างมากต่อสิ่งที่เราเลือก

 

แต่กระนั้นก็ตาม ก็ขอบอกด้วยค่ะว่าการใช้ความรู้สึกหรือการคิดแบบทางลัดของเราไม่ได้ไร้เหตุผลเสมอไป ถ้าเรามีเวลาเพียงพอและมีข้อมูลมากพอ เราสามารถเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดหรือถูกต้องได้ หากแต่ในชีวิตจริงเรามักต้องตัดสินใจโดยมีเวลาและข้อมูลที่จำกัด จึงทำให้เรามีโอกาสตกหลุมพรางทางลัดในความคิดเหล่านี้ และนำไปสู่ตัวเลือกที่ไม่ได้นึกคิดโดยรอบคอบและไม่ถูกต้องที่สุดตามหลักสถิติ

 

ทั้งนี้ เราทุกคนล้วนมีความสามารถที่จะคิดแบบมีเหตุมีผลได้ เพียงแต่ต้องรู้เท่าทันด้วยว่าเมื่อเราต้องตัดสินเหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอนและในเวลาที่จำกัด เรามักใช้ทางลัดในการคิดเพื่อหาคำตอบที่รวดเร็วที่นึกได้ในขณะนั้น ๆ เท่านั้นเอง โดยมีกระบวนการทางจิตวิทยาที่ซับซ้อนเกี่ยวกับความรู้สึก การทึกทัก การจดจำ และประสบการณ์สั่งสม ที่ทำให้เรานึกคิดตัดสินใจไปอย่างนั้น และเราควรระวังที่จะไม่คิดแบบลัดในการตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญค่ะ

 

 

รายการอ้างอิง

 

https://www.businessinsider.com/powerball-tickets-winning-numbers-regret-avoidance-behavioral-economics-2017-8

 

Bell, D. E. (1982). Regret in decision making under uncertainty. Operations Research, 30(5), 961-981.

 

Tversky, A., & Kahneman, D. (1971). Belief in the law of small numbers. Psychological Bulletin, 76(2), 105.

 

Tversky, A., & Kahneman, D. (1973). Availability: A heuristic for judging frequency and probability. Cognitive Psychology, 5(2), 207-232.

 

Tversky, A., & Kahneman, D. (1981). The framing of decisions and the psychology of choice. Science, 211(4481), 453-458.

 

 


 

 

บทความวิชาการ

 

โดย อาจารย์สุภสิรี จันทวรินทร์

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาปริชาน
Faculty of Psychology, Chulalongkorn University