News & Events

กิจกรรม CU RESEARCH & GRANT ROADSHOW

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.บัญชา พูลโภคา ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านงานพัฒนาวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมงานกลุ่มยุทธศาสตร์การวิจัย ที่ได้มาจัดกิจกรรม CU RESEARCH & GRANT ROADSHOW ในวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2567 ณ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

โดยในงานนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์ทุนสนับสนุนกลุ่มยุทธศาสตร์การวิจัย เพื่อให้คณาจารย์และนักวิจัยของคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับทุนของยุทธศาสตร์วิจัยและการสนับสนุนต่าง ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยของคณาจารย์ และผลักดันงานวิจัยให้เกิดความก้าวหน้าในระดับนานาชาติ

ต้อนรับ H.E Angela Mcdonald เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย

 

วันที่ 19 ธันวาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ และ อาจารย์ ดร.พจ ธรรมพีร ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาตรีนานาชาติ (JIPP) ได้มีโอกาสต้อนรับ H.E Angela Mcdonald เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้า พบ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขยายความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในออสเตรเลีย

 

 

งานรับปริญญาของบัณฑิต JIPP 12 ณ หอประชุม The University of Queensland

 

วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบุญ จารุเกษมทวี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อาจารย์ ดร.พจ ธรรมพีร ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาตรีนานาชาติ (Joint International Psychology Program: JIPP) และอาจารย์ ดร.สุภสิรี จันทวรินทร์ ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาปริชาน เข้าร่วมงานรับปริญญาของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา ซึ่งเป็นหลักสูตรนานาชาติสองปริญญา (Joint Degree) รุ่นที่ 12 ณ หอประชุม The University of Queensland ณ เมือง Brisbane มลรัฐ Queensland ประเทศ Australia ในโอกาสนี้ Jotika Sudan บัณฑิตของ JIPP 12 ได้รับเกียรติเป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีรับปริญญาดังกล่าว

 

On December 16, 2024, Assistant Professor Dr. Nattasuda Taephant, Dean of the Faculty of Psychology; Assistant Professor Dr. Somboon Jarukasemthawee, Assistant Dean; Dr. Phot Dhammapeera, Director of the International Undergraduate Program (JIPP); and Dr. Suphasiree Chantavarin attended the graduation ceremony for graduates of the Joint International Program in Psychology (JIPP 12) at the University of Queensland’s auditorium in Brisbane, Queensland, Australia. During this occasion, Miss Jotika Sudan from JIPP 12 had the honor of serving as the valedictorian and delivering the commencement speech at the ceremony.

 

 

 

การพูดคุยหารือในสร้างความร่วมมือทั้งด้านวิชาการ การพัฒนาหลักสูตรร่วม การวิจัยและการพัฒนานิสิตระหว่างคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และ School of Psychology, The University of Queensland

 

วันที่ 13-14 ธันวาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบุญ จารุเกษมทวี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อาจารย์ ดร.พจ ธรรมพีร ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาตรี นานาชาติ (JIPP) และอาจารย์ ดร.สุภสิรี จันทวรินทร์ ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาปริชาน ได้พบปะและร่วมพูดคุยกับคณะผู้บริหารของ School of Psychology, The University of Queensland ณ เมือง Brisbane มลรัฐ Queensland ประเทศ Australia ในโอกาสนี้ได้มีการพูดคุยหารือในสร้างความร่วมมือทั้งด้านวิชาการ การพัฒนาหลักสูตรร่วม การวิจัยและการพัฒนานิสิตระหว่างทั้งสองสถาบัน

 

On December 13-14, 2024, Assistant Professor Dr. Nattasuda Taephant, Dean of the Faculty of Psychology, Assistant Professor Dr. Somboon Jarukasemthawee, Assistant Dean, Dr. Phot Dhammapeera, Director of the International Undergraduate Program (JIPP), and Dr. Suphasiree Chantavarin met with the administrative team of the School of Psychology at The University of Queensland in Brisbane, Queensland, Australia. During this occasion, discussions focused on fostering academic cooperation, developing joint curricula, engaging in collaborative research, and enhancing student development between the two institutions

 

 

 

 

Basic Psychological Needs – ความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจ

 

 

 

 

ความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงใน ทฤษฎีความมุ่งมั่นในตนเอง (Self-determination theory) โดยทฤษฎีนี้ได้นำเสนอว่า ผู้คนเป็นสิ่งมีชีวิตที่กระตือรือร้น มีความต้องการเติบโตและพัฒนาทางจิตใจ เป็นการค้นหาความท้าทาย ความแปลกใหม่ และโอกาสในการเรียนรู้ ดังนั้นจึงอธิบายถึงแนวโน้มการเติบโตโดยธรรมชาติของผู้คนและความต้องการทางจิตวิทยาโดยพื้นฐาน (Innate psychological needs) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับแรงจูงใจในตนเองและบุคลิกภาพของบุคคล อันได้แก่ ความต้องการด้านการมีอิสระในตนเอง (Autonomy) ความต้องการด้านความสามารถ (Competence) และความต้องการด้านความสัมพันธ์ (Relatedness) ซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตและการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพื่อพัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์และความเป็นอยู่ที่ดีส่วนบุคคล

 

 

ทฤษฎีความมุ่งมั่นในตนเอง ประกอบด้วย 3 แรงจูงใจ และ 6 การกำกับตนเอง ดังนี้

 

 

ไม่มีแรงจูงใจ
แรงจูงใจจากภายนอก
แรงจูงใจจากภายใน
ไม่มีการกำกับตนเอง
การกำกับจาก
ภายนอก
การกำกับด้วย
ความยินยอม
กำกับด้วยการ
ระบุตนเอง
การกำกับที่
สอดคล้อง
การกำกับตนเอง
จากภายใน
ไม่แสดงพฤติกรรมใดเพื่อ
ไปสู่เป้าหมายหรือหาก
มีการแสดงพฤติกรรม
ก็เป็นลักษณะกระทำ
โดยไม่มีเจตนา
แสดงพฤติกรรมที่คาด
ว่าจะได้รับรางวัลหรือ
หลีกเลี่ยงการลงโทษ
แสดงพฤติกรรมเพื่อ
หลีกเลี่ยงความรู้สึกผิด
หรือวิตกกังวล หรือ
เพื่อเพิ่มความภาคภูมิใจ
หรือคุณค่าในตนเอง
แรงกดดันจาก
ภายนอกทำให้แสดง
พฤติกรรมโดยเป้าหมาย
ที่มีประโยชน์ มากกว่า
สิ่งที่เป็น
ความต้องการ
แท้จริง
ค่านิยมและเป้าหมาย
ภายนอกสอดคล้องกับ
เป้าหมายภายใน ซึ่ง
กลายเป็นส่วนหนึ่ง

ของตัวตนและ
แรงบันดาลใจ
เป็นแรงจูงใจที่เกิดจาก
ความสนใจส่วนตัว
ความอยากรู้ หรือ
ความเพลิดเพลินใน
การทำงานตามเป้าหมาย

 

 

ทั้งนี้การกำกับตนเองนั้นเป็นไปเพื่อเติมเต็มหรือลดทอนความต้องการทางจิตวิทยาขั้นพื้นฐาน 3 ประการที่กล่าวข้างต้น

 

 

ทฤษฎีความมุ่งมั่นในตนเองมีการอธิบายทั้งหมด 6 ทฤษฎีย่อย ดังนี้

 

 

1. ทฤษฎีการประเมินการรู้คิด (Cognitive evaluation theory)

 

ทฤษฎีนี้ได้อธิบายถึงบริบททางสังคมที่ถือได้ว่าเป็นปัจจัยในการส่งเสริมหรือยับยั้งการเกิดแรงจูงใจภายในที่ทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรม โดยลักษณะของบริบททางสังคมที่มาส่งเสริมหรือยับยั้งการเกิดแรงจูงใจคือ บริบททางสังคมที่สนับสนุนการมีอิสระในการทำพฤติกรรมด้วยตนเอง และบริบททางสังคมที่ส่งเสริมการรับรู้ถึงความสามารถของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ บริบททางสังคมที่แสดงให้รับรู้ว่าสาเหตุที่ทำพฤติกรรมมาจากตนเอง ไม่ใช่เพราะสาเหตุจากภายนอก ก็สามารถส่งผลเพิ่มแรงจูงใจภายในได้

 

 

2. ทฤษฎีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต (Organismic integration theory)

 

ทฤษฎีนี้เน้นความสำคัญของแรงจูงใจภายนอก กล่าวคือ บุคคลเลือกทำหรือกำหนดพฤติกรรมด้วยตนเองเป็นผลมาจากแรงจูงใจภายนอก เช่น การทำกิจกรรมที่ไม่ตรงกับความสนใจของตน แต่ถ้าบุคคลได้รับแรงจูงใจภายนอก เช่น รางวัลหรือคำชม ผลที่ตามมาคือบุคคลนำแรงจูงใจภายนอกมายึดเป็นพฤติกรรมที่ตนเลือกทำกิจกรรมเอง

 

 

3. ทฤษฎีการหล่อหลอมพฤติกรรมจากสิ่งแวดล้อมและเหตุผลภายในตนเอง (Causality orientations theory)

 

ทฤษฎีนี้กล่าวถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพหรือลักษณะนิสัย ที่นำไปสู่การกำหนดแรงจูงใจและความมุ่งมั่นในตนเอง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ลักษณะของการมีอิสระในตนเอง (Autonomous orientation) เป็นบุคคลที่แสดงพฤติกรรมตามความชื่นชอบและสนใจของตนเอง โดยจะพบความสัมพันธ์ทางบวกกับบุคลิกภาพที่นำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี เช่น การเห็นคุณค่าในตนเอง ต่อมาคือลักษณะที่ถูกควบคุมโดยปฏิบัติตนตามความต้องการของบุคคลอื่น (Controlled orientation) บุคคลลักษณะนี้มักพบว่าเห็นคุณค่าในตนเองต่ำและพบอารมณ์ซึมเศร้าอีกด้วย และลักษณะสุดท้ายคือ ลักษณะของบุคคลที่ไม่มีตัวตน (Impersonal orientation) คือบุคคลที่รู้สึกถึงความไร้ความสามารถส่งผลให้บุคคลไม่มีแรงจูงใจ (Amotivation)

 

 

4. ทฤษฎีความต้องการพื้นฐาน (Basic needs theory)

 

ทฤษฎีนี้กำหนดว่าบุคคลมีความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบดังนี้

 

(1) ความต้องการมีอิสระในตนเอง (Autonomy) หมายถึง ความต้องการมีอิสระในการกำหนดชีวิตของตนเอง มีอำนาจในการตัดสินใจทำสิ่งใดด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในการกระทำของตน อีกทั้งความต้องการเป็นอิสระมาจากการที่บุคคลต้องการทำพฤติกรรมหรือตัดสินใจตามสิ่งที่ตนเองชื่นชอบและสนใจ ถึงแม้ว่าเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกที่ทำให้ทำพฤติกรรม แต่บุคคลก็มีความสนใจที่มาจากภายในของตนเองด้วย

 

(2) ความต้องการด้านสามารถ (Competence) หมายถึง ความสามารถในการจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวของตน โดยความต้องการด้านความสามารถนำบุคคลไปแสวงหาความท้าทายในชีวิต และความท้าทายมักอยู่ในขอบเขตตามความสามารถที่แต่ละบุคคลพึงมี นอกจากนี้ การเติมเต็มความต้องการด้านความสามารถยังส่งผลให้บุคคลรู้สึกมีความมั่นใจในการกระทำหรือพฤติกรรมของตนอีกด้วย

 

(3) ความต้องการด้านความสัมพันธ์ (Relatedness) หมายถึง ความสัมพันธ์อันดีต่อบุคคลอื่น โดยเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง เป็นที่ยอมรับ และมีความผูกพันต่อบุคคลอื่นในสังคม

 

เมื่อความต้องการด้านจิตใจได้รับการสนับสนุน หรือเมื่อความต้องการทั้ง 3 ด้านได้รับการเติมเต็ม บุคคลจะรู้สึกว่าตนมีแรงจูงใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยตนเอง และสามารถทำให้บุคคลมีอารมณ์เชิงบวกและมีสุขภาวะทางจิต (Psychological well-being) ที่ดีด้วย

 

Autonomy
Competence
Relatedness
ปัจจัยสนับสนุน
  • การรับรู้ถึงทางเลือก
  • คำอธิบายที่มีเหตุผล
  • การได้รับรู้ความรู้สึก
  • ความท้าทายในระดับที่เหมาะสม
  • ผลตอบรับทางบวก
  • การได้รับการปฏิบัติที่ดีจากคนรอบข้าง
  • การได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
  • ความปลอดภัย
ปัจจัยลดทอน
  • การกำหนดเวลา การคุกคาม
  • เป้าหมายที่ไม่ได้เลือกเอง
  • รางวัล/การลงโทษ
  • การควบคุม
  • ความท้าทายที่เกินระดับความสามารถ
  • ผลตอบรับทางลบ
  • การแก่งแย่งแข่งขัน
  • การจับผิดติเตียน
  • การแบ่งพรรคแบ่งพวก

 

 

 

5. ทฤษฎีการตั้งเป้าหมาย (Goal content theory)

 

ทฤษฎีนี้เสนอว่าเป้าหมายจากภายนอก (Extrinsic goals) เช่น ความมั่งคั่งทางการเงิน ภาพลักษณ์ และชื่อเสียง จะตอบสนองความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจ 3 ประการ ได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับเป้าหมายภายใน (Intrinsic goals) เช่น การเติบโตจากภายใน การมีส่วน ร่วมกับสังคม และความใกล้ชิดทางอารมณ์ นอกจากนี้ การมีเป้าหมายจากภายนอกนำไปสู่สุขภาวะที่แย่ลงและการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ในขณะที่เป้าหมายภายในนำไปสู่สุขภาวะที่ดีเนื่องจากเป็นการตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจ 3 ประการ

 

 

6. ทฤษฎีแรงจูงใจในความสัมพันธ์ (Relationship motivation theory)

 

ทฤษฎีนี้เสนอว่าความพึงพอในใจความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับ การได้รับความเคารพและการดูแล นอกจากนี้ความรู้สึกปลอดภัยที่มาจากความผูกพัน (Attachment) กับผู้เลี้ยงดูจะส่งเสริมการมีอิสระ (Autonomy) อย่างไรก็ตามลักษณะการเลี้ยงดูบางรูปแบบอาจขัดขวางการมีแรงจูงใจและสุขภาวะทางอารมณ์ได้เช่นกัน

 

 

 


 

 

อ้างอิง

 

ณฐวรรณ อรรณพไกรสร. (2563). อิทธิพลของการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงวัย โดยมีความต้องการพื้นฐาน ด้านจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างเป็นตัวแปรกำกับ [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯ. http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.678

 

จุฑามาศ มงคลอำนาจ. (2565). ความสัมพันธ์ของการกำหนดตนเอง การคลั่งไคล้ศิลปิน และ การฟื้นคืนพลัง ในผู้ใหญ่วัยเริ่มที่เข้าร่วมกลุ่มชื่นชอบศิลปิน [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯ. http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.541

 

Cook, D. A., & Artino, A. R., Jr (2016). Motivation to learn: an overview of contemporary theories. Medical education, 50(10), 997–1014. https://doi.org/10.1111/medu.13074

การหารือในสร้างความร่วมมือทั้งด้านวิชาการและการวิจัยกับ School of Psychology, Queensland University of Technology

 

เมื่อวันที่ 11-12 ธันวาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบุญ จารุเกษมทวี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ได้พบปะและร่วมพูดคุยกับคณะผู้บริหารของ School of Psychology, Queensland University of Technology ณ เมือง Brisbane มลรัฐ Queensland ประเทศ Australia ในโอกาสนี้ได้มีการพูดคุยหารือในสร้างความร่วมมือทั้งด้านวิชาการ การพัฒนาหลักสูตรร่วมและการวิจัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนา Memorandum of understanding ระหว่างทั้งสองสถาบัน

 

On December 11-12, 2024, Assistant Professor Dr. Nattasuda Taephant, Dean of the Faculty of Psychology, and Assistant Professor Dr. Somboon Jarukasemthawee, Assistant Dean, engaged in discussions with the administrative team of the School of Psychology at Queensland University of Technology in Brisbane, Queensland, Australia. During this event, they explored opportunities for fostering academic cooperation, developing joint curricula, and conducting collaborative research, with the objective of establishing a Memorandum of Understanding between the two institutions.

 

 

คณะผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เยือนคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประชุมหารือเรื่องความร่วมมือทางวิชาการ

 

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 คณะผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย รศ. ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ผศ. ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา และ รศ. ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบบันเอเชียศึกษา ได้เดินทางไปเยือนคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประชุมหารือเรื่องความร่วมมือทางวิชาการ ณ ห้องประชุม HB7211 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ผศ. ดร.ระวี จันทร์ส่อง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์เป็นตัวแทนให้การต้อนรับ

 

 

 

 

 

และภาพจาก FB page Faculty of Humanities, Chiang Mai University

 

 

How does deprivation and privilege affect cognitive ability?

 

Cognition is our ability to processes information. It includes how we perceive the world, how we remember facts and events, how we solve problems, and how we think. It has a profound influence on our consciousness and how we interact with the world. People vary in their cognitive abilities substantially, and this is important because it hugely influences our lives. People with relatively better cognitive ability have many positive outcomes in life, compared to people with lower cognitive ability (Brown et al., 2021). Higher general cognitive ability also protects us against brain-related decline and illness as we age (Stern, 2009) and even against development of post-traumatic stress disorder if we experience something nasty (DiGangi et al., 2013).

 

So, what determines a person’s cognitive ability? It is true that our cognitive functions are somewhat determined by our genes. But the environment that we live in, and particularly that we grew up in, has a huge impact too. Deprivation and privilege are consequently the most important factors that determine our cognitive ability.

 

If we examine cognitive test scores from groups of people of high socioeconomic privilege (i.e. rich people), we will usually find that they are much higher than scores from groups of people of low socioeconomic privilege (i.e., poor people). It is tempting to think that this indicates people fitting into their appropriate station in life, the less cognitively-able take on low-paid manual jobs, and the more cognitively-able become higher-paid managers and leaders. That would neatly explain why richer people have better cognitive ability than poorer people.

 

However, such a cross-sectional snapshot is just the wrong way to look at the relationship between cognition and society. The reality is that people within societies develop, day by day, across their entire lives, with every event influencing their neurocognitive systems. This is because the brain is a living, learning tissue. Influences on how it will develop began right at the beginning of life and continue until the end of life.

 

A baby raised in poverty will have innumerable setbacks, compared to a baby raised in wealth, which just continue to accumulate through infancy into childhood, and into adulthood, and old age. These include things such as limited access to healthcare and education, exposure to pollution, availability of nutritious food etc. Of course, this won’t guarantee that a baby born and raised in deprivation cannot achieve many things. One fine example is Mario Capecchi, who at age four was a homeless street child, but later became a scientist, and by age 70 had been awarded a Nobel Prize for Physiology or Medicine (Capecchi, 2008).But nevertheless, for many children, the life opportunities dwindle as the setbacks to their cognitive development mount up. The reality is that virtually all Nobel Prize winners come from privileged economic backgrounds (Novosad et al., 2024), and being a homeless street child is usually associated with development of below-average cognitive ability (Pluck et al., 2018). So, Mario Capecchi is very much an outlier.

 

It is notable that education was a core feature of his post-homeless life. Indeed, an extremely important factor in cognitive development is education. This has a very strong impact on cognition, as each year spent in formal education improves one’s cognitive ability (Ritchie & Tucker-Drob, 2018). On the one hand, education has a very potent role in enhancing cognitive ability for all, rich or poor. On the other hand, it also magnifies the difference between rich and poor.

 


It is a well-replicated observation that children from richer homes, compared to children in poorer homes, will be more exposed to written materials, such as books (Park, 2008). This gives children in richer homes an advantage in their first days in school. These little advantages continue as they are able to read more advanced texts, get selected for higher educational streams, accepted into better schools, colleges etc. The underprivileged child, on the other hand, is caught in a ‘negative causal spiral’ (Mol & Bus, 2011), as the older they become, the further and further they fall behind their richer peers in terms of literacy and general learning. And book availability is just one piece of this. Of course, a myriad of other factors is adding to the accumulating setbacks that the poorer child faces, compared to the richer child.

 

If we take another example of disadvantage, children raised in foster care homes will generally experience both socioeconomic and psychosocial deprivation. This necessarily leaves them with lower social support available, and tends to prevent the development of positive emotion regulation skills (Trueba & Pluck, 2021). Without those psychological safety-nets they are at greater risk of psychopathology and maladaptive behavior, such as repeated suicide and self-harm attempts (Pluck et al., 2013). As adolescents leave foster care they are at risk of instability in many areas of their lives, including access to continuing education, housing and employment (Rome & Raskin, 2019). As with other groups who experience disadvantage, such as youths experiencing homelessness, and people who grew up in poverty, their cognitive ability is lower than their more privileged peers (Fry et al., 2017).

 

 

Foster care is not a specific risk for homelessness, other youths who experience deprivation are also more likely to experience homelessness as adults (Koegal, et al, 1995). Again, educational access is important. In both developed and developing countries, studies have shown that education level is substantially lower in adults experiencing homelessness than in the general population, with frequent drop outs from the education system (Pluck et al., 2020). This impacts most strongly on the development of crystalized cognitive ability, that is, things like general knowledge and language skill. Consequently, homeless adolescents, such as street-connected youths, tend to have poor literacy and language ability (Pluck, 2021), as do adults experiencing homelessness (Pluck et al., 2020).

 

Thus, language skill development is the cognitive factor most negatively impacted by deprivation (Pluck et al., 2021), or perhaps if we look at it the other way around, enhanced by privilege. We know that this is a quite specific effect of deprivation. One reason is that psychopathology, also linked to deprivation, tends to have the opposite effect, in that fluid, top-down cognitive control is impaired (McTeague et al., 2016). However, crystalized language skill is preserved in psychopathology, even in the presence of dementia (Pluck & Ruales-Chieruzzi, 2021). So, the lower language skill linked to deprivation is not caused by psychiatric or neurological illness.

 

For this reason, adolescents and adults with difficult life trajectories, involving school failure, delinquency etc., tend to have normal fluid cognitive abilities, but substantially lower than normal ability in crystalized and verbal cognitive skills (Isen, 2010).
Clearly, education has a potent role in accumulating cognitive disadvantage and advantage in different people. At the extreme end, children who fail at school are likely to be from poorer backgrounds, and that risk of drop out accumulates because of reoccurring setbacks within the education system (Tieben & Wolbers, 2010). School failure puts adolescents at risk of economic hardship as they move into adulthood.

 

But this also, holds out opportunity. Crystalized cognitive ability, the type mainly impacted by disadvantage, is inherently improvable and educable. At any stage in life, learning new things, whether through hobbies, self-study, or formal education, will improve one’s cognitive skill. This can negate past delays in cognitive development brought on by the slings and arrows of socioeconomic and psychosocial disadvantage.

 

 


 

References

Brown, M. I., Wai, J., & Chabris, C. F. (2021). Can you ever be too smart for your own good? Comparing linear and nonlinear effects of cognitive ability on life outcomes. Perspectives on Psychological Science, 16(6), 1337-1359. https://doi.org/10.1177/1745691620964122

 

Capecchi, M. R. (2008). The making of a scientist II (Nobel Lecture). Chembiochem, 9(10), 1530-1543. https://doi.org/10.1002/cbic.200800239

 

DiGangi, J. A., Gomez, D., Mendoza, L., Jason, L. A., Keys, C. B., & Koenen, K. C. (2013). Pretrauma risk factors for posttraumatic stress disorder: A systematic review of the literature. Clinical psychology Review, 33(6), 728-744. https://doi.org/10.1016/j.cpr.2013.05.002

 

Fry, C. E., Langley, K., & Shelton, K. H. (2017). A systematic review of cognitive functioning among young people who have experienced homelessness, foster care, or poverty. Child Neuropsychology, 23(8), 907-934. https://doi.org/10.1080/09297049.2016.1207758

 

Isen, J. (2010). A meta-analytic assessment of Wechsler’s P> V sign in antisocial populations. Clinical Psychology Review, 30(4), 423-435. https://doi.org/10.1016/j.cpr.2010.02.003

 

Koegel, P., Melamid, E., & Burnam, M. A. (1995). Childhood risk factors for homelessness among homeless adults. American Journal of Public Health, 85(12), 1642-1649. https://doi.org/10.2105/AJPH.85.12.1642

 

McTeague, L. M., Goodkind, M. S., & Etkin, A. (2016). Transdiagnostic impairment of cognitive control in mental illness. Journal of Psychiatric Research, 83, 37-46. https://doi.org/10.1016/j.jpsychires.2016.08.001

 

Mol, S. E., & Bus, A. G. (2011). To read or not to read: a meta-analysis of print exposure from infancy to early adulthood. Psychological Bulletin, 137(2), 267-296. https://doi.org/10.1037/a0021890

 

Novosad, P., Asher, S., Farquharson, C., & Iljazi, E. (2024). Access to opportunity in the sciences: Evidence from the Nobel Laureates. Unpublished working paper. https://paulnovosad.com/pdf/nobel-prizes.pdf

 

Park, H. (2008). Home literacy environments and children’s reading performance: A comparative study of 25 countries. Educational Research and Evaluation, 14(6), 489-505. https://doi.org/10.1080/13803610802576734

 

Pluck, G. (2021). Theory of mind ability and socioeconomic status, a study of street-connected children and adolescents in Ecuador. Psych, 3(2), 72-84. https://doi.org/10.3390/psych3020008

 

Pluck, G., Córdova, M. A., Bock, C., Chalen, I. & Trueba, A. F. (2021). Socioeconomic status, executive functions, and theory of mind ability in adolescents: Relationships with language ability and cortisol. British Journal of Developmental Psychology, 39(1), 19-38. https://doi.org/10.1111/bjdp.12354

 

Pluck, G. (2024). Executive function and adult homelessness, true impairment or frontal lobology? Frontiers in Human Neuroscience,18, 1359027. https://doi.org/10.3389/fnhum.2024.1359027

 

Pluck, G., Anderson, M., Armstrong, S., Armstrong, M., & Nadkarni, A. (2013). Repeat self-harm among children and adolescents referred to a specialist service. Journal of Child & Adolescent Trauma, 6(1), 57-73. https://doi.org/10.1080/19361521.2013.743949

 

Pluck, G., Banda-Cruz, D. R., Andrade-Guimaraes, M. V., & Trueba, A. F. (2018). Socioeconomic deprivation and the development of neuropsychological functions: A study with “street children” in Ecuador. Child Neuropsychology, 24(4), 510-523. https://doi.org/10.1080/09297049.2017.1294150

 

Pluck, G., Barajas, B. M., Hernandez-Rodriguez, J. L., & Martínez, M. A. (2020). Language ability and adult homelessness. International Journal of Language & Communication Disorders, 55(3), 332-344. https://doi.org/10.1111/1460-6984.12521

 

Pluck, G. & Ruales-Chieruzzi, C. B. (2021). Estimation of premorbid intelligence and executive cognitive functions with lexical reading tasks. Psychology & Neuroscience, 14(3), 358–377. https://doi.org/10.1037/pne0000264

 

Ritchie, S. J., & Tucker-Drob, E. M. (2018). How much does education improve intelligence? A meta-analysis. Psychological Science, 29(8), 1358-1369. https://doi.org/10.1177/0956797618774253

 

Rome, S. H., & Raskin, M. (2019). Transitioning out of foster care: The first 12 months. Youth & Society, 51(4), 529-547. https://doi.org/10.1177/0044118X17694968

 

Stern, Y. (2009). Cognitive reserve. Neuropsychologia, 47, 2015-2028. https://doi.org/10.1016/j.neuropsychologia.2009.03.004

 

Tieben, N., & Wolbers, M. (2010). Success and failure in secondary education: socio‐economic background effects on secondary school outcome in the Netherlands, 1927–1998. British Journal of Sociology of Education, 31(3), 277-290. https://doi.org/10.1080/01425691003700516

 

Trueba, A. F. & Pluck, G. (2021). Social support is related to the use of adaptive emotional regulation strategies in Ecuadorian adolescents in foster care. Psych, 3(2), 39-47. https://doi.org/10.3390/psych3020005

 

 


 

 

Author

Graham Pluck

Lecturer in Cognitive Psychology and JIPP Program

 

พิธีอธิการปติประทานการ 2567

 

วันที่ 3 ธันวาคม 2567 ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา พร้อมด้วยผู้บริหารคณะจิตวิทยา เข้าร่วมแสดงความยินดีในพิธีอธิการปติประทานการ เนื่องในโอกาสที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร เป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนใหม่ สืบแทน ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2567

 

Learn more https://www.chula.ac.th/news/205101/

 

 

Workshop นวัตกรรมทางสังคม “จิตวิทยากับนวัตกรรมทางสังคม : สร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน”

 

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา หลักสูตรปริญญาตรี คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัด Workshop นวัตกรรมทางสังคม “จิตวิทยากับนวัตกรรมทางสังคม : สร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” ให้นิสิตคณะจิตวิทยา โดยมีคุณฑิฟฟาณี เชน Policy Experimentation Expert จาก Thailand Policy Lab, UNDP Thailand ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร