โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ
“จิตวิทยาการบริหารจัดการความหลากหลายในองค์กร สำหรับผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรบุคคล”
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “จิตวิทยาการบริหารจัดการความหลากหลายในองค์กร สำหรับผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรบุคคล” ในวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย อาจารย์ ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร
ในปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งความหลากหลายและเท่าเทียมอย่างแท้จริง ถึงแม้บางเรื่องจะยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แต่เห็นได้ว่าชุดความคิดของคนในสมัยนี้เริ่มถูกพัฒนาไปในทางที่ดีมากขึ้น ความชัดเจนเรื่องการมองทุกคนเท่ากัน เคารพเรื่องความแตกต่างที่หลากหลาย โดยไม่มีเรื่องของเพศ วัย สัญชาติหรืออะไรอื่น ๆ มาล้อมกรอบ ทุกคนเป็นคนเหมือนกันในฐานะเป็นคนของประชาคมโลก เมื่อการขับเคลื่อนของสังคมกำลังดำเนินไปในทิศทางดังกล่าว ในฐานะ HR จำเป็นต้องปรับความคิดและการบริหารให้เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในองค์กรเองซึ่งเป็นแหล่งรวมความหลากหลายแห่งใหญ่ การบริหารจัดการความหลากหลายในองค์กร (Diversity Management) จึงจำเป็นต้องทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากเลือกที่จะละเลย ท้ายสุดแล้วจากเรื่องเล็ก ๆ อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขนาดใหญ่ภายในได้ เป็นหนึ่งในความท้าทายและเป็นโอกาสในการพัฒนาองค์กรนั่นเอง
การบริการและจัดการความหลากหลายในองค์กรเป็นแนวทางที่สำคัญที่ช่วยสร้างสรรค์สังคมที่มีความทุ่มเททั้งในด้านกายภาพและจิตใจของพนักงาน การจัดการความหลากหลายให้ได้ผลเต็มประสิทธิภาพต้องเป็นกระบวนการที่ผ่านการวางแผนและปฏิบัติที่รอบคอบ นอกจากนี้ยังต้องมีการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรที่ยืดหยุ่นและรับรู้ความหลากหลายอย่างเต็มที่
โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “จิตวิทยาการบริการจัดการความหลากหลายในองค์กร สำหรับผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรบุคคล (Diversity Management in Organizations for Human Resources)” จึงเป็นโครงการสำหรับผู้สำหรับผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรบุคคลที่ต้องเข้าใจในพื้นฐานของการบริการจัดการความหลากหลายในองค์กร โดยมุ่งเน้นการศึกษาไปยังแนวทางการบริการและจัดการความหลากหลายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทำงานที่เต็มไปด้วยความคุ้มค่าและความหลากหลายที่เป็นประโยชน์ทั้งสำหรับองค์กรและพนักงาน
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการจากคณะจิตวิทยา
วิธีการฝึกอบรม
- การบรรยายและฝึกปฏิบัติ ระยะเวลา 6 ชั่วโมง เวลา 9.00 – 16.00 น.
วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567
สถานที่ฝึกอบรม
- ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การอบรมมีอัตราค่าลงทะเบียน ท่านละ 5,500 บาท
ราคานี้รวมค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการอบรม และวุฒิบัตร
เงื่อนไขการลงทะเบียน
- กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
- การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
- เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วันทำการ
- บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
- ใบเสร็จรับเงินจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์
- เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี โทร. 02-218-1307 E-mail: wathinee.s@chula.ac.th