ข่าวและกิจกรรม

คนที่รัก? พรรคที่ใช่? นโยบาย? วิธีการลงคะแนนเสียงในมุมมองจิตวิทยาสังคม

 

หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศวันเลือกตั้ง นักการเมืองไทยก็มุ่งหน้าหาเสียงกันอย่างเต็มที่ ซึ่งในสถานการณ์นี้มีกระบวนการทางจิตวิทยาสังคมที่เกี่ยวข้องมากมาย ในวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องจิตวิทยาสังคมกับการลงคะแนนเสียงผ่านการถ่ายทอดสด (ดูย้อนหลังได้ ที่นี่) โดยได้พูดถึงกระบวนการทางจิตวิทยาสังคมที่เกี่ยวข้อง 2 กระบวนการ ได้แก่ การรับรู้บุคลิกภาพด้านความอบอุ่นและความสามารถของนักการเมือง (อ่านได้ ที่นี่) และการพิจารณาสารโน้มน้าว เนื่องจากเวลาจำกัด ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อการพิจารณาสารโน้มน้าว โดยหวังว่าผู้อ่านจะได้รับข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อการลงคะแนนเสียงในครั้งนี้และการพิจารณาสารโน้มน้าวอื่น ๆ ต่อไป

 

 

การโน้มน้าว หรือ Persuasion


 

คือการที่ผู้ส่งสารพยายามใช้สารเพื่อเปลี่ยนความคิด ความรู้สึกของผู้รับสาร (APA, ไม่ระบุปีที่พิมพ์) ดังนั้นการโน้มน้าวในบริบทนี้ก็คือการที่นักการเมืองสื่อสารเพื่อให้ประชาชนมีความคิด ความรู้สึกทางบวกต่อพวกเขา เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนลงคะแนนเสียงให้นั่นเอง Elaboration Likelihood Model (Petty & Cacioppo, 1986) โมเดลหลักเกี่ยวกับการโน้มน้าวโมเดลหนึ่งได้เสนอว่า คนเรามีวิธีพิจารณาสารโน้มน้าว 2 วิธี ได้แก่ ทางสายแกน (central route) และทางสายเปลือก (peripheral route) สมมติว่าคนสองคนดูไลฟ์หาเสียงของนักการเมืองคนเดียวกันที่ทั้งสองคนไม่รู้จักมาก่อน คนสื่อสารคนเดียวกัน ตัวสารเหมือนกัน แต่คนรับสารต่างกัน คนแรก เอ เป็นคนที่ไม่อินกับการเมืองและไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเมืองมาก คนที่สอง บี เป็นคนที่อินกับการเมืองและมีความรู้เกี่ยวกับการเมืองเยอะ ปรากฎว่าเอสนใจตัวผู้สมัครหรือคนสื่อสารว่ามาจากพรรคไหน นามสกุลอะไร หน้าตาเป็นยังไง แต่งตัวยังไง ไลฟ์ยาวแค่ไหน แต่บีที่อินและมีความรู้เกี่ยวกับการเมืองฟังสิ่งที่นักการเมืองคนนี้กำลังพูดว่ากำลังนำเสนอนโยบายด้านไหน ข้อดีข้อเสียของนโยบายนี้คืออะไร พรรคอื่นมีนโยบายนี้หรือไม่ ในตัวอย่างนี้เอกำลังใช้ทางสายเปลือก เพราะกำลังสนใจสิ่งที่ไม่ใช่สาระสำคัญของการโน้มน้าว ส่วนบีกำลังใช้ทางสายแกน เพราะกำลังสนใจสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของการโน้มน้าว

 

โมเดลนี้บอกว่าคนเราใช้ทั้งทางสายแกนและทางสายเปลือก ในการพิจารณาสารโน้มน้าวครั้งนี้เอใช้ทางสายเปลือก แต่ไม่ได้หมายความว่าเอจะใช้ทางสายเปลือกตลอดไป และก็ไม่ได้หมายความว่าบีจะใช้ทางสายแกนสม่ำเสมอในทุกๆเรื่อง แรงจูงใจและความพร้อมในตอนนั้นมีผลต่อการที่เราจะเลือกพิจารณาสารโน้มน้าวผ่านทางสายแกนหรือทางสายเปลือก ปัจจัยที่ทำให้แรงจูงใจสูงคือความชอบคิดโดยทั่วไป ความรู้ในเรื่องนั้น และความสำคัญของการตัดสินใจครั้งนั้น หากเราเป็นคนชอบใช้ความคิด มีข้อมูลในเรื่องนั้นมาก ในบริบทนี้คือการมีความรู้เกี่ยวกับการเมืองมาก และเรามองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้สำคัญมากๆ แนวโน้มที่จะใช้ทางสายแกนก็สูง นอกจากแรงจูงใจแล้ว ความพร้อมทั้งด้านกายภาพและเวลาในขณะนั้นก็มีผล ถ้าเราไม่เหนื่อยไม่ง่วง มีเวลาเพียงพอในการพิจารณาสาร ไม่มีสิ่งรบกวน เราก็จะมีความพร้อมในการพิจารณาสารโน้มน้าวสูง แนวโน้มที่จะใช้ทางสายแกนก็สูง (Petty & Hinsenkamp, 2017) ผู้เขียนอยากชี้ให้เห็นว่าการที่เราตระหนักว่าตอนนี้เรามีแรงจูงใจและความพร้อมระดับไหนมีความสำคัญ เพราะทำให้เรามีภูมิคุ้มกันต่อการโน้มน้าว เช่น ถ้าเรารู้ว่าเราเป็นคนไม่ชอบคิดแต่เราสนใจการเมืองตอนนี้มาก เราเชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้สำคัญ เราอยากใช้ทางสายแกน เราก็ต้องหมั่นเตือนตัวเองบ่อยๆว่าให้ดูที่เนื้อหาเป็นสำคัญ อย่าให้ความสำคัญที่ผู้พูด ถ้าปกติเราเป็นคนชอบคิด แต่เราไม่ได้มีความรู้เรื่องการเมืองมาก แต่มีคนมาให้ใบปลิวของผู้สมัครคนหนึ่งตอนเย็นเลิกงานซึ่งเราเหนื่อยแล้ว แต่เราอยากใช้ทางสายแกน เราก็ยังไม่ต้องอ่าน เพราะตอนนี้สมองเราอ่อนล้า ยังไม่พร้อมที่จะพิจารณาตัวสารจริงจัง

 

 

แล้วควรใช้ทางสายแกนหรือทางสายเปลือกในการพิจารณาผู้สมัครรับเลือกตั้ง?


 

หัวใจสำคัญของจิตวิทยาคือการเข้าใจและยอมรับความหลากหลาย ผู้เขียนขอนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมของวิธีพิจารณาสารทั้งสองประเภท และวิเคราะห์ผลที่น่าจะเกิดขึ้นจากการเลือกพิจารณาสารทั้งสองประเภทในบริบทนี้ เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาและตัดสินใจว่าจะพิจารณาสารโดยวิธีไหน

 

ในด้านกระบวนการ การพิจารณาสารโน้มน้าวผ่านทางสายแกนเหมือนกับการคิดวิเคราะห์ การตกผลึก เพราะใช้เวลาและทรัพยากรทางความคิดมากกว่าการพิจารณาสารโน้มน้าวผ่านทางสายเปลือก ซึ่งหลังจากการใช้ความคิดเยอะ ๆ จะทำให้เราเกิดความเหนื่อยล้าซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการใช้ความคิดในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ข้อดีในแง่ผลผลิตคือข้อสรุปจากการคิดครั้งนั้นของเราคงทนถาวรกว่า เช่น ถ้าเราตัดสินใจเลือกคนคนนี้เพราะนโยบายเขาดูมีทางทำได้มากที่สุด ถึงต่อไปนโยบายของคนคนนี้จะโดนวิจารณ์ หรือได้รับการพิสูจน์ว่าทำไม่ได้ เราก็จะต่อต้านเพราะเราเชื่อมั่นในความคิดของเรา แต่ก็ไม่มีใครบอกได้ว่าข้อสรุปของเรานั้นถูกหรือผิด ถ้าข้อสรุปนั้นผิด แต่เราไม่ยอมปรับเปลี่ยนความคิด อาจจะหมายความว่าเราเป็นคนดื้อดึงก็ได้ ส่วนทางสายเปลือกนั้น ข้อดีคือไม่เปลืองเวลา ไม่เปลืองทรัพยากรทางปัญญาเท่ากับการใช้ทางสายแกน ข้อเสียคือข้อสรุปของเราที่เกิดขึ้นไม่คงทน เช่น วันนี้เราเลือกคนนี้เพราะเขาดูเป็นคนไว้ใจได้ แต่เมื่อภาพลักษณ์เขาเปลี่ยนไปมุมมองที่เรามีต่อเขาก็ไม่เหมือนเดิม

 

ในแง่ของผลลัพธ์ คงต้องพิจารณาที่เป้าหมายของทั้งประชาชนและนักการเมือง ถ้าความต้องการของประชาชนคือความเจริญก้าวหน้าของประเทศ การใช้ทางสายแกนที่ให้ความสำคัญกับนโยบายน่าจะตอบสนองความต้องการได้ดีกว่า เพราะนโยบายเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนประเทศมากกว่ารูปร่างหน้าตา นามสกุลหรือสังกัดพรรค ถ้าประชาชนแสดงออกว่านโยบายคือสิ่งที่ประชาชนพิจารณา นักการเมืองก็จะหาเสียงโดยการนำเสนอนโยบายอย่างเข้มข้น ประชาชนที่ต้องการใช้ทางสายแกนก็จะมีข้อมูลในการตัดสินใจ แต่ถ้าโจทย์ของประชาชนคือการเลือกคนที่รักจากพรรคที่ใช่เข้าสภา การใช้ทางสายเปลือกที่ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของผู้สมัครจะตอบโจทย์มากกว่า หากประชาชนแสดงออกว่าคุณลักษณะของผู้สมัครคือสิ่งที่ประชาชนพิจารณา นักการเมืองก็จะหาเสียงโดยการนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของตน ประชาชนก็จะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการพิจารณาสารผ่านทางสายเปลือก ดังนั้น ทั้งประชาชนและนักการเมืองต้องตกผลึกว่าโจทย์ของตัวเองคืออะไรจึงจะบอกได้ว่าทางสายแกนหรือทางสายเปลือกคือวิธีพิจารณาสารโน้มน้าวที่เหมาะสมและควรใช้

 

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนอยากจะย้ำว่าไม่มีรูปแบบการพิจารณาสารโน้มน้าวที่ถูกผิดหรือดีกว่าด้อยกว่ากัน แม้วิธีคิดหรือการตัดสินใจของเราจะไม่ตรงกับของคนอื่น เราจะเป็นคนส่วนน้อยหรือส่วนมาก ทุกคนควรมีโอกาสแลกเปลี่ยนและวิพากษ์วิจารณ์กันได้อย่างสร้างสรรค์ด้วยความเคารพกันและกันตามวิถีประชาธิปไตยของสังคมศิวิไลซ์

 

 

รายการอ้างอิง

 

American Psychological Association. (n.d). Persuasion. https://dictionary.apa.org/persuasion

 

Petty, R. E., & Cacioppo, J. T. (1986). The elaboration likelihood model of persuasion. In L. Berkowitz (Ed.), Advances in experimental social psychology (Vol. 19, pp. 123–205). Academic Press.

 

Petty, R. E., & Hinsenkamp, L. (2017). Routes to persuasion, central and peripheral. In F. M. Moghaddam (Ed.), The SAGE encyclopedia of political behavior. SAGE Publications, Inc.  http://dx.doi.org/10.4135/9781483391144.n330

 

 


 

 

บทความโดย

 

อาจารย์ ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา

 

What makes an executive function?

 

Imagine a busy manager working in a multinational company, handling multiple tasks, dealing with unexpected problems, proposing creative solutions, and overall, keeping focused on their business goals. Of course, it is actually their brain that is doing all this, and in fact these sorts of processes are known in psychology and neuroscience as executive functions. And because of their ability to explain high-level control of human behavior, executive functions have become important in most subfields of modern psychology, including industrial and organizational. So, do (cognitive) executive functions explain how well real executives, and other workers function?

 

Executive functions, as a psychological term, can be classified in into many types: Three that are frequently studied by psychologists are inhibition, working memory, and switching (moving attention to different parts of a task). Providing a sort of proof that these are ‘executive’: It has been shown that people with white-collar jobs are generally better at working memory and switching than people with blue-collar jobs (Eslami et al., 2023).

 

 

Furthermore, measures of executive function made with cognitive tests predict supervisor ratings of managers and other white-collar workers very well, but much less so for factory workers (Higgins, et al., 2007). This suggests that workers with more dynamic jobs (such as executives and managers) do have better cognitive executive functions, and that the better those executive functions are, the more successful they are in their professions. Further, it’s not just supervisor ratings. Actual performance can be predicted with executive function tests. For sales personnel, inhibition may be the key- those with the best ability to inhibit their responses on cognitive tests also make the most sales (Pluck et al., 2020).

 

Interestingly the same tests that predict workplace success also predict performance of adolescent students. One particular test, the Hayling Test, requires research participants to listen to sentences read aloud, and then to complete them by adding the last word. But, the task requires that the participant say a word that makes no sense. This is actually harder that it sounds, and many people make errors, by saying sensible words. For this reason, it is thought of as a test of inhibition. High school students who are good at this have higher grade point average than students who make frequent inhibition errors (Pluck et al., 2019). The same phenomenon is seen with university students, in which good inhibition ability on the Hayling Test predicts higher grade point average (Pluck et al., 2016). The importance of this is that it gives a new way for psychologists to think about the cognitive abilities that predict real-life success. Traditionally, they would use intelligence tests, but cognitive executive function tests appear to be more accurate predictors in both education and the workplace.

 

The tests used to test cognitive executive functions are in fact often work based. These involve a sort of role play within a scenario. In one, participants are asked to image that they are working in a hotel, and they must deal with multiple different tasks over a 15-minute period, including completing invoices, sorting coins, and alphabetizing name badges for conference guests (Manly et al., 2002). Another test, that we are using here in the Faculty of Psychology, involves a virtual reality office, in which participants have to plan a business meeting, while dealing with expected events, and remembering to do several other daily office tasks too (Jansari, et al., 2014). These business-based executive function tests are proving to be useful because they are both more realistic than traditional tests from cognitive psychology, and they measure organization of behavior beyond that measured by traditional intelligence tests.

 

Given these close links, and the use of the term ‘executive’ to describe high-level cognitive processes, it might seem that the concept of executive functions originated in industrial and organizational psychology. But no, the origin is actually computing. It seems that early computer scientists faced similar problems of how to organize their programs. They needed something would organize all of the other programs, tell them when to repeat something, and when to stop or to switch to a different activity. The first of these programs, the ‘Automatic Supervisor’ in 1956, was soon developed into another program called the ‘General Motors Executive System’, and these terms were later adopted by cognitive psychologists who developed the first theories of human executive functions (Pluck et al., 2023).

 

Whether it be control of computers, human cognition, or management of a company, similar principles emerge, such as the need for top-down control of routine tasks, monitoring performance, canceling plans, and making new ones. These are all types of executive control.

 

Free vector businessman avatar with icons

 

So, are strong (cognitive) executive functions the defining feature of those who are successful in management and other white-collar occupations? They certainly seem to help, but we should be careful about placing too much emphasis on cognitive abilities. Motivation and personality probably play equally important roles in determining how well a person functions in their profession. As a striking example, in 2007 a 44-year man was given a brain scan and found to have an abnormal condition in which he had far less brain tissue the most people, and that he may been that way for most of his life (Feuillet et al., 2007). Cognitive testing revealed that his performance IQ (closely related to executive function) was only 70, placing him in the bottom 3% of the population. Nevertheless, he had worked for decades, without problem, as a civil servant. It appears that strong executive functions are useful, but not essential, for administrative and other white-collar occupations.

 

 

References

 

Eslami, A., Nassif, N. T., & Lal, S. (2023). Neuropsychological performance and cardiac autonomic function in blue-and white-collar workers: a psychometric and heart rate variability evaluation. International Journal of Environmental Research and Public Health, 20(5), 4203.

 

Feuillet, L., Dufour, H., & Pelletier, J. (2007). Brain of a white-collar worker. The Lancet, 370(9583), 262. https://doi.org/10.1016/S0140-6736(07)61127-1

 

Higgins, D. M., Peterson, J. B., Pihl, R. O., & Lee, A. G. M. (2007). Prefrontal cognitive ability, intelligence, Big Five personality, and the prediction of advanced academic and workplace performance. Journal of Personality and Social Psychology, 93(2), 298–319. https://doi.org/10.1037/0022-3514.93.2.298

 

Jansari, A. S., Devlin, A., Agnew, R., Akesson, K., Murphy, L., & Leadbetter, T. (2014). Ecological assessment of executive functions: a new virtual reality paradigm. Brain Impairment, 15(2), 71-87.

 

Manly, T., Hawkins, K., Evans, J., Woldt, K., & Robertson, I. H. (2002). Rehabilitation of executive function: facilitation of effective goal management on complex tasks using periodic auditory alerts. Neuropsychologia, 40(3), 271-281.

 

Pluck, G., Crespo-Andrade, C., Parreño, P, Haro, K. I., Martínez, M. A. & Pontón, S. C. (2020). Executive functions and intelligent goal-directed behavior: A neuropsychological approach to understanding success using professional sales as a real-life measure. Psychology & Neuroscience, 13(2), 158–175.

 

Pluck, G., Ruales-Chieruzzi, C. B., Paucar-Guerra, E. J., Andrade-Guimaraes, M. V., & Trueba, A. F. (2016). Separate contributions of general intelligence and right prefrontal neurocognitive functions to academic achievement at university level. Trends in Neuroscience and Education, 5(4), 178-185. https://doi.org/10.1016/j.tine.2016.07.002

 

Pluck, G., Cerone, A., Villagomez-Pacheco, D. (2023). Executive function and intelligent goal-directed behavior: perspectives from psychology, neurology, and computer science. In: Masci, P., Bernardeschi, C., Graziani, P., Koddenbrock, M., Palmieri, M. (eds) Software Engineering and Formal Methods. SEFM 2022 Collocated Workshops. SEFM 2022. Lecture Notes in Computer Science, vol 13765. Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-031-26236-4_27

 

Pluck, G., Villagomez-Pacheco, D., Karolys, M. I., & Montaño-Córdova, M. E. & Almeida-Meza, P. (2019). Response suppression, strategy application, and working memory in the prediction of academic performance and classroom misbehavior: A neuropsychological approach. Trends in Neuroscience and Education, 17. https://doi.org/10.1016/j.tine.2019.100121

 

 

 


Author

Dr. Graham Pluck
Lecturer in Cognitive Psychology and JIPP Program

 

 

Job burnout – ความเหนื่อยหน่ายในงาน

 

 

 

 

ความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นสภาพการณ์ทางลบที่ทำให้บุคคลเกิดความอ่อนล้าทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์กับการเกิดความเครียดของบุคคล

องค์ประกอบของความเหนื่อยหน่ายในงานแบ่งออกเป็น 3 มิติ ดังนี้

 

  1. ความอ่อนล้า (Exhaustion) – เป็นมิติที่สะท้อนถึงความเครียดภายในตัวของบุคคล ที่ทำให้บุคคลรู้สึกเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน และรู้สึกว่าพลังกายและพลังใจในการทำงานลดลง เป็นความอ่อนล้าทั้งทางใจ ทางอารมณ์ และทางกายภาพ
  2. ความเย็นชา (Cynicism) – เป็นมิติที่สะท้อนความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ แสดงออกในทางเพิกเฉย ไม่สนใจ ทั้งต่องานที่ทำอยู่เป็นประจำ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และอาจรวมไปถึงบุคคลในครอบครัวด้วย ความเย็นชาเป็นรูปแบบการจัดการปัญหาและความเครียดที่ไม่มีประสิทธิภาพ
  3. ประสิทธิผลการทำงาน (Professional efficacy) – เป็นมิติที่สะท้อนให้เห็นถึงการประเมินตนเองที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายและทำให้บุคคลรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถ ไม่สามารถสร้างให้เกิดความสำเร็จ หรือผลผลิตของงานออกมาได้ และอาจรวมถึงความสำเร็จทางด้านสังคมด้วย

 

 

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายในงาน


 

  1. ลักษณะของงานที่มีข้อเรียกร้องในงานที่สูง ทั้งในเชิงปริมาณงาน เช่น ความกดดันด้านเวลา หรือจำนวนชิ้นงานที่มากเกินไป และในเชิงคุณภาพของงาน เช่น ความขัดแย้งในบทบาท และความไม่ชัดเจนในบทบาท
  2. ลักษณะอาชีพที่เน้นการติดต่อและประสานงานกับบุคคลอื่นเป็นหลัก เช่น ครู พยาบาล ซึ่งอาจจะต้องเผชิญกับความท้าทายทางอารมณ์มากกว่าอาชีพอื่น
  3. ลักษณะองค์การ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในองค์การ เช่น การลดจำนวนพนักงานหรือการควบรวมกิจกรรม ที่ส่งผลกระทบต่อพนักงานเพราะเกิดการละเมิดสัญญาใจระหว่างพนักงานและองค์การ (psychological contract)
  4. ปัจจัยส่วนบุคคล งานวิจัยพบว่า อายุ เพศ สถานภาพการสมรส เชื้อชาติ และระดับการศึกษา อาจส่งผลความเหนื่อยหน่ายในงานได้ แต่ความสัมพันธ์อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ อาจถูกปะปนจากผลของตัวแปรอื่นได้
  5. ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ เช่น บุคคลที่มีระดับความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ความเชื่ออำนาจในตนที่มีผลมาจากปัจจัยภายนอก (External locus of control) รูปแบบรับมือกับปัญหาในลักษณะหลีกเลี่ยง บุคคลที่มีความไม่มั่นคงทางอารมณ์ และบุคลิกภาพประเภท A (Type-A personality)
  6. เจตคติที่มีต่องาน โดยบุคคลที่มีความคาดหวังต่องานในระดับสูง มีแนวโน้มที่จะทำงานหนักและมากเกินความจำเป็น และเมื่อความพยายามในการทำงานที่บุคคลลงทุนลงแรงทำไปไม่ตรงกับความคาดหวังที่มีต่องานเมื่อใด ก็มีโอกาสเกิดความเหนื่อยหน่ายในงานได้

 

 

ผลลัพธ์ของความเหนื่อยหน่ายในงาน


 

ความเหนื่อยหน่ายในงานมีผลกระทบต่อทั้งผลการปฏิบัติงานและสุขภาพของบุคคล

 

โดยความเหนื่อยหน่ายในงานมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการถอนตัวและการขาดงานของบุคคล รวมไปถึงความตั้งใจในการลาออกจากงาน และพฤติกรรมการลาออกจากงาน

 

ทั้งนี้ พนักงานที่มีความเหนื่อยหน่ายในงาน แต่ยังคงทำงานให้กับองค์การ จะทำให้ปริมาณ คุณภาพ และประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลลดลง ทั้งยังทำให้ระดับความพึงพอใจในงาน และความผูกพันกับองค์การลดลง รวมทั้งทำให้ผู้ที่ร่วมงานกับบุคคลที่เหนื่อยหน่ายในงานเกิดอารมณ์และประสบการณ์ทางลบในการทำงานเช่นเดียวกัน

 

ส่วนเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิต อาการที่อาจพบได้ในบุคคลที่มีความเหนื่อยหน่ายในงาน คือ ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า มองตนเองและผู้อื่นในทางลบ สูญเสียความกระตือรือร้น หรือมีความเชื่อมั่นในตนเองลดลง นอกจากนี้ ความอ่อนล้ายังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความเครียดอีกด้วย เช่น การนอนไม่หลับ ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา อาการปวดเมื่อย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างผิดปกติ

 

 

 


 

 

ข้อมูลจาก

 

“อิทธิพลของแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานและข้อเรียกร้องในงานต่อความพึงพอใจในงานของพนักงาน โดยมีความผูกใจมั่นในงานและความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน” โดย ผดารัช สีดา (2555) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45181

 

“ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง ภาระงาน ความเชื่อในอำนาจควบคุมกับความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน” โดย ธนพล บุญเลิศ, ศศิมาภรณ์ ชื่นอารมณ์, สร้างสรรค์ รัตนสงวนวงศ์ (2554) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47170

 

ภาพจาก http://www.shutterstock.com/

 

Self-compassion – ความเมตตากรุณาต่อตนเอง

 

 

 

 

ความเมตตากรุณาต่อตนเอง หมายถึง การตระหนักรู้ถึงประสบการณ์ในแง่ลบที่ตนเองมีโดยไม่หลีกเลี่ยง บิดเบือน ปฏิเสธ หรือตัดสินตีความ หากแต่เข้าใจว่าประสบการณ์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ อันส่งผลให้บุคคลปฏิบัติต่อตนเองเพื่อบรรเทาความทุกข์ด้วยความเมตตา

 

ทั้งนี้ ความเมตตากรุณาต่อตนเองไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว การสงสารตัวเอง หรือการยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากความเมตตากรุณาต่อตนเองมีพื้นฐานการมองโลกและชีวิตตามความเป็นจริงว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาจะต้องเจอทั้งสุขและทุกข์เหมือนกันหมดทุกคน ดังนั้น บุคคลที่มีความเมตตากรุณาต่อตนเองเมื่อต้องตกอยู่ในความทุกข์ยาก ความลำบาก ความผิดหวัง หรือความล้มเหลว เขาจะมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตของมนุษย์ทุกคน ซึ่งต่างจากความเห็นแก่ตัว การสงสารตัวเอง และการยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลาง เพราะบุคคลที่มีสิ่งเหล่านี้จะคิดเข้าข้างตนเอง คิดว่าตนเองแตกต่างจากคนอื่น จึงมักเปรียบเทียบ เมื่อเจอกับความผิดหวังจึงรู้สึกว่าตนเองน่าสงสาร โชคร้าย ทำให้เกิดเป็นความรู้สึกแปลกแยกออกมา

 

ความเมตตากรุณายังไม่ใช่การทำตามใจตนเอง หรือการทำเพื่อความสุขของตนเองเป็นหลัก เมื่อผ่านพ้นสถานการณ์ที่ตึงเครียด จะเห็นได้ว่ามีหลายคนเลือกที่จะชดเชยสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการให้รางวัลกับตัวเอง บางคนเลือกที่จะนอนดูโทรทัศน์ทั้งวัน ขณะที่บางคนเลือกกินไอศกรีมถ้วยใหญ่ หรือซื้อเสื้อผ้าข้าวของราคาแพง โดยคิดว่านี่คือการให้กำลังใจตนเอง ปฏิบัติต่อตนเองอย่างมีเมตตา ซึ่งแม้จริงแล้วการทำแบบนี้ไม่ใช่ลักษณะของความเมตตากรุณาต่อตนเอง เพราะความเมตตากรุณาต่อตนเองจะส่งเสริมให้บุคคลมีความปรารถนาที่จะเห็นตัวเองมีความสุขและสุขภาวะดีในระยะยาว ซึ่งการไปถึงจุดจุดนั้นอาจยากลำบากและไม่รู้สึกสะดวกสบาย เช่น การเลิกบุหรี่ การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย เป็นต้น

 

ความเมตตากรุณาต่อตนเองแตกต่างจากการเห็นคุณค่าในตนเองตรงที่ ความเมตตากรุณาต่อตนเองไม่ได้ขึ้นอยู่กับการประเมินคุณค่า และไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นเพื่อให้รู้สึกถึงคุณค่าในตนเองที่มีอยู่ อีกทั้ง ความเมตตากรุณาต่อตนเองยังไม่ขึ้นอยู่กับความพิเศษหรือจุดยืนที่แตกต่างของตนเองจากคนอื่น ๆ ความเมตตากรุณาต่อตนเองจึงไม่ส่งผลให้บุคคลหลงตนเอง อ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ และบิดเบือนการรับรู้ที่มีต่อตนเองที่แท้จริง

 

 

องค์ประกอบของความเมตตากรุณาต่อตนเอง (Neff, 2003)


 

1. การมีความเมตตาต่อตนเอง

คือ การยอมรับได้ในสิ่งที่ตนเองเป็น สามารถปฏิบัติต่อตนเองด้วยความรักและความเข้าใจอย่างอ่อนโยน แม้ในยามที่ประสบกับความทุกข์ ความผิดพลาด และความล้มเหลว โดยไม่ประเมินคุณค่าของตนเองจากสิ่งที่เกิดขึ้น รวมทั้งไม่กล่าวโทษตนเอง ตำหนิตนเอง และวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง

 

2. การรับรู้ว่าประสบการณ์ที่มีเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์

คือ การมีฐานความคิดและความเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องพบทั้งความสุขและความทุกข์ ความลำบาก ความผิดหวัง ความผิดพลาดเป็นเพียงด้านหนึ่งของชีวิตและเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นกับทุกคนเหมือนกัน ไม่ใช่แค่กับตนผู้เดียว ดังนั้นจึงไม่ทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวและแปลกแยกจากคนอื่น

 

3. การมีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ

เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์หรือภาวะอารมณ์ที่เป็นทุกข์ จะสามารถรับรู้และทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดได้อย่างเป็นกลาง สามารถควบคุมอารมณ์และการแสดงออกให้เป็นปกติ โดยไม่ผูกโยงหรือจมดิ่งกับอารมณ์ที่กำลังวูบไหวจนสูญเสียความยับยั้งชั่งใจ ขาดหลักเหตุผล ซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยากอื่นๆ ตามมา

 

 

หลายงานวิจัยกล่าวตรงกันว่า ความเมตตากรุณาต่อตนเองเป็นคุณลักษณะที่เอื้อให้บุคคลมีสุขภาพจิตที่ดีและมีความมั่นคงทางจิตใจมากขึ้น มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยืดหยุ่นทางอารมณ์ การรับรู้ตนเองตามความเป็นจริง การมีพฤติกรรมใส่ใจผู้อื่น และมีความสัมพันธ์ทางลบกับการหลงตนเอง และการมีปฏิกิริยาโต้กลับด้วยความโกรธ อีกด้วย

 

 

 

 

ข้อมูลจาก

 

“ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง ความเมตตากรุณาต่อตนเอง ค่าดัชนีมวลกาย การประเมินตนเสมือนวัตถุและความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายในสตรีวัยรุ่น” โดย พลอยชมพู อัตศรัณย์ (2550) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42008

 

“ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเครียดและความสุขในนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน” วัชราวดี บุญสร้างสม (2556) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42630

 

ขอบคุณภาพจาก http://www.imgbase.info

 

What are emotions?

 

What are emotions?

 

 

To study a phenomenon, such as emotion, scientifically, psychologists need to precisely define what they are studying. So, what is an emotion?

 

In some ways, trying to define emotion is like trying to define rock n’ roll. If asked, we can easily list examples – sadness, happiness, anger, fear, etc. But pinpointing what these emotions have in common as a category is more difficult (e.g., Beck, 2015).

 

 

Emotions Change How We Feel


 

We can start by asking how emotions, such as happiness and fear, differ from other mental states such as beliefs and thoughts. Perhaps the most obvious difference is that we feel emotions.

 

Indeed, feelings are a defining aspect of emotion. But describing an emotion as a feeling does not tell us how an emotion differs from a mood. For example, what would differentiate being in a bad mood from negative emotions such as sadness or anger? If I am in a bad mood, my negative feelings can last for hours or perhaps even a day. In contrast, feeling angry or afraid is more of a temporary change in feeling.

 

 

Emotions are Responses to Our Understanding of Situations


 

If emotions are changes in feelings, what causes these changes? People experience emotions in response to situations that significantly affect their goals, concerns, or well-being (Moors, Ellsworth, Scherer, and Frijda, 2013). The situations that matter vary from person to person. Suppose it rains. A person who planned a romantic trip to the beach might be upset, while someone who planned to sleep in wouldn’t care. So, an emotion is not a response to an objective situation, such as rain, an election outcome, or a break-up, but rather a reaction to a person’s interpretation of that event.

 

Different emotions correspond to different kinds of interpretations (Lazarus, 1991). We feel sad after a loss, fearful in response to immediate threats, happy about rewards, and angry about injustice. Such interpretations are known as appraisals (e.g. Ellsworth, 2013).

 

 

Emotions Affect Our Bodies and Behavior


 

Once we have interpreted an event as being of a certain kind, an emotion is followed by additional responses in our bodies and actions (or action tendencies). For example, a person who is afraid would display a fearful facial expression, his heart would race, and he would potentially try to escape the situation. These responses are not arbitrary (Ekman, 1999). With fear, for example, our eyes get wider so we can see better and our hearts race to increase our supply of oxygen so we can appropriately fight or escape the situation as needed.

 

 

Summary


 

In short, emotions are felt responses to important psychological situations that include changes in feelings, appraisals, bodily responses, and action. While not all emotion researchers would agree with this entire definition (e.g. Barrett & Russell, 2014; Ekman 2016), it is a solid starting point for thinking clearly and having meaningful discussions about the nature of emotion.

 

 

References

 

Barrett, L. F., & Russell, J. A. (Eds.). (2014). The psychological construction of emotion. Guilford Publications.

 

Beck, J. (2015, February 24). Hard feelings: Science’s struggle to define emotions. The Atlantic. Available from http://www.theatlantic.com.

 

Ekman, P. (1999). Basic emotions. Handbook of cognition and emotion, 98(45-60), 16.

 

Ekman, P. (2016). What scientists who study emotion agree about. Perspectives on psychological science, 11(1), 31-34.

 

Ellsworth, P. C. (2013). Appraisal theory: Old and new questions. Emotion Review, 5(2), 125-131.

 

Lazarus, R. S. (1991). Progress on a cognitive-motivational-relational theory of emotion. American psychologist, 46(8), 819.

 

Moors, A., Ellsworth, P. C., Scherer, K. R., & Frijda, N. H. (2013). Appraisal theories of emotion: State of the art and future development. Emotion Review, 5(2), 119-124.

 

 

 


 

Author

 

Dr. Adi Shaked
Lecturer in Social Psychology Area

 

 

5 Preconference Workshops TICP 2023

 

 

 

Preconference Workshops TICP 2023

27 July – 3 August 2023

 

📍Faculty of Psychology, Chulalongkorn University 🗺️ Map
6-7th Fl. Borommaratchachonnanisisattaphat Building. Rama 1 Road, Wangmai, Pathumwan, Bangkok 10330 Thailand

 

 

Program

 


1️⃣ A Structural Equation Modeling Approach to Multivariate Prediction.

Dr. Fei Gu, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University

27 July 2023 l 9.00-12.00 GMT+7

 


2️⃣ Acceptance and Commitment Therapy: Theory, Practice and Demonstration of Skills and Techniques.

Asst. Prof. Kullaya Pisitsungkagarn and Asst. Prof. Somboon Jarukasemthawee,

Faculty of Psychology, Chulalongkorn University

31 July 2023 l 9.00-16.00 GMT+7

 


3️⃣ Acceptance and Commitment Therapy for Well-Being and Health Promotion.

Prof. William H. O’ Brien, Clinical Psychology Training Program, Bowling Green State University

1 August 2023 l 9.00-16.00 GMT+7

 


4️⃣ Using Compassion Focused Therapy to Support People Struggling with Problematic Psychosis.

Asst. Prof. Andrew Fox, School of Psychology, University of Birmingham

2 August 2023 l 9.00-16.00 GMT+7

 


5️⃣ Dialectical Behavior Therapy Skills for Emotional Dysregulation: Theory and Practice of DBT Skills.

Prof. David C. Wang, Fuller School of Psychology

3 August 2023 l 9.00-16.00 GMT+7

 

 

 

 

 

This workshop is designed for researchers who want to build appropriate predictive models for multiple outcome variables.
Conventionally, Multiple Regression is a commonly used method that produces a prediction equation for a single outcome variable in terms of a set of explanatory variables.

 

In case of multiple outcome variables, Multivariate Regression can be used to provide the prediction equations, one for each of the outcome variables. Essentially, the prediction equations obtained from multivariate regression are identical to the ensemble of individual prediction equations obtained from multiple regression for each of the outcome variables.

 

However, like multiple regression, multivariate regression may suffer the multicollinearity problem among the explanatory variables. To overcome the multicollinearity problem, several alternative methods have been developed in the literature, including Principal Component Regression, Canonical Correlation Regression, and Redundancy Analysis (also known as reduced-rank regression).

 

This workshop will review these methods and discuss their similarity and differences. In addition, a recently developed structural modeling approach is introduced to provide the relevant inferential information for the parameter estimates from these methods.

 

Participants of this workshop will be able to make informed decisions to build their predictive models in the future.

 

 

 

 

ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัดได้มีการผสานปรัชญาตะวันออก การฝึกสติเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัด อาทิ เช่น Acceptance and Commitment Therapy (ACT), Compassion-Focused Therapy และ Dialectical Behavioral Therapy (DBT) โดยการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัดดังกล่าวได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการลดปัญหาสุขภาพจิตไม่ว่าจะเป็นภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลให้กับผู้คนทั่วโลก

 

Acceptance and Commitment Therapy (ACT) เป็นหนึ่งการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัดที่ให้ความสำคัญกับการฝึกสติ เพื่อมุ่งเน้นการยอมรับ พร้อมกันเอื้อให้ผู้รับบริการได้ค้นหาค่านิยมในการดำเนินชีวิตอย่างกลมกลืน เกิดเป็นการยืดหยุ่นทางจิตใจ (Psychological Flexibility) อันเป็นสมดุลย์แห่งการดำเนินชีวิต ในช่วงโรคระบาดโควิด และยุคหลังโรคระบาด (post-covid) นักจิตวิทยาทั่วโลกได้ยกย่องให้ Acceptance and Commitment Therapy (ACT) เป็นหนึ่งในการบำบัดที่เหมาะสมต่อการสร้างสมดุลย์ในช่วงวิกฤตดังกล่าว

 

กว่าทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบุญ จารุเกษมทวี คณาจารย์จากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันเผยแพร่องค์ความรู้ การฝึกอบรม และสั่งสมประสบการณ์การให้บริการทางด้านจิตบำบัดแบบ Acceptance and Commitment Therapy (ACT) ให้กับสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ในโอกาสนี้คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงจัดอบรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในหัวข้อ Acceptance and Commitment Therapy: Theory, Practice and Demonstration of Skills and Techniques ในวันที่ 31 กรกฏาคม 2566 เวลา 9.00-16.00 น ณ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การอบรมครั้งนี้บรรยายเป็นภาษาไทย

 

 

 

 

นอกจากนี้คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เชิญ Professor William O’ Brien จาก Bowling Green State University, Ohio ประเทศสหรัฐอเมริกา มาร่วมต่อยอดองค์ความรู้ Acceptance and Commitment Therapy (ACT) ในหัวข้อAcceptance and Commitment Therapy for Well-Being and Health Promotion ในวันที่ 1 สิงหาคม 2566 ณ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รูปแบบ Workshop: นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีการสรุปใจความสำคัญ เป็นช่วง ๆ โดย ผศ. ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ และ ผศ. ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี

 

 

 

 

ที่ผ่านมาการบำบัดรักษาแก่ผู้มีประสบการณ์​ Psychosis​ มักพึ่งพายาทางจิตเวช​เป็นสำคัญ​ และหลายครั้งจิตบำบัดมักถูกละเลย ดังนั้นการเพิ่มองค์ความรู้ทางจิตบำบัดสำหรับผู้มีประสบการณ์​ Psychosis​ จะเป็นประโยชน์​อย่างยิ่งต่อการขยายขอบเขต​งานด้านจิตบำบัด

 

เมื่อความเมตตา​ซึ่งเป็นปรัชญาตะวันออก​อันอ่อนโยน ผสานกับระบบระเบียบของจิตบำบัดตะวันตก บูรณาการเป็น​ “Compassion​ Focused​ Therapy – จิตบำบัดมุ่งเน้นความเมตตา” Dr. Andrew Fox จาก​ The University of Birmingham ประเทศอังกฤษ​ ได้นำ​ Compassion Focused ​Therapy​ มาใช้เพื่อช่วยเหลือผู้รับบริการที่มีอาการ​ Psychosis ต่าง​ ๆ​ อย่างเชี่ยวชาญ​และลงตัว

 

ชวนมาเรียน​รู้​ร่วมกันเพื่อขยายองค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยาไปด้วยกัน​ ในหัวข้อ​ Using Compassion Focused Therapy to Support People Struggling with Problematic Psychosis ในวันที่​ 2 สิงหาคม​ 2566​ ณ​ คณะจิตวิทยา​ จ​ุฬาลงกรณ์ม​หาวิทยาลัย การอบรมครั้งนี้มีแปลและสรุป​ความเป็นภาษาไทย​เป็นช่วง​ ๆ

 

 

 

 

Dialectical Behavioral Therapy หรือ DBT เป็นรูปแบบจิตบำบัดที่ผสมผสานการบำบัด Cognitive-Behavioral Therapy (CBT) และการฝึกสติ (Mindfulness) อย่างลงตัว ในปัจจุบัน DBT เป็นจิตบำบัดที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่ามีประสิทธิภาพในการลดปัญหาการควบคุมอารมณ์ (Emotion Dysregulation) และกลายเป็น Gold Standard Treatment หรือ First Choice of Treatment สำหรับผู้มีปัญหา Borderline Personality Disorder

 

วิทยากรคือ Prof. David Wang เป็นศาสตราจารย์ประจำที่ Fuller School of Psychology มลรัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจารย์มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Dialectical Behavioral Therapy ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์จำนวนมาก และเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ Dialectical Behavioral Therapy ในหลายมหาวิทยาลัยทั่วโลก

 

การอบรมจัดขึ้นในวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ที่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รูปแบบ Workshop นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีการสรุปใจความสำคัญ เป็นช่วง ๆ โดย ผศ. ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ และ ผศ. ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี

 

 


 

 

 

Workshops ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมวิชาการทางจิตวิทยาระดับนานาชาติ The 2nd Thailand International Conference in Psychology 2023 (TICP 2023) ภายใต้ธีม “Psychology for Health and Well-being in the BANI World” ระหว่างวันที่ 27 ก.ค. – 4 ส.ค. 2566 สนใจเข้าร่วมงานประชุมวิชาการและการอบรมเชิงปฏิบัติการสามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่

 

 

 

 


 

 

งานประชุมวิชาการ TICP 2023

 

 

 

 

Clinical Cognitive Neuroscience research seminars “Serotoninergic Effects on Cognition”

 

Online Seminar – Open to all


 

 

Serotoninergic Effects on Cognition

Dr Christelle Langley, PhD
Department of Psychiatry, University of Cambridge, UK

 

Wednesday, 22nd March 2023, 20:00-21:00

 

A series of Clinical Cognitive Neuroscience research seminars…over Zoom. Open to all

 

Please register at: https://forms.gle/dptvhx7SwY2vW23L8

 

Organized by Dr Graham Pluck, graham.ch@chula.ac.th

 

 

การบรรยาย หัวข้อ “การดูแลใจด้วยความเมตตากรุณาต่อตัวเอง (Self-compassion)”

 

งาน “Chula health care body & mind : รักกาย รักใจ ห่วงใย ณ จุฬาฯ”

วันอังคาร ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00-12.00 น

ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาฯ

 

บูธ “รักใจ” ขอเชิญชวนทุกท่านมาฮีลลิ่งจิตใจด้วย Self – Compassion และกิจกรรมรักสุขภาพใจจากทีม Chula Student Wellness & ทีมศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา

 

  • Self-reflection สะท้อนคำพูดที่ตำหนิหรือให้กำลังใจตนเองในช่วงเวลาที่ผ่านมา
  • Self-remind with “KINDNESS” tree เตือนตัวเองด้วยต้น “ดีกับใจ”  ด้วยคำพูดดี ๆ ที่มอบให้กับตนเอง
  • เวลา 11.20 – 12.00 น. มีกิจกรรมการบรรยาย หัวข้อ “การดูแลใจด้วยความเมตตากรุณาต่อตัวเอง (Self-compassion)”
    โดยวิทยากร อาจารย์ ดร.พูลทรัพย์ อารีกิจ ผู้ช่วยคณบดีคณะจิตวิทยา และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา

 

 

ตลอดกิจกรรม ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

 

Celebrity worship – การคลั่งไคล้ศิลปิน

 

 

 

การคลั่งไคล้ศิลปิน หมายถึง เจตคติหรือความรู้สึกที่บุคคลมีต่อศิลปินที่ชื่นชอบในระดับที่มากกว่าแฟนโดยทั่วไป มีลักษณะของการหมกมุ่นและเสพติด

 

รูปแบบของการคลั่งไคล้ศิลปิน มี 3 รูปแบบ คือ ระดับสนใจใคร่รู้เพื่อความบันเทิงและเสพติด ระดับเข้มข้นผูกพันยึดติด และระดับคลั่งไคล้รุนแรง

ผู้ที่มีความคลั่งไคล้ศิลปินจะมีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด สนิทสนมกับศิลปินที่ชื่นชอบ เป็นลักษณะหนึ่งของการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง

 

 

รูปแบบของการคลั่งไคล้ศิลปิน 3 รูปแบบ


 

1. การชื่นชมเพื่อความบันเทิง-สังคม (entertainment-social celebrity worship)

 

หมายถึง บุคคลที่ชื่นชอบศิลปินดาราโดยรับรู้ว่าเป็นการชื่นชอบเพื่อความบันเทิง และติดตามข่าวสารของศิลปินดาราอย่างใกล้ชิด มีเรื่องราวของศิลปินเป็นศูนย์กลางหรือเป็นประเด็นที่ใช้พูดคุยกันในสังคมของผู้ที่มีความชื่นชอบแบบเดียวกัน มีความคลั่งไคล้ระดับต่ำ

 

ตัวอย่างเจตคติของความคลั่งไคล้ระดับนี้

“ตัวฉันและเพื่อนชอบพูดคุยถึงเรื่องที่ศิลปินที่พวกเราชื่นชอบทำ”

“ในขณะที่ฉันติดตามเรื่องราวของศิลปินคนโปรด ฉันมักจะเพลินจนลืมเวลาไปเลย”

 

2. การชื่นชอบแบบเข้มข้น-ผูกพันยึดติด (intense-personal celebrity worship)

 

หมายถึง บุคคลที่มีลักษณะหลงใหล เทิดทูนศิลปินดาราที่ชื่นชอบ สนใจใคร่รู้เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของศิลปินดารา มีการเชื่อมโยงตนเองเข้ากับศิลปินที่ชื่นชอบ และรู้สึกใกล้ชิดผูกพันเหมือนเป็นคนใกล้ตัว

 

ตัวอย่างเจตคติของความคลั่งไคล้ระดับนี้

“หากศิลปินคนโปรดของฉันประสบกับเรื่องเลวร้าย ฉันจะรู้สึกเหมือนกันว่าเรื่องนั้นได้เกิดขึ้นกับฉันด้วย”

“ฉันรู้สึกมีความสุขที่ได้เฝ้ามองความเปลี่ยนแปลง และการเติบโตขึ้นของศิลปินคนโปรด”

 

3. การคลั่งไคล้แบบรุนแรง (borderline-pathological celebrity worship)

 

หมายถึง บุคคลที่มีความคลั่งไคล้ศิลปินดาราขั้นรุนแรงที่สุด มีพฤติกรรมคุกคาม เช่น การสะกดรอยตามศิลปินดารา จนสร้างความวิตกกังวลแก่ศิลปิน [เรียกว่า สตอล์กเกอร์ (stalker) หรือ ซาแซงแฟน สำหรับศิลปินเกาหลี] ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม ความคิด และจินตนาการเกี่ยวกับศิลปินที่ตนเองชื่นชอบได้

 

ตัวอย่างเจตคติของความคลั่งไคล้ระดับนี้

“หากฉันได้รับเงินมา 1,000 ดอลลาร์ ฉันคิดจะใช้เงินนั้นซื้อของใช้ส่วนตัวของศิลปินที่ฉันชื่นชอบ”

“ถ้าฉันบุกไปหาศิลปินคนโปรดถึงบ้านโดยไม่ได้รับเชิญ เขาจะดีใจที่ได้พบฉับอย่างแน่นอน”

 

 

การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง


 

การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง (Parasocial Relationship) เป็นปรากฏการณ์ที่ผู้ชมสื่อ สร้างจินตนาการเกี่ยวกับมิตรภาพ ความผูกพัน ระหว่างตนเองกับผู้ที่ปรากฏตัวอยู่ในสื่อ ผู้ชมจะรับรู้ว่าตนเองรู้จักและเข้าใจบุคคลในสื่อ เปรียบเสมือนกันเป็นผู้มีความใกล้ชิดสนิทสนม เป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัว โดยเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากฝ่ายเดียว ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมักมีลักษณะของการมีส่วนร่วม มากกว่าการมีความสัมพันธ์ที่แท้จริง

 

ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของสื่อรายการหรือตัวพรีเซ็นเตอร์ หากแต่ขึ้นอยู่กับการได้ดูบุคคลในสื่ออย่างต่อเนื่อง โดยการเกิดปฏิสัมพันธ์กึ่งความจริงนี้มีรากฐานอยู่บนความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ โดยความสัมพันธ์ในลักษณะนี้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ชมได้ เนื่องจากส่วนใหญ่รายการถูกติดตามชมเนื่องจากผู้ชมต้องการมีเพื่อน เมื่อมีการติดตามชมอย่างสม่ำเสมอ ผู้ชมจะพัฒนาความรู้สึกและมีการเรียนรู้ว่าบุคคลในสื่อนั้นเปรียบเสมือนเพื่อนของตน ลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้รับสื่อและบุคคลทั่วไป โดยไม่ได้สื่อถึงความผิดปกติและปัญหาทางจิตใด ๆ

 

ปัจจุบันมีการใช้สื่อใหม่ร่วมกันกับสื่อเก่า การศึกษาเกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงกับผู้รับสื่อ พบว่า การเปิดเผยตนเองผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของศิลปิน ดารา และบุคคลมีชื่อเสียง ทั้งการเปิดเผยตนเองในรูปแบบเป็นทางการ เช่น ผลงาน และในรูปแบบส่วนตัว เช่น การแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับครอบครัว เพื่อน งานอดิเรก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงของแฟนคลับและผู้ชมผลงาน

 

 

การประเมินระดับความคลั่งไคล้ศิลปิน


 

ปัจจุบันมีการพัฒนามาตรวัดเพื่อประเมินความคลั่งไคล้ศิลปินหลัก 2 เครื่องมือ ได้แก่

  1. แบบวัดทัศนคติที่มีต่อศิลปินดารา
  2. แบบวัดระดับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง

 

แบบวัดทัศนคติที่มีต่อศิลปินดารา หรือ Celebrity Attitude Scale (CAS) โดย McCutcheon และคณะ (2002)

พัฒนามาจากแนวคิดเรื่องการคลั่งไคล้ศิลปิน โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ

 

  • ความชื่นชอบเพื่อความบันเทิงและสังคม ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของศิลปินดาราที่ตนเองชื่นชอบตามสื่อต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด
  • ความชื่นชอบแบบเข้มข้นและยึดติด มีความหลงไหล เทิดทูนศิลปินดาราที่ตนเองชื่นชอบถึงขั้นเสพติด
  • ความคลั่งไคล้รุนแรง มีความคลั่งไคล้ศิลปินดาราในระดับที่รุนแรงที่สุด เพ้อฝันถึงศิลปินดารา ไม่สามารถควบคุมตนเองได้

 

แบบวัดระดับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง โดย Rubin, Perse, และ Powell (1985)

เป็นมาตรวัดที่เหมาะสมสำหรับการวัดผู้ชมละครโทรทัศน์ ประเด็นการศึกษา ได้แก่

 

  • ความรู้สึกสนิทสนมกับศิลปินเหมือนเป็นเพื่อนพี่น้อง
  • การทราบประวัติของศิลปิน
  • ความรู้สึกเศร้าเสียใจเมื่อทราบว่าศิลปินมีความทุกข์
  • ความรู้สึกเดือดร้อนเมื่อศิลปินถูกตีข่าวในทางลบ
  • ความรู้สึกอยากปกป้อง
  • ความรู้สึกยินดีและมีความสุขร่วมกับศิลปิน
  • ความรู้สึกตื่นเต้นดีใจเมื่อพบศิลปินในสื่อ
  • ความกระตือรือร้นในการรับข่าวสารเกี่ยวกับศิลปิน
  • ความต้องการพบปะศิลปิน
  • ความต้องการชมคอนเสิร์ตของนักร้อง
  • การให้ศิลปินเป็นผู้นำทางความคิด

 

 

 


 

 

ข้อมูลจาก

 

“ความสัมพันธ์ของความคลั่งไคล้ศิลปิน การเห็นคุณค่าในตนเอง การเผชิญปัญหาและความสุขเชิงอัตวิสัยของแฟนคลับเยาวชน” โดย ศิรินทร์ ตันติเมธ (2559) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55117

 

ภาพจาก https://www.backstage.com/

 

การตบมือข้างเดียวของความรัก

 

การตกหลุมรักใครสักคนหนึ่ง หยิบหยื่นความรักให้กับเขา และเขาคนนั้นก็รักเรากลับ เกิดเป็นความรักที่สมหวัง คงเป็นประสบการณ์หนึ่งในชีวิตคนเราที่น่าตื่นเต้นและน่าจดจำ1 แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว โลกอาจไม่ได้หยิบยื่นความสมหวังในความรักให้กับทุกคนเสมอไป ตามที่เห็นในบทกวี เพลง ละคร และภาพยนตร์ที่มาจากความรักข้างเดียว

 

ความรักข้างเดียว ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะใช้คำว่า Unrequited love ซึ่งมีความหมายว่าการที่คน ๆ หนึ่งมีความรักใคร่ต่อบุคคลหนึ่งแต่บุคคลนั้นไม่ได้รักกลับ2 โดยงานวิจัยในต่างประเทศที่ศึกษาปรากฏการณ์ความรักรูปแบบนี้มากมาย ซึ่งมักจะเรียกผู้ที่หลงรักว่า Pursuer หรือ Would-be lover ส่วนผู้ที่ถูกรักจะเรียกว่า Target เป้าหมายหรือ Rejector ผู้เขียนยังสืบไม่พบงานในประเทศไทย จึงขอหยิบเอางานจากต่างประเทศมาเล่าสู่กันฟังฉบับย่อนะครับ

 

 

หนทางสู่ความรักข้างเดียว


 

Baumeister และคณะเป็นทีมนักวิจัยที่ศึกษาและถูกอ้างอิงถึงเสมอในเรื่องของความรักลักษณะนี้ เขาได้จำแนกสาเหตุของการเกิดความรักข้างเดียว ออกมาคร่าว ๆ แต่อาจไม่ครอบคลุมสาเหตุทั้งหมดดังนี้3

 

  1. คนที่มีเสน่ห์หรือน่าดึงดูดมาก มักมีคนเขามาชอบหรือมาสนใจ ดังนั้นคนเราจึงอาจจะผิดหวังในความรักได้ เมื่อเราไปตกหลุมรักคนที่มีเสน่ห์มาก ๆ ซึ่งตามหลักจิตวิทยาวิวัฒนาการนั้นระบุว่า คนเรามักอยากปลูกต้นรักกับคู่ครองที่น่าดึงดูดใจมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะความน่าดึงดูด มีเสน่ห์นั้นอาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงความแข็งแรงทางพันธุกรรมและความสามารถในการสืบต่อลูกหลาน สำหรับการตกหลุมรักลักษณะนี้ต่างประเทศมักเรียกว่า Falling upwards4
  2. เมื่อเพื่อนรู้สึกเกินกว่าเพื่อน: มิตรภาพระหว่างเพื่อนนั้นต่างประเทศมักเรียกว่า Platonic friendships เพื่อนคือบุคคลที่เรามีความใกล้ชิดสนิทสนม แต่เส้นทางของความรักข้างเดียวอาจเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้นเริ่มมีความรู้สึกเสน่หารักใคร่ที่มากกว่าคำว่าเพื่อน (Passion) ในขณะที่อีกฝ่ายนั้นไม่ได้คิดอะไรเกินไปมากไปกว่านั้น
  3. เมื่อความรักมันสวนทาง: ความรักข้างเดียวอาจเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของความสัมพันธ์แบบคนรัก ที่ต่างฝ่ายต่างชอบพอ สนใจและเริ่มต้นศึกษาดูใจกัน แต่แล้วกลับพบว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งความรู้สึกรักหรือชอบมันจืดจางลง แต่ความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งกลับรู้สึกเพิ่มมากขึ้น

งานวิจัยส่วนใหญ่มักเน้นที่ความรักของชายหญิง และไม่ได้ดูความสัมพันธ์ของกลุ่ม LGBT ซึ่งจากงานวิจัยในชายรักชายชาวฟิลิปปินส์พบว่า สาเหตุหนึ่งของความรักข้างเดียวมักเกิดจากการตกหลุ่มรักกับคนที่มีคนรักแล้วหรือคนคนนั้นไม่ได้เป็นชายรักชายเหมือนกับตนเอง5

 

 

ทางเลือกเมื่อเกิดความรักข้างเดียว


 

ในทางทฤษฎี6 ผู้ตกหลุมรักนั้น มีทางเลือกได้หลายทาง โดยต่างประเทศจะเรียกว่า Active นั่นคือการพยายามจีบโดยตรงเพื่อเอาชนะใจ คนที่ตนเองรักให้ได้ ถ้าในภาษาพูดอาจหมายถึง ‘ตื๊อเท่านั้นที่ครองโลก’ หรือจะเป็นการพยายามจีบทางอ้อม (Passive) หรือโดยนัยที่ไม่โจ่งแจ้ง

 

สำหรับตัวผู้ถูกรักเอง ก็สามารถเลือกตอบสนองได้ เช่นกัน อาทิ การพยายามเพิกเฉย เปลี่ยนบทสนทนาหรือไม่สนใจเมื่ออีกฝ่ายสื่อสารในทางโรแมนติก (Passive) ไปจนถึงการพูดปฏิเสธความรักอย่างตรงไปตรงมา (Active) หรือกระทั่งการหลีกเลี่ยงที่จะพบเจอในสถานที่ต่าง ๆ การปิดกั้น (Block) ช่องทางการสื่อสารระหว่างกันทุกทาง

 

ทั้งนี้การที่แต่ละคนจะแสดงออกแบบไหน อาจขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของอีกฝ่าย หรือความสัมพันธ์ที่มีมาแต่ก่อน เช่น หากเป็นเพื่อนกันมาก่อน เราจะปฏิเสธอความรักของเพื่อนอย่างไร ที่จะยังรักษาความเป็นเพื่อนได้ หรือกลับกัน หากเราปฏิเสธในทางอ้อม คนที่ตกหลุมรักเราเขาจะคิดว่าเราให้ความหวังหรือไม่ หากอีกฝ่ายตามจีบเรามากจนก่อเกิดเป็นความรำคาญใจ เราจะรับมืออย่างไร กลับกันหากเราเป็นฝ่ายตกหลุมรัก แต่เขาไม่รักเรากลับ เราจะพยายามสู้ต่อ หรือตัดใจ ดังนั้นในสถานการณ์ความรักข้างเดียว จึงมีความเป็นไปในและทางออกได้หลากหลายทิศทาง

 

 

ผลกระทบทางใจของความรักข้างเดียว


 

จากงานวิจัยและบทความส่วนมาก2,4 พบว่า การถูกปฏิเสธความรักส่วนใหญ่อาจนำมาซึ่งความรู้สึกทางลบ อาทิ เศร้า เสียใจ ผิดหวัง เพราะความรักที่ไม่สมหวังอาจบ่งบอกว่าตัวเรานั้นไม่คู่ควร ไม่ดีพอ ส่งผลกระทบต่อการเห็นคุณค่าของตนเอง (Self-esteem) ได้ อย่างไรก็ตามก็พบว่ามีผู้ตกหลุมรักข้างเดียวบางคนอาจมีช่วงเวลาความรู้สึกสุขเล็ก ๆ ที่ได้รู้ว่าอย่างน้อยก็ได้พบเจอคนที่ตนหลงรัก5 รวมไปถึงหากตนเองสามารถจีบสำเร็จ หรือสามารถพิชิตใจเพื่อนให้รักตอบได้ ก็นำไปสู่ความรู้สึกทางบวกได้เช่นกัน

 

สำหรับผู้ที่เป็นฝ่ายถูกรัก อารมณ์ที่พบอาจเป็นความสับสนและกังวลว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดในการปฏิเสธความรัก รวมไปถึงความรู้สึกผิด (Guilt) อาจเกิดขึ้นได้ เพราะบุคคลรู้ว่าการปฏิเสธรักนั้นอาจทำให้ใครคนหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นคนทั่วไปหรือกระทั่งเพื่อน อกหักและเสียใจ หรือบุคคลนั้นก็เข้าใจความรู้สึกของการเป็นฝ่ายรักข้างเดียวเช่นกัน นอกจากนั้นการปฏิเสธรักยังเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความปรารถนาพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่พยายามสร้างหรือรักษาความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ให้ดีที่สุด6 ประเด็นที่น่าสนใจคือคนส่วนมากเวลานึกถึงความรักข้างเดียว มักนึกถึงความรู้สึกเจ็บปวดของผู้ที่ผิดหวังในความรัก ทว่าจริง ๆ แล้วเหตุการณ์นี้ผู้ที่ปฏิเสธรักก็อาจมีผลกระทบทางใจได้เช่นกัน

 

 

ยาใจเมื่อใจร้าว


 

จากงานวิจัยเชิงคุณภาพ4พบว่า เมื่อผิดหวังจากความรักที่ไม่สมหวัง หลายคนเลือกวิธีที่จะรับมือโดยการถอนตัวออกจากสถานการณ์ หรือหากิจกรรมอะไรก็ได้ที่ช่วยเปลี่ยนความสนใจจากความรักที่ไม่สมหวัง อาทิ การไปออกกำลังกาย ร้องหรือแต่งเพลง ออกไปชอปปิ้ง ทานข้าวนอกบ้าน หรือการออกไปพบปะพบเจอคนใหม่ๆ บ้างก็เลือกเน้นกิจกรรมที่เสริมความมั่นใจหรือเสน่ห์ เช่น การไปสปา หรือการเปลี่ยนเสื้อผ้าหน้าผมใหม่ (makeover) เป็นต้น

 

ความรักข้างเดียว อาจเป็นประสบการณ์ที่กระทบต่ออารมณ์จิตใจได้ไม่มากก็น้อย ดังนั้นการมีคนรอบตัวที่ช่วยสนับสนุนจิตใจ (Social support) เช่น เพื่อนหรือครอบครัวที่ช่วยให้ก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ถือเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนั้นการพูดคุยกับนักจิตวิทยาการปรึกษาอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในกรณีที่ความเจ็บปวดใจนั้นส่งกระทบต่อจิตใจหรืออารมณ์อย่างมาก หรืออาจช่วยให้สามารถเข้าใจตนเองมากขึ้นหากบุคคลมีความรักข้างเดียวอยู่เป็นประจำ ว่าอาจมีที่มาที่ไปจากอดีตหรือสิ่งใด7 หรือบางคนอาจมีแนวโน้มที่จะชอบตกหลุมรักข้างเดียวมากกว่าที่จะมีความรักความสัมพันธ์ที่สมหวัง2 การปรึกษานักจิตวิทยาอาจช่วยให้บุคคลสามารถไตร่ตรองตัดสินใจว่าจะรับมือ หรือจัดการกับความรักข้างเดียวของตนให้เหมาะสมอย่างไร

 

การรับมือกับความรักข้างเดียว อาจไม่มีสูตรสำเร็จรูป เพราะความรักนั้นขึ้นอยู่ที่กับตัวผู้หลงรัก ผู้ที่ถูกรัก และปัจจัยรอบด้านมากมาย และในฐานะที่ผู้เขียนที่เป็นคนหนึ่งที่เคยมีรักข้างเดียว จึงขอฝากบทความนี้ให้ผู้อ่านไว้ในเดือนแห่งความรักนี้ ว่า “ในการตบมือข้างเดียวของความรัก ไม่ว่าจะเลือกตบต่อเพื่อหวังว่ามันหนึ่งจะมีเสียงดังดั่งหวัง เลือกที่จะหยุด หรือจะเลือกอะไรก็ตาม สุดท้ายแล้วอย่าลืมกลับบ้าน ทานข้าว เข้านอน… และดูแลมือของคุณเสมอนะครับ”

 

 

รายการอ้างอิง

 

  1. Minerva, F. (2015). Unrequited love hurts: The medicalization of broken hearts is therapy, not enhancement. Cambridge Quarterly of Healthcare Ethics, 24(4), 479-485.
  2. Iannone, N. E., Bailey, K. E., & Nassar, S. R. (2020). Unrequited love. Encyclopedia of Personality and Individual Differences, 5670-5674.
  3. Baumeister, R. F., Wotman, S. R., & Stillwell, A. M. (1993). Unrequited love: On heartbreak, anger, guilt, scriptlessness, and humiliation. Journal of Personality and Social Psychology, 64(3), 377.
  4. Bratslavsky, E., Baumeister, R. F., & Sommer, K. L. (1998). To love or be loved in vain: The trials and tribulations of unrequited love. In B. H. Spitzberg & W. R. Cupach (Eds.), The dark side of close relationships, 307-326. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
  5. Manalastas, E. J. (2011). Unrequited love among young Filipino gay men: Subjective experiences of unreciprocated lovers. Social Science Diliman, 7(1), 63-81.
  6. Eden, J. (2010). “Nothing takes the taste out of peanut butter quite like unrequited love”: Examining the effects of unrequited love relationships. [Doctoral dissertation, Arizona State University]. ProQuest Dissertations and Theses database.
  7. Grande, D. (2020 March, 13). Unrequited love. https://www.psychologytoday.com/gb/blog/in-it-together/202003/unrequited-love

 

 


 

 

บทความโดย

อาจารย์ภาณุ สหัสสานนท์

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา