ข่าวและกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญจากกิจกรรมเสวนาวิชาการ Lunch Talk#1 : พฤติกรรมการติดการพนัน

LUNCH TALK มื้อที่ 1

วันพุธที่ 16 กันยายน 2563

 

เรื่อง พฤติกรรมการติดการพนัน

 

วิทยากร

รศ. ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต (อ.สมโภชน์)

ผศ. ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ (อ.น้อง)

 

ดำเนินรายการโดย

อ. ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ (อ.หยก)

 

 

ปัจจุบันมีสถิติพบว่า ทั่วโลกมีผู้คนนับล้านคนที่ขัดสนเงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มีความเครียด และมีหนี้สินที่เกิดจากการเล่นพนัน มูลค่าหนี้สินรวมกันหลายหมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ยแล้วคนละหมื่นกว่าบาท ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าการเล่นพนันจะไม่ใช่พฤติกรรมปกติโดยทั่ว ๆ ไป เพราะการเล่นพนันอาจส่งผลเสียได้ทั้งต่อตัวผู้เล่นเองหรือบุคคลรอบข้าง

 

 

การพนัน คืออะไร ?


 

กิจกรรมที่มีลักษณะของการชนะ-การแพ้ และมีการได้-การเสีย (bet) ทรัพย์สินหรือเงินทอง

 

 

พฤติกรรมอย่างไร ถึงจะเรียกว่าติดการพนัน?


 

สำหรับการเล่นลอตเตอรี่ หรือการเล่นพนันเล็ก ๆ น้อย ๆ เล่นการพนันเพื่อความสนุก ตื่นเต้น เร้าใจ และไม่ได้มีผลกระทบในด้านลบกับชีวิตและการใช้ชีวิตประจำวัน ยังไม่ถือเป็นการติด (addict) การพนัน แต่ถ้าเป็นในกรณีที่เล่นแล้วหยุดไม่ได้ อันนี้ก็จะเป็นปัญหา ซึ่งในการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (DSM-5: Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition) ระบุว่าการติดการพนันก็เหมือนกับการติดยาเสพติด และมีผลต่อการทำงานของสมอง เมื่อเราเล่นพนัน เราจะรู้สึกความสนุก ตื่นเต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ทำให้สมองมีการสั่งการให้หลั่งสารสื่อประสาท (neurotransmitter) บางตัวออกมา เช่น โดปามีน (Dopamine) ทำให้เกิดความสุข และความตื่นเต้น และเมื่อเราเล่นการพนันจนเกิดความเคยชิน จะทำให้สมองทำงานแบบเดิมโดยอัตโนมัติ ซึ่งพอไม่ได้เล่นก็จะเกิดความหงุดหงิด เราจึงเล่นการพนันไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความสุขหรือความพึงพอใจแบบนั้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ติดการพนันโดยไม่รู้ตัว และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ เช่น การหลีกเลี่ยงจากสังคม เนื่องจากจิตใจมุ่งอยู่แต่กับเรื่องการเล่นพนัน เล่นอย่างไรให้ได้หรือชนะพนัน

 

 

สื่อและปัจจัยรอบข้างมีผลต่อการเล่นพนันมากน้อยแค่ไหน?


 

คนไทยมักมีความเชื่อเรื่องโชค เรื่องดวง เป็นพื้นฐาน และยิ่งถ้ามีคนมาพูดชักชวนให้ลอง จะยิ่งทำให้อยากลอง และหากมีคนรอบข้างมาชักชวนหรือโน้มน้าวใจ ก็สามารถเป็นแรงจูงใจให้เล่นพนันได้ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของการซื้อลอตเตอรี่ ในปัจจุบันสื่อมักจะนำเสนอข่าวการได้รับรางวัลจำนวนมาก ๆ หรือการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับเลขเด็ดต่าง ๆ ข่าวสารเหล่านั้นอาจทำให้เรารู้สึกว่าโอกาสได้รับรางวัลเป็นเรื่องใกล้ตัวและเราก็อาจมีโอกาสถูกรางวัลได้เช่นเดียวกับในข่าว ซึ่งก็เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป กรณีเหล่านี้อาจจะจูงใจให้เราอยากเล่นลอตเตอรี่มากขึ้น และเกิดความรู้สึกว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นในสังคม นอกจากนี้ การพนันในยุคนี้ยังมาในรูปแบบของการพนันออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ทำให้คนเข้าถึงการเล่นพนันได้ง่ายขึ้น แต่สำหรับผู้ที่ยึดหลักความเป็นไปได้ (Probability) ก็จะมีหยุดคิดและพิจารณาก่อนสักหน่อยก่อนจะตัดสินใจเล่นหรือไม่เล่น

 

 

เยาวชนเริ่มเล่นการพนันเร็วขึ้น – เด็กเข้ามายุ่งเกี่ยวการพนันได้อย่างไร?


 

พฤติกรรมปกติของเด็กคือ เด็กจะสังเกตพฤติกรรมของผู้ใหญ่ในบ้าน หรือคนรอบข้าง หากคนรอบข้างเหล่านี้มีการเล่นพนัน ไม่ว่าจะเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น หวย หรือลอตเตอรี่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมของเด็ก อะไรที่ผู้ใหญ่ทำได้ โดยเฉพาะสิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์สนุก ทำให้เกิดความตื่นเต้น ก็จะดูเป็นสิ่งที่น่าสนุกสำหรับเด็กไปด้วย เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กอายุน้อย ๆ จะเข้าใจและมีส่วนร่วมในการเล่นพนันได้

นอกจากนี้ ในสมัยก่อน หากพูดถึงเรื่องการเล่นพนัน เราจะนึกถึงการต้องเดินทางไปบ่อน ต้องระมัดระวังและต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ จากตำรวจ ซึ่งสำหรับคนที่ไม่รู้จักแหล่งการพนันก็จะมีความยากลำบากในการเข้าถึงแหล่งการพนันเหล่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้ การเล่นพนันไม่ได้ลำบากแบบสมัยก่อน เนื่องจากมีรูปแบบของการพนันที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น เช่น เกมและการพนันออนไลน์ และยิ่งในสมัยนี้ เราสามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟน อินเทอร์เน็ต แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ และสื่อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เข้าถึงเร็วขึ้นตั้งแต่อายุน้อย ๆ ซึ่งถ้าเด็กรู้สึกว่าการพนันไม่ได้แปลกอะไร เพราะผู้ใหญ่ในบ้าน หรือสภาพแวดล้อม ชุมชนแถวบ้านก็ทำกัน การพนันก็จะเข้าถึงตัวเด็กได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

พ่อแม่ทำอย่างไร ลูกก็จะทำอย่างนั้น

เด็กไม่ได้ฟังในสิ่งที่พ่อแม่พูด แต่เขาดูในสิ่งที่พ่อแม่ทำ

 

ไม่ใช่แค่พ่อแม่เท่านั้นที่จะปลูกฝังพฤติกรรมการเล่นพนันให้เด็ก ผู้ใหญ่ท่านอื่น ๆ ในบ้าน หรือญาติผู้ใหญ่ หรือเป็นบุคคลที่เด็กรู้สึกว่าน่าเชื่อถือ ก็สามารถปลูกฝังพฤติกรรมการเล่นพนันให้เด็กได้เช่นกัน ซึ่งในทางจิตวิทยาเรียกว่า Modeling หรือการเป็นตัวอย่าง หากไม่อยากให้ลูกเล่นพนันหรือติดการพนัน พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านจะต้องไม่เล่นการพนันเลย

 

 

กรณีของเด็กและเยาวชนที่ติดการพนัน พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร?


 

ในเริ่มแรกถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมากในการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เนื่องจากปกติแล้ว เด็กมักจะเล่นเกมออนไลน์ในคอมพิวเตอร์หรือในสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว ซึ่งแยกได้ยากมากว่าเด็กกำลังหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมหรือติดการพนันกันแน่ เด็กในปัจจุบันนี้มีห้องนอนส่วนตัว และมักจะปกป้องสิทธิของตนเองไม่ให้พ่อแม่เข้ามาดูว่ากำลังทำอะไร หรือเรียกได้ว่ามี Privacy สูง และในครอบครัวที่ไม่ได้สนิทสนมกันหรือพูดคุยกันบ่อย ๆ ยิ่งทำให้พ่อแม่สังเกตพฤติกรรมของลูกได้ยากยิ่งขึ้น พ่อแม่จะทราบหรือสังเกตได้ก็ต่อเมื่อเกิดปัญหาเกิดขึ้น เช่น เกิดหนี้สินหรือมีการมาตามทวงหนี้

นอกจากนี้ เราทราบกันดีว่า ในเกมออนไลน์ต่าง ๆ มักจะมีโฆษณาแฝงเข้ามาด้วย และอาจจะมีโฆษณาเกี่ยวกับการพนันออนไลน์ที่มีลักษณะเชิญชวนให้เด็กเข้าถึงเว็บการพนันออนไลน์ พ่อแม่จึงควรมีกิจกรรมอย่างอื่นที่สามารถดึงลูกออกจากชีวิตออนไลน์ และตัวพ่อแม่เองก็ต้องมี “เวลา” ให้กับลูกในการชวนทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันแทนที่จะเล่นโทรศัพท์มือถือกันทั้งบ้าน และถ้าเรามีเวลาได้พูดคุยกันมากขึ้น จะช่วยให้เราสังเกตเห็นได้หากว่าลูกมีพฤติกรรมอะไรที่เปลี่ยนไป และในช่วงที่ใช้เวลาพูดคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกันนั้น จะต้องเป็นการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ (Quality of Time)

 

หากสังเกตเห็นว่าลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป พ่อแม่จะต้องมีความระมัดระวังในการใช้วิธีการที่จะพูดคุยกับลูก พ่อแม่ไม่ควรตำหนิ กล่าวโทษหรือลงโทษในสิ่งที่ลูกทำ เพราะจะทำให้เด็กไม่ยอมรับความจริงและเริ่มมีการโกหก แต่พ่อแม่ควรรับความจริงและฟังในสิ่งที่ลูกพูด และพูดคุยกับลูกในเชิงของการตั้งคำถาม เช่น ถามว่าสถานการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรและเราจะช่วยกันแก้ปัญหาได้อย่างไร เพื่อให้ลูกใช้ความคิด สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้องทำให้ลูกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และ ลูกไม่ใช่เทวดาของครอบครัว ต้องทำให้เด็กรู้สึกว่า บ้านคือ Home ไม่ใช่แค่ House คือ ไม่ใช่แค่อยู่อาศัย แต่ต้องมีความผูกพัน และมีความรับผิดชอบในกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว เช่น การรับผิดชอบงานบ้าน เพื่อนำไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม

 

สำหรับกรณีที่พ่อแม่ไม่ได้สร้างความผูกพันกับลูกตั้งแต่วัยเด็ก จะพบว่าการสร้างความไว้วางใจของลูกที่มีต่อพ่อแม่เป็นเรื่องที่ยากมาก การตั้งคำถามต่าง ๆ กับลูกวัยรุ่น เช่น การถามว่าทำอะไรอยู่ ไปที่ไหน ไปกับใคร จะทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไปก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของเขา และจะเริ่มถอยหนีจากพ่อแม่ ดังนั้น สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ คือ การรับฟังในสิ่งที่เขาอยากจะบอก จะทำให้เด็กเชื่อใจและไว้ใจเรามากขึ้น การหาเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการออกไปเที่ยวต่างจังหวัดด้วยกันบ้าง จะเป็นการช่วยสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันในครอบครัวให้เพิ่มขึ้นได้

 

 

คนลักษณะแบบไหนที่มักจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการพนันหรือติดการพนัน?


 

มีงานวิจัยพบว่า คนที่ยุ่งเกี่ยวกับการพนันหรือติดการพนันมักจะเป็นคนที่มีบุคลิกภาพหรือนิสัยที่ชอบความเสี่ยง ชอบความตื่นเต้น ชอบความท้าทาย และเชื่อในศักยภาพของตัวเองว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ นอกจากนี้ อาจเนื่องมาจากธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบการแข่งขัน ตั้งแต่เด็กจนโตเราจะมีการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นอยู่ตลอดเวลา การพนันก็ถือเป็นการแข่งขันอย่างหนึ่ง เป็นการแข่งขันกับอะไรหลาย ๆ อย่างที่เราไม่รู้ตัว ทั้งแข่งขันกับตัวเอง แข่งขันกับคนรอบข้าง แข่งขันกับกฎเกณฑ์ และในการเล่นพนันเรามักคิดว่าเราสามารถควบคุมได้เพราะเราเป็นคนเล่น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจมีอะไรหลายอย่างที่เราควบคุมไม่ได้และเราอาจแพ้ตั้งแต่ต้น

 

และยังมีงานวิจัยที่พบอีกว่า การได้ลุ้นถือเป็นการเสริมแรงอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราติดการพนันได้ง่ายขึ้น เช่น การที่เราซื้อลอตเตอรี่แล้วไม่เคยถูกรางวัลเลย แต่บังเอิญมีครั้งหนึ่งเกิดถูกรางวัลขึ้นมา จะทำให้เรามีความคิดว่า ฉันจะต้องถูกรางวัลอีก ถือเป็นการเสริมแรงให้เราซื้อลอตเตอรี่อีก และมีงานวิจัยพบว่า การเสียเงินจากการเล่นพนันจะเป็นการเสริมแรงให้คนเล่นการพนันมากขึ้นกว่าการได้เงินจากการเล่นพนันในจำนวนที่เท่ากัน เพราะมีการลุ้นว่าเราจะต้องได้เงินคืน ถือเป็นการเสริมแรงแบบไม่ตั้งใจ และแก้ได้ยากมาก ซึ่งตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ได้ระบุว่า การที่เราได้รับการเสริมแรงแบบคาดเดาไม่ได้ว่าเมื่อไหร่จะได้รับการเสริมแรงหรือต้องทำอะไรเท่าไหร่ถึงจะได้รับการเสริมแรง จะทำให้คนเราเกิดความคาดหวังหรือเกิดการลุ้นมากขึ้น และจะทำพฤติกรรมนั้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้รับโอกาสหรือได้ในสิ่งที่ต้องการ เช่น เมื่อเราเล่นการพนัน เราจะมีความคาดหวังว่าเราจะต้องได้หรือชนะพนัน หากเล่นแล้วแพ้มา 10 ครั้ง ก็จะทำให้เกิดความคาดหวังว่าครั้งที่ 11 จะต้องเล่นได้ ทำให้ยิ่งลุ้น ยิ่งมีความคาดหวังจะได้รับโอกาสชนะมากขึ้น กลายเป็นแรงจูงใจให้เล่นพนันมากขึ้นและติดพนันในที่สุด

 

 

มีวิธีการที่จะทำให้เลิกติดการพนันได้หรือไม่?


 

ตามหลักทางจิตวิทยา เชื่อว่าหากเราต้องการที่จะเลิกติดการพนันหรือเลิกเล่นการพนันนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ต้องเกิดจากความต้องการของเจ้าตัวที่อยากจะเลิก จากการสำรวจผู้ที่เข้ารับการบำบัดการติดการพนันในสหรัฐอเมริกา พบว่ามีผู้ที่กลับมาเล่นการพนันอีกถึงร้อยละ 80 เลยทีเดียว มีเพียงประมาณร้อยละ 20 เท่านั้นที่สามารถเลิกได้ จะเห็นได้ว่าการจะเลิกติดการพนันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากแต่ก็สามารถทำได้ การเลิกติดการพนันมีแนวทางในการปรับพฤติกรรม 2 ข้อ ดังนี้

 

ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการเล่นพนัน ก็จะลดโอกาสการเข้าไปเล่นพนันได้

ปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเองให้เลิกคิดที่จะเล่นพนัน ซึ่งบางคนอาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้เมื่อประสบกับสถานการณ์ที่เจ็บปวด ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนเจตคติหรือทัศนคติได้ และในปัจจุบัน มีการบำบัดที่เรียกว่าการฝึกสติ หรือ mindfulness ซึ่งจะช่วยให้เรามีสติหรือรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ หากสามารถฝึกสติได้ก็จะช่วยทำให้โอกาสที่จะกลับไปเล่นพนันอีกมีน้อยลง

 

 

มีวิธีการอย่างไรที่จะโน้มน้าวใจให้ผู้อื่นเลิกติดการพนัน?


 

วิธีการที่จะโน้มน้าวใจให้ผู้อื่นเลิกติดการพนันคือ ใช้วิธีการพูดคุยในลักษณะที่เป็นการตั้งคำถามให้เค้าได้คิดและค้นหาคำตอบ เช่น เล่นแล้วได้อะไร เล่นแล้วดีอย่างไร โอกาสแพ้-ชนะเป็นเท่าไหร่ ถ้ายังเล่นการพนันอยู่ชีวิตเค้าจะเป็นอย่างไร ให้เค้าฝึกคิดอย่างเป็นระบบอยู่ตลอดเวลา เมื่อเค้าคิดและไตร่ตรองเหตุผลต่าง ๆ แล้วคิดได้ว่าเค้าควรจะหยุด เค้าก็จะหยุดได้ด้วยตัวเอง และหากว่าคำถามที่เราตั้งขึ้นเป็นสิ่งที่เค้าเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน เค้าสามารถสัมผัสได้จริงหรือมีประสบการณ์ตรง การโน้มน้าวใจก็จะทำได้ง่ายขึ้น

 

การโน้มน้าวใจให้เด็กเลิกติดการพนันสามารถทำได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ขวบ เนื่องจากอำนาจการตัดสินใจหลาย ๆ อย่างยังอยู่ที่พ่อแม่ หากพ่อแม่มีความเข้าใจลูกและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ลูกก็จะสามารถช่วยให้เลิกติดการพนันได้ แต่สำหรับในผู้ใหญ่ที่ติดการพนันจะโน้มน้าวได้ยากกว่า เนื่องจากต้องให้คิดและตัดสินใจที่จะเลิกติดการพนันได้ด้วยตัวเอง

 

สำหรับกรณีที่มีผู้สูงอายุในบ้านติดการพนัน หากเป็นการเล่นพนันแบบเล็ก ๆ น้อย ที่ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนหรือเสียหายอะไรมาก และไม่ผิดกฎหมาย เช่น การซื้อหวยหรือลอตเตอรี่นิด ๆ หน่อย ๆ ก็อาจปล่อยให้ท่านเล่นได้บ้าง ถือเป็นความสุขในชีวิตของท่านอย่างหนึ่ง แต่หากข้ามเส้นเกินปกติจนเกิดปัญหา มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจจะต้องมีการบำบัดหรือโน้มน้าวใจให้เลิกเล่นการพนัน

 

 


 

 

รับชมการเสวนาออนไลน์ย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/CUPsychBooks/videos/1031678223943850/

 

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมติดการพนันของวัยรุ่นไทย

 

: กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ นิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 ในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 18-21 ปี โดยเป็นผู้มีพฤติกรรมติดการพนัน 250 คน (ชาย 126 คน หญิง 124 คน) และไม่มีพฤติกรรมติดการพนัน 250 คน (ชาย 125 คน หญิง 125 คน)

 

ทั้งนี้ พฤติกรรมติดการพนันหมายถึง การเล่นพนัน 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จนถึงเล่นพนันทุกวัน

 

“ปัจจัยทางสังคม” ได้แก่

 

ตัวแบบพ่อแม่ – หากวัยรุ่นมีพ่อแม่เล่นการพนันทั้งคู่ หรือมีแม่เล่นการพนัน โอกาสที่วัยรุ่นจะมีพฤติกรรมติดการพนันสูงกว่าวัยรุ่นที่พ่อแม่ไม่เล่นการพนันทั้งคู่หรือพ่อเล่นการพนัน อาจเนื่องมาจากลูกมีความสนิทและใกล้ชิดกับแม่มากกว่าพ่อ

 

ตัวแบบเพื่อนสนิท – การมีเพื่อนสนิทที่เล่นการพนันทำให้เกิดโอกาสที่จะมีพฤติกรรมติดการพนันสูงขึ้น เนื่องจากเพื่อนสนิทมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเลียนแบบพฤติกรรมของวัยรุ่น โดยเฉพาะเมื่อเป็นคู่เพื่อนสนิทใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน และมีประสบการณ์ชีวิตในลักษณะเดียวกัน (เช่น มีพัฒนาการทางร่างกายในระดับเดียวกัน มีสัมพันธภาพที่ไม่ดีกับพ่อแม่เหมือนกัน)

 

ผลการเรียน – หากวัยรุ่นมีผลการเรียนต่ำ โอกาสที่วัยรุ่นจะมีพฤติกรรมติดพนันสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะการเอาใจใส่ต่อการเรียนมีแนวโน้มจะทำให้นักเรียนมีเวลาทำพฤติกรรมไม่ดีน้อยลง รวมถึงการเล่นพนันด้วย

 

“ปัจจัยทางจิตวิทยา” ได้แก่

 

แหล่งการควบคุมตน – บุคคลที่มีพฤติกรรมติดการพนันมีแนวโน้มเชื่ออำนาจภายนอกตนสูง กล่าวคือ ผู้ที่มีพฤติกรรมติดการพนันเชื่อว่าตนจะมีเงินทองมาจับจ่ายใช้สอยได้ก็ด้วยการเล่นพนัน ซึ่งต้องอาศัยโชค เคราะห์ หรือดวง แทนการพยายามหางานทำเพื่อให้ได้เงินมาจับจ่ายใช้สอย

 

การขาดการยั้งคิด – บุคคลที่มีพฤติกรรมขาดการยั้งคิดสูง (คือมักแก้ปัญหาด้วยการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยไม่ได้ประเมินถึงผลลัพธ์ต่างๆ อย่างรอบคอบ ขาดความอดทน) โอกาสที่จะมีพฤติกรรมติดการพนันย่อมสูงขึ้นด้วย

 

นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้ตรวจสอบอิทธิพลของ เพศ การเห็นคุณค่าในตนเอง และความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ อีกด้วย แต่ไม่พบว่าปัจจัยดังกล่าวมีส่วนสัมพันธ์กับพฤติกรรมติดการพนัน

 

 

ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันวัยรุ่นไทยจากการพนัน

 

  1. ควรหาทางป้องกันการเล่นพนันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบเกมออนไลน์ และการพนันทายผลกีฬา ซึ่งการพนันประเภทนี้จะดึงดูดกลุ่มประชากรเพศชายที่มีอายุน้อย เช่น ในโรงเรียนควรสอนเรื่องทฤษฎีความน่าจะเป็น (ซึ่งเป็นเรื่องที่มีอยู่แล้วในวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น) ควบคู่กับเรื่องการเล่นพนัน เพื่อชี้ให้เด็กเห็นว่าโอกาสการชนะพนันนั้นมีน้อยมาก
  2. ไม่ควรถ่ายทอดสดการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลและโฆษณาเกี่ยวกับสลากกินแบ่งรัฐบาลทางสื่อโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นเสื่อที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากทั้งเด็กและผู้ใหญ่

 

 


 

รายการอ้างอิง

 

“ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมติดการพนันของวัยรุ่นตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร”
“Selected factors related to gambling addicted behavior of late adolescents in Bangkok”

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2546)
โดย นางสาวภัทรพร แจ่มใส
ที่ปรึกษา รศ.ศิรางค์ ทับสายทอง
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9159

 

ภาพประกอบจาก http://www.freepik.com

ปลดแอกจาก Internalised Oppression

ฉันต่อแถวอยู่หลังเพื่อนผิวขาวชาวอเมริกันและแคนาดาสี่คน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของสก็อตแลนด์ประทับตราในหนังสือเดินทางก่อนขึ้นเครื่องบินไปทริปในยุโรปด้วยกัน เพื่อนคนแรกยื่นหนังสือเดินทางอเมริกา เจ้าหน้าที่ประทับตรา คนที่สองยื่นหนังสือเดินทางแคนาดา เจ้าหน้าที่ประทับตรา ฉันเตรียมหนังสือเดินทางประเทศไทยที่มีวีซ่าสำหรับเดินทางในยุโรปพร้อมไว้ที่กระเป๋ากางเกงด้านหลัง เมื่อถึงคิวขณะที่ฉันกำลังเอื้อมไปหยิบหนังสือเดินทางที่เหน็บไว้ที่กระเป๋ากางเกงด้านหลังนั้น เจ้าหน้าที่ก็พูดขึ้นว่า…

 

“You have your visa ready, right?” (คุณมีวีซ่าพร้อมแล้วใช่หรือไม่)

“Yes, of course. I have it.” (แน่นอน ฉันมีวีซ่ามาแล้ว)

 

ฉันตอบด้วยความรู้สึกเตรียมพร้อม มั่นใจเหมือนเด็กนักเรียนหน้าห้องที่รู้ว่าจะต้องถูกครูถาม จึงเตรียมทำการบ้านมาอย่างดีและตอบด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ

 

ฉันยื่นหนังสือเดินทางให้เจ้าหน้าที่ประทับตรา และเดินออกมาหาเพื่อนชาวแคนาดาที่ยืนรออยู่ข้าง ๆ เพื่อนพูดทักทันทีว่า “รู้รึเปล่าว่าเธอกำลังโดนเหยียด (ทางเชื้อชาติ) อยู่ เจ้าหน้าที่ไม่ควรถามเธอว่าเธอมีวีซ่ารึเปล่าก่อนที่จะเห็นหนังสือเดินทางของเธอ เขาไม่ควรคิดเอาเองว่าเธอมาจากประเทศที่ต้องใช้วีซ่า”

 

ความรู้สึกภาคภูมิใจ ยินดีในการเป็นเด็กดีหายไปกลายเป็นความรู้สึกโกรธและอับอายเมื่อเกิดความเข้าใจว่าเรากำลังโดนเหยียด โดนปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ ที่สะท้อนถึงการใช้ชีวิตภายใต้ระบบที่เราคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่เราคุ้นชิน ที่เรายอมรับเข้ามาเป็นการใช้ชีวิตประจำวันของเรา แท้จริงแล้วคือการใช้ชีวิตภายใต้ระบบแห่งความไม่เท่าเทียม ระบบแห่งการกดขี่และการเหยียดที่เราไม่เคยมองเห็นเลยจนเมื่อมีบุคคลจากกลุ่มที่มีอำนาจเหนือระบบนี้ (dominant/privileged group) ชี้ให้เราเห็น ทำให้ความต้องการเป็น “เด็กดี” ภายใต้ระบบความไม่เท่าเทียมที่ว่า “ฉันสมควรได้รับการปฏิบัติแบบนี้ เพราะนี่คือสิ่งมันควรจะเป็น” ได้รับการ ปลดแอก แปรเปลี่ยนเป็นความโกรธ เพราะฉันรู้แล้วว่าฉันสมควรจะได้สิ่งที่ดีกว่านี้…สิ่งที่เท่าเทียม

 


แม้ตัวอย่างที่ยกมานั้นจะเป็นตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับเชื้อชาติ แต่การรับเอาค่านิยมและวิถีการใช้ชีวิตภายใต้ระบบแห่งการกดขี่และไม่เท่าเทียมมาเป็นความเชื่อของตนภายในกลุ่มคนที่ถูกกดขี่เองนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในทุก ๆด้านของชีวิตที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียม เช่น ชนชั้น เพศ การบกพร่องทางร่างกาย เป็นต้น ในทางจิตวิทยาเรียกกระบวนการนี้ว่า Internalised oppression มีความหมายตรงตัวเลยว่า คือ การรับเอาทัศนคติและมุมมองที่มาจากระบบสังคมที่มีความกดขี่และไม่เท่าเทียมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนหรือค่านิยมของตนเอง ทำให้บุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่ (oppressed group) เชื่อว่าระบบความไม่เท่าเทียมในสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่นั้น เป็นระบบที่เป็นปกติ ทั่วไป ที่มันควรจะเป็น ซึ่งแปลว่า คนเหล่านั้นจะรู้สึกว่าตนเองสมควรที่จะอยู่ในสถานะหรือบทบาทที่สังคม (ซึ่งมาจากผู้มีอำนาจในสังคม) ให้มา ไม่รู้สึกว่าตนเองกำลังถูกเอาเปรียบหรือปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม การเรียกร้องถึงความเท่าเทียมเป็นการเรียกร้องที่มากเกินไปและอาจไม่ยุติธรรมกับผู้อื่นในสังคม แม้ว่าผู้อื่นในสังคมนี้จะหมายถึงกลุ่มคนมีอำนาจที่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างระบบสังคมที่ไม่เท่าเทียมนี้และได้รับประโยชน์หรืออย่างน้อยไม่เสียประโยชน์จากระบบที่ไม่เท่าเทียมนี้ก็ตาม

 

หากพิจารณาตัวอย่างที่ยกมา จะทำให้เข้าใจกระบวนการภายในจิตใจของผู้ที่มี Internalised oppression ได้มากขึ้นว่า นอกจากที่ฉันมองไม่เห็นถึงการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมนั้นแล้ว ฉันยังปฏิบัติตนให้เป็น “เด็กดี” ของผู้มีอำนาจ ของกลุ่มคนที่สร้างและรักษาระบบความไม่เท่าเทียมนี้อีก เกิดเป็นความเชื่อว่า “นี่คือสิ่งที่มันควรจะเป็น” หรือ “แค่นี้ก็ดีพอแล้ว” โดยไม่ตั้งคำถาม ไม่สงสัย คัดค้านที่จะให้คุณภาพชีวิตของตนเองดีขึ้นหรือได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมมากขึ้น บางคนอาจจะสนับสนุนให้รักษาระบบความไม่เท่าเทียมนี้ด้วยซ้ำ เพราะเชื่อว่านี่คือสิ่งที่คุ้นเคย เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตนเองและทุกคน ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นไปในแนวที่สนับสนุนหรือรักษาความไม่เท่าเทียมเหล่านี้ไว้ ซึ่งอาจทำให้เราเชื่อจริง ๆ ว่า เราไม่เก่ง ไม่ดีพอ หรือไม่มีค่าพอที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเหมือนกลุ่มคนอื่น และเชื่อว่ากลุ่มที่มีอำนาจเหนือเรานั้นสมควรที่จะได้อยู่ในสถานะหรือบทบาทที่เหนือกว่าเรา ความเชื่อเหล่านี้ก็ได้มาจากการถูกปลูกฝังผ่านระบบต่าง ๆ ทางสังคมที่ถูกสร้างขึ้นจากผู้มีอำนาจที่ต้องการจะรักษาความไม่เท่าเทียมนี้ไว้ แนวคิดทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งในการอธิบายปรากฎการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นรอบตัวเราได้อย่างดี

 

อีกความรู้สึกที่อยากให้ทุกคนได้เห็นคือ ความโกรธและความอับอายที่เกิดขึ้นหลังจากเข้าใจว่าฉันกำลังโดนเหยียดหรือปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม สองความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกที่ควรจะเกิดขึ้นและไม่แปลกที่จะเกิดขึ้น ความแปลกจริง ๆ แล้วน่าจะเป็นว่า ที่ผ่านมาทำไมจึงไม่เกิดความรู้สึกเหล่านี้ทั้ง ๆ ที่ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้การถูกกดขี่หรือปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมมาโดยตลอด การได้รับการเปลี่ยนมุมมองโดยเฉพาะจากบุคคลที่มาจากกลุ่มที่เหนือกว่า (dominant group) เป็นเสมือนการอนุญาตให้ฉันมองเห็นความไม่เท่าเทียมนี้ รู้สึกอายที่อยู่ในสถานะนั้นเมื่อเทียบกับเพื่อนคนอื่น แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกได้รับอนุญาตให้ความโกรธได้ออกมา เป็นความรู้สึกที่เหมาะกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การปลดแอกทางความคิดนำมาซึ่งการปลดแอกทางความรู้สึก ช่วยให้บุคคลเห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเอง เคารพตนเองและเห็นความสำคัญของการได้รับความเคารพเทียบเท่ากับมนุษย์คนอื่น ๆ ในสังคม และหวังว่าจะเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบทางสังคมที่สร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกกลุ่มต่อไป

 

 

รายการอ้างอิง

 

David, E. J. R., & Derthick, A. O. (2013). What Is Internalized Oppression, and So What? In E. J. R. David (Ed.), Internalized Oppression (pp. 1–32). Springer Publishing Company. https://doi.org/10.1891/9780826199263.0001

 

Tappan, M. B. (2006). Reframing Internalized Oppression and Internalized Domination: From the Psychological to the Sociocultural. Teachers College Record, 108(10), 2115–2144. https://doi.org/10.1111/j.1467-9620.2006.00776.x

 

ภาพประกอบจาก http://www.freepik.com

 

 


 

 

บทความวิชาการ

โดย อาจารย์ ดร. พนิตา เสือวรรณศรี

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา

หัวหน้าศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

Moral grandstanding : การอวดอ้างตนว่าเป็นผู้มีจริยธรรม

การที่คนเราจะเข้าร่วมการถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในสังคมนั้น แต่ละคนมักจะมีแรงจูงใจและมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน

 

ยกตัวอย่างเช่น

 

การที่ ‘เจน’ รณรงค์ในสื่อโซเชียลเรื่องการทำลายธรรมชาติจากการใช้หลอดพลาสติก โดยเจนบอกว่า ผู้คนควรละอายที่ใช้หลอดพลาสติกเพราะมันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเจนยังแสดงจุดยืนที่จะบอยคอตต์ร้านค้าที่บริการหลอดพลาสติกให้แก่ลูกค้า

 

แรงจูงใจใดกันที่ทำให้เจนออกมาพูดเรื่องนี้?

 

เธออาจมีแรงจูงใจจากความเชื่อที่เธอหวังว่า การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม เธออาจถูกจูงใจให้แสดงความเชื่อทางจริยธรรมของเธอมากขึ้นด้วยท่าทีต่าง ๆ ของผู้คน ซึ่งเธอเชื่อว่าผู้คนจะชื่นชมในคุณธรรมจริยธรรมของเธอ ทั้งนี้ การเข้าร่วมถกเถียงในประเด็นทางจริยธรรมที่แฝงไปด้วยความปรารถนาที่จะได้รับการจดจำและได้มีตัวตน เราเรียกว่า Moral grandstanding (การอวดอ้างตนว่าเป็นผู้มีจริยธรรม)

 

 

 

Moral grandstanding ค่อนข้างจะไม่เป็นประโยชน์และยังเป็นผลเสียต่อการถกเถียงประเด็นศีลธรรมต่าง ๆ ในสังคม

 

1. Moral grandstanding ทำให้เกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรงเพื่อที่จะยืนหยัดว่าตนเองนั้นเป็นผู้มีคุณธรรมสูงส่งที่สุด ยกตัวอย่างจาก บทความจากนิตยสาร New York Times เมื่อไม่นานมานี้ ที่เป็นประเด็นถกเถียงอยู่ใน Social media เกี่ยวกับการใช้ภาษาของผู้เขียนเรื่องผลไม้ไทยในการอธิบายลักษณะผล รสชาติ กลิ่น ความยากลำบากในการปอก ฯลฯ ที่ทำให้ชาวเน็ตต่างชาติที่หลงไหลในผลไม้ไทยไม่ค่อยพอใจ ให้ลองนึกภาพตามว่า สำหรับคนทั่วไปที่อ่านข่าวนี้แล้วรู้สึกว่า ไม่พอใจ ก็อาจจะได้แค่คิดแล้วก็พิมพ์ใส่ Social media เล็กน้อยว่า “ทำไมเขียนได้แย่อย่างนี้” หรือ “ถ้าใจแคบกับผลไม้และวัฒนธรรมของไทยจะเขียนไปทำไม” เพื่อแสดงศีลธรรม หรือความคิดเห็นของตนเอง หลังจากโพสแล้วก็จะพบกับผู้คนจำนวนหนึ่งที่มีความคิดเห็นตรงกัน หรือรุนแรงกว่าเช่น กล่าวหาว่าคนเขียนเป็นพวกเหยียดชาติพันธุ์ (racist) หรือตำหนิทางสำนักพิมพ์ว่าทำไมถึงปล่อยให้บทความนี้ตีพิมพ์ออกมาได้ แต่ถ้าเกิดมีคนที่ต้องการเป็นที่จดจำในสังคมเกี่ยวกับความเคารพบูชาศีลธรรมอันสูงส่ง ความคิดเห็นเช่น “พวกเราไม่เห็นด้วยกับสิ่งนี้..” ก็จะไม่ตอบสนองความพึงพอใจทางศีลธรรมของพวกเขา พวกเขาจึงต้องปรับลักษณะแสดงความคิดเห็นไปในทางที่สุดโต่ง คุกคาม และดุดัน มากกว่าคนทั่วไป ใช้ศีลธรรมเป็นอาวุธกราดยิงสร้างความเสียหายโดยไม่สนสิ่งใด

 

2. เมื่อบุคคลพยายามหาทางที่จะสร้างความสูงส่งทางศีลธรรมหรือความบริสุทธิ์ผุดผ่องเหนือผู้อื่นให้ตนเอง เขาอาจใช้วิธีแสดงความไม่พึงพอใจ กับเรื่องที่ไม่ได้มีอะไรเหมาะสมให้วิจารณ์ สำหรับ moral grandstander การแสดงความไม่พึงพอใจในประเด็นที่คนอื่นไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาของสังคม จะสะท้อนถึงการมีศีลธรรมอันสูงส่งและมีวิสัยทัศน์ทางศีลธรรมมากกว่าผู้อื่น (Superior moral sensitivity)

 

3. ลองนึกถึงการที่บุคคลกระทำความผิดหรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมใด ๆ ในพื้นที่สาธารณะอย่างสื่อออนไลน์ แล้วถูกกล่าวโทษหรือใช้ถ้อยคำทำให้อับอายหรือละอายใจ ประมาณ 10 หรือ 100 คอมเมนต์ ก็จะมีผู้คนส่วนหนึ่งที่มักจะแสดงความคิดเห็นในเชิงตั้งศาลเตี้ยมาตัดสินและกดดันให้มีการลงโทษผู้ที่กระทำผิด หรือแสดงความคิดเห็นในเชิงเห็นด้วยกับความเห็นของคนอื่นที่มีลักษณะต้องให้เกิดการลงโทษเช่นกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมกลุ่มคนที่มีความคิดคล้ายกัน ให้กลายเป็นคนหมู่มากที่ยืนอยู่ฝั่งของความถูกต้องของการโต้แย้งทางศีลธรรมนี้ และช่วยกันแบ่งปันมุมมองทางศีลธรรมภายในกลุ่มเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของกลุ่มตนเอง อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าคนที่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารการกระทำผิดศีลธรรมของผู้อื่นจะเป็นเพราะความเห็นแก่ตัวไปหมดทุกคน อย่างในประเทศไทย พฤติรรมของผู้คนจะได้รับอิทธิพลจากบรรทัดฐาน (Norm) ของสังคมค่อนข้างมาก การส่งเสริมให้ผู้กระทำผิดถูกลงโทษ หรืออับอาย ก็เหมือนเป็นกระบวนการสำคัญหนึ่งในการลดพฤติกรรมการละเมิดบรรทัดฐานทางสังคมของคนในสังคม

 

สรุปก็คือ Moral grandstanding จะกระตุ้นให้การวิพากษ์วิจารณ์เป็นไปอย่างสุดโต่ง และมีแนวโน้มทำให้การแสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน ขาดมุมมองที่หลากหลายและรอบด้าน หรือหากเกินเลยกว่านั้นก็จะเริ่มดูถูกถากถางความคิดเห็นของผู้อื่นที่ขัดแย้ง หรือไม่เห็นด้วยกับตนเอง เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง ผู้คนก็จะเริ่มรู้สึกได้ว่าคนเหล่านั้นพยายามวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้อื่นเพื่อให้มีพื้นที่ในสังคม แสร้งทำเป็นมีคุณธรรมศีลธรรมสูงส่ง แต่ตนเองกลับไม่ได้ปฏิบัติตามคุณธรรมที่ตัวเองกล่าวอ้าง จากปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้สังคมมองว่า การโต้เถียงเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม เป็นกิจกรรมของคนเสแสร้ง หรือไม่ค่อยจริงใจ

 

 

แม้ moral grandstanding จะสร้างผลเสียกับวงสนทนาโต้แย้งโดยทั่วไป แต่เราก็ยังไม่ค่อยรู้ว่า Moral grandstanding จะส่งทางบวกหรือทางลบผลต่อผู้ร่วมโต้แย้งหรือบุคคลอื่น ๆ มากน้อยอย่างไร Moral grandstander จะได้รับประโยชน์อะไรจากการกระทำของเขา หรือว่าความพยายามจะมีศีลธรรมสูงส่งของเขาจะกลับมาทำร้ายตัวเองได้อย่างไรบ้างหรือไม่ ยังไม่มีงานวิจัยใดตอบคำถามนี้อย่างชัดเจน แต่เมื่ออยู่ในวงสนทนาโต้แย้งเกี่ยวกับศีลธรรมเราก็จะพยายามประเมินว่าเราแยกแยะ Moral grandstander ได้จากปัจจัยใดบ้าง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหลายปัจจัยที่น่าจะช่วยให้เราประเมินได้ เช่น ในกรณีที่เราสามารถยืนยันตัวตนบุคคลนั้น (อาจจะเป็นคนรู้จัก หรือคนมีชื่อเสียง) หากเขาได้แสดงทัศนะใด ๆ เกี่ยวกับศีลธรรม แล้วเขามีการกระทำที่สอดคล้องกับศีลธรรมทีเขากล่าวอ้างเป็นประจำ เราก็ควรจะเคารพการแสดงทัศนะของเขาได้ สรุปก็คือ ความสอดคล้องของคำกล่าว และพฤติกรรมของผู้กล่าว เป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการแยกแยะได้ว่าเป็นความคิดเห็นที่จริงใจ หรือว่าแสดงความคิดเห็นเพื่อหวังผลประโยชน์อื่น ในทางกลับกันในโลกออนไลน์ก็มักจะมีคนที่ไม่ยืนยันตัวตนหรือตรวจสอบไม่ได้ หรือมีประวัติที่ไม่น่าเชื่อถือ เมื่อไม่มีสิ่งที่สามารถยืนยันตัวตนที่ดี เราก็มักจะตัดสินจากอะไรที่มองเห็นได้ เช่น รูปโปรไฟล์ ชื่อ หรืออาจมีการดูความคิดเห็นเก่า ๆ เพื่อดูความสอดคล้องกับความเห็นปัจจุบัน แต่ถึงจะยืนยันตัวตนได้หรือไม่ได้อย่างไร เรายังมักจะเห็นดีเห็นงามกับ moral grandstanding ในกรณีที่เขาโต้แย้งสนับสนุนข้างที่เราเห็นด้วยอยู่บ่อย ๆ เช่นในปี 2019 ที่มีความเห็นค่อนข้างรุนแรงเกี่ยวกับ Begpackers หรือชาวต่างชาติที่มาเรี่ยไรขอเงินเพื่อท่องเที่ยวที่พบเห็นได้มากขึ้นในปีที่ผ่านมา ก็จะมีทั้งผู้คนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการแสดงความคิดเห็นที่รุนแรง ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีค่านิยมสอดคล้องกับกลุ่มไหน จำเป็นไหมที่เราจะต้องเข้าร่วมประณามกับเขา หรือคนไทยเราประณามกันรุนแรงเกินเหตุไปรึเปล่า

 

มีงานวิจัยพบว่าการ Moral grandstanding มักจะมีจุดประสงค์เพื่อสร้างชื่อเสียงยกย่องตนเอง และสร้างอำนาจเพื่อครอบงำผู้อื่น ซึ่งทั้งสองจุดประสงค์นั้นทำให้เกิดชนชั้นในสังคม แต่จะมีวิธีการและรูปแบบที่แตกต่างกันอยู่ บุคคลที่ต้องการสร้างชื่อเสียงและได้รับการเคารพยกย่องในฐานะของผู้มีศีลธรรมอันดี จะแสดงความคิดเห็นที่เป็นทิศทางบวก และเป็นประโยชน์ต่อวงสนทนาและการใช้ชีวิต ในขณะที่ทางด้านของการสร้างอำนาจ จะยกยอความคิดและจริยธรรมของตนเอง รวมไปถึงใช้การใช้วิธีว่าร้ายลดค่า กดดัน ข่มขู่ และทำให้ผู้อื่นอับอาย ซึ่งไม่นานมานี้ก็มีงานวิจัยศึกษาว่า บุคคลที่ Moral grandstanding มักจะมีความปรารถนาและพฤติกรรมที่ค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการความเคารพยกย่อง หรือต้องการอำนาจ ผู้สนใจสามารถทำแบบทดสอบได้ที่ ลิงค์ นี้

 

 

นับเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะบอกได้ว่าใครกำลัง Moral grandstanding เพราะเราจะตัดสินได้ชัดเจนที่สุดจากแรงจูงใจที่ต้องการมีตัวตนหรือต้องการได้รับการเคารพนับถือของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่มีทางที่เราจะตัดสินได้ทันทีจากการแสดงความคิดเห็นที่มีตัวหนังสือไม่กี่บรรทัด ความยากอีกอย่างหนึ่งก็คือ Moral grandstanding มักจะแสดงความคิดเห็นในทางอ้อม เพราะการที่ใครคนหนึ่งจะมายืนหยัดยกยอตนเองอย่างชัดเจนว่ามีศีลธรรมสูงส่งกว่าใครในที่นี้ ก็คงจะไม่ได้รับผลที่ดี Moral grandstander มักจะใช้วิธีการแสดงความไม่พอใจ และการวางตัวอยู่บนฝั่งของศีลธรรมอันดี สรุปได้ว่า ด้วยความที่เราไม่สามารถรู้ความคิดและแรงจูงใจของผู้คน ก็ยากที่เราจะตัดสินว่าใคร Moral grandstanding ในขณะที่การระบุว่า เขาต้องการได้รับการเคารพยกย่องไหมอาจจะสังเกตได้จากความรู้สึกผิดหวัง ไม่พึงพอใจเมื่อไม่ได้รับการยอมรับหรือจดจำจากบุคคลอื่น

 

จากที่ได้กล่าวไปแล้วจะเห็นได้ว่า การระบุพฤติกรรม grandstanding ให้ได้ชัดเจนแม่นยำเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก และการพยายามระบุว่าใครกำลัง Moral grandstanding ก็ไม่ทำให้เกิดประโยชน์เท่าไหร่ แต่จากบทความนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้คนสามารถใช้การโต้แย้งทางจริยธรรมเพื่อให้ได้รับการยอมรับอย่างเห็นแก่ตัว ซึ่งเมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว เราก็ควรระวัง และคิดให้รอบคอบก่อนแสดงความคิดเห็น โดยต้องคำนึงว่าความคิดเห็นของเราจะส่งผลต่อการโต้แย้งในลักษณะใด เรากำลังพยายามถ่ายทอดความเข้าใจของเรา หรือเรากำลังทำให้การโต้แย้งนี้ซับซ้อนวุ่นวายมากยิ่งขึ้น ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์เมื่อเราต้องเข้าสู่การสนทนาครั้งต่อไป ว่าควรจะปรับปรุงอะไรก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นแต่ละครั้งนะครับ

 

 


 

บทความวิชาการ

โดย Dr. Harry Manley

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 


 

 

About the Author.

Harry Manley is a lecturer in the Faculty of Psychology at Chulalongkorn University. Twitter @harrisonmanley

Moral Grandstanding

When people engage in public discourse, they do so with different motivations and goals. For example, consider Jane protesting on social media about the harmful nature of single use plastic straws. Jane argues that other people should be ashamed if they use plastic straws because of their impact on the environment and she states her commitment to boycott any vendors that serve plastic straws. What is motivating Jane’s moral talk here? She may be motivated to state her beliefs in the hope that this enhances shared understanding and, ultimately, improves other people’s moral behaviour. However, she may also be motivated to express her moral beliefs because they signal her heightened moral credentials and she believes that others will admire her moral respectability. Moral discourse that is underpinned by the desire to gain recognition and status is called moral grandstanding.

 

 

What are the consequences of moral grandstanding for moral discourse?

 

Moral grandstanding is argued to contribute to a wide range of negative outcomes for public discourse. First, moral grandstanding contributes to excessive displays of moral outrage as people compete to express their superior moral credentials. For example, a recent NY Times article (also printed in the Bangkok Post) caused a stir among many Thai netizens who took to social media outraged at the portrayal of the country’s fruits. Let us imagine an individual who reads this article and initially thinks it was poorly written and perhaps somewhat ignorant of Thai culture. They wish to publicly share their moral opinion with others so they open social media where they encounter many other people who are taking strong stances and decrying the article as “racist”, or are “…shocked it was published”. If they now want to stand out and be recognised for our own moral respectability, it is suddenly not enough to say we didn’t agree with the article, instead we must adopt a stance that is ever more extreme and outraged (up to a limit) than others. Put simply, there can become a moral arms race that leads to the ramping up of moral outrage. Second, when people are looking for ways to appear more morally respectable and virtuous than others they may express outrage and indignation about issues that are not truly deserving of such condemnation. For the moral grandstander, being indignant about issues that others don’t recognize as a societal problem is simply a sign of their superior moral sensitivity. Third, consider an individual being publicly shamed (i.e., on social media) for a transgression. Despite tens or hundreds of comments that are already shaming the person, many people still feel compelled to pile on and add their comment of condemnation, either repeating what others have already said or agreeing with their condemnation. What purpose does this serve? One function of piling on is that it signals to others that they are aligned with the “right side” of the moral argument and they share the perspective their ingroup adopts on an issue. Again, this is not to say that every person who comments on the latest viral outrage is doing so for selfish motives. In Thai culture – where behaviour is strongly guided by prevailing social norms – shaming may also serve an important function in communicating group norms and regulating behaviour when people violate these norms.

 

In summary, moral grandstanding can encourage public discourse to become more extreme and more polarised. Further, one of the consequences of moral grandstanding is that it can ultimately lead to increased public cynicism towards moral discourse. As people more frequently suspect moral talk is being used in order to gain status, and witness cases of moral hypocrisy where people talk the moral talk but don’t walk it, everyday contributions to moral discourse are viewed as increasingly insincere.

 

 

What are the consequences of moral grandstandingfor the moral talker?

 

Despite the negative outcomes that moral grandstanding may have for moral talk in general, little is known about the interpersonal consequences of engaging in moral grandstanding.  In other words, do people ever benefit from their grandstanding behaviour or do their efforts backfire? Although there are no published studies directly addressing this question, when we are trying to evaluate others based on their moral talk, several factors are probably relevant for deciding whether we judge them positively or negatively. First, we may use cues of the individual’s authenticity; if we know (through experience) that a person only ever declares their moral views for issues they have a strong belief in and they are also a person who acts on these beliefs, then we are likely to respect their contributions to moral talk. This will help us to distinguish whether their expressions of indignation are genuine or strategic. In contrast, past experience that indicates the person is hypocritical and inauthentic will make us much more cynical about their contributions to moral talk. The part where it gets tricky is that much of moral discourse occurs online with people we don’t know (or who are anonymous) and where we lack good indicators of their authenticity. However, here we are still likely to use various heuristics and cues to infer their authenticity (e.g., we might try to judge their motives based on their profile image, or we may look at their past comments on other issues as an indicator of their consistency, etc.). In addition, we are likely to view moral grandstanding more favourably when the moral argument being presented is one we agree (as opposed to disagree) with. For example, there were several instances in 2019 where people expressed their outrage at the presence of Begpackers on Thailand’s streets. Whether you view the people making these expressions of outrage in a positive or negative light will depend to a large degree on your shared values and whether you think the behaviour they are decrying is morally acceptable or not.

 

 

Prestige and dominance-based moral grandstanding.

 

Researchers have also identified that moral grandstanding can be expressed using either prestige or dominance-based motives. This distinction between prestige and dominance-based strategies is a broader theme in explaining human behaviour in social hierarchies but applied to moral grandstanding it can account for important differences in the way moral grandstanding is displayed. Individuals may seek moral prestige and hope that others will recognise their superior moral credentials and they go about seeking this recognition by openly displaying positive moral qualities. However, another way of attaining social status through moral grandstanding is by seeking dominance over others; here, moral talk is used as a tool to silence, shame, derogate and intimidate others. In other words, individuals may strive for social status by either elevating their own moral status or bringing others down. Recent work has shown that individuals vary in their stable disposition to engage in prestige and dominance based moral grandstanding; click here, if you wish to test yourself!

 

 

How can you tell if someone else is moral grandstanding?

 

In short, it’s tricky! Because moral grandstanding depends critically on the person’s motive (i.e., whether they are using discourse to gain status), it’s not possible to be certain if someone is moral grandstanding (or not) simply from their discourse. When people engage in moral grandstanding they typically do so indirectly. Using social media to declare how you are more morally respectable than your peers would be a poor strategy for actually gaining their admiration of your moral values. Rather, moral grandstanding is typically expressed through displays of indignation and  their moral stances Thus, in the absence of insight into a person’s motivation, it’s hard to determine whether they are actually moral grandstanding, as opposed to simply stating their moral belief without wishing to gain status from it. Arguably, the only way you might be able to infer whether their moral talk is motivated by the desire for status is if you see their disappointment at the absence of any recognition!

 

Advice.

What advice can I offer to improve moral discourse? Because it’s hard to ever be certain whether someone is grandstanding or not, using the information in this article to try and identify grandstanders isn’t especially helpful or productive. Perhaps the more important thing is to realise that all of us can sometimes use moral talk for selfish, status-based motives and we should aim to reflect and think carefully about what our motives are and what effect our contribution to a discussion is having. Are we trying to improve shared understanding, or are we piling on and ramping up the moral discourse? If it’s the latter then it’s time to reflect on whether we need to add our voice to the discussion.

 

 


 

บทความโดย

Dr. Harry Manley 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 


 

About the Author.

Harry Manley is a lecturer in the Faculty of Psychology at Chulalongkorn University. Twitter @harrisonmanley

 

 

หากไม่รักตัวเอง… แล้วจะรักคนอื่นได้อย่างไร ?

ปกติเวลาที่เราพูดถึงความรัก เราก็มักจะนึกถึงความรักที่เรามีให้กับคนอื่น ๆ หรือความรักที่เราได้รับจากคนอื่น ๆ เช่น พ่อแม่ จากญาติพี่น้อง เพื่อน คุณครู และคนรัก

 

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “หากคุณยังรักตัวเองไม่เป็น แล้วคุณจะรักคนอื่นได้อย่างไร” หรือ “เมื่อคุณรักตัวเองเป็น คุณจึงจะรักคนอื่นเป็น” ด้วยประโยคเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักจิตวิทยาสนใจว่าความคิดและความรู้สึกที่บุคคลมีต่อตนเองนั้น จะมีผลอย่างไรบ้างกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

 

คำว่า “รักตัวเอง” ในที่นี้ ไม่ได้หมายความถึง การเห็นแก่ตัว หรือ การตามใจตัวเอง ซึ่งเป็นการทำเพื่อให้เราได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ แต่สิ่งที่เราได้มานั้นกลับเป็นเพียงความสุขที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น “การรักตัวเอง” ในที่นี้หมายถึง การเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion)

 

 

การเมตตากรุณาต่อตนเองประกอบไปด้วย 3 สิ่งหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่

  • การใจดีต่อตนเอง (Self-kindness)
  • การรับรู้ว่าสิ่งที่เราเจอนั้นคนอื่นก็เจอเหมือนกันกับเรา (Common humanity) และ
  • การมีสติ (Mindfulness)

 

สิ่งแรก การใจดีต่อตนเอง คือ การที่เราดูแลและเข้าใจตัวเองเมื่อเรารู้สึกแย่ ซึ่งความรู้สึกแย่นั้นอาจจะมาจากเหตุการณ์ที่เราควบคุมไม่ได้ หรือจากการไม่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่เราคาดหวัง ซึ่งตรงกันข้ามกับ การวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง (Self-criticism) คือ การที่เราตัดสินหรือต่อว่าตัวเราเองเมื่อเจอปัญหาใด ๆ โทษตัวเองว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นเพราะตัวเราเองที่ทำไม่ดี ทำพลาด

 

ต่อมา การเข้าใจว่าสิ่งที่เราเจอนั้นคนอื่นก็เจอเหมือนกันกับเรา จะทำให้เราเข้าใจได้ว่า เราแต่ละคนต่างก็มีประสบการณ์บางอย่างที่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำผิดพลาด เป็นสิ่งที่เราทุกคนพบเจอ และเป็นเรื่องปกติ เรื่องทุกเรื่องในชีวิตคนคนหนึ่งไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบเสมอไป ความเข้าใจนี้จะทำให้เรารู้สึกเชื่อมโยงกับคนอื่นเพิ่มมากขึ้น มากกว่าที่จะรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยกจากคนอื่นเมื่อเจอกับความผิดพลาดในชีวิต

 

และสุดท้าย ารมีสติ เป็นการตระหนักรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่มีความพยายามที่จะเก็บกดความคิดหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้น หรือหมกหมุ่นครุ่นคิดถึงแต่สิ่งที่เกิดขึ้น (Rumination) อย่างไม่จบสิ้น ดังนั้นการมีสติจะทำให้เราตระหนักรู้ในประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ความสุข หรือ ความเจ็บปวด พร้อมกับเข้าใจสิ่งนั้นตามที่มันเป็น

 

 

ทำไมการรักตัวเองหรือการเมตตากรุณาต่อตนเอง จึงเกี่ยวข้องกับ การรักคนอื่น

 

เพราะเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในความรัก การที่เรามีความเมตตากรุณาต่อตนเอง จะทำให้เราดูแลตัวเองและทำความเข้าใจในความรู้สึกของตัวเอง รวมไปถึงเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับเราและคู่รักนั้นเป็นเรื่องที่คู่อื่น ๆ ก็มีโอกาสเจอกับปัญหาเดียวกับเรา และเรายังตระหนักรู้ในความคิดและความรู้สึกของเราที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจปัญหานั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

 

จากกระบวนการเหล่านี้เอื้อให้เกิดการดูแล การสร้างความไว้วางใจ และทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในทุกความสัมพันธ์ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือความคาดหวังที่เรามีต่อคู่รัก “เขาต้องมารับฉันทุกวัน” “เขาต้องมาง้อฉันสิ” คำว่า “เขาต้อง…” คำพูดนี้เป็นการแสดงถึงความคาดหวังที่เรามีต่อบุคคลอื่น แต่การมองเห็นในความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเอง เข้าใจว่าความเป็นไม่สมบูรณ์แบบนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนก็มีเหมือน ๆ กัน รวมถึงตระหนักรู้ถึงความคิดและความคาดหวังของตัวเอง เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เกิดการยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบหรือการไม่เป็นไปตามความคาดหวังของอีกฝ่าย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างคู่รักลงไปได้

 

ยิ่งเราเข้าใจตัวเอง ดูแลตัวเอง ยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเองมากเท่าใด การทำความเข้าใจ การดูแล และการยอมรับจะถูกขยายไปสู่คู่รักและคนรอบข้างของเราได้มากยิ่งขึ้น

 

 

สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาได้อีกคือ ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ (Emotional resilience) นั่นคือ เราสามารถวางอารมณ์ไม่ดี ความเครียด หรือความท้อใจที่กำลังมีอยู่ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นลงได้ เพราะเข้าใจว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ความรู้สึกหรือความคิดเท่านั้น และกลับมาหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้เรามีการตอบสนองต่อคู่รักที่ดีมากขึ้น เช่น แทนที่จะหนีปัญหา ไม่คุยกัน ใช้การควบคุม หรือใช้การบังคับให้อีกฝ่ายทำตาม แต่จะมีการแสดงถึงการใส่ใจ การดูแลซึ่งกันและกัน หรือการให้อิสระกับคู่รักที่เพิ่มมากขึ้น

 

นอกจากนี้ การที่เราตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการมีเมตตากรุณาต่อตนเองนั้น อาจกลายเป็นตัวอย่างที่อีกฝ่ายหยิบไปใช้ในรูปแบบเดียวกัน ดังนั้นการตอบสนองกลับไปกลับมาในลักษณะนี้จะยิ่งช่วยให้ไม่เกิดการกล่าวโทษซึ่งกันและกันเพื่อปกป้องตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดการขยายปัญหาให้กลายไปเป็นเรื่องใหญ่ และสร้างรอยร้าวในความสัมพันธ์ต่อไปได้

 

 

รายการอ้างอิง

 

Neff, K. D. (2008). Self-compassion: Moving beyond the pitfalls of a separate self-concept. In J. Bauer & H. A. Wayment (Eds.). Transcending self-interest: Psychological explorations of the quiet ego. (p. 95-105). APA Books: Washington, DC.

 

Neff, K. D., & Beretvas, S. N. (2013). The role of self-compassion in romantic relationships. Self and Identity, 12, 78-98. https://doi.org/10.1080/15298868.2011.639548

 

 


 

 

บทความวิชาการ

โดย อาจารย์ ดร.จิรภัทร รวีภัทรกุล

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

สรุปสาระสำคัญจากกิจกรรมเสวนาวิชาการ : จิตวิทยาประยุกต์กับวิถี New Normal

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2563
โดย แขนงวิชาการวิจัยจิตวิทยาประยุกต์
ดำเนินรายการโดย
คุณรัตนกร รัตนชีวร

  • Cognitive impact of COVID-19

 

อ.ดร. พจ ธรรมพีร ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cognitive impact กล่าวว่า Cognitive load คือกระบวนการความคิด เปรียบกับคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วย Processor, Ram, Storage ดังนั้น สมองของเราก็เหมือนกับ RAM ถ้าเราใช้งานหลาย ๆ ฟังก์ชั่นพร้อมกัน ก็อาจทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นช้า เช่นกันว่า ถ้าเราทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน สมองของเราก็จะเกิด Cognitive load ดังนั้น เราควรมีเวลาให้สมองพักผ่อน ผลเสียของการเกิด cognitive load คือ อาจมีอาการปวดศีรษะ ตึง รวมไปถึงอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น วิธีแก้ไขก็อาจจะพักผ่อน 10-15 นาที ระหว่างการทำงาน

 

สำหรับสถานการณ์ COVID-19 ที่หลาย ๆ บริษัทมีนโยบายให้ work from home เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา บางคนอาจเคยชินกับการทำงานที่โต๊ะทำงาน คุยกับเพื่อนร่วมงานอย่าง face to face แต่เมื่อต้องปรับตัวมาทำงานที่บ้าน หรือในห้องนอน ที่เมื่อก่อนใช้สำหรับการนอนพักผ่อนเพียงอย่างเดียว การคุยกับเพื่อร่วมงานหรือประชุมกับหัวหน้า ก็ต้องใช้ระบบ Video Conference ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ เครียด วิตกกังวล ทำให้ Cognitive load เพิ่มขึ้น นำไปสู่การ burn out ได้ด้วย

 

วิธีหนึ่งที่เราควรทำเพื่อกำจัดความเครียด ความเบื่อหน่ายนี้ คือ การนำสิ่งที่ต้องทำที่มันวนเวียนอยู่ในหัว ออกมาจัดหมวดหมู่ และลำดับความสำคัญ จะทำให้เราหาแนวทางที่จะจัดการสิ่งเหล่านี้ว่า เราควรทำสิ่งใด ก่อนหรือหลัง ไม่ให้มันล้นเกินกว่าที่จะรับมือได้


 

  • จิตวิทยากับการรับมือกับภัยพิบัติและโรคระบาด

 

อ.ดร.จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์ ผู้มีประสบการณ์เคยไปศึกษาอยู่ที่ญี่ปุ่นทำให้รับรู้ เข้าใจ และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของญี่ปุ่นอย่างหนึ่งก็คือ การรับมือกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่มักเกิดที่ญี่ปุ่นมากที่สุด โดยประเทศญี่ปุ่นจะมีการเตรียมการ เช่น การซ้อมหนีภัยแผ่นดินไหวเพื่อให้รู้สึกว่า ประชาชนพร้อมและสามารถอยู่กับมันได้อย่างไม่ต้องหวาดกลัวจนเกินไป

 

“ความรู้สึกปลอดภัย” เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์อยู่แล้ว แต่เมื่อต้องประสบกับปัญหาที่ควบคุมไม่ได้อย่างภัยพิบัติทางธรรมชาติ เมื่อนำมาประยุกต์กับการประสบกับโรคระบาด COVID-19 สิ่งที่เราเห็นคือ ไม่ใช่ผู้ประสบภัยจะต้องเป็นฝ่ายรอการช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขากลับออกมาช่วยกันให้ผ่านปัญหาไปด้วยกัน

 

ส่วนเรื่อง การช่วยเหลือ” ถ้าพูดถึงคนที่ไม่ประสบภัย หรือประสบภัยมากกว่า มันจะนำมาสู่การช่วยเหลือกัน การช่วยเหลือและการรับการช่วยเหลือ ค่อนข้างเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในการศึกษาของนักวิจัย ซึ่งพบว่า ผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือมากเกินไป ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นผู้ประสบภัยมาก หรือแม้กระทั่งความรู้สึกว่าตนทำอะไรไม่ได้ ช่วยเหลือผู้อื่นไม่ได้ จึงเกิดพฤติกรรม “การให้” มากขึ้น เพราะจะช่วยเยียวยาจิตใจของตนเองว่า ได้ให้ ได้ช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น แต่ในอีกทางหนึ่งก็อยากให้ทุกท่านหันมาสนใจทั้งร่างกายและจิตใจตัวเองด้วย ไม่ให้ burn out จนเกินไป

 


 

  • Telemedicine 

 

อ.ดร.สุภลัคน์ ลวดลาย “การปรับตัว ในแง่ของการคิด การจัดการอารมณ์ และพฤติกรรมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งปกติแล้วโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าสถานการณ์ COVID-19 เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและค่อนข้างรุนแรง เกิดเป็น “ความท้าทาย” ในการดำรงชีวิต หลาย ๆ สิ่ง ต้องเข้าสู่กระบวนการออนไลน์ ทั้งการประชุม การทำงาน และการศึกษา รวมถึงการแพทย์ด้วย เราจะมารู้จักคำว่า “Telemedicine” หรือ “การแพทย์ทางไกล” คือ การรักษา การให้คำปรึกษา การวินิจฉัย ผ่านระบบออนไลน์ โดยที่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย ไม่จำเป็นต้องมาพบหน้ากันที่โรงพยาบาล เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อไวรัส ซึ่งจะใช้ได้ในขั้นตอน ติดตามอาการ ติดตามผลการรักษา มักใช้กับการรักษาทางกายภาพ เช่น การฝึกเดิน ฝึกการทรงตัว โดยใช้นวัตกรรมของอุปกรณ์การรักษา เช่น พื้นรองเท้าที่มีเซ็นเซอร์ที่สามารถบอกความสมดุล จุดศูนย์ถ่วงในการเดิน ระยะก้าว เป็นต้น

 

มาถึงตรงนี้ท่านอาจสงสัยว่า แล้วนักจิตวิทยามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างไร คำตอบก็คือ ในการที่ผู้ป่วยต้อง “ปรับตัว” มาใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ แทนการรักษาแบบเดิม ทำให้บุคคลนั้น ๆ มี “ความรู้สึก” อย่างไร ความง่ายในการใช้ วัยที่ใช้อยู่ในวัยใด ก็ต้องวิเคราะห์หน้าจอของเครื่องมือรักษาว่ามีความเหมาะสมกับวัยหรือไม่ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการใช้เพียงใดและทำให้เขามี “สุขภาวะ” ที่ดีที่ควรจะเป็นหรือไม่ นักจิตวิทยาจะเข้ามาเก็บข้อมูลและช่วยในการรักษาในส่วนนี้

 


 

 

  • ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมในมุมมองทางจิตวิทยา

 

รศ. ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ นับวันศาสตร์ทางจิตวิทยาจะมีความสำคัญมากขึ้น และสามารถประยุกต์เข้ากับศาสตร์อื่น ๆ ได้หลายศาสตร์ ระบบที่ประกอบด้วยคนและสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งแวดล้อมเอื้อให้กับคน คนก็ต้องดูแลสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันในระบบได้ด้วยเช่นกัน ทำอย่างไรการใช้ชีวิตจะตอบโจทย์ของตัวมันเอง ยกตัวอย่าง เช่น ปัญหาความอ้วน เป็นปัญหาระดับประเทศและระดับโลก ถ้ามองในระบบที่ประกอบด้วยคนและสิ่งแวดล้อม ก็จะประกอบด้วยกิจกรรมที่ควรทำ อาหารที่ควรกินคืออะไร ต้องกินช่วงไหน พฤติกรรมการออกกำลังกาย อีกอย่างหนึ่งคือ การกำหนด “norm”เพราะ norm ในแต่ละสังคมมีผลอย่างมากต่อความคิดและพฤติกรรมของคนที่จะคล้อยตาม การที่คนหนึ่งจะเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ควรที่จะแก้ที่ตัวเอง สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ ไปจนถึงประเทศที่เราอยู่

 

เมื่อเรามองในคนหลาย ๆ วัย จะมีพฤติกรรมต่างกันเราจึงต้องมีคำถามว่า อะไรที่ลูกหลานจะทำให้ปู่ย่า ตายายชื่นใจ เช่น การบอกรัก การมาเยี่ยมเยียน มันคือความผูกพันกัน นักจิตวิทยาก็จะเก็บข้อมูลนี้มาทำเป็นสื่อออกไปว่า คนในชุมชนรู้หรือไม่ว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพดี และยืนยาว จิตวิทยาประยุกต์ได้มีโครงการร่วมมือกับ กทม. และชุมชน ซึ่งกำลังจะดำเนินการ ยกตัวอย่าง จิตวิทยากับสุขภาวะคนอยู่คอนโดหรืออาคารสูง ประกอบด้วยปัจจัยพื้นที่ที่จำกัด การที่เคยอยู่บ้านแบบมีพื้นที่กว้าง สนามในบ้าน กับการเปลี่ยนมาอยู่บนห้องที่มีแต่ระเบียง การจัดภูมิทัศน์โดยรอบ ส่งผลต่อ well-being ของคนอย่างไร

 

แม้ว่าศาสตร์ทางจิตวิทยาจะดูเป็นน้องใหม่ในประเทศไทย แต่ก็เข้าไปแทรกซึมอยู่ในทุกระดับ ตั้งแต่นโยบาย สังคม ชุมชน ครอบครัว จนกระทั่งบุคคล สามารถประยุกต์กับศาสตร์อื่น ๆ เกิดเป็นหลายทฤษฎีที่สามารถเข้าไปตอบโจทย์ชีวิตของคนได้มาก

 

ก่อนและเมื่อเกิดสถานการณ์ COVID-19 สังคมต้องการองค์ความรู้ที่ต่างออกไปของการดำรงชีวิตของคน ยกตัวอย่าง การที่เราต้องปรับตัวมาอยู่อาคารสูงหรือคอนโด จากที่เคยอยู่บ้าน มันอาจจะทำให้สุขภาวะของคนเราลดลง เราจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างไร กับคนที่สามารถมีความสุขกับการอยู่ในห้องขนาดพื้นที่เท่ากัน แต่มี flexibility ในการจัดสัดส่วนของห้องต่าง ๆ ทำให้สร้างความสุขได้มากขึ้น เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปรับตัว โดยการให้ลูกค้ามีส่วนในการออกแบบห้องในแบบที่ตัวลูกค้าชอบ เป็นการช่วยตอบโจทย์ในเรื่อง “better life”


 

วิทยากร

  1. รศ. ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
  2. อ. ดร.สุภลัคน์ ลวดลาย
  3. อ. ดร.พจ ธรรมพีร
  4. อ. ดร.จุฑาทิพย์  วิวัฒนาพันธุวงศ์

สรุปสาระสำคัญจากกิจกรรมเสวนาวิชาการ : New Normal ของบ้านที่มีความสุขแบบ Life Di

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม 2563
โดย แขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ และศูนย์จิตวิทยาพัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างวัย
ดำเนินรายการโดย
ผศ. ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ

 

พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนผ่านจากเด็กเข้าสู่วัยรุ่น เรียนมหาวิทยาลัย และจบออกไปทำงาน เข้าสู่การแต่งงาน รับบทบาทเป็นพ่อแม่ และเข้าสู่วัยสูงอายุ การเสวนาหัวข้อนี้จะช่วยเสริมสร้างให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง และความสัมพันธ์ในแต่ละช่วงวัยของคนในครอบครัว เพื่อจะได้ย้อนกลับไปดูบ้านของตัวเอง และปรับตัวเข้าหากัน เพื่ออยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข


 

 

เราจะเริ่มจากผู้สูงวัยในบ้านลงมาถึงวัยเด็กเล็ก โดย รศ. ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต กล่าวว่า ผู้สูงวัย จะมีความถดถอยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ มีความคิดและการแสดงออกที่ช้าลง เรียนรู้ได้ช้า และจดจำได้น้อยลง แต่ปัญหา คือ ผู้สูงวัยไม่ยอมรับในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และจะเกิดความวิตกกัลวล (Insecure) ในสิ่งที่ตัวเองเคยทำได้ กังวลว่าจะไม่ได้รับการยอมรับจากลูกหลาน จนทำให้เกิดอาการซึมเศร้า มักเกิดกับผู้ที่เคยทำงานโดยใช้ความสามารถมาก ๆ ในตำแหน่งระดับสูง มากกว่าบุคคลทั่วไป เกิดการย้ำอยู่จุดเดิม (Fixation) ยังยึดติดว่ายังคงเป็นผู้นำของครอบครัว และเกรี้ยวกราด (Frustrate) ในบางครั้ง โดยหลัก ๆ ผู้สูงวัยมักจะมี 2 ประเภท คือ

 

1) อยากให้ลูกหลานถามสารทุกข์สุขดิบ และ

2) อย่ามายุ่งกับฉัน ฉันทำเองได้

 

ในยุค New Normal นี้ หรือแม้แต่เวลาใด ๆ ผู้สูงวัยจะต้องยอมรับก่อนว่า เราสูงวัยแล้ว ไม่ควรดื้อดึงว่าฉันเคยทำได้ ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ต้องยอมรับว่าทุกอย่างไม่มีอะไรที่เป็นของเรา ทุกอย่างเปลี่ยนไปตามวิถีของมัน ร่างกายก็ย่อยสลายไปตามเวลา สิ่งที่เราเคยคิดว่าดี อาจจะไม่ได้ดีในวันนี้ก็ได้ ต้องไม่คาดหวังให้ลูกหลานต้องมาดูแล เอาอกเอาใจ เพียงแค่ให้อยู่ด้วยกันด้วยความเข้าใจในระดับหนึ่ง ต้องหากิจกรรมที่ตัวเองชอบ เพื่อโฟกัสไปที่สิ่งนั้น ๆ ไม่อย่างนั้นเราอาจไปสร้างปัญหาให้ลูกหลานได้ ส่วนลูกหลานที่มีความใกล้ชิดกับผู้สูงวัย ควรถามและฟังด้วยความใส่ใจ เช่น หิวมั้ย ให้ท่านมีความสุขกับสิ่งที่ท่านทำ อย่าไปขวาง เพียงแต่ช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัย

 

“ผู้สูงวัยต้องการการเข้าใจ รับฟัง การเอาใจใส่ และการเคารพ (respect)”

 

“ผู้สูงวัยที่เพิ่งจะเกษียณ ถือว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ควรปรับตัวหากิจกรรมที่ตัวเองชอบล่วงหน้าก่อนการเกษียณสัก 2 ปี”


 

 

สำหรับวัยทำงาน อ. ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน กล่าวว่าวัยทำงานนี้เรียกว่าเป็นช่วงอายุที่กว้างซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัย วัยทำงาน จนถึงวัยเกษียณ เลยจะแบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ คือ ผู้ใหญ่ตอนกลาง และผู้ใหญ่ตอนต้น

 

ผู้ใหญ่ตอนกลาง เป็นช่วงที่มีคน 2 วัย ขนาบสองข้างหรือที่เรียกว่า sandwich generationถือได้ว่าเป็นรายได้หลักของครอบครัว ส่งลูกเข้าเรียนจนจบมหาวิทยาลัยได้ ต้องดูแลสุขภาพของญาติผู้ใหญ่ ทั้งการบริหารเศรษฐกิจของบ้านที่ถดถอยลง ต้องทำงานมากขึ้นเพื่อให้มีรายได้ที่มากขึ้น ซึ่งทำให้วัยกลางคนในบ้านนี้มีความเครียดสูงมากขึ้นในช่วง New Normal นี้ และยังมีความคาดหวังจากญาติผู้ใหญ่ ทำให้เปรียบเสมือนไส้แซนด์วิชที่ถูกบีบอยู่ตรงกลาง

 

วัยทำงานต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงวัย เครียดเรื่องงาน เรื่องลูก อยู่กับความคาดหวังจากท่าน อย่างไม่สิ้นสุด เช่น ทำงานนี้สิ มีลูกคนแรกแล้วต้องมีลูกคนที่สองสิ ซื้อบ้านหลังใหญ่กว่านี้สิ ทำให้เกิดความเครียด ขอให้ลองวิธีต่อไปนี้

 

  1. ต้องปรับใจก่อน ว่าเป็นเพราะผู้ใหญ่ไม่ได้มีกิจกรรมใด ๆ ทำ หรือว่าเป็นเราเองที่ห้ามท่านทำ ถ้าหากท่านต้องการทำกิจกรรมอะไร ก็ควรส่งเสริมท่าน
  2. ต้องมีแนวร่วมที่ดี มีสังคมเพื่อน ไว้แชร์ประสบการณ์ ชีวิตของวัยกลางคนต้องไม่ burn out ต้องดูแลตัวเองเพื่อที่เราจะสามารถดูแลคนในบ้านได้อย่างดี ต้องไม่รู้สึกผิดที่จะออกจากบ้านเพื่อจะไปทำอะไรดีๆ เพื่อตัวเราบ้าง
  3. พูดกันด้วยความจริงใจ เช่น พูดความจริงว่าสภาพเศรษฐกิจในครอบครัวตอนนี้ไม่สามารถมีลูกอีกคนได้

 

ส่วนผู้ใหญ่ตอนต้น ก็คือ วัยทำงานที่เพิ่งจบมหาวิทยาลัย ถือเป็นผู้ใหญ่ฝึกหัด ต้องพิสูจน์ให้ที่บ้านเห็นว่าเราสามารถดูแลตัวเองได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าบางบ้านมีความคาดหวังที่ให้เราช่วยค่าใช้จ่ายที่บ้านด้วย ก็จะมีความกดดันสูงขึ้นไปอีก ความเครียด ความกดดันนี้จะกินเวลามากน้อยเท่าไร ก็ขึ้นกับตัวเรา และสถานการณ์ของแต่ละบ้าน และยังมีเรื่องของความรักเข้ามาอีก การถูกเทก็เป็น New Normal อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งความคิดของผู้ใหญ่ตอนต้นจะมีความคิดว่าการแต่งงานตนเองจะต้องมีความพร้อมด้านเงิน ด้านการงาน เพื่อที่สามารถดูแลคนอีกหนึ่งคนได้ ยิ่งสมัยนี้ผู้ใหญ่ตอนต้น ต้องต่อสู้กับตัวเอง เช่น งานที่ทำ แต่ไม่ใช่งานที่ชอบ แต่ก็ต้องทำไปก่อนเพื่อให้ได้เงินมาเลี้ยงครอบครัว คนรุ่นใหม่จะเข้าไปทำงานเพื่อหาประสบการณ์ และเมื่องานนั้นไม่มีความท้าทายแล้ว จึงไปหางานใหม่ๆ ทดลองต่อ ซึ่งเป็นการพัฒนาตัวเองที่พ่อแม่หลายๆครอบครัวอาจจะไม่เข้าใจ ความชอบ ความฝัน กับความเป็นจริง บางทีก็ต้องตอบโจทย์สถานการณ์ในบ้านเพราะมันสามารถทำเงินได้ บางทีเราอาจจะเอาความฝันไว้ข้าง ๆ ตัว และทำอาชีพที่ครอบครัวอยากให้ทำก่อน เมื่อถึงเวลา มีจังหวะ และเราพร้อม เราก็สามารถเอาความฝันนั้นมาทำให้เป็นความจริงได้

 

“วัยผู้ใหญ่จะเป็นวัยที่ไม่สนุกเหมือนวัยเด็ก แต่จะเป็นวัยที่มีความท้าทาย
และถ้าเราก้าวข้ามผ่านความท้าทายนี้ได้เราจะเป็นผู้ใหญ่ที่แกร่งและดูแลผู้อื่นได้”

 

“พ่อแม่ชอบคิดว่าลูกยังไม่โต ควรให้ความไว้ใจเด็กว่าเค้าโตแล้ว ดูแลตัวเองได้”


 

 

คุณปิยะวัฒน์ วิรัชวัฒนกุล ครูฟาร์มผู้มีความใกล้ชิดกับเด็กวัยรุ่นเล่าประสบการณ์ให้เราฟังว่า

 

วัยม.ต้น – ม.ปลาย เป้าหมายหลัก คือ การเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย การเรียนออนไลน์ซึ่งเมื่อก่อนจะเป็นการเรียนเพื่อเสริม อยู่ในวงแคบๆ แต่ตอนนี้กลายมาเป็นการเรียนหลัก ความออนไลน์กับเด็กเป็นเรื่องธรรมดามาก เด็กจะรู้สึกว่าจำเป็นต้องทำเพราะไม่มีทางเลือก ความเครียดของการเรียนออนไลน์ก็คือ การต้องจัดหาอุปกรณ์ที่สนับสนุน อาจสร้างปัญหากับบางครอบครัวในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยจะดี

 

stay home stay safe การเรียนออนไลน์ที่บ้านจะทำให้อยู่ในสายตาของพ่อแม่ เด็กวัยรุ่นต้องการความเป็นส่วนตัว (Privacy) มากกว่าที่พ่อแม่จะมาแอบดูพฤติกรรม ทำให้เด็กรู้สึกว่าถูกจับตามอง เมื่อเด็กอยู่ในบ้านตลอดเวลาทำให้รับรู้เรื่องราวหลาย ๆ อย่างมากขึ้น เช่น สถานะทางการเงินของที่บ้าน หรือการทะเลาะกันของพ่อแม่

 

ความสัมพันธ์ของตัวเด็กเองกับเพื่อน ๆ ในสถานการณ์นี้ ออกไปเจอเพื่อนมากเหมือนเดิมไม่ได้ จะทำให้เกิดความเครียด ความเหงา ก็จะไปแสดงออกผ่านทางโซเชียลมีเดีย แต่ก็มีความรู้สึกว่าประสบการณ์กับเพื่อนในช่วงที่เตรียมเข้ามหาวิทยาลัยก็จะขาดหายไป

 

อาชีพสายสาธารณสุขกำลังเป็นฮีโร่ในสถานการณ์ COVID-19 นี้ และเด็กจะต้องเลือกสายอาชีพในตอนม.5 – ม.6 อาชีพทางสายสาธารณสุขจึงเป็นอาชีพที่เป็นที่สนใจในสถานการณ์ COVID-19 นี้

 

เด็กโตจะบ่นในลักษณะที่เป็นกังวลกับหลักสูตรสอบใหม่ การเปิดเทอมช้า ก็ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเรียนไม่ทันการสอบ


 

 

วัยเด็กเล็ก คุณดุจฤทัย โรจน์ปัญญากิจ กล่าวว่าเด็กวัยนี้ต้องการการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ต้องการใช้เวลากับพ่อแม่ หรือออกไปเล่นข้างนอก แต่สำหรับบางบ้านที่ผู้ปกครองต้องทำงาน ไม่สามารถมีเวลาให้กับเด็กได้ เด็กก็จะเกิดความเครียด และเมื่อเนอสเซอรี่และโรงเรียนปิด ตัวพ่อแม่เองก็เกิดการกดดัน ยิ่งสำหรับการเรียนออนไลน์นั้นยิ่งเป็นไปได้ยากในเด็กวัยนี้ เด็กบางคนอยู่กับปู่ย่าตายาย ซึ่งก็จะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เป็น เด็กเล็กก็ไม่สามารถสอนปู่ย่าตายาย หรือใช้งานอุปกรณ์เองได้ ทำให้บางครอบครัวที่ไม่มีเวลาเพราะต้องทำงาน มีปัญหาว่าไม่รู้ว่าจะสอนลูกอย่างไรดี

 

ดังนั้น ควรมีการจัดเวลาของคู่สามี ภรรยา สลับกันดูแลลูก การให้ปู่ย่าตายายได้เล่นกับเด็ก ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ่อแม่ควรจัดเวลาทำงานและเวลาเล่นให้กับลูก โดยสามารถจัดเป็นกิจวัตร (Routine) ได้ เด็กวัยนี้มีความสามารถที่จะเข้าใจตารางเวลาได้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กเข้าใจ คาดหวัง เกิดการจดจำที่ดีได้

 

Q&A

 

Q1. เรื่องห้ามลูกล็อคประตูเพื่อคอยดูพฤติกรรม ควรหรือไม่ควรคะ

A1 ศิลปะของการเป็นพ่อแม่วัยรุ่น คือ ควรอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ ทำให้เค้ารู้สึกว่าเราวางใจกับเค้าแล้ว แล้วเมื่อเค้ามีปัญหาอะไร เค้าจะมาหาเราเอง

 

Q2. ตัวเองเป็นคนที่เรียนไม่เก่งตั้งแต่เด็ก โดนดูถูกจากเพื่อนพ่อแม่ว่าโง่ตั้งแต่เด็ก จนตอนนี้จะเรียนจบป.เอกแล้ว ยังโดนดูถูกว่าโง่อยู่ จะมีวิธีจัดการกับความรู้สึกตัวเองที่เป็นปมด้อยอย่างไรดีคะ

A2 ไม่ควรใช้ชีวิตด้วยคำพูด ความคาดหวัง (expectation) ของคนอื่น ควรต้องบอกกับตัวเองว่าควรทำตามเป้าหมายของชีวิต (set and reach goal) ควรคิดว่าฉันเป็นตัวฉันที่ดีพอ

 

Q3. เราจะก้าวไปสู่วัยผู้ใหญ่อย่างไร ไม่ให้ร่างกายจิตใจถดถอยเร็วเกินไปทั้งร่างกายและจิตใจ และจะทำอย่างไรกับความวิตกกังวลเหล่านี้

A3 ต้องรักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจ ทานอาหารที่ดี พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และลดความเครียด

 

Q4. มีกิจกรรมอะไรไว้เล่นกับเด็ก ๆ เวลาหยุดอยู่บ้านมั้ยคะ

A4

1. สิ่งสำคัญคือ “ไม่แตกหัก เสียหาย”

2. เอากล่องมาต่อ ๆ กันเป็นบ้าน ให้เด็ก ๆ มุด

3. เอาเทปกาวมาแปะที่พื้นเพื่อฝึกการก้าวกระโดด

4. ฝึกทำขนมง่าย ๆ

5. สำหรับเด็ก preschool อาจจะใช้กระดาษสอนเรื่องสี และรูปทรงต่าง ๆ


 

วิทยากร

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
  2. อาจารย์ ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน
  3. คุณปิยะวัฒน์ วิรัชวัฒนกุล
  4. คุณดุจฤทัย โรจน์ปัญญากิจ

ภัย COVID-19 กับสุขภาพจิตในวิถี New Normal

 

ภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นในชีวิตเราบ่อยนัก แต่เมื่อเกิดขึ้นมาย่อมส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตในทุก ๆ ด้าน

 

ภาพจำของภัยพิบัติส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในวงจำกัดไม่มีการแผ่ขยายไปยังพื้นที่อื่น เช่น อุทกภัย วาตภัย แต่ภัยที่เกิดจากโรคระบาดไม่เป็นเช่นนั้น โรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาสานพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ที่มีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วถึง 10,700,000 รายทั่วโลก และใครก็ตามที่อาศัยอยู่ในโลกนี้ล้วนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น

 

มีคำถามว่าการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพฤติกรรมอันเนื่องมาจาก COVID-19 วิถีชีวิตใหม่นั้นจะยั่งยืนแค่ไหน เมื่อเปรียบเทียบกับภัยพิบัติอื่น ๆ ที่ผ่านมา

 

การศึกษาพฤติกรรมของสังคมนั้นพบว่า กลุ่มผู้ประสบภัยพิบัติเอง มักเป็นคนกลุ่มแรกที่ออกมาแสดงความช่วยเหลือในช่วงเวลาที่เกิดเหตุเภทภัย เนื่องจาก พวกเขาเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ที่สุด นอกจากนี้ ในช่วงคับขัน ร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลีนเพิ่มมากขึ้น ทำให้พวกเขากระปรี้กระเปร่า และมีพลังที่จะช่วยเหลือผู้อื่น และอาจจะรู้สึกว่าทุกข์ของตัวเองนั้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับทุกข์ของผู้อื่น และการลงมือทำอะไรสักอย่างในสถานการณ์คับขัน ยังช่วยลดความวิตกกังวล และเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเองในการควบคุมสถานการณ์ตรงหน้าได้

 

ตัวอย่างที่เราได้พบเห็นอย่างมากมายในช่วงที่ประเทศต้องปิดตัวเพื่อลดการแพร่ระบาด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหมอและพยาบาลที่นอกจากทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่แล้ว ยังมีการผลิตสื่อให้ความรู้น่ารัก ๆ กับประชาชน หรือโครงการ “ตู้ปันสุข” และกิจกรรมอาสาสมัครอื่น ๆ เพื่อแบ่งปันอาหารและของใช้จำเป็นให้กับผู้ที่ขาดแคลน ทำให้เราได้เห็นมุมดี ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมช่วงนี้

 

 

สิ่งสุดท้ายที่อยากจะสื่อในบทความนี้ก็คือ เรามักจะจินตนาการไปว่าผู้ประสบภัยนั้น มีความอ่อนแอ เปราะบาง และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งแน่นอนว่ามีผู้ที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์ภัยพิบัติจำนวนมาก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นเช่นนั้น หากคุณมีคนรอบตัวที่เคยเผชิญกับเหตุการณ์หนัก ๆ ในชีวิต แผลเหล่านั้นล้วนใช้เวลากว่าจะบรรเทาเบาบางลง โปรดให้เวลา และให้โอกาสให้เขาได้ทำอะไรเพื่อตนเอง และเพื่อผู้อื่นด้วยตัวของเขาเอง ไม่ปิดโอกาสในการพึ่งตนเองของเขาจนเกินไป แต่ก็ระวังมิให้คนคนนั้นหายไปจากครรลองสายตา อย่าให้เขารู้สึกโดดเดี่ยวและแปลกแยกจากผู้อื่น นั่นย่อมทำให้ผู้ที่มีความเปราะบางจากภัยพิบัติอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุขภาพจิตที่ดี

 

 

รายการอ้างอิง

 

U.S. Department of Health and Human Services, Substance Abuse and Mental Health Services Administration (2000). Training Manual for Mental Health and Human Services Workers in Major Disasters (2nd Ed.) Washington, DC.

ภาพประกอบจาก https://image.freepik.com/

 

 


 

 

บทความวิชาการ

โดย อาจารย์ ดร.จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์

อาจารย์ประจำแขนงวิชาการวิจัยจิตวิทยาประยุกต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สร้างสัมพันธ์อย่างไรเมื่อต้องใส่หน้ากากเข้าหากัน

 

งานวิจัยมากมายพูดถึงความสำคัญของรอยยิ้มว่าช่วยก่อให้เกิดการสานสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนได้อย่างดี เขายิ้มมา เรายิ้มไป รับส่งความรู้สึกที่ดีระหว่างกัน

 

แต่จากนี้อาจจะไม่มีอีกแล้วค่ะรอยยิ้มนั้น อย่างน้อยก็ตราบเท่าที่เชื้อโควิด 19 ยังอยู่ ซึ่งทำให้เราต้องปรับแนวทางการใช้ชีวิต และยกให้ “หน้ากากอนามัย” เป็นเพื่อนคู่กายขาดกันไม่ได้ ไปเรื่อย ๆ

 

แล้วอย่างนี้เราจะสร้างความสัมพันธ์กันอย่างไรในเมื่อแต่ละคนโผล่พ้นหน้ากากมาแต่ตากับหน้าผาก! พนักงานขายทั้งหลายก็ไม่สามารถโปรยยิ้มพิมพ์ใจมัดใจลูกค้าได้อีก ต่อให้ท่านสวยหล่อน่าคุยด้วยขนาดไหน คนอื่นก็แทบจะมองไม่ออก หรือเราจะส่งยิ้มทักทายเพื่อนใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมงาน หรือคนที่เราแอบชอบได้อย่างไร ในเมื่อรอยยิ้มถูกหน้ากากอนามัยยึดอำนาจไปแล้ว

 

ไม่เป็นไรค่ะ เรายังเหลือ “ดวงตา” ที่ว่ากันว่าเป็นหน้าต่างของหัวใจ และเรายังเหลือภาษากายอีกหลายอย่างที่สามารถใช้เพื่อสานสัมพันธ์กับผู้อื่นในยุค new normal ลองมาดูแนวทางสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นแม้ต้องใส่หน้ากากอนามัยกันค่ะ

 

 

1. ยิ้มต่อไปแม้จะอยู่ใต้หน้ากาก

 

เพราะรอยยิ้มโดยเฉพาะยิ้มที่จริงใจ จะถูกกระตุ้นโดยสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และยิ้มที่มาจากความรู้สึกดีที่แท้จริงนั้น ไม่ได้ยิ้มเฉพาะที่ปาก แต่ยิ้มที่ตาด้วยค่ะ (และทำให้เกิดตีนกานั่นเอง) นั่นคือเมื่อเรายิ้มด้วยความจริงใจดวงตาของเราจะยิ้มด้วย ซึ่งเป็นส่วนที่สื่อสารไปยังผู้อื่นได้ นอกจากนี้ การสบตายังมีความหมายอื่น ๆ สรุปสั้น ๆ ได้ดังนี้ค่ะ

 

  • ตาสบตา คือการเปิดประตูสู่การสานสัมพันธ์ทั้งแบบเพื่อน หรือคู่รัก ไม่สบตาก็คือไม่สนใจ
  • แค่สบตาก็สะท้านใจ งานวิจัยชี้ว่าการสบตากันก่อให้เกิดการกระตุ้นเร้าทางร่างกาย เช่น ใจเต้นตึกตัก
  • สายตาสื่อหลายความหมาย จ้องนิ่ง จ้องนาน ในต่างสถานการณ์ก็ต่างความหมาย
  • หลบตาแปลว่าเขากำลังพูดโกหก? งานวิจัยชี้ตรงกันข้ามกับความเชื่อนี้ว่า คนโกหกมักจะสบตาผู้ฟังมากกว่าปกติ เพื่อกลบเกลื่อน เพื่อพยายามโน้มน้าวให้เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง หรืออาจจะเพื่อดูว่าเขาเชื่อคำโกหกของเราหรือเปล่า

 

ดังนั้น เนื่องจากเราต้องสวมหน้ากากอนามัย เราก็คงต้องพึ่งดวงตาของเราเยอะหน่อยในการสื่อความสนใจ ใส่ใจ และความเป็นมิตรไปยังคนอื่นๆ นะคะ อย่าเผลอปล่อยให้โอกาสผ่านไปโดยการก้มหน้าดูแต่จอโทรศัพท์มือถือนะคะ

 

 

2. ใช้ภาษากายส่งความปรารถนาดี

 

แม้เราจะต้องรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด แต่เราก็ยังสามารถแสดงออกด้วยภาษากายในการสื่อสารความปรารถนาดีและความเป็นมิตรไปยังผู้อื่นได้หลายทาง สรุปง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

 

  • ยืน/นั่งแบบเปิดตัว อย่าไขว้ขา อย่ากอดอก จะแสดงความเป็นมิตรและพร้อมสานสัมพันธ์มากกว่า
  • โน้มตัวเข้าหา (แต่ไม่ต้องแนบชิด) แสดงความสนใจและใส่ใจ
  • สัญลักษณ์มือที่สื่อสารทางบวก เช่น สู้ๆ ยอดเยี่ยม ส่งหัวใจ หรือโอเค ได้เวลางัดออกมาใช้บ่อย ๆ แล้วค่ะ

 

 

3. ส่งเสียงแห่งความเป็นมิตร

 

จากที่เดินผ่านก็ส่งยิ้มทักทายเพื่อนร่วมงาน พอรอยยิ้มใช้การไม่ได้ เราก็อาจจะต้องเพิ่มความพยายามสื่อสารความปรารถนาดีโดยการใช้คำพูดทักทายแทน “สวัสดี เป็นไงบ้าง” อย่าลืมว่าเมื่อท่านใส่หน้ากาก เสียงของท่านอาจจะเบาลงได้ ก็อาจต้องเพิ่มความพยายามกระจายเสียงกันนิดนะคะ

 

 

4. พูดไม่ถนัดอาจช่วยให้ได้หัดฟัง

 

ใครจะไปรู้ว่าในยุคที่คนเราไม่อยากพูดคุยยาวๆ ภายใต้หน้ากากอนามัยซึ่งหายใจไม่ค่อยสะดวกนั้น อาจจะกลายเป็นโอกาสให้เราได้พูดน้อยลง ได้เงียบเสียงจากตัวเราเอง และได้ฟังคนอื่นๆ พูดหรือแสดงออกมากขึ้นได้ การฟังอย่างตั้งใจ พยักหน้าว่ารับฟัง ถามคำถามกระตุ้นให้เขาได้พูดต่อโดยไม่ตัดสินเขาว่าถูกหรือผิด เป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ดีแม้จะมีหน้ากากอนามัยแผ่นโตแปะอยู่บนใบหน้าก็ตาม

 

 

5. การใส่หน้ากาก = ฉันเป็นห่วงเธอนะ

 

แม้จะมีงานวิจัยที่บอกว่า คนไข้รู้สึกว่าหมอที่ใส่หน้ากากนั่งคุยด้วย ดูเข้าอกเข้าใจความรู้สึกคนไข้น้อยกว่าหมอที่คุยกับคนไข้โดยไม่ใส่หน้ากาก หรือหน้ากากเป็นตัวปิดกั้นการสานสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้วค่ะเนื่องจากการระบาดของเชื้อโควิด 19 ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าท่านจะดูลึกลับ ดูไม่รับแขก หรือดูห่างเหินจากคนอื่นเมื่อใส่หน้ากากอนามัย เพราะเป็นไปได้ว่า หน้ากากอนามัยจากที่แสดงการปิดบังตัวตนของผู้ใส่ กำลังกลายเป็นสัญลักษณ์ของความปลอดภัย การใส่ใจต่อผู้อื่น การปฏิบัติตัวที่ดีในยุคโควิด การมีความเป็นมืออาชีพในการทำงานหรือติอต่อกับผู้เกี่ยวข้อง หรือความปลอดภัยในการสร้างความสัมพันธ์ด้วยก็เป็นได้ค่ะ

 

 

 

 


 

 

บทความวิชาการ

 

โดย ผศ. ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์

ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาสังคมพื้นฐานและประยุกต์

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย