ข่าวและกิจกรรม

Research talk by Dr. Nicolas Geeraert “An Acculturation Tale of Stress Trajectories, Expectations, and Cultural Norms.”

 

 

We would like to invite psychology graduate students and faculty members to a research talk by Dr. Nicolas Geeraert, Reader in the Department of Psychology at the University of Essex, UK, and Visiting Professor at the Department of Psychology, Chulalongkorn University.
Dr. Geeraert, a social psychologist specializing in acculturation and cross-cultural psychology, will present his research titled “An Acculturation Tale of Stress Trajectories, Expectations, and Cultural Norms.” The presentation will explore various acculturation questions using longitudinal data from 2,480 intercultural exchange students traveling between 51 different countries.

 

Date and Time:

Wednesday, June 26th, 2024 from 11 AM to 12 PM

 

Venue:

Room 613, the 6th Floor, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University

 

Registration Link:

https://forms.gle/ti7Pg6JKnB18zB1UA

 

 

 

 

 


 

 

 

On June 26, we had the pleasure of hosting Dr. Nicolas Geeraert, a distinguished Reader in Psychology and Visiting Professor from the University of Essex. His talk, “An Acculturation Tale of Stress Trajectories, Expectations, and Cultural Norms,” was nothing short of enlightening.

 

Today’s session peeled back layers of acculturation challenges, enriching our understanding of intercultural dynamics.

 

A huge thank you to Dr. Geeraert and all the enthusiastic participants who made today’s event not just informative but also truly engaging!

 

 

 

Insightful talk “How to Get Your Papers Published” by Assoc. Prof. Arief Liem

 

Join us for an insightful talk, “How to Get Your Papers Published,” with Dr. Arief Liem, an Associate Professor at the Psychology and Child & Human Development Academic Group, National Institute of Education (NIE), Nanyang Technological University (NTU), Singapore.

 

With a rich background in student motivation and engagement research, Dr. Liem brings a wealth of knowledge and experience to help you navigate the complex process of academic publishing. Gain insights into the publishing process and understand the common pitfalls and how to avoid them.

 

Date & Time: 26 June 2024, from 10:00 – 11:00 AM
Live Talk via Zoom
Meeting ID: 991 6256 2183
Password: 626159

 

Registration Link:
https://forms.gle/mbWfisz5atbgakbX7

 

พฤติกรรมการไม่ตัดสินใจ

 

ชีวิตเราก็คงจะได้เจอหัวหน้าหลากรูปแบบ ไม่ว่าจะจากชีวิตจริงในช่วง การเรียน การทำงาน ข่าวสาร หรือละครภาพยนตร์ เราก็คงจะเจอเจ้านาย-หัวหน้าที่ทั้งดีและไม่ดี วันนี้จะชวนมาดูพฤติกรรมหนึ่งของหัวหน้าที่เกิดขึ้นบ่อยในชีวิตของคนเขียนช่วงหลายปีหลัง ๆ นี้ ก็เลยไปหางานมาแชร์ว่า พฤติกรรมนี้ มันเป็นอย่างไร เกิดจากความคิดแบบไหนทำให้พฤติกรรมออกมาเป็นอย่างไรบ้าง…

 

พฤติกรรมที่จะว่ากันในวันนี้ก็คือกลุ่ม พฤติกรรมการไม่ตัดสินใจ (indecision) หรืออาจตัดสินใจล่าช้า ผัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) ของหัวหน้า โดยในบทความนี้จะพูดถึงแค่ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร ความคิดแบบไหนที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้ ส่วนเรื่องของผลกระทบที่เกิดกับผู้ร่วมงาน/องค์กร ผู้เขียนจะนำเสนอในโอกาสหน้า

 

พูดถึงการบริหารใด ๆ ที่เป็นหน้าที่ของเจ้านาย-หัวหน้า ส่วนใหญ่แล้วนั้นพฤติกรรมการไม่ตัดสินใจ (indecision) ก็ไม่น่าเป็นเป็นพฤติกรรมที่ดีในโลกของงานบริหารจัดการ ถ้าเทียบกับคุณลักษณะตรงข้ามอย่างตัดสินใจฉับไว ถึงแม้จะผิดพลาดบ้างอย่างไรก็มีภาษีดีกว่าการไม่ตัดสินใจหรือการตัดสินใจล่าช้า ซึ่งก็อาจจะผิดพลาดอยู่ดีเหมือนกัน ส่วนการศึกษาที่กล่าวถึงการผัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) ขยายความไว้ว่า การตั้งใจให้แผนการใด ๆ ล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ในตอนแรก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามีผลเสียของความล่าช้านั้นอยู่ เช่น รู้ว่าจะมีเวลาทำการบ้านน้อยลง หรือจะต้องทำงานไฟลนก้นในภายภาคหน้า ของที่ต้องการอาจจะหมด หรือราคาเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังไม่ตัดสินใจหรือปฏิบัติในขณะนั้น (Brooks, 2011)

 

อะไรที่ทำให้เกิดการไม่ตัดสินใจ ?


 

บริบทของการตัดสินใจ (Decision Context) :

 

โดยทั่วไปแล้วเมื่อพูดถึงการหลีกเลี่ยงการตัดสินใจ (decision avoidance) ในการทำงานมักจะเกิดจากความต้องการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม หรือหวังว่าจะมีทางเลือกที่ดีกว่าเพิ่มเข้ามา ในส่วนนี้ตัวเลือกจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจเพื่อให้สามารถดำเนินงานต่อได้

 

ในกรณีทั่วไปเกี่ยวกับตัวเลือกที่ทำให้ตัดสินใจลำบากที่มีการศึกษามานานแล้วก็คือ ตัวเลือกเหมือนกันมากเกินไป อาจจะดีทั้งหมด หรือแย่ทั้งหมด ทำให้ตัดสินใจลำบาก หรือตัวเลือกที่รายละเอียดไม่ชัดเจนอย่างเช่น จะตัดสินใจไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ก็มีทางเลือกว่าไป-ไม่ไป แต่ถ้าเกิดว่าเราไม่ทราบรายละเอียดอื่น ๆ เช่น ไม่รู้ว่าต้องพักที่ไหน แบบไหน กับใคร เป็นคนอย่างไร ได้ค่าสนับสนุนเท่าไร ค่าใช้จ่ายเท่าไร ฯลฯ ก็เป็นตัวอย่างของบริบทที่ตัวเลือกทำให้การตัดสินใจลำบาก

 

 

Systematic biases :

 

มีอคติอยู่ 2 รูปแบบ ที่เกี่ยวข้องกับการไม่ตัดสินใจ คือ Omission bias และ Status quo bias ซึ่งในอดีตช่วงหนึ่งก็มีนักจิตวิทยาสบสนในนิยาม จนกระทั่งนิยามแบ่งแยกชัดเจนขึ้นใน ปี 1994 (Baron and Ritov, 1994; Schweitzer, 1994)

 

Omission bias มักจะนำไปสู่การไม่ปฏิบัติสิ่งใดเลย (inaction) คนที่มีอคติในลักษณะนี้ มักจะกลัวว่าตัดสินใจไปแล้วผลจะออกมาเลวร้าย หรือเกิดความผิดพลาดขึ้นได้และผลลัพธ์จะเลวร้ายกว่าการพลาดโอกาสที่จะตัดสินใจและปฏิบัติ หรือจะมีความคิดในในกรณีว่า ถ้าหากตัดสินใจ หรือไม่ตัดสินใจ ผลลัพธ์ออกมาเลวร้ายเหมือนกัน ดังนั้น ไม่ทำอะไรเลยก็คงจะดีกว่า

 

อย่างเช่น เป็นโควิดก็มีโอกาสตาย ไปหาหมอฉีดวัคซีน ทั้งเสียเวลา ค่าเดินทาง ค่าหมอ ค่ายา วัคซีนก็ไม่รู้จะช่วยได้จริงไหม หรืออาจจะดูข่าวคนตายเพราะวัคซีนแล้วเชื่อ วิตกไปก่อน เลยเลือกที่จะไม่ทำอะไรไปก่อน ซึ่งอคติประเภทนี้ก็ยังพบเห็นความคิดที่สมเหตุสมผลอยู่บ้างในบางครั้ง

 

ในขณะที่อคติที่ขัดขวางการตัดสินใจอีกรูปแบบหนึ่งคือ Status quo bias จะตัดสินใจ แต่ตัดสินใจที่จะคงสถานะเดิมเอาไว้ ในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนไปไม่ว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลงแต่ผู้นำที่เลือกที่จะที่จะไม่เปลี่ยนแปลง ไม่คว้าโอกาส หรือปรับตัวใด ๆ เลย ก็มักจะถูกเหมาะรวมเป็นผู้นำที่ไม่ตัดสินใจในสายตาผู้ร่วมงานอยู่ดี

 

เทียบกับ Omission bias แล้ว Status quo bias จะดูมีผลเสียและไม่มีเหตุผลมากกว่า ในขณะที่ Omission bias จะพิจารณาผลลัพธ์ ต้นทุนจากการตัดสินใจลงมือทำ ที่ยังเป็นเหตุเป็นผลอยู่บ้าง แต่ Status quo bias อาจจะเลือกที่จะทำเหมือนเดิม เพราะไม่พร้อมเปลี่ยนแปลง หรือการใช้อารมณ์ หรือวัฒนธรรมที่ไม่สมเหตุสมผลเป็นที่ตั้ง เช่น ไม่พร้อมจะสูญเสียคนสำคัญจึงยังให้ใช้เครื่องพยุงชีวิตต่อไป หรือ วัฒนธรรมบางแห่งที่ให้ผู้อาวุโสสุดในส่วนงานรับตำแหน่งหัวหน้าแม้จะไม่มีความสามารถ หรือทำงานไม่ได้ก็ตาม

 

 

มีลักษณะของผู้ไม่ตัดสินใจ (Trait indecision) :

 

มีลักษณะความคิดและพฤติกรรมหลายหลายรูปแบบที่สัมพันธ์กับการไม่ตัดสินใจ หรือตัดสินใจได้ล่าช้าออกไป เช่น ผู้ที่มีลักษณะหลีกเลี่ยง (avoidance) หรือลักษณะพึ่งพา/ยอมตามผู้อื่น (dependant) มักจะต้องการคำแนะนำเพื่อตัดสินใจใด ๆ หรือผู้ที่กลัวความผิดหวังล้มเหลว หรือคาดหวังสูง ก็จะมีแนวโน้มที่จะพยายามศึกษาทางเลือกต่อไปโดยหวังว่าจะเจอทางเลือกที่ดีกว่า แต่ลักษณะทั้งหมดที่ว่ามาเมื่อพบเจอการตัดสินใจก็จะมีผลลัพธ์คล้าย ๆ กันคือใช้เวลาในการตัดสินใจมากขึ้น หรือต้องใช้กระบวนการขั้นตอนเยอะเพื่อจะตัดสินใจ (Frost and Shows, 1993; Rassin et al., 2007)

 

 

นอกจากนี้ก็มีงานวิจัยเกี่ยวกับวิธีคิดที่แตกต่างกันของ คนตัดสินใจ vs. คนไม่ตัดสินใจ พบว่าทั้งสองฝ่ายมีการรับรู้และจัดการปัญหาแตกต่างกันบางส่วน เช่น กลุ่มไม่ตัดสินใจมักพิจารณา worse case scenario เป็นหลัก ในขณะที่มักจะมองข้ามความเสี่ยงจากการพลาดโอกาส มากกว่ากลุ่มตัดสินใจ และเลือกที่จะเลื่อนการตัดสินใจออกไปแม้จะรู้ว่าจะต้องเสียโอกาสที่จะเลือกบางตัวเลือกไป กลยุทธ์ที่คนไม่ตัดสินใจ มักจะใช้ก็คือการหาข้อมูล/ทางเลือกไปเรื่อย ๆ (information-seeking strategy) ซึ่งมักจะพิจารณาข้อมูลเชิงลึกเป็นด้าน ๆ แคบ ๆ ทำให้ขาดการมองภาพรวม ใช้เวลามาก ไม่หวันไหวต่อความเสี่ยงจากการเสียเวลา/โอกาส หลีกเลี่ยงทางเลือกที่คุกคาม และต้องการผู้คน-ข้อมูลยืนยันสนับสนุนก่อนตัดสินใจ

 

 

สำหรับการแก้ไขพฤติกรรมการไม่ตัดสินใจ ทางนักวิจัยส่วนหนึ่งเสนอให้เพิ่มการตระหนักรู้ถึงผลเสียและความเสี่ยงของการที่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปมากขึ้น หรือหากเป็นไปได้ก็ลองหยิบให้ “การเลื่อนเวลา” หรือ “การทำแบบเดิม-คงสถานะเดิม” ออกมาเป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง แล้วเอามาเปรียบเทียบผลดี-เสีย หรือปัจจัยต่าง ๆ เหมือนตัวเลือกอื่น ๆ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่ถ้าหากปัญหาอยู่ที่ตัวเลือกมีความคล้ายคลึงกันมากไปก็ลองใช้ปัจจัยอื่นอย่าง อารมณ์ ความสัมพันธ์ ความชอบ โหงวเฮ้ง เสี่ยงทาย ฯลฯ ที่คิดว่าเหมาะสมกับตัวเองและกลุ่ม แล้วตัดสินใจเพื่อให้สามารถดำเนินการขั้นตอนถัดไปได้ ก็อาจไม่ใช่เรื่องเลวร้ายมากนัก

 

 

รายการอ้างอิง

 

Baron, J., & Ritov, I. (1994). Reference points and omission bias. Organizational behavior and human decision processes, 59(3), 475-498.

 

Brooks, M. E. (2011). Management indecision. Management Decision, 49(5), 683-693.

 

Frost, R. O., & Shows, D. L. (1993). The nature and measurement of compulsive indecisiveness. Behaviour Research and Therapy, 31(7), 683-IN2.

 

Rassin, E., Muris, P., Franken, I., Smit, M., & Wong, M. (2007). Measuring general indecisiveness. Journal of Psychopathology and Behavioral Assessment, 29, 60-67.

 

Schweitzer, M. (1994). Disentangling status quo and omission effects: An experimental analysis. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 58(3), 457-476.

 

 


 

 

บทความโดย

ณัฐนันท์ มั่นคง

นักจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบัน ที่ได้รับทุน Fulbright ประจำปี 2024

 

ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบัน ที่ได้รับทุน Fulbright ประจำปี 2024 เพื่อไปเรียนต่อและทำวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา

 

นางสาวจันท์จ้า รัตนจันทร์ ศิษย์เก่าหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ – JIPP5) ได้รับทุน Fulbright Thai Graduate Scholarship Program ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้าน Nonprofit Management ที่ Columbia University

 

นางสาวกุสุมา ลีลานราธิวัฒน์ นิสิตปริญญาเอกแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม ได้รับทุน Fulbright Junior Researcher Scholarship เพื่อไปทำวิจัยเรื่อง The Effect of Brand Purpose on Consumer Prosocial Behaviors ที่ Claremont Graduate University

 

คณะจิตวิทยาขอชื่นชมในความมุ่งมั่น ทุ่มเท และความตั้งใจที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้สังคม และยินดีเป็นอย่างยิ่งกับความสำเร็จของนิสิตและศิษย์เก่าทั้งสองคน

 

 


 

 

Big congratulations to our current and former students on receiving the prestigious Fulbright scholarship.

 

Janja Rattanajan, our former JIPP5 student receives the Fulbright Thai Graduate Scholarship Program! Janja will be pursuing a Master’s in Nonprofit Management at Columbia University.

 

Kusuma Leelanarathiwat, our current doctoral student in the Social Psychology Program, receives the Fulbright Junior Researcher Scholarship (JRS)! Kusuma will be conducting research on brand purpose and consumer prosocial behaviors at Claremont Graduate University.

 

This remarkable achievement is a testament to their dedication, hard work, and passion for making a difference in the world.
Let’s celebrate their success and wish them both the best of luck in these exciting new chapters of their academic and professional journeys!

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การเสวนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง รู้จัก…เข้าใจ…แก้ไข Cyberbullying

 

การเสวนาวิชาการ เรื่อง

 

รู้จัก…เข้าใจ…แก้ไข Cyberbullying

 

โดย โครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จักเข้าใจ Cyberbullying” คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในวันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 12.30 – 15.30 น.ศูนย์การเรียนรู้อเนกประสงค์ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบซูม (Zoom meeting) 

 

 

 

 

วิทยากร

  • คุณณัญช์ภัคร์ พูลสวัสดิ์ (คุณเต้ย)
    ผู้จัดการแผนก/บรรณาธิการ/โปรดิวเซอร์ รายการครอบครัวบันเทิง เรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3
  • คุณกวิสรา สิงห์ปลอด (คุณมายยู)
    ศิลปินอิสระ และ อินฟลูเอนเซอร์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์
    หัวหน้าโครงการฯ คณบดี และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์
    รองหัวหน้าโครงการฯ รองคณบดี อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม และอาจารย์ประจำแขนงวิชาการวิจัยจิตวิทยาประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ผู้ดำเนินรายการ

  • คุณรวีโรจน์ เลิศพิภพเมธา (คุณวี)
    DJ คลื่น Eazy fm102.5 และพิธีกร

 

กำหนดการ

 

  เวลา
รายการ
 12.30 – 13.15 น.
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
 13.15 – 13.30 น.
พิธีเปิดงาน โดย อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้แทนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
 13.30 – 15.15 น.
การเสวนาวิชาการ เรื่อง รู้จัก…เข้าใจ…แก้ไข Cyberbullying
 15.15 – 15.30 น.
Q&A และกล่าวปิดการเสวนาออนไลน์

 

 

ประเด็นการเสวนา

  • สถานการณ์การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ (Cyberbullying) และผลกระทบ ทั้งในมุมมองของนักวิชาการและประสบการณ์ของวิทยากร
  • วิธีการรับมือและจัดการกับปัญหา Cyberbullying ที่ผ่านมา และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
  • ปัจจัยทางจิตวิทยาที่อธิบายถึงสาเหตุที่บุคคลกลั่นแกล้งผู้อื่นทางออนไลน์
  • แนวทางการลดพฤติกรรม Cyberbullying
  • บทบาทของผู้พบเห็นเหตุการณ์ Cyberbullying ที่เป็นส่วนสำคัญต่อการลดหรือเพิ่มปัญหา

 

รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่ คุณวาทินี 02-218-1307 อีเมล wathinee.s@chula.ac.th

 

 


 

 

ภาพบรรยากาศการเสวนา

 

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Finding the Story in the Data”

 

More than 40 Experience Management (XM) practitioners attended the workshop “Finding the Story in the Data” at the Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Thailand, on Friday, May 31st, 2024.

 

The workshop was led by Lara Truelove, the Program Leader of SAP/Qualtrics Center for Experience Management, and Assistant Professor Dr. Thipnapa Huansuriya, the Director of the M.S./Ph.D. in Business Psychology Program at the Faculty of Psychology, Chulalongkorn University.

 

Mastering the art of finding the story in survey data is a crucial skill in the Experience Management (XM) communities*. At the workshop, attendees not only learned these skills but also shared practical approaches to finding meaningful and actionable stories in the customer and employee experience survey data.

 

We deeply appreciate everyone’s active participation and engagement and encourage you to put these valuable skills into immediate action.

 

*from XM Talent and Skills Study, April 2023

 

 


 

แขนงวิชาจิตวิทยาธุรกิจ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ SAP/Qualtrics Center for Experience Management ร่วมกันจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Finding the Story in the Data” เมื่อวันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 ดำเนินการอบรมโดยคุณ Lara Truelove ซึ่งเป็น Program Leader ของ SAP/Qualtrics Center for Experience Management และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาธุรกิจ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ทักษะการค้นหาเรื่องราวที่มีความหมายจากข้อมูลเป็นทักษะหนึ่งที่คนทำงานในด้านการจัดการประสบการณ์ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ* ในการอบรมนี้ ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการค้นหาเรื่องราวที่มีความหมายและนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและพนักงานให้ดียิ่งขึ้น

 

ผู้จัดขอขอบคุณผู้เข้าร่วมการอบรมทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และหวังว่าเนื้อหาการอบรมจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานของท่านได้โดยตรง

 

*from XM Talent and Skills Study, April 2023

 

 

 

 

 

 

Album Photo

 

 

ครบรอบ 111 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา และคุณวีระยุทธ กุลสุวิพลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคณะจิตวิทยา ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 111 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ (Hall of INTANIA) อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

 

 

 

ครบรอบ 46 ปี แห่งการสถาปนาสำนักวิทยทรัพยากร จุฬาฯ

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา และคุณวีระยุทธ กุลสุวิพลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคณะจิตวิทยา ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 46 ปี แห่งการสถาปนาสำนักวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 ณ โถง ชั้น 7 อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ

 

 

 

 

กิจกรรมบรรยายความรู้ทางจิตวิทยาในหัวข้อ “อ่อนโยนกับใจตัวเอง” วัดวชิรธรรมาราม

 

วันที่ 1 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา คุณคงพล แวววรวิทย์ นักจิตวิทยาการปรึกษา ของศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้ไปบรรยายความรู้ทางจิตวิทยาในหัวข้อ “อ่อนโยนกับใจตัวเอง” ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมฝึกสติ พัฒนาสมอง “โหมดความสุข” รุ่นที่ 24 ที่จัดโดยวัดวชิรธรรมาราม ณ หมู่เรือนไทยกลางน้ำ วัดวชิรธรรมาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

 

 

 

 

 

 

 

Interdisciplinary discussion on “Migration through the Lens of Intersectionality”

 

The East-West Psychological Science Research Center, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, is inviting you to join an interdisciplinary discussion on “Migration through the Lens of Intersectionality.” We will explore migration in both Canada and Thailand, focusing on how multiple minority identities, such as ethnicity and gender, intersect to create diverse experiences—both positive and negative—in various life domains for migrants.

 

 

 

 

Guest Speakers:
  • Saba Safdar, PhD
    Visiting Professor, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University
    Director, Centre for Cross-Cultural Research, University of Guelph
  • Sriprapha Petcharamesree, PhD
    Faculty of Law, Chulalongkorn University
  • Sudarat Musikawong, PhD
    Institute for Population and Social Research, Mahidol University

 

Date and Time:

Tuesday, June 4th, 2024 from 10 AM to 12 PM

 

Venue:

Meeting Room 1, 3rd Floor, Office of Academic Resources (Central Library), Chulalongkorn University

or you may watch the event on FB live on page East-West Psychological Science Research Center

 

 


 

 

The East-West Psychological Science Research Center, Faculty of Psychology, extends heartfelt thanks to our distinguished speakers, Dr. Saba Safdar, Dr. Sriprapha Petcharamesree, and Dr. Sudarat Musikawong, for their enlightening discussion during our event, “Migration through the Lens of Intersectionality,” held on June 4th, 2024. Their insights have significantly contributed to our understanding.

We also deeply appreciate everyone who participated and helped make this event a resounding success. We hope that you will join us again at our next event.

 

 

LIVE

 

 

 

 


 

 

Photo Album