รายละเอียดแนบท้ายประกาศรับสมัคร (แนบไฟล์)
จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะรับ 2 คน
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร
- (สำหรับรหัสหลักสูตร 4303) สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา หรือเทียบเท่า ด้วยคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้าย ด้วยคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 จากระบบ 4 แต้ม
- (สำหรับรหัสหลักสูตร 4305) สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ไม่จำกัดสาขาวิชา หรือเทียบเท่า ด้วยคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญามหาบัณฑิต ไม่จำกัดสาขาวิชา และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้าย ด้วยคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 จากระบบ 4 แต้ม
- ต้องสอบผ่านรายวิชาจิตวิทยาทั่วไป หรือรายวิชาที่เทียบเคียงได้กับรายวิชาจิตวิทยาทั่วไป หรือผ่านการอบรมโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับประชาชนทั่วไป คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
- ต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ CU-TEP, TOEFL iBT ตั้งแต่ 60 ขึ้นไป หรือ TOEFL (PBT/ITP) ตั้งแต่ 500 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 5.0 ขึ้นไป รับเข้าศึกษาได้ แต่มีเงื่อนไขต้องสอบใหม่ให้ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ก่อนสอบวิทยานิพนธ์ โดยมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ CU-TEP, TOEFL iBT ตั้งแต่ 67 ขึ้นไป หรือ TOEFL (PBT/ITP) ตั้งแต่ 525 หรือ IELTS 5.5 ขึ้นไป หรือเรียนรายวิชา 5500560 THESIS WRITING ตามที่หลักสูตรกำหนด หรือสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนจากมหาวิทยาลัย ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง
- ต้องมีโครงร่างวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ในแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา ความยาว 1,500-2,000 คำ
- ต้องมีเรียงความ จำนวน 3 ฉบับ ในหัวข้อดังต่อไปนี้
- บรรยายเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณมีลักษณะและความสามารถในเกณฑ์แต่ละด้านต่อไปนี้ (จำนวนคำของทุกด้านรวมกันทั้งหมดไม่เกิน 3500 คำ)
-
-
- l มีความตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) มีวุฒิภาวะ (Maturity) และมีความมั่นคงทางจิตใจ (Emotional stability)
- l สามารถสะท้อน (Reflect) ทบทวนถึงประสบการณ์ชีวิตของตนเองและนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
- l สามารถจัดการกับปัญหาหรือความท้าทายทางอารมณ์ (Emotional demanding) ที่อาจเกิดขึ้นในการฝึกปฏิบัติในการให้บริการการปรึกษา
- l สามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทั้งในแง่บวกและในแง่ลบ และนำมาปรับใช้ในชีวิต
- l มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของความแตกต่างและความเท่าเทียมระหว่างบุคคล
- l มีความสามารถในการมีส่วนร่วมในกลุ่ม
- l เข้าใจหลักการและหลักปฏิบัติที่สำคัญของการให้บริการการปรึกษา
-
-
- บรรยายเพื่อแสดงประสบการณ์เกี่ยวกับการช่วยหลือผู้อื่นที่คุณเคยได้ทำและแรงจูงใจในการเข้าศึกษาในหลักสูตรจิตวิทยาการปรึกษาในช่วงนี้ (ไม่เกิน 1,500 คำ)
- บรรยายเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณมีคุณสมบัติที่จะเอื้อให้คุณเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาที่ดี และคุณลักษณะที่อาจเป็นอุปสรรคหรือกระทบต่อการเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา (ไม่เกิน 1,500 คำ)
- ต้องมีหนังสือรับรอง 3 ฉบับ จากอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่เคยสอน หรือผู้บังคับบัญชา
คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป หรือคณะอนุกรรมการบริหารหลักสูตร หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้