ความตั้งใจลาออกของพนักงาน

28 Feb 2015

บริการวิชาการ

ความไม่ผูกพันกับองค์การ ความไม่พึงพอใจในงาน และความไม่เป็นส่วนหนึ่งในงาน ร่วมกันทำนาย ความตั้งใจลาออกของพนักงานได้ถึง 58%

 

โดย

 

ความไม่พึงพอใจในงาน ประกอบด้วย

  • ไม่พึงพอใจในลักษณะงาน รู้สึกว่าไม่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ไม่ท้าทาย หรือไม่น่าสนใจ
  • ไม่พึงพอใจในวิธีการบริหารงาน และการบริหารคน ของหัวหน้างาน
  • ไม่พึงพอใจในรายได้และสวัสดิการที่ได้รับ
  • ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ
  • ไม่พึงพอใจในเพื่อนร่วมงาน

 

ความไม่ผูกพันกับองค์การ ประกอบด้วย

  • ประสบการณ์ในการทำงานไม่ทำให้เกิดความผูกพันด้านจิตใจ หรือความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
  • เมื่อเทียบสิ่งที่ได้รับจากองค์การกับที่ได้ลงทุนไป รู้สึกไม่คุ้มค่า หรือคิดว่าหากละทิ้งการเป็นสมาชิกขององค์การไปก็ไม่ได้รับผลกระทบมาก
  • ไม่มีบรรทัดฐานว่าเมื่อเข้าเป็นสมาชิกขององค์การแล้วต้องจงรักภักดีและอุทิศตนให้กับองค์การ

 

ความไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของงาน ประกอบด้วย

  • ไม่รู้สึกว่าหากต้องลาออกจากงานไปจะมีผลกระทบกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ทั้งเพื่อนร่วมงาน โปรเจคที่รับผิดชอบ ครอบครัว สังคมแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ
  • มีความไม่ลงตัวระหว่างบุคคลกับตัวงานและวัฒนธรรมองค์การ รวมไปถึงวิถีการดำรงชีวิตเมื่อเป็นพนักงานในองค์การ
  • เมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ต้องสละไปเมื่อต้องลาออก (ยิ่งมีอายุงานมาก สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากองค์การยิ่งมาก) ทั้งจากองค์การและจากชุมชนเดิม เปรียบเทียบกับสิ่งที่จะได้รับในงานใหม่และชุมชนใหม่ รู้สึกว่าคุ้มค่า

 

 

 

 

ข้อมูลจาก พนักงานเอกชนจำนวน 660 คน อายุระหว่าง 20-50 ปี ตำแหน่งระดับปฏิบัติการ-หัวหน้าฝ่าย/ผู้จัดการระดับสูง อายุงานระหว่าง 1-20 ปี

 

 

 

 

“อิทธิพลของความเป็นส่วนหนึ่งในงาน ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันกับองค์การต่อความตั้งใจลาออก” 
“Effects of job embeddedness, job satisfaction, and organizational commitment on intention to leave”

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2556)
โดย นางสาวสลักจิต ตันติบุญทวีวัฒน์
ที่ปรึกษา ผศ. ดร.คัคนางค์ มณีศรี
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42878

 

แชร์คอนเท็นต์นี้