หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2568)
(ปริญญาโท)
ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตนักจิตวิทยาการปรึกษาบนพื้นฐานการเรียนรู้ทฤษฎีจิตวิทยาการปรึกษาและการฝึกประสบการณ์ เพื่อให้มีความสามารถทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพในการให้บริการปรึกษาภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพ รวมถึงสามารถต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ในการวิจัยทางจิตวิทยาการปรึกษา
วัตถุประสงค์หลักสูตร
- เพื่อผลิตนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีความรู้ทางทฤษฎีจิตวิทยาการปรึกษา สามารถประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริการการปรึกษาตามรูปแบบ Scientist-Practitioner บนพื้นฐานการเรียนรู้ผ่านการฝึกประสบการณ์ ภายใต้จรรยาบรรณทางวิชาชีพ
- เพื่อผลิตนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยเพื่อแสวงหา และพัฒนาความรู้ด้านจิตวิทยาการปรึกษาบนพื้นฐานของความเหมาะสมด้านระเบียบวิธีวิจัยและจริยธรรมการวิจัย
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เมื่อสิ้นสุดการศึกษาของหลักสูตรผู้เรียนจะได้รับผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนี้ |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาโท (TQF) |
||||
ความรู้ | ทักษะ | คุณธรรม
จริยธรรม |
ลักษณะ
บุคคล |
||
1. | PLO1 สามารถทำงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาการปรึกษา | ||||
1.1 ทำงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาการปรึกษา | / | / | / | ||
1.2 แสดงทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยจากฐานข้อมูลวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือ | / | / | |||
1.3 แสดงทักษะการดำเนินการวิจัยบนฐานของจริยธรรมการวิจัย | / | / | / | ||
1.4 ประยุกต์ใช้ข้อมูลทางการวิจัยทางจิตวิทยาการปรึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเชิงวิชาชีพ | / | ||||
2. | PLO2 สามารถให้บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพ | ||||
2.1 เข้าใจและอธิบายทฤษฎีและกระบวนการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา | / | ||||
2.2 แสดงทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ ปฏิบัติตามขั้นตอน และกระบวนการในการปฏิบัติงานการปรึกษาเชิงจิตวิทยาตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพตามแนวคิดทฤษฎีที่ยึดถือ | / | / | |||
2.3 วิเคราะห์และประเมินปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักวิชาชีพและตามเอกสารทางวิชาการของแนวคิดทฤษฎีที่ยึดถือ | / | / | / | / | |
2.4 วิเคราะห์และสะท้อนความเข้าใจในตนเองและผู้อื่นในบริบททางวัฒนธรรมและสังคม | / | / | / | / | |
2.5 วิเคราะห์ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากต่อการตัดสินใจ (Ethical Dilemma) ในการให้บริการการปรึกษาตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ | / | / | / |
วันและเวลาการเรียนการสอน
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. (ในเวลาราชการ)
ค่าใช้จ่าย
ภาคการศึกษาละ 65,000 บาท ประกอบด้วย
-
- ค่าเล่าเรียน 35,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมพิเศษ 30,000 บาท
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
- 45 หน่วยกิต
- ระยะเวลาการศึกษา 2.5 ปี (5 ภาคการศึกษา)
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก1 | แผน ก แบบ ก2 | |
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน | – | 33 |
รายวิชาบังคับ | – | 24 |
รายวิชาบังคับเลือก | – | 6 |
รายวิชาเลือก | – | 3 |
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ | 45 | 12 |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 45 | 45 |
แผนการศึกษา (In Process)
การฝึกปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาการปรึกษา
หลักสูตรได้กำหนดรายวิชาการฝึกปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาการปรึกษา และรายวิชาการนิเทศแบบรายบุคคลสำหรับการฝึกปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาการปรึกษา ดังนี้
- รายวิชา 3802743 การปรึกษาเชิงจิตวิทยาวินิตและจิตบำบัด
- รายวิชา 3802746 การนิเทศแบบรายบุคคลสำหรับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาวินิตและจิตบำบัด
- รายวิชา 3802796 การฝึกปฏิบัติงานขั้นต้นด้านการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
- รายวิชา 3802881 การฝึกปฏิบัติงานขั้นสูงด้านการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์
การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์เป็นการสอบวัดความรู้ความเข้าใจของนิสิตในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ระเบียบวิธีวิจัย วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหางานวิจัย
โดยนิสิตต้องได้รับอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ ภายใน 2 ปีการศึกษานับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
การสอบวิทยานิพนธ์
การสอบวิทยานิพนธ์เป็นการสอบวัดความรู้ความเข้าใจของนิสิตในเรื่องที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา ระเบียบวิธีวิจัย วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหางานวิจัย รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นปัญหาของงานวิจัย และสรุปผลของวิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการวิจัย
นิสิตจะสอบวิทยานิพนธ์ได้ก็ต่อเมื่อ
- ลงทะเบียนเรียนรายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
- ได้รับอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จากคณะกรรมการบริหารคณะจิตวิทยา เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์
- มีหลักฐานแสดงว่า ได้ส่งบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ให้วารสารทางวิชาการพิจารณาเพื่อการตีพิมพ์แล้ว หรือได้รับการตอบรับให้ไปนำเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการแล้ว (เฉพาะแผน ก แบบ ก2)
- ผ่านเกณฑ์การทดสอบภาษาอังกฤษตามที่หลักสูตรกำหนด
- ผ่านเกณฑ์อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารคณะจิตวิทยากำหนด
การเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์
แผน ก แบบ ก1 ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
แผน ก แบบ ก2 ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว
เกณฑ์ภาษาอังกฤษสำหรับการสำเร็จการศึกษา (ต้องผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ ก่อนสอบวิทยานิพนธ์)
- ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบภาษาอังกฤษ โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่า ดังนี้
- CU-TEP = 60 คะแนน
- TOEFL = 500 คะแนน
- IELTS = 5.0 คะแนน
- สอบผ่านรายวิชา 5500532 ACAD ENG GRAD STU