บัณฑิตศึกษา

แขนงวิชา ∙ หลักสูตรจิตวิทยา

ภาพรวมและแขนงวิชา

จิตวิทยาพัฒนาการ

ดำเนินการวิจัยและการสร้างเสริมพัฒนาการมนุษย์ตลอดช่วงอายุขัยตั้งแต่วัยทารกจนถึงบทสุดท้ายของชีวิต หัวข้อการวิจัยที่สำคัญเกี่ยวข้องกับ การสร้างเสริมพัฒนาการในเด็ก (Early intervention and developmental enhancement) การกำกับตนเองในวัยเด็ก (Self-regulation) ทักษะ Executive function การมีสติ (Mindfulness) อัตลักษณ์ (Identity) การเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่การทำงาน (Transition from school to work) การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของบุคคล (Performance enhancement) การลงความเห็นและการตัดสินใจ (Judgment and decision making) สุขภาวะ (Well-being) ความสัมพันธ์ (Relationship) การเลี้ยงดู (Parenting) การส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion) ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) การสูงวัย (Aging) และ การวางแผนเกี่ยวกับวาระสุดท้ายของชีวิต (Living will) 

 

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

มุ่งเน้นการประยุกต์จิตวิทยาในที่ทำงานโดยครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นองค์การปัจจุบัน ตัวอย่างงานวิจัยของคณาจารย์และนิสิตได้แก่ ภาวะผู้นำ สุขภาวะ การเรียนรู้และพัฒนาในองค์การ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ การศึกษาข้ามวัฒนธรรม และความหลากหลายของบุคลากร

 

การวิจัยจิตวิทยาประยุกต์

เน้นการทำวิจัยด้วยกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาและการประยุกต์เข้ากับศาสตร์อื่นๆ ปัจจุบันแขนงการวิจัยจิตวิทยาประยุกต์มีหัวข้อวิจัยที่หลากหลายอาทิเช่น การวิจัยด้านสังคมผู้สูงวัย สุขภาพจิตและสุขภาวะในด้านต่างๆ การบริหารจัดการภัยพิบัติ จิตวิทยาการสื่อสาร เป็นต้น โดยมุ่งเน้นการวิจัยในสถานการณ์จริง เพื่อให้เกิดข้อความรู้ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ได้