ข่าวและกิจกรรม

คณะจิตวิทยาขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน ที่ได้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์

 

คณะจิตวิทยาขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.นิปัทม์ พิชญโยธิน ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 886 วันที่ 25 เมษายน พศ. 2567 ให้ดำรงตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566

 

โครงการอบรมความรู้พื้นฐานจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ประจำปี 2567

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม “โครงการอบรมความรู้พื้นฐานจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ประจำปี 2567” ซึ่งจะจัดอบรมผ่านโปรแกรม ZOOM ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน – 25 กรกฎาคม 2567 (วันจันทร์ และวันอังคาร เวลา 18.00 – 21.00 น.) รวมใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมและสอบวัดผลทั้งสิ้น 27 ชั่วโมง โดย คณาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร

 

 

 

โครงการอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านจิตวิทยาให้แก่บุคคลภายนอก และเตรียมความพร้อมทางจิตวิทยาให้แก่ผู้สมัครที่จะเข้ามาศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาอุตสาหกรรมและองค์การ ได้มีพื้นฐานทางจิตวิทยาที่จำเป็น เพื่อเตรียมความพร้อมและนำไปต่อยอดในการศึกษารายวิชาที่กำหนดในหลักสูตรในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เนื้อหาการอบรมจะเป็นการปูพื้นฐานให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาในบริบทการทำงานและบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ ได้เรียนรู้และเข้าใจกับคําว่าจิตวิทยา I/O และสร้างความเข้าใจในประเด็นด้านอุตสาหกรรม เช่น กระบวกการคัดเลือก วัดและประเมิน และประเด็นด้านองค์การ เช่น ความพึงพอใจและผลการปฏิบัติงานของบุคลากร แรงจูงใจในการทำงาน เป็นต้น รวมทั้งประเด็นด้านการเรียนรู้และสุขภาวะทางจิตใจของบุคลากรในที่ทำงาน รวมถึงการคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมไปนั้น จะสามารถนําศาสตร์ทางจิตวิทยาไปประยุกต์พัฒนาบุคลากรและแก้ปัญหาในที่ทำงานเพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

หมายเหตุ วันสอบอาจมีความเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแต่ละครั้ง ทางผู้จัดโครงการจะอัพโหลดไฟล์วิดีโอการอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้จนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2567 ทั้งนี้การดูย้อนหลังในช่วงเวลาหลังการสอบจะไม่นับเป็นชั่วโมงการเข้าเรียน

 

ผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์การวัดผลของโครงการจะได้รับวุฒิบัตรเพื่อใช้ประกอบการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา ได้

 

 

เกณฑ์การวัดผล

  • ต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 7 ครั้ง (21 ชั่วโมง)
  • สอบวัดผลข้อเขียน โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน 70% ขึ้นไป

 

อัตราค่าลงทะเบียน

 

 

บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว

มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

 

  1. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  2. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  3. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วัน
  4. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  5. ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์จะจัดส่งให้ทางอีเมล กรุณาตรวจสอบความถูกต้องของอีเมล
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 


ปิดรับสมัครแล้วค่ะ


 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี สนลอย

โทร. 02-218-1307 หรือ email: Wathinee.s@chula.ac.th

 

Boosting Research Impact Series Vol. 2: Neural sensitivity and facilitation in visual word processing of typical and dyslexic readers

Boosting Research Impact Series Vol. 2 is back!

 

Join us for an intriguing onsite research sharing session by Dr. Urs Maurer from The Chinese University of Hong Kong, Department of Psychology!

 

Dr. Maurer, the new Vice-President of the Association for Reading and Writing in Asia (ARWA), will delve into the fascinating world of visual word processing and dyslexia, offering valuable insights into how our brains process written words.

 

Title: Neural sensitivity and facilitation in visual word processing of typical and dyslexic readers

 

  • Date: Monday, May 13, 2024
  • Time: 10:00 AM – 11:00 AM
  • Venue: Room 614, 6th floor, Borommaratchachonnanisisattaphat Building, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University

 

Don’t miss out on this enlightening discussion

 


 

 

A big thank you to Dr. Maurer for sharing his research insights and expertise with us. We also want to express our gratitude to everyone who attended and contributed to the engaging discussion.

 

 

Inferential information in multivariate statistics: An integrated structural equation modeling approach

 

Principal component analysis (PCA; Hotelling, 1933), canonical correlation analysis (CCA; Hotelling, 1935, 1936), and redundancy analysis (RA; Van Den Wollenberg, 1977) are the basic analytic techniques developed in multivariate statistics. In applications of these methods, researchers often rely on certain cutoff values to make the decisions on determining the dimensionality or identifying the important variables to understand or interpret the components. However, the selection of cutoff value is often arbitrary and does not have any statistical or theoretical basis. Consequently, most decisions made are subjective and do not consider the sampling fluctuations. Additionally, various substantive hypotheses cannot be tested easily unless one uses the time-consuming and computationally intensive approaches such as bootstrap or permutation tests. Therefore, PCA, CCA, and RA are typically applied in exploratory data analysis, rather than confirmatory data analysis. The fundamental reason of this phenomenon is the lack of inferential information (e.g., standard errors and confidence intervals) in these methods.

 

Structural equation modeling (SEM), on the other hand, is a framework that provides comprehensive results including not only point estimates but also inferential information. Besides, various estimators have been developed in SEM to accommodate both normal and non-normal data. Moreover, the SEM framework allows flexible extensions (e.g., multi-group model) to satisfy a variety of needs to test hypotheses.

 

To aid the applications of multivariate statistics, one natural idea is to integrate the multivariate methods into the SEM framework. Such an integration will produce the inferential information in multivariate statistics and thus promote the applications of the relevant method. In fact, some work has been done in terms of the integration of PCA into the SEM framework. Specifically, Dolan (1996) first developed the regular model to analyze the unstandardized variables (or covariance matrices); Gu (2016) proposed the scale-invariant model to analyze the standardized variables (or correlation matrices) and developed the multi-group scale-invariant model that allows the invariance of parameters to be tested; and Ogasawara (2000) gave the standard errors for the rotated PCA estimates. Most recently, Gu and Cheung (2023) showed that inferential information in multivariate principal component regression can be obtained by extending the SEM framework for PCA. In terms of the integration of CCA into the SEM framework, some similar work has been done. Specifically, Gu, Yung, and Cheung (2019) provided the regular model and the scale-invariant model to analyze the unstandardized variables (or covariance matrices) and the standardized variables (or correlation matrices), separately; Gu and Wu (2018) developed the multi-group scale-invariant model to test the invariance of canonical loadings; and Gu, Wu, Yung, and Wilkins (2021) gave the standard errors for the rotated CCA estimates. In terms of the integration of RA into the SEM framework, Gu et al. (2023) developed the scale-invariant model for RA, because RA was originally defined for the standardized variables only.

 

 

Table 1. Existing work and future projects of integrating PCA, CCA, and RA into the SEM framework.

 

PCA
CCA
RA
Regular model
Dolan (1996)
Gu, Yung, & Cheung (2019)
N/A
Scale-invariant model
Gu (2016)
Gu, Yung, & Cheung (2019)
Gu, Yung, Cheung, Joo, & Nimon (2023)
Multi-group model
Gu (2016)
Gu & Wu (2018)
Future project 2
Standard errors for rotated estimates
Ogasawara (2000)
Gu, Wu, Yung, & Wilkins (2021)
Future project 3
Component-based regression model
Gu & Cheung (2023)
Future project 1
Future project 4

 

 

Table 1 provides a summary of the relevant work that has been done for the integration of PCA, CCA, and RA into the SEM framework, and this table also shows the future projects that can be done to complete this ongoing process of integration. The first future project is to extend the SEM framework for CCA to integrate canonical correlation regression (CCR). CCR is one of the commonly used methods in chemometrics (Burnham, Viveros, & MacGregor, 1996), and the integration of CCR into the SEM framework will produce the standard errors of the regression coefficients in CCR. The second future project is to develop the multi-group regular or scale-invariant model for RA so that the invariance of RA parameters can be tested. The third future project is to obtain the standard errors for rotated RA estimates, which can facilitate the interpretation of the rotated redundancy variates. Finally, the fourth future project is to clarify the equivalence and differences between RA and reduced-rank regression (RRR; a closely-related method that achieves the same mathematical goal but was independently developed by other statisticians such as Izenman, 1975; Tso, 1981; Davies and Tso, 1982). Such a clarification will give a better understanding of both RA and RRR and promote their applications in relevant studies.

 

In the next two years, the author is going to work on these four future projects and complete the integration of CCA and RA into the SEM framework.

 

 

References

 

Burnham, A. J., Viveros, R. & MacGregor, J. F. (1996). Frameworks for latent variable multivariate regression. Journal of Chemometrics, 10, 31-45. DOI: 10.1002/(SICI)1099-128X(199601)10:1<31::AID-CEM398>3.0.CO;2-1

 

Davies, P. T., & Tso, M. K.-S. (1982). Procedures for reduced-rank regression. Journal of the Royal Statistical Society. Series C (Applied Statistics), 31, 244-255. DOI: 10.2307/2347998

 

Dolan, C. (1996). Principal component analysis using LISREL 8. Structural Equation Modeling, 3, 307-322. DOI: 10.1080/10705519609540049

 

Gu, F. (2016). Analysis of correlation matrices using scale-invariant common principal component models and a hierarchy of relationships between correlation matrices. Structural Equation Modeling, 23, 819-826. DOI: 10.1080/10705511.2016.1207180

 

Gu, F., & Cheung, M. W.-L. (2023). A model-based approach to multivariate principal component regression: Selection of principal components and standard error estimates for unstandardized regression coefficients. British Journal of Mathematical and Statistical Psychology, 76, 605-622. DOI: 10.1111/bmsp.12301

 

Gu, F., & Wu, H. (2018). Simultaneous canonical correlation analysis with invariant canonical loadings. Behaviormetrika, 45, 111-132. DOI: 10.1007/s41237-017-0042-8

 

Gu, F., Wu, H., Yung, Y.-F., & Wilkins, J. L. M. (2021). Standard error estimates for rotated estimates of canonical correlation analysis: An implementation of the infinitesimal jackknife method. Behaviormetrika, 48, 143-168. DOI: 10.1007/s41237-020-00123-7

 

Gu, F., Yung, Y.-F., & Cheung, M. W.-L. (2019). Four covariance structure models for canonical correlation analysis: A COSAN modeling approach. Multivariate Behavioral Research, 54, 192-223. DOI: 10.1080/00273171.2018.1512847

 

Gu, F., Yung, Y.-F., Cheung, M. W.-L., Joo, B.-K., & Nimon, K. (2023). Statistical inference in redundancy analysis: A direct covariance structure modeling approach. Multivariate Behavioral Research, 58, 877-893. DOI: 10.1080/00273171.2022.2141675

 

Hotelling, H. (1933). Analysis of a complex of statistical variables into principal components. Journal of Educational Psychology, 24, 417-441. DOI: 10.1037/h0071325

 

Hotelling, H. (1935). The most predictable criterion. Journal of Educational Psychology, 26, 139-142. DOI: 10.1037/h0058165

 

Hotelling, H. (1936). Relations between two sets of variates. Biometrika, 28, 321-377. DOI: 10.2307/2333955

 

Izenman, A. J. (1975). Reduced-rank regression for the multivariate linear model. Journal of Multivariate Analysis, 5, 248–264. DOI: 10.1016/0047-259X(75)90042-1

 

Ogasawara, H. (2000). Standard errors of the principal component loadings for unstandardized and standardized variables. British Journal of Mathematical and Statistical Psychology, 53, 155-174. DOI: 10.1348/000711000159277

 

Tso, M. K.-S. (1981). Reduced-rank regression and canonical analysis. Journal of the Royal Statistical Society. Series B, 43, 183-189. DOI: 10.1111/j.2517-6161.1981.tb01169.x

 

Van Den Wollenberg, A. (1977). Redundancy analysis: An alternative for canonical correlation analysis. Psychometrika, 42, 207-219. DOI: 10.1007/BF02294050

 

 

 


 

 

Author

Dr. Fei Gu

Lecturer in Quantitative Psychology Area

 

โครงการอบรมความทางรู้ทางจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หัวข้อ “ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด (THEORIES OF COUNSELING AND PSYCHOTHERAPY)” ปี 2567

 

โครงการอบรมความทางรู้ทางจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หัวข้อ

“ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด (THEORIES OF COUNSELING AND PSYCHOTHERAPY)”

 

 

 

‘โครงการอบรมความทางรู้ทางจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หัวข้อ ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด (THEORIES OF COUNSELING AND PSYCHOTHERAPY)’ เป็นโครงการสําหรับการปูพื้นฐานให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาการปรึกษา ได้เรียนรู้และเข้าใจในศาสตร์ต่าง ๆ ของจิตวิทยาการปรึกษา และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ การเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา และทฤษฎีหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการปรึกษา รวมถึงการคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมไปนั้น จะสามารถนําศาสตร์ทางจิตวิทยาการปรึกษาไปประยุกต์ใช้ต่อตนเอง และผู้อื่นให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนโยบายผลักดันการเปิดหลักสูตรอบรมระยะสั้น/ชุดรายวิชา ที่มีการรับรองความสามารถ และรองรับการสะสมหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ให้กับผู้สนใจเข้าศึกษา และสามารถขอเทียบโอนหน่วยกิตเมื่อเข้ามาศึกษาต่อในหลักสูตรของคณะ ในการนี้คณะจิตวิทยาจึงได้จัดให้มีโครงการอบรมความทางรู้ทางจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หัวข้อ ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด (THEORIES OF COUNSELING AND PSYCHOTHERAPY)’ ขึ้นมาเพื่อนำร่องสำหรับผู้ที่สนใจเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก) แขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา ระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน – 3 สิงหาคม 2567 (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) ณ ห้อง 613 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

** โครงการนี้เป็นการเรียนพื้นฐานทฤษฎีทางจิตวิทยาการปรึกษาและจิตบำบัด ไม่มีการฝึกปฏิบัติ ผู้เรียนยังไม่สามารถให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาได้ **

 

 

การอบรมประกอบด้วย

  • บรรยาย
    เปิดสอนแบบชุดรายวิชา (Module) โดยการบรรยายแบ่งเป็น 16 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง (รวมชั่วโมงการบรรยายทั้งสิ้น 48 ชั่วโมง)
  • สอบวัดผล
    จัดสอบ 1 ครั้ง ระยะเวลา 3 ชั่วโมง

 

 

การประเมินผล

  • การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน คิดเป็นร้อยละ 30
  • สอบวัดผลและรายงาน คิดเป็นร้อยละ 70

โดยประเมินผลแบบ Letter Grade มีเกณฑ์การวัดผล ดังนี้

 

Letter Grade
ช่วงคะแนน
A
85 คะแนนขึ้นไป
B+
80 – 84 คะแนน
B
75 – 79 คะแนน
C+
70 – 74 คะแนน
C
65 – 65 คะแนน
D
60 – 64 คะแนน
F
ต่ำกว่า 60 คะแนน

 

 

หลักเกณฑ์การบันทึกระบบคลังหน่วยกิต / เทียบโอนรายวิชาเมื่อเข้าศึกษา

 

Certificate of Achievement
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเข้าเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากทั้งหมด 16 หัวข้อ
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการต้องสอบผ่านโดยได้รับการประเมินผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 (B ขึ้นไป)
  3. มีระยะเวลาการขอเทียบโอนได้ โดยต้องสอบผ่านโดยต้องได้รับวุฒิบัตรรับรองผลการเรียนและการสะสมหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต ของคณะจิตวิทยา มาแล้วไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่ภาคการศึกษาถัดไปจากปีที่เข้าร่วมโครงการ (ผู้เข้าร่วมโครงการประจำปี พ.ศ. 2567 สามารถเทียบโอนรายวิชาได้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 – ปีการศึกษา 2571)

 

Certificate of Attendance
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าเรียนในหัวข้อที่อบรม
  2. มีระยะเวลาเก็บในแต่ละหัวข้อ ตั้งแต่หัวข้อที่ 1 ถึงหัวข้อที่ 16 เป็นระยะเวลา 5 ปี จึงมีสิทธิ์ขอสอบรับวุฒิบัตรรับรองผลการเรียนเพื่อเทียบโอนรายวิชา (Certificate of Achievement)
  3. มีระยะเวลาการขอเทียบโอนได้ โดยต้องเข้าร่วมโครงการครบ 16 หัวข้อ นับตั้งแต่ภาคการศึกษาถัดไปจากปีที่เข้าร่วมโครงการในหัวข้อแรก จนถึงสอบผ่านการอบรมโครงการ รวมแล้วไม่เกิน 5 ปี

 

 

การเทียบโอนรายวิชา

 

รหัสรายวิชา
ชื่อรายวิชา
จำนวนหน่วยกิต
3802601
ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
THEORIES OF COUNSELING AND PSYCHOTHERAPY
3 (3-0-9)
คำอธิบายรายวิชา
การวิเคราะห์เปรียบเทียบและการประเมินโดยประสบการณ์เกี่ยวกับทฤษฎีและเทคนิคในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
ทักษะเบื้องต้นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด งานวิจัยปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง
Comparative analysis and empirical evaluation of counseling and psychotherapy theories, and techniques;
basic skills for counseling and psychotherapy; current relevant research.
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • เข้าใจและวิเคราะห์จุดเด่น ข้อจำกัดและความแตกต่างระหว่างทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัดที่สำคัญได้
  • สามารถค้นหาและอธิบายทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัดที่ได้รับมอบหมายได้

 

* การเทียบโอนรายวิชาจะสมบูรณ์เมื่อได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการบริหารคณะจิตวิทยา ภายในภาคการศึกษาแรกของการเข้าศึกษาในหลักสูตร

 

 

หัวข้อการฝึกอบรม / วิทยากร

 

 

 

อัตราค่าลงทะเบียน

 

 

 
ประเภทผู้เข้าร่วมอบรม
อัตราค่าลงทะเบียน
1
บุคคลทั่วไป (Early Bird)
18,000 บาท (16 หัวข้อ)
2
บุคคลทั่วไป (หัวข้อละ 2,000 บาท)
20,000 บาท (16 หัวข้อ)
3
* บุคคลทั่วไป สำหรับสอบวัดผล
500 บาท

 

หมายเหตุ

  • บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  • * ผู้ที่มีสิทธิ์ลงทะเบียนสำหรับการสอบวัดผล ต้องเป็นผู้เคยเข้าร่วมอบรมความทางรู้ทางจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หัวข้อ ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด (THEORIES OF COUNSELING AND PSYCHOTHERAPY) มาแล้วไม่เกิน 5 ปี และผ่านการทดสอบโดยได้ระดับคะแนนการทดสอบอยู่ระหว่างร้อยละ 60 – 74
  • Early Bird ช่วงระยะเวลารับสมัคร ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567
  • ลงรายหัวข้อ หัวข้อละ 2,000 บาท (โทรสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนชำระเงิน)

 

 

 

เงื่อนไขการลงทะเบียน

  1. กรุณาติดต่อผู้จัดงานเพื่อตรวจสอบที่นั่งว่างก่อนชำระค่าลงทะเบียน
  2. กรุณาชำระค่าลงทะเบียนก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
  3. การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
  4. เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วัน
  5. บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
  6. เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี

 

 

(มีผู้สมัครเต็มจำนวนแล้ว)

 

 

เปิดรับสมัครในเวลาทำการ ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. (จันทร์ – ศุกร์)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี สนลอย งานบริการวิชาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Tel. 02-218-1307    E-mail: wathinee.s@chula.ac.th

 

 

 

 


คำอธิบายหัวข้อการเรียน

 

Why be a counsellor
นักจิตวิทยาการปรึกษาคืออะไร แล้วทำไมเราจึงอยากเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา
Difference, Diversity, and Power
ความแตกต่างหลากหลายและมิติทางอำนาจในกระบวนการปรึกษา
Wounded Counsellor: Therapeutic Use of Self
ประสบการณ์บาดแผลทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อกระบวนการปรึกษา
Logotherapy
จิตบำบัดแนวความหมายในชีวิต : แม้ไม่มีอะไรเหลืออยู่ ชีวิตก็ยังมีความหมาย มีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเองเสมอ
Humanistic Approach – Rogerian Client-Centered Approach
ทฤษฎีจิตบำบัดแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง : เมื่อศักยภาพของมนุษย์เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลง
Gestalt Therapy
จิตบำบัดแนวเกสตัลท์ : สุขภาวะทางจิตดีขึ้นได้ด้วยการตระหนักรู้อย่างเป็นปัจจุบันขณะ
Psychoanalytic and Psychodynamic Therapy
ทฤษฎีจิตบำบัดแบบจิตวิเคราะห์และพลวัต: เหตุใดทฤษฎีต้นตำรับของจิตบำบัดนี้ยังคงใช้ได้อยู่ในปัจจุบัน
Cognitive Behavioral Therapy
จิตบำบัดแบบมุ่งเน้นความคิดและพฤติกรรมนิยม : จิตบำบัดที่ได้รับการยอมรับสำหรับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล
Acceptance and Commitment Therapy
จิตบำบัดแนวการยอมรับและพันธสัญญา : ยอมรับความท้าทาย พร้อมยืนหยัดต่อความหมายในชีวิต
Adlerian Therapy & Behavioral Therapy
จิตบำบัดแบบแอดเลอเรียนเพื่อการเข้าใจและแก้ไขปมในใจที่บ่มเพาะในวัยเด็ก และจิตบำบัดมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : เมื่อความสุขและความทุกข์กำหนดโดยสิ่งแวดล้อม
Couple and Family Therapy
พื้นฐานจิตวิทยาความสัมพันธ์และครอบครัว
Art Therapy
ศิลปะบำบัดในศาสตร์กระบวนการปรึกษา
Buddhist Approach
จิตวิทยาการปรึกษาเชิงพุทธ : บูรณาการพุทธธรรมสู่การดูแลใจเชิงจิตวิทยา
The Controversy of Diagnosis
มองข้อถกเถียงเกี่ยวกับการวินิจฉัยในศาสตร์จิตวิทยาการปรึกษาในมุมต่าง ๆ
Reality Therapy
การปรึกษาแบบเผชิญความจริง : ชีวิตมีทางเลือก เมื่อทางเลือกเปลี่ยน
ชีวิตเปลี่ยน ค้นหาทางเลือกสู่ชีวิตที่ปรารถนา
Therapeutic Relationship: A significant predictor of
therapeutic outcome
สัมพันธภาพในกระบวนการปรึกษา : ปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของจิตบำบัด

 

 

 


 

 

การเดินทางมายังคณะจิตวิทยา

 

อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ

 

ขนส่งสาธารณะ
BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทางออก 2 แล้วเดินตรงเข้ามาทางประตูสนามนิมิบุตร ประมาณ 300 เมตร
รถเมล์ ป้ายสนามกีฬาแห่งชาติ / มาบุญครอง / โอสถศาลา

ที่จอดรถ
อาคารจอดรถ 4 ติดกับอาคารจุฬาพัฒน์ 14

 

 

 

คณะจิตวิทยาขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส ครบรอบ 33 ปี แห่งการสถาปนา สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ

 

คณะจิตวิทยาขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส ครบรอบ 33 ปี แห่งการสถาปนา สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 ณ ชั้น 9 อาคารสถาบัน 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

คณะจิตวิทยา ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาสถาบันวิจัยสังคม จุฬา

 

คณะจิตวิทยา ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 22 เมษายน 2567 ณ Social Innovation Hub ชั้น 1 อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ

 

คณะจิตวิทยาขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันครบรอบ 89 ปี แห่งการสถาปนาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

 

คณะจิตวิทยาขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันครบรอบ 89 ปี แห่งการสถาปนาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ณ ชั้น B อาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

 

ภาพบรรยากาศงานสืบสานวัฒนธรรมไทยประเพณีวันสงกรานต์ พ.ศ. 2567

ภาพบรรยากาศงานสืบสานวัฒนธรรมไทยประเพณีวันสงกรานต์ พ.ศ. 2567 ของคณะจิตวิทยา จุฬาฯ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ

คณะจิตวิทยาขอกราบขอบพระคุณ ผศ.นิรมล ชยุตสาหกิจ รศ. ดร.ชุมพร ยงกิตติกุล ศ.พิเศษ ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และ ผศ. ดร.ชวินท์ ธัมมนันท์กุล ที่ให้ความกรุณาเดินทางมาร่วมงานและให้คำอวยพรเนื่องในวันปีใหม่ไทยอันเป็นสิริมงคลยิ่งแก่บุคลากรและนิสิตคณะจิตวิทยา

 

 

คณะจิตวิทยาขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ ที่ได้รับรางวัล “ผู้มีคุณูปการต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา”

 

คณะจิตวิทยาขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และผู้อำนวยการศูนย์จิตวิทยาพัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างวัย จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัล “ผู้มีคุณูปการต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา” เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ครบรอบ 79 ปี