เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567 คณะจิตวิทยา เข้าร่วมพิธีตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2567 และวันสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ครบรอบ 107 ปี และร่วมแสดงความยินดีกับคณะอักษรศาสตร์ ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร
เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567 คณะจิตวิทยา เข้าร่วมพิธีตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2567 และวันสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ครบรอบ 107 ปี และร่วมแสดงความยินดีกับคณะอักษรศาสตร์ ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร
เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2567 กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย คณะจิตวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดให้มีพิธีตักบาตรต้อนรับพุทธศักราชใหม่ พ.ศ. 2567 ณ ลานสนามหน้าอาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ โดยมีคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ในจุฬาฯ กว่า 20 หน่วยงาน เข้าร่วมพิธีตักบาตรกันอย่างอบอุ่น
จากการสำรวจในช่วงปี ค.ศ. 2004-2009 ของ Rideout และคณะ (2010) ได้ผลว่า วันรุ่นทั่วโลกใช้เวลาเฉลี่ยกับการฟังเพลง ประมาณ 3 ชม./วัน และเชื่อว่าด้วยเทคโนโลยี 20 กว่าปีผ่านไป อินเทอร์เน็ตก็มี online streaming ก็มา น่าจะทำให้เพลงหาฟังได้ง่ายขึ้น และใช้เวลาได้มากกว่าเดิม ไม่ว่าจะตอนเดินทาง ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ เล่นเกม ปาร์ตี้สังสรรค์ ฯลฯ ก็น่าจะมีเพลงอยู่ร่วมด้วยไม่มากก็น้อย
ถ้าหากนึกถึงทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการอย่าง Psychosocial stages ของ Erikson ในช่วงวัยรุ่นที่เป็นขั้น Identity vs. Role Confusion ซึ่งมีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยนี้จะมีผลในการหล่อหลอม สร้างแบบแผนพฤติกรรม เรียนรู้ตัวเอง มากกว่าวัยอื่น ๆ ดังนั้นแล้วถ้าหากวัยรุ่นฟังเพลงเยอะกว่าวัยอื่น ๆ เพลงก็น่าจะมีบทบางอะไรบางอย่างกับพัฒนาการของวัยรุ่น ก็เลยจะมาชวนดูว่านักจิตวิทยาได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัยรุ่นกับเพลงในแง่ใดบ้าง
ในเชิงวิวัฒนาการมนุษย์ เพลง-ดนตรี มีบทบาทในการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม บทบาทโดยทั่วไปของเพลงที่เกิดขึ้น ก็จะมีทั้งการกระตุ้นร่างกาย (physical arousal) สื่อสารอารมณ์ (communicating emotions) กำกับอารมณ์ (emotional regulation) แต่หากพูดถึงเพลงที่ได้รับในช่วงวัยรุ่น นักวิจัยบางส่วนเสนอว่ามีบทบาทเป็นตัวแบบในการสร้างกลุ่มพันธมิตร และพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสี (mating) (Fu et al., 2023) ดังนั้นการจีบกันด้วยเพลง หรือใช้บทตามหนัง-ละคร ในช่วงวัยมัธยม ก็คือการทดลองตัวแบบหลาย ๆ แบบ หลาย ๆ ตัวตน เพื่อหาตัวตนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างสัมพันธ์กับเป้าหมาย หรือตัวตนที่คิดว่าตรง/เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด
ในช่วงวัยรุ่น “กลุ่ม” ก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างตัวตน แต่ในสภาพแสดล้อมทั่วไปอย่างชั้นเรียน กลุ่มก็มักจะเป็น เพื่อนที่อยู่ในปีเดียวกัน อาจจะรวมตัวกันด้วยกิจกรรมการเรียน การเล่น การเดินทางกลับบ้าน ชมรม ฯลฯ การมีแนวเพลงหรือกิจกรรมดนตรีที่ชอบ นอกจากจะได้ตัวแบบเพิ่มเติมจาก แนวดนตรี-เนื้อหาของเพลง พฤติกรรมของตัวศิลปิน การที่วัยรุ่นระบุตัวตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแฟนเพลง และได้มีปฏิสัมพันธ์ ไม่ว่าจะทาง offline หรือ online การที่มีความชอบอย่างใดอย่างหนึ่งตรงกันแล้ว (ในที่นี้หมายถึงเพลง) ก็จะง่ายที่วัยรุ่นจะอนุมานไปยังค่านิยม หรือไลฟ์สไตล์ อื่น ๆ ที่น่าจะตรงกัน เมื่ออนุมานอย่างนั้นแล้วก็จะทำให้ผูกพันกันได้ง่าย เมื่อใช้เวลาและมีประสบการณ์ร่วมกันมากขึ้นก็จะมีรูปแบบการสื่อสาร หรือความเข้าใจเรื่องราว หรือมุกตลกเฉพาะกลุ่ม (Clark & Lonsdale, 2023)
ถ้านึกเล่น ๆ ปัจจุบันกลุ่มเกี่ยวกับดนตรีที่เป็นไปได้ในช่วงวัยรุ่นก็มีหลากหลาย กลุ่มดุริยางค์ กลุ่มดนตรีไทย-นาฏศิลป์ กลุ่มวง Band ที่พบเห็นได้ง่ายในโรงเรียน กลุ่มเต้นโคฟเวอร์ รวมไปถึงกลุ่มแฟนคลับ โอตะ ติ่ง ฯลฯ แต่ละกลุ่มก็จะมีผู้นำกลุ่มเป็นคนที่มีประสบการณ์มากกว่า อย่าง ครู-อาจารย์ รุ่นพี่ หรือกลุ่มคนที่พร้อมจะทุ่มเทเวลาในการทำกิจกรรมกลุ่มมากกว่าในการ คิด ทำ ประสาน ระดมทุน ทำโปรเจกต์ใด ๆ ให้ศิลปินที่ชื่นชอบ ก็จะมีกระบวนการคล้าย ๆ การทำงาน วัยรุ่นในกลุ่มที่ได้มีปฏิสัมพันธ์ สังเกตเรียนรู้ผู้คนในกลุ่มที่มีอายุหรือประสบการณ์มากกกว่า ก็มีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานและอาชีพเพิ่มเติมด้วย
ตาม Social identity theory การที่มนุษย์สามารถบรรจุตัวเองเข้าไปในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แนวคิดของกลุ่มก็จะมีผลในการสร้างแนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (self-concept) ของสมาชิก (Tajfel & Turner, 1986) สมาชิกมักต้องการพัฒนาภาพลักษณ์ของตนเอง (self-image) ในรูปแบบที่เป็นที่ชื่นชอบยอมรับของกลุ่มที่สังกัด ซึ่งก็สามารถสร้าง การเห็นคุณค่าตัวเอง (self-esteem) ในวัยรุ่นได้ ในทางกลับกัน ถ้าศิลปินตัวแบบ หรือค่านิยมร่วมของกลุ่มถูกด้อยค่า จากสังคม หรือกลุ่มอื่น ก็มีโอกาสที่จะทำให้การเห็นคุณค่าตัวเองของวัยรุ่นลดลงง่ายกว่าช่วงวัยหลังจากนั้น
สำหรับบทความนี้ก็น่าจะขอจบแต่เพียงเท่านี้ โดยรวมก็คือ ดนตรีจะสร้างกลุ่มผู้ฟังหรือกลุ่มกิจกรรมดนตรีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการเป็นสมาชิกลุ่มและการได้รับการยอมรับจากกลุ่มก็เป็นพัฒนาการทั่วไปในช่วงวัยรุ่นอยู่แล้ว เพิ่มเติมคือสมาชิกกลุ่มมีหลายวัย และกลุ่มมีความซับซ้อนหลากหลายกว่ากลุ่มเพื่อนทั่วไปในโรงเรียน วัยรุ่นได้รับแบบอย่างจาก เนื้อหา-อารมณ์ของเพลง ตัวแบบจากศิลปิน ตัวแบบจากสมาชิกกลุ่ม ฯลฯ ในการสร้างแนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (self-concept) รวมถึงอาจมีโอกาสได้ตัวแบบเกี่ยวกับอาชีพที่หลากหลายจากสมาชิกในกลุ่มด้วยซึ่งก็สำคัญต่อพัฒนาการทางอาชีพ และการตัดสินใจเกี่ยวกับอาชีพที่เกิดกับวัยรุ่นในช่วง มัธยมปลาย และมหาวิทยาลัยเช่นกัน
Clark, A. B., & Lonsdale, A. J. (2023). Music preference, social identity, and collective self-esteem. Psychology of Music, 51(4), 1119-1131.
Fu, J., Tan, L. K., Li, N. P., & Wang, X. (2023). Imprinting-like effects of early adolescent music. Psychology of Music, 03057356231156201.
Rideout, V. J., Foehr, U. G., & Roberts, D. F. (2010). Generation M2: Media in the lives of 8- to 18-year-olds. Henry J. Kaiser. Family Foundation. https://eric.ed.gov/?id=ED527859
Tajfel, H., & Turner, J. C. (1986). The social identity theory of intergroup behaviour. In S. Worchel & W. Austin (Eds.), Psychology of intergroup relations (pp. 7–24). Nelson-Hall.
บทความโดย
คุณณัฐนันท์ มั่นคง
นักจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณเป็นอีกคนหนึ่งหรือเปล่า ที่ได้ตั้งเป้าหมายถึงสิ่งดี ๆ ที่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนใกล้ตัวในปีใหม่ ไม่ว่าเป้าหมายนั้นจะเล็กหรือใหญ่ ใกล้หรือไกลตัว ก็เป็นสิ่งดี ๆ ที่คุณอยากเติมเต็มให้กับตัวเองหรือส่วนรวม เช่น อยากดูแลรักษาสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง หรืออยากมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม
สำหรับคุณที่ยังไม่ได้ตั้งเป้าหมายใด ๆ ในปีใหม่ปีนี้เลย ยังไม่สายไปนะคะที่จะตั้งเป้าหมายให้กับตัวเอง ขอเพียงแต่คุณแบ่งเวลาสักนิด เพื่อคิดทบทวนว่ามีอะไรในแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิต ที่คุณอยากเติมเต็มสิ่งดี ๆ ให้กับตัวเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การพัฒนาตัวเอง การศึกษา การทำงาน หรือจะเป็นการทำประโยชน์ให้กับส่วนร่วม ความเชื่อ ศาสนา ปรัชญา ค่านิยมที่มี หรืองานอดิเรกและการพักผ่อนหย่อนใจ
งานวิจัยที่ผ่านมาทั้งในและต่างประเทศ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า การมีเป้าหมายจะเป็นเสมือนหลักชัยในการใช้ชีวิต ช่วยให้แต่ละวันของคุณมีความหมาย เติมพลังให้ชีวิตตื่นเต้นท้าทายยิ่งขึ้น ลองทบทวนสักนิดนะคะ แล้วมาดูกันว่าเราจะมีวิธีตั้งเป้าหมายอย่างไร ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดี ๆ เหล่านี้ได้
ขั้นแรก คือเมื่อคุณพบประเด็นที่อยากเติมเต็มให้กับตัวเองแล้ว ต้องหาทางพัฒนาให้ประเด็นนั้น ๆ กลายเป็นเป้าหมายกระจ่างชัดค่ะ ยิ่งชัดเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพื่อที่เราจะได้ทราบแน่ว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อจะได้ไปถึงเป้าหมายนั้น อีกทั้งจะได้ประเมินความคืบหน้าของเป้าหมายได้สะดวกอีกด้วย
ดังนั้น แทนที่จะตั้งเป้าหมายลอย ๆ ว่า “อยากจะดูแลสุขภาพตัวเอง” ให้ระบุไปเลยว่าเป็นสุขภาพด้านใดที่อยากเน้น และการดูแลนั้นจะทำได้อย่างไร
หากเป็นสุขภาพทางกาย เช่น เรื่องการรับประทานอาหาร ก็น่าจะกำหนดไปเลยว่าจะรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และจะยิ่งดีหากจะบอกตัวเองเลยว่าอาหารที่ว่านั้นคืออะไร เป็นผักหรือผลไม้ จะรับประทานมากหรือน้อยเพียงใด และจะทานให้ได้กี่ครั้งภายในช่วงเวลาที่กำหนด
ดังนั้น จากเป้าหมายกว้าง ๆ ที่ว่า “อยากจะดูแลสุขภาพตัวเอง” คุณอาจจะตั้งเป้าหมายที่เจาะจงไปเลยว่า “จะรับประทานฝรั่งหรือแอปเปิลวันละหนึ่งลูก อย่างน้อยสามวันต่อสัปดาห์”
หรือหากคุณอยากเน้นเรื่องการออกกำลังกาย ก็อาจจะระบุว่า “จะไปฟิตเนสหลังเลิกงาน วันละครึ่งชั่วโมง สี่ครั้งต่อสัปดาห์” หากกำหนดชัดเจนได้ขนาดนี้จะช่วยให้คุณทราบแน่ชัดว่า จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้มาซึ่งสุขภาพที่แข็งแรง และง่ายต่อการทบทวนว่าคุณได้ทำตามเป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ มีอะไรที่ควรปรับปรุงเพื่อให้ทำได้ดีขึ้น
ประเด็นต่อมาก็คือ การตั้งเป้าหมายควรตั้งให้เหมาะสมกับตัวของคุณเอง แม้ฝรั่งหรือแอปเปิลจะเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ แต่หากไม่ใช่ผลไม้ที่คุณชื่นชอบ และคุณตั้งเป้าหมายว่าจะรับประทานเพียงเพราะได้ยินคำบอกเล่าถึงสรรพคุณจากเพื่อนฝูงว่ารับประทานแล้วดี ก็จะไม่ใช่เป้าหมายที่เหมาะสมกับตัวคุณ ขอให้เลือกเป้าหมายที่เป็นไปได้และเหมาะสมกับตัวคุณดีกว่าค่ะ
นอกจากนี้ เราควรตั้งเป้าหมายแบบค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งช่วงแรก ๆ ของการตั้งเป้าหมาย เราจะฮึกเหิมมากเกินไป อาจจะฟิตมาก ๆ ตั้งเป้าหมาย “จะไปฟิตเนสหลังเลิกงานวันละสองชั่วโมงทุกวัน” ทั้งที่ไม่เคยออกกำลังมาก่อนเลย หรือไม่ได้มีฟิตเนสใกล้กับที่ทำงาน แต่ต้องเดินทางฝ่าการจราจรเป็นชั่วโมงกว่าจะไปถึงได้ หากเป็นเช่นนั้น แม้เป้าหมายจะชัดเจนมากพอ แต่ความเป็นไปได้ในการที่จะประสบความสำเร็จก็จะลดลง
ค่อยเป็นค่อยไปเถอะนะคะ อย่ากดดันตัวเองในการตั้งเป้าหมายเลย ค่อย ๆ เริ่มจากเป้าหมายที่พอทำได้สะดวกก่อน แล้วค่อยทวีความเข้มข้นก็ยังได้ เช่น อาจจะเริ่มออกกำลังกายสัปดาห์ละครั้งสองครั้งก่อนสำหรับผู้ที่ไม่เคยคุ้น แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ไม่รวดเร็วทันใจ แต่เพิ่มโอกาสให้ตัวเองได้ประสบความสำเร็จ เรียกว่า ช้า ๆ แต่มั่นคงจะดีกว่าค่ะ
ประเด็นที่ขอเพิ่มเติมก็คือ ในการตั้งเป้าหมายนั้นควรมุ่งเน้นถึงสิ่งที่ต้องการทำ หรือตั้งเป้าหมายทางบวก มากกว่าที่จะตั้งเป้าหมายทางลบ หรือพยายามที่จะหลีกเลี่ยงไม่ทำอะไร
ลองเปรียบเทียบตัวอย่างของเป้าหมายแต่ละประเภทดูดีไหมคะ ตัวอย่างของเป้าหมายประเภทแรกหรือเป้าหมายทางบวก ก็คือเป้าหมายที่เราเคยพูดคุยกัน เช่น “จะรับประทานฝรั่งหรือแอปเปิลวันละหนึ่งลูก อย่างน้อยสามวันต่อสัปดาห์” ในขณะที่เป้าหมายทางลบนั้นอย่างเช่น “จะไม่รับประทานขนมหวานหรือของทานจุบจิบในสัปดาห์นี้”
เมื่อเทียบกันแล้ว โอกาสที่คุณจะรับรู้ถึงความสำเร็จของเป้าหมายแบบแรก หรือการรับประทานผลไม้ให้ครบกำหนดว่าเกิดขึ้นง่ายกว่าค่ะ เมื่อเทียบกับการตั้งเป้าหมายแบบที่สองซึ่งเป็นเป้าหมายทางลบ ที่คุณจะต้องคอยรู้สึกเกร็ง ระมัดระวังไม่แตะต้องของทานต้องห้ามที่ระบุเอาไว้ และหากเผลอไปทานเข้าเพียงครั้งเดียวก็นับได้ว่าล้มเหลวในการทำตามเป้าหมายไปเสียแล้ว
จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าปรากฏผลการวิจัยออกมาอย่างชัดเจนว่าการตั้งเป้าหมายในทางลบทำให้คนเราเกิดความรู้สึกวิตกกังวล และความรู้สึกนี้เองที่มีส่วนทำให้โอกาสที่เราจะทำตามเป้าหมายทางลบได้สำเร็จก็ยิ่งลดน้อยลงตามไปด้วย
เพราะฉะนั้นการตั้งเป้าหมายเพื่อจะทำสิ่งดี ๆ ในปีนี้ ขอให้คุณคิดว่าอยากจะทำอะไร แทนที่การคิดว่าจะห้ามตนเองไม่ให้ทำอะไรค่ะ แล้วคุณจะสามารถทำตามอย่างที่ตั้งใจไว้ได้ง่ายขึ้น
สุดท้ายนี้ เมื่อได้ตั้งเป้าหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรดอย่าหยุดแต่เพียงเท่านั้นค่ะ เป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะหาทางให้ตัวเองทำตามเป้าหมายที่วางไว้
การให้รางวัลตัวเองเมื่อทำตามเป้าหมายได้สำเร็จนับเป็นวิธีหนึ่งที่ควรพิจารณา นอกเหนือจากความภาคภูมิใจที่คุณจะได้รับจากการทำตามเป้าหมายแล้ว การให้รางวัลตัวเองเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นสิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างขวัญและกำลังใจค่ะ
นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนถึงความคืบหน้าของเป้าหมายที่วางไว้อยู่เสมอ เพื่อที่จะได้หาทางปรับเปลี่ยนว่า มีสิ่งใดบ้างที่จะช่วยเสริมให้เป้าหมายที่วางไว้คืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาจจะเป็นกำหนดเวลาทุก ๆ หนึ่งเดือนเพื่อถามตนเองว่า ตลอดเดือนนี้ฉันได้ทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จเพียงใด มีอุปสรรคอะไรบ้าง ที่ทำให้เราทำไม่ได้ในบางครั้ง และเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร หรือถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดีแล้ว เราจะทำอะไรเพิ่มขึ้นอีกดีหรือไม่ เพื่อให้ก้าวเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้นไปอีก
การคุกคามจากภาพในความคิด หมายถึง เหตุการณ์ที่บุคคลต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่กลุ่มของตนมีภาพในความคิดทางลบ และบุคคลรู้สึกตระหนักในตนว่าตนเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้น หรือเมื่อบุคคลรับรู้ว่าภาพในความคิดนั้นเกี่ยวของกับตน ซึ่งการคุกคามจากภาพในความคิดอาจส่งผลให้บุคคลแสดงออกได้ด้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น หรือแสดงออกได้ต่ำกว่าศักยภาพของตน
เช่น นักเรียนหญิงที่ถูกบอกว่าผู้หญิงคิดเลขไม่เก่งเท่าผู้ชาย เมื่อทำโจทย์เลข ก็ได้คะแนนน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการบอกดังกล่าว
หรือกรณีที่ คนแอฟริกันอเมริกันมีภาพในความคิดว่าตนมีความสามารถทางปัญญาด้อยกว่าคนผิวขาว เมื่อให้เล่นกีฬากอล์ฟ กลุ่มที่ได้รับการบอกว่ากอล์ฟเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยปัญญา ได้คะแนนการตีกอล์ฟน้อยกว่า กลุ่มที่ได้รับการบอกว่ากอล์ฟเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยทักษะทางกีฬา
กลไกที่สามารถอธิบายผลของการเกิดการคุกคามจากการเหมารวมมีหลายประการ เช่น การเกิดความวิตกกังวลในบุคคล และการรบกวนทางความคิด (cognitive interruption) หมายถึง การที่บุคคลคิดมากขึ้นในเรื่องความเกี่ยวข้องของตนเองกับการเหมารวม ทำให้บุคคลถูกดึงความสนใจออกไป ขาดแรงกระตุ้น จนทำให้ผลงานแย่ลงในที่สุด
การคุกคามจากการเหมารวมอาจทำให้ความพยายามของบุคคลในการทำงานลดลงอันเนื่องมาจากความคาดหวังที่ต่ำลง หรืออาจเกิดจากการใช้วิธีหักล้างตนเอง (self-defeating strategies) เช่น การไม่เข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ ที่กระตุ้นการเหมารวมของกลุ่มตนเอง หรือลดเวลาในการฝึกฝนหรือการทำงานลง
นอกจากนี้ มีงานวิจัยที่พบว่าการคุกคามจากการเหมารวมทำให้บุคคลมีการควบคุมตนเองที่ลดลง คือทำให้ความสามารถในการควบคุมความสนใจและพฤติกรรมที่ตนต้องการลดน้อยลง เช่น เมื่อนักศึกษาผิวดำถูกเหยียดผิว พวกเขากำกับตนเองได้ยากขึ้นในการเรียน
การคุกคามจากภาพในความคิดนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น
งานวิจัยศึกษาอิทธิพลของการคุกคามจากการเหมารวมต่อความสามารถในหลายด้าน เช่น
“ผลของการคุกคามจากภาพในความคิด การเห็นคุณค่าในตนเอง และรูปแบบการอนุมานสาเหตุต่อผลงานด้านคณิตศาสตร์ในนักเรียนหญิงระดับมัธยม ศึกษาตอนปลาย” โดย ธนรักษ์ คุณศรีรักษ์สกุล (2554) http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32107
“อิทธิพลของการคุกคามจากการเหมารวมและการดูตัวแบบเชิงบวกต่อการรับรู้การคุกคามจากการเหมารวมและความเร็วในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของคนที่มีภาวะตาบอดสี” โดย อนุสรณ์ อาศิรเลิศสิริ (2563) https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75702
ภาพในความคิด หมายถึง ความเชื่อที่บุคคลมีต่อคนกลุ่มหนึ่ง ว่าคนกลุ่มนั้นมีลักษณะหรือนิสัยใจคอบางประการเป็นสิ่งที่ค่อนข้างถาวร โดยไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีในคนกลุ่มนั้น
เช่น ผู้หญิงต้องเก่งงานบ้าน, ผู้ชายต้องเข็มแข็ง, ครูต้องเจ้าระเบียบ, นักบัญชีต้องละเอียดรอบคอบ, คนจีนค้าขายเก่ง, คนญี่ปุ่นชอบทำงานหนัก
ภาพในความคิดเป็นวิธีการที่คนเรารับรู้บุคคลโดยแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อลดความซับซ้อนของข้อมูล กล่าวคือ แทนที่จะรับรู้ว่าบุคคลแต่ละคนเป็นอย่างไร เราจะมีการรับรู้ว่าสมาชิกของแต่ละกลุ่มมีลักษณะอย่างไร ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูลและการนำข้อมูลมาใช้ของบุคคล
ทั้งนี้ ที่มาของภาพในความคิดอาจเกิดจากการรับรู้ด้วยประสบการณ์ตรง หรือเกิดจากการรับรู้ผ่านสื่อ/บุคคลอื่นก็ได้ โดยภาพในความคิดเกิดจากการแผ่ขยายของการเรียนรู้ (generalization) ว่าสิ่งที่มีลักษณะเช่นตัวอย่างจะต้องมีลักษณะที่เหมือนกัน ข้อมูลที่สอดคล้องกับภาพในความคิดหรือความคิดเดิมของเราก็จะได้รับการจัดกลุ่มเข้ารวมกับภาพในความคิดนั้น ส่วนภาพในความคิดที่ไม่สอดคล้องก็จะไม่ได้รับการจดจำหรือถูกหักล้างเป็นข้อมูลที่สอดคล้องแทน ทำให้บางกรณีการแผ่ขยายนี้อาจจะเป็นไปมากเกินกว่าขอบข่ายของข้อมูลหรือข่าวสารที่มีอยู่จริงในขณะนั้น
ดังนั้น ภาพในความคิดที่บุคคลมีต่อคนอื่นหรือกลุ่มคนจึงอาจมีลักษณะนั้น ๆ อยู่จริงหรือไม่จริงก็ได้ กล่าวคือ ภาพในความคิดจำนวนมากมีพื้นฐานมาจากการรับรู้เกี่ยวกับกลุ่มที่ถูกต้อง แต่ยังมีภาพในความคิดอีกจำนวนมากเช่นกันที่เกิดจากความสัมพันธ์ลวง (จากการที่ได้รับข้อมูล 2 เรื่องคู่กันบ่อยครั้ง จึงคิดว่าข้อมูล 2 เรื่องนั้นมีความสัมพันธ์กัน)
การรับรู้ภาพในความคิดของกลุ่มบุคคลมีผลต่อการรับรู้ใน 2 ลักษณะ
ประการแรก การรับรู้ลักษณะบุคคลในกลุ่มจะสอดคล้องกับลักษณะภาพในความคิดของกลุ่ม แต่ถ้าเกิดพบว่ามีพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับภาพในความคิด เราก็จะตีความบุคคลนี้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้การรับรู้มีการสอดคล้องกัน ตรงกับแนวคิดที่ว่าถ้ามีข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับภาพในความคิดเข้าสู่การรับรู้ของเรา เราก็จะหาข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่สอดคล้องกับภาพในความคิดของเรามาหักล้าง
ประการที่สอง การรับรู้ภาพในความคิดระหว่างกันมีผลต่อพฤติกรรมระหว่างกลุ่ม ดังนั้นเราจึงสามารถเห็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอันเนื่องมาจากการมีภาพในความคิดทางลบระหว่างกันได้เสมอ ตั้งแต่ระดับนักเรียนต่างสถาบันที่ยกพวกตีกัน ไปจนถึงระดับสงครามอันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ (ถ้าผู้นำหรือผู้กำหนดนโยบายของประเทศใดมีภาพในความคิดที่เลวร้ายต่ออีกประเทศหนึ่ง ก็มักกจะเลือกดำเนินนโยบาลที่ไม่เป็นมิตรต่อประเทศนั้น)
ในการศึกษาระยะยาวหลาย ๆ การศึกษา พบว่า ภาพในความคิดของเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ และนอกจากการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาแล้ว ภาพในความคิดยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ภายหลังเกิดสงครามหรือข้อพิพาทระหว่างประเทศ ประชาชนจะมีภาพในความคิดต่อประเทศที่เป็นคู่กรณีในทางลบมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของภาพในความคิดเหล่านี้มาจากการเปลี่ยนแปลงไปตามการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ภายนอก การเปลี่ยนแปลงนี้มาจากกระบวนการเรียนรู้ในสองลักษณะ ได้แก่ การเรียนรู้โดยตรงด้วยตนเอง อาทิ การมีปฏิสัมพันธ์กับคนในกลุ่มบุคคลนั้น ๆ และการเรียนรู้ทางอ้อม คือการเรียนรู้ผ่านตัวแทนที่หลากหลาย อาทิ บิดามารดา เพื่อน ครู ผู้นำทางการเมือง ผู้นำทางศาสนา และสื่อสารมวลชน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคม เช่น การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม การรวมกันของวัฒนธรรม เป็นต้น ดังนั้นในโลกยุคปัจจุบันที่การรับรู้ข่าวสารเป็นไปอย่างแพร่หลาย มีการเผยแพร่วัฒนธรรมและข่าวสารผ่านสื่อต่าง ๆ มากมาย การเปลี่ยนแปลงของภาพในความคิดจึงเป็นไปได้โดยง่ายและรวดเร็ว
“ผลของการอภิปรายกลุ่มและการกระจายข้อมูลต่อภาพในความคิด” โดย ฑศพล รัตนภากร (2546) http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11002
“ภาพในความคิดเกี่ยวกับคนสัญชาติต่างๆ ตามการรับรู้ของนิสิตนักศึกษาไทย” โดย ชลัมพล เถระกุล (2548) https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47643
“อิทธิพลของการกระตุ้นภาพในความคิดของความเป็นหญิงเป็นชาย และปฎิกิริยาทางจิตต่อการเกิดปฎิกิริยาต่อภาพในความคิดในการเจรจาต่อรอง” โดย รัตติกาล พาฬเสวต (2553) http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20206
ด้วย คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดสรรทุนอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต เพื่อดึงดูดผู้สมัครที่มีศักยภาพทางวิชาการและการวิจัยสูง ให้เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตของคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผลิตผลงานวิชาการและผลงานวิจัยคุณภาพสูงร่วมกับคณาจารย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารคณะจิตวิทยา วาระพิเศษ ครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จึงกำหนดรายละเอียดการขอรับทุนอุดหนุนการศึกษา ไว้ดังนี้
3.1 วุฒิการศึกษา ตรงตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
3.1.1 จบการศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือ
3.1.2 กำลังศึกษาปีสุดท้ายในสาขาวิชาจิตวิทยาระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือ
3.1.3 นิสิตปริญญาโทคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สอบวัดคุณสมบัติระดับปริญญาเอกผ่าน และเปลี่ยนระดับเป็นปริญญาเอกภายในปีการศึกษา 2566
3.2 มีผลการเรียนสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 ณ วันที่สมัคร และเมื่อสำเร็จการศึกษา
3.3 ต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 75 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 550 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 6.5 ขึ้นไป หรือสำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
3.4 นิสิตต้องมีโครงร่างวิทยานิพนธ์ โดยมีจำนวนคำ ไม่น้อยกว่า 1,000-1,500 คำ
3.5 นิสิตต้องมีอาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตกลงรับเป็นอาจารย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ตามแบบฟอร์ม
4.1 มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 3 และ
4.2 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่นิสิตสมัครเข้าศึกษาพิจารณาเห็นชอบให้ได้รับทุนนี้ และ
4.3 ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตของคณะจิตวิทยา ในปีการศึกษา 2567
5.1 นิสิตผู้ได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาก่อนสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ต้องปฏิบัติหน้าที่ช่วยงานทางด้านวิชาการหรือวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษา สัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลาของการรับทุน (โดยอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องใส่ชื่อนิสิตร่วมในการตีพิมพ์บทความทางวิชาการด้วย)
5.2 นิสิตผู้ได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาหลังสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ต้องปฏิบัติหน้าที่ช่วยงานทางด้านวิชาการหรือวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษา สัปดาห์ละ 10 ชั่วโมง และต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ หรือได้รับตอบรับให้ตีพิมพ์อย่างน้อย 1 ฉบับ อย่างช้าที่สุดไม่เกิน 1 ปีหลังวันที่จบการศึกษา โดยผลงานดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
(1) ผลงานวิจัยตีพิมพ์ต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอยู่ในฐานข้อมูล ISI/SCOPUS จัดอยู่ในลำดับควอไทล์ที่ 2 หรือเหนือกว่า ตามประกาศฉบับล่าสุดในการจัดลำดับวารสารของ Journal Citation Report – Clarivate Analytics (JCR) หรือ Scimago Journal & country (SJR)
(2) ในบทความที่ตีพิมพ์ นิสิตต้องระบุชื่อนิสิตผู้รับทุนเป็นชื่อแรก อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักเป็น corresponding author และระบุสังกัดว่า สังกัดคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.3 นิสิตต้องรายงานความก้าวหน้าทางการศึกษา การทำวิทยานิพนธ์ และการทำวิจัย โดยผ่านการพิจารณาจากอาจารย์ที่ปรึกษา ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ เพื่อพิจารณาการให้ทุนสนับสนุนในภาคการศึกษาถัดไป
5.4 นิสิตต้องระบุการได้รับทุนสนับสนุนการศึกษา ในกิตติกรรมประกาศ ดังนี้
กิตติกรรมประกาศ ในวิทยานิพนธ์ ระบุดังนี้ “ขอขอบพระคุณคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับการสนับสนุนทุนการศึกษา อันเป็นประโยชน์และเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การศึกษาวิจัยในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี”
กิตติกรรมประกาศ ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการทุกประเภท ระบุดังนี้ “บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง………………………………………….. โดยได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
6.1 จัดสรรเป็นทุนอุดหนุนการศึกษาก่อนสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ จำนวน 3 ทุน เมื่อนิสิตเข้าศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรละ 1 ทุน โดยจัดสรรให้ไม่เกิน 4 ภาคการศึกษา ดังนี้
ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาละ (ต้น-ปลาย) 35,000 บาท
ค่าธรรมเนียมพิเศษ ภาคการศึกษาละ (ต้น-ปลาย) 50,000 บาท
ผู้ได้รับทุนสามารถลงทะเบียนเรียนในรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีได้ โดยได้รับการยกเว้นการชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาผู้เข้าร่วมฟัง
6.2 จัดสรรเป็นทุนอุดหนุนการศึกษาหลังสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ จำนวน 3 ทุน เมื่อนิสิตสอบผ่านโครงร่างวิทยานิพนธ์เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถยื่นขอรับทุนได้ในภาคการศึกษาถัดไปจากที่ได้รับอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์ โดยจัดสรรให้ไม่เกิน 2 ภาคการศึกษา ดังนี้
ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาละ (ต้น-ปลาย) 35,000 บาท
7.1 พ้นสถานภาพการเป็นนิสิต
7.2 ทุจริตในการสอบหรือคัดลอกผลงานวิชาการ
7.3 อยู่ในระหว่างการลาพักการศึกษา
7.4 นิสิตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับทุนตามข้อ 5
7.5 คณะจิตวิทยา เห็นสมควรให้ระงับทุน
ให้นิสิตติดต่อฝ่ายวิชาการ คณะจิตวิทยา นับตั้งแต่วันที่ประกาศ ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์
คณบดีคณะจิตวิทยา
ความเหงากำลังระบาด?
มีใครในช่วงนี้กำลังรู้สึกเหงาบ้างไหม? เมื่อองก์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนว่าความเหงากำลังเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพ มีผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ในบทความนี้อยากจะชวนทุกท่านมาทำความรู้จักกับ “ความเหงา” เพื่อทำความเข้าใจความเหงา และวิธีการจัดการกับความเหงา
ความเหงา (Loneliness) เป็นความรู้สึกหนึ่งของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ว่าตนขาดการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมน้อยกว่าที่ตนต้องการ เรียกได้ว่าเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้และตีความสถานการณ์ในความสัมพันธ์ของตน เช่น การที่คนคนหนึ่งมีเพื่อนหลายคน ไปพบและเจอเพื่อนบ่อย แต่ก็อาจจะเกิดความรู้สึกเหงาได้จากการรับรู้ว่าความสัมพันธ์ที่ตนมีนั้นไม่มีคุณภาพ ไม่ตรงกับความคาดหวัง ในขณะเดียวกันคนที่มีเพื่อนน้อย แต่เป็นความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ สามารถแบ่งปันประสบการณ์ในชีวิตและให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ ก็อาจจะไม่ได้มีความเหงาเกิดขึ้น
ความเหงาสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคร่าวๆได้ ดังนี้
ความเหงาสามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามการเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของตนกับผู้อื่น รวมถึงประสบการณ์ในอดีตอาจทำให้บุคคลมีความคาดหวังต่อความสัมพันธ์ของตนกับผู้อื่น ทำให้เกิดการรับรู้และตีความว่าตนเองกำลังรู้สึกเหงาขึ้นมาได้ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่
ความเหงาไม่ได้ส่งผลกระทบกับสุขภาพกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตด้วย ผลกระทบของความเหงา ได้แก่
Beutel, M. E., Klein, E. M., Brähler, E., Reiner, I., Jünger, C., Michal, M., Wiltink, J., Wild, P.S., Münzel, T., Lackner, K. J., & Tibubos, A. N. (2017). Loneliness in the general population: prevalence, determinants and relations to mental health. BMC psychiatry, 17, 1-7. https://doi.org/10.1186/s12888-017-1262-x
Cacioppo, J. T., Hughes, M. E., Waite, L. J., Hawkley, L. C., & Thisted, R. A. (2006b). Loneliness as a specific risk factor for depressive symptoms: Cross-sectional and longitudinal analyses. Psychology and aging, 21(1), 140-151. https://doi.org/10.1037/0882-7974.21.1.140
Caspi, A., Harrington, H., Moffitt, T. E., Milne, B. J., & Poulton, R. (2006).Socially Isolated Children 20 Years Later: Risk of Cardiovascular Disease. Archives of pediatrics & adolescent medicine, 160(8) ,805-811. https://doi.org/10.1001/archpedi.160.8.805
Gardner, W., Gabriel, S., & Diekman, A. B. (2000). Interpersonal processes. In J. Cacioppo, L. Tassinary, & G. Berntson (Eds.), Handbook of psychophysiology (pp.643-664). Cambridge University Press.
Hawkley, L., Thisted, R., Masi, C., & Cacioppo, J. (2010). Loneliness Predicts Increased Blood Pressure:5-Year Cross-Lagged Analyses in Middle-Aged and Older Adults. Psychology and aging, 25(1), 132-141. https://doi.org/10.1037/a0017805
Kong, F., & You, X. (2013). Loneliness and Self-Esteem as Mediators Between Social Support and Life Satisfaction in Late Adolescence. Social Indicators Research, 110(1), 271-279. https://doi.org/10.1007/s11205-011-9930-6
Ladd, G. W., & Ettekal, I. (2013). Peer-related loneliness across early to late adolescence: Normative trends, intra-individual trajectories, and links with depressive symptoms. Journal of Adolescence, 36(6), 1269-1282. https://doi.org/10.1016/j.adolescence.2013.05.004
Peplau, L. A., & Perlman, D. (1982). Loneliness: A sourcebook of current theory, research and therapy. Wiley-Interscience.
Richard, A., Rohrmann, S.,Vandeleur, C. L., Schmid, M., Barth, J., & Eichholzer, M. (2017). Loneliness is adversely associated with physical and mental health and lifestyle factors: Results from a Swiss national survey. PLOS ONE, 12(7), e0181442. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0181442
Schultz, N. R., & Moore, D. (1988). Loneliness: Differences Across Three Age Levels. Journal of Social and Personal Relationships, 5(3), 275-284. https://doi.org/10.1177/0265407588053001
Vanhalst, J., Goossens, L., Luyckx, K., Scholte, R. H. J., & Engels, R. C. M. E. (2013). The development of loneliness from mid-to late adolescence: Trajectory classes, personality traits, and psychosocial functioning. Journal of Adolescence, 36(6), 1305-1312. https://doi.org/10.1016/j.adolescence.2012.04.002
Weiss, R. S. (1973). Loneliness: The experience of emotional and social isolation. The MIT Press.
บทความโดย
คงพล แวววรวิทย์
นักจิตวิทยาประจำศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความสุข เป็นคำที่มีความหมายกว้างและซับซ้อน แต่ละคนอาจให้ความหมายของความสุขแตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้ว ความสุขอาจหมายถึงความรู้สึกสบายใจ ผ่อนคลาย ความพึงพอใจ ความสำเร็จ ความรัก ความผูกพัน ความหมายของชีวิต เป็นต้น
ความสุข เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความสุขได้เสมอไป บางครั้งเราอาจรู้สึกเศร้า เหงา ผิดหวัง หรือทุกข์ทรมาน สาเหตุของความทุกข์อาจมาจากปัจจัยภายนอก เช่น ปัญหาชีวิต โรคภัยไข้เจ็บ หรือปัจจัยภายใน เช่น ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติของเราเอง
ความสุข ไม่ได้อยู่ที่สิ่งภายนอก แต่อยู่ที่ตัวเราเอง เพียงแค่เรารู้จักมองหาและใส่ใจความสุขเล็กๆ น้อยๆ รอบตัว เราก็จะมีความสุขมากขึ้นได้
ตัวอย่างความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน
ในการแสวงหาความสุข เราควรทำอย่างสม่ำเสมอ และควรเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ใกล้ตัวก่อน ไม่จำเป็นต้องรอให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบก่อนจึงจะเริ่มแสวงหาความสุข เพียงแค่เรารู้จักมองหาและใส่ใจความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ รอบตัว เราก็จะมีความสุขมากขึ้นได้
นอกจากแนวทางในการแสวงหาความสุขที่กล่าวมาแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งเสริมความสุข เช่น
ขอให้ทุกคนมีความสุขนะคะ
บทความโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม
Clinical Cognitive Neuroscience research seminars… over Zoom
Dr Pamela Almeida-Meza
UCL Research Department of Epidemiology & Public Health
Wednesday 29th Nov 2023, 20:00-21:00
Open to all, please register at:
https://forms.gle/dptvhx7SwY2vW23L8