ข่าวและกิจกรรม

แสดงความยินดีเนื่องในโอกาส ครบรอบ 62 ปี แห่งการสถาปนาบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพิมพา จรัลรัตนกุล รองคณบดีคณะจิตวิทยา และคุณวีระยุทธ กุลสุวิพลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคณะจิตวิทยา ไปร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส ครบรอบ 62 ปี แห่งการสถาปนาบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) ชั้น 20

 

 

 

 

กิจกรรม CHULA Mind people: ดูแลใจในสวน

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ PMCU จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะที่ดีเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

 

“CHULA Mind people: ดูแลใจในสวน”

วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 เวลา 12.00-18.00 น. ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กิจกรรมประกอบด้วย

 

 

 

Album ภาพ

 

การสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ – Successful Aging

 

 

 

 

การประเมินการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จมี 2 รูปแบบ ดังนี้

 

  1. การประเมินแบบภววิสัย (Objective successful aging) คือ การใช้เกณฑ์จากทฤษฎีและงานวิจัยมาวิเคราะห์การสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ ซึ่งอิงปัจจัยที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นสำคัญ (การคงไว้ซึ่งระบบร่างกายและสมองที่ทำงานได้อย่างปกติและการห่างไกลจากโรค) โดยเปรียบเทียบกันในกลุ่ม
  2.  การประเมินแบบอัตวิสัย (Subjective successful aging) คือ มุมมองจากตนเองว่ามีการรับรู้อย่างไรเกี่ยวกับการสูงวัยของตน มองเป็นการวัดแบบตอบข้อคำถามด้วยตนเอง (self-report)

 

การประเมินทั้งสองแบบมักมีส่วนที่ไม่สอดคล้องกัน เนื่องจากการมองการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จแบบภววิสัยมักมีองค์ประกอบเรื่องภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคและภาวะทุพพลภาพ ขณะที่การมองการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จแบบอัตวิสัย ปัจจัยทางกายภาพไม่มีอิทธิพลมากนัก ซึ่งเกิดจากกระบวนการปรับตัวของบุคคลต่อสถานการณ์ที่ตนประสบ จนเกิดเป็นผลลัพธ์ที่บุคคลนั้นพึงพอใจ ทำให้มีแนวโน้มการประเมินองค์ประกอบด้านสุขภาพในทางบวกมากกว่า

 

ดังการศึกษาหลายงานที่เปรียบเทียบการประเมินการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จทั้งแบบภววิสัยและแบบอัตวิสัย ผลปรากฏว่า มีผู้สูงวัยจำนวนมากที่ประเมินว่าตนเองสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ แม้ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินแบบภววิสัยหรือเกณฑ์เรื่องการไม่มีโรคและภาวะทุพพลภาพ

ในปี ค.ศ. 2008 Kanning และ Schlicht ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จที่ประกอบด้วยด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยมีความสุขเชิงอัตวิสัย (subjective well-being) เป็นเป้าหมายสำคัญ แนวคิดนี้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุเป็นหลัก เนื่องจากสามารถช่วยในเรื่องสุขภาพร่างกาย ระบบปัญญารู้คิด และสร้างเสริมความสุขเชิงอัตวิสัยในระหว่างทำกิจกรรมได้ และเชื่อว่าผู้สูงอายุสามารถกำหนดการมีความสุขเชิงอัตวิสัยด้วยตนเองได้ โดยตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับคุณค่าส่วนบุคคลหรือวัฒนธรรมของตนและไปให้ถึงเป้าหมายนั้น ซึ่งความสัมพันธ์ของการตั้งเป้าหมาย การไล่ตามเป้าหมาย และความสุขเชิงอัตวิสัย ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลสามารถเติมเต็มความต้องการด้านจิตใจได้มากหรือน้อย ทั้งนี้การตั้งเป้าหมายเพื่อไปสู่ความสุขเชิงอัตวิสัยนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายของผู้สูงอายุเองเท่านั้น ยังขึ้นอยู่กับการเตรียมการของแต่ละคน และข้อจำกัดของโครงสร้างทางสังคมอีกด้วย

 

การประเมินการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในประเทศไทย ปี ค.ศ. 2013 สุทธิวรรณและคณะ ได้พัฒนาเครื่องมือวัดการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จโดยเน้นองค์ประกอบทางจิต เรียกว่า Successful Aging Inventory (SAI) โดยสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้สูงอายุชาวไทยที่สูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ถึงองค์ประกอบของการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จและปัจจัยที่ช่วยส่งเสริม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ระบุว่า สติ (mindfulness) ความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว และการมีส่วนร่วมในสังคม เป็นปัจจัยสำคัญของการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ

 

มาตรวัด SAI จึงประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านสุขภาพ – การห่างไกลจากโรค สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้
  2. ด้านจิตใจและอารมณ์ – การรู้สึกถึงคุณค่าของตนและรู้สึกมีพลัง มีความพึงพอใจในชีวิต
  3. ด้านมองและปัญญารู้คิด – การมีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่และส่งต่อความรู้ไปยังคนรุ่นหลังได้
  4. ด้านสังคม – การตระหนักว่าตนเองมีความสำคัญต่อครอบครัวและเพื่อนฝูง สามารถพูดคุยเรื่องต่าง ๆ และแบ่งปันความรู้สึกได้
  5. ด้านปัญญาในการดำเนินชีวิต – การมีความรู้และยอมรับความจริงว่าไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืน (เป็นด้านที่เพิ่มเข้ามาเรื่องจากเป็นลักษณะของผู้สูงอายุชาวไทย)

 

 


 

 

ข้อมูลจาก

 

วิทยานิพนธ์เรื่อง

 

“ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จของผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร” โดย วิลาวัลย์ วาริชนันท์ (2562) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69654

 

คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดงานเสวนาวิชาการ เรื่อง “รู้จัก…เข้าใจ…แก้ไข Cyberbullying”

 

วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาวิชาการ เรื่อง “รู้จัก…เข้าใจ…แก้ไข Cyberbullying”

ณ ห้อง Learning auditorium อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้า Central World

 

ในงานนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

 

งานเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในเรื่อง Cyberbullying และข้อคิดเห็นต่าง ๆ ให้บุคคลในสังคมได้เกิดความตระหนักรู้ถึงความร้ายแรงของการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ และแนวทางการลดพฤติกรรม รวมทั้งให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลจิตใจหลังจากถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ได้แก่

 

  • คุณณัญช์ภัคร์ พูลสวัสดิ์ (คุณเต้ย) ผู้จัดการแผนก/บรรณาธิการ/โปรดิวเซอร์ รายการครอบครัวบันเทิง – เรื่องเล่าเช้านี้ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3
  • คุณกวิสรา สิงห์ปลอด (คุณมายยู) ศิลปินอิสระ และ Influencer
  • ผศ. ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ หัวหน้าโครงการฯ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และอาจารย์ประจำหลักสูตรจิตวิทยาการปรึกษา
  • ผศ. ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ รองหัวหน้าโครงการฯ รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม

 

ดำเนินรายการโดย

  • คุณรวีโรจน์ เลิศพิภพเมธา (คุณวี) DJ คลื่น Eazy fm102.5

 

ชมภาพภายในงานเพิ่มเติมได้ที่
https://www.chula.ac.th/news/173163/

และ FB: Psychology CU

 

 


 

สื่อสาระความรู้จากโครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จักเข้าใจ Cyberbullying” คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

โครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จัก…เข้าใจ Cyberbullying”

 


 

 

 

 

 

 

 

 

ครบรอบ 67 ปี แห่งการสถาปนาคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ

 

ผศ. ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส ครบรอบ 67 ปี แห่งการสถาปนาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567 ณ โถงชั้น 2 อาคารพระมิ่งขวัญการศึกษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ

 

ในโอกาสนี้ ได้ร่วมแสดงความยินดีกับ รศ. ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ราชบัณฑิต และคณบดีคนแรกของคณะจิตวิทยา ที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณปูชนียาจารย์แห่งคณะครุศาสตร์ ประจำปี 2567 ด้วย

 

 

 

 

 

การปฐมนิเทศนิสิตใหม่คณะจิตวิทยา ปีการศึกษา 2567

 

วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 คณะจิตวิทยาจัดกิจกรรมการปฐมนิเทศนิสิตใหม่คณะจิตวิทยา ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567 ทั้งภาคไทยและหลักสูตรนานาชาติ (JIPP) ณ ห้อง 801 ชั้น 8 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)

 

ในงานนี้ คุณวุฒิ พูลสมบัติ Top management & principal at Mercer (Thailand) มาเป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายในหัวข้อ “การปรับตัวในการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย” อีกด้วย

 

 

 

ภาพบรรยากาศ

 

 

 

การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติทางจิตวิทยา ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2567 (TNCP 2024)

 

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 คณาจารย์และนิสิตคณะจิตวิทยา เข้าร่วมการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติทางจิตวิทยา ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2567 (TNCP 2024) หัวข้อ “นวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อสุขภาวะ: การเปลี่ยนแปลง ความท้าทาย และโอกาส (Innovations in Psychology for Well-being: Changes, Challenges and Chances)” ณ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพ

 

การประชุมนี้จัดโดย ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย
https://psy.soc.ku.ac.th/tncp2024/

 

 

 

 

 

ในงานนี้ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ น.ส.ฐิดาพร สุขเจริญ นายณัฐกิตติ์ ดวงกลาง และ น.ส. สุกัลยา ลัมภเวส ว่าที่บัณฑิตปริญญาตรี คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่โครงงานวิจัยทางจิตวิทยาได้รับรางวัล Best Paper Award ในการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติทางจิตวิทยา ประจำปี พ.ศ. 2567 ในหัวข้อ “มากกว่าความสวยงาม: การรับรู้ตัวตนของหญิงข้ามเพศและประสบการณ์การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ” โดยมี ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์ แขนงวิชาการวิจัยจิตวิทยาประยุกต์เป็นที่ปรึกษาโครงงานวิจัย

 

ท่านสามารถอ่านข้อมูลฉบับสั้นของงานวิจัยนี้ได้ที่ https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/transwomen-expression

 

 

 

 

แสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปี แห่งการสถาปนาคณะนิเทศศาสตร์ จุฬา

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา และคุณวีระยุทธ กุลสุวิพลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคณะจิตวิทยา ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปี แห่งการสถาปนาคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์

 

งานวันคล้ายวันสถาปนาคณะจิตวิทยา ครบรอบ 28 ปี

 

วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะจิตวิทยา ครบรอบ 28 ปี ซึ่งสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2539 ผศ. ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา ผู้บริหาร บุคลากร และนิสิตคณะจิตวิทยา ให้การต้อนรับผู้แทนจากส่วนงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ที่มาร่วมแสดงความยินดีในโอกาสวันครบรอบนี้
จากนั้นมีพิธีทำบุญเลี้ยงพระเพื่อเป็นสิริมงคลแก่คณะ โดยมีอาจารย์อาวุโสให้เกียรติมาร่วมงานในครั้งนี้
นอกจากนี้ยังมีพิธีรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ คุณณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ บัณฑิตปริญญาโทแขนงวิชาจิตวิทยาทรัพยากรมนุษย์และการทำงาน ซึ่งได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ศิษย์เก่าดีเด่น” ประเภทผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2567

ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวปัฌรวี ชยวรารักษ์ นักกีฬาระบำใต้น้ำทีมชาติไทย

 

คณะจิตวิทยาขอแสดงความยินดีกับ นางสาวปัฌรวี ชยวรารักษ์ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักกีฬาระบำใต้น้ำทีมชาติไทย ที่ได้เข้าร่วมแข่งขันรายการ เอเชียนเอจกรุ๊ป ครั้งที่ 11 ณ เมืองนิวคลาร์กซิตี้ ประเทศฟิลิปปินส์ (11th Asian Group Aquatics Championships 2023) เมื่อวันที่ 2-6 มีนาคม 2567 สร้างผลงานดังต่อไปนี้ (รุ่น Junior)

  • 1 เหรียญทอง ประเภท Free Mixed Duet
  • 1 เหรียญเงิน ประเภท Free Solo
  • 1 เหรียญเงิน ประเภท Free Mixed Team
  • 1 เหรียญเงิน ประเภท Free Mixed Team Acrobatic

 

 

 

ต่อมาในรายการแข่งขันกีฬาระบำใต้น้ำรายการ BRICS SPORTS GAMES KAZAN 2024 ณ สหพันธรัฐรัสเซีย ระหว่างวันที่ 10 – 16 มิถุนายน 2567 นางสาวปัฌรวี ชยวรารักษ์ ก็ได้สร้างผลงาน

  • 1 เหรียญทองแดง รายการ Team Acrobatic