โครงการอบรมความทางรู้ทางจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หัวข้อ
“ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด (THEORIES OF COUNSELING AND PSYCHOTHERAPY)”
‘โครงการอบรมความทางรู้ทางจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หัวข้อ ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด (THEORIES OF COUNSELING AND PSYCHOTHERAPY)’ เป็นโครงการสําหรับการปูพื้นฐานให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาการปรึกษา ได้เรียนรู้และเข้าใจในศาสตร์ต่าง ๆ ของจิตวิทยาการปรึกษา และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ การเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา และทฤษฎีหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการปรึกษา รวมถึงการคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมไปนั้น จะสามารถนําศาสตร์ทางจิตวิทยาการปรึกษาไปประยุกต์ใช้ต่อตนเอง และผู้อื่นให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนโยบายผลักดันการเปิดหลักสูตรอบรมระยะสั้น/ชุดรายวิชา ที่มีการรับรองความสามารถ และรองรับการสะสมหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ให้กับผู้สนใจเข้าศึกษา และสามารถขอเทียบโอนหน่วยกิตเมื่อเข้ามาศึกษาต่อในหลักสูตรของคณะ ในการนี้คณะจิตวิทยาจึงได้จัดให้มีโครงการอบรมความทางรู้ทางจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หัวข้อ ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด (THEORIES OF COUNSELING AND PSYCHOTHERAPY)’ ขึ้นมาเพื่อนำร่องสำหรับผู้ที่สนใจเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก) แขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา ระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน – 3 สิงหาคม 2567 (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) ณ ห้อง 613 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
** โครงการนี้เป็นการเรียนพื้นฐานทฤษฎีทางจิตวิทยาการปรึกษาและจิตบำบัด ไม่มีการฝึกปฏิบัติ ผู้เรียนยังไม่สามารถให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาได้ **
การอบรมประกอบด้วย
- บรรยาย
เปิดสอนแบบชุดรายวิชา (Module) โดยการบรรยายแบ่งเป็น 16 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง (รวมชั่วโมงการบรรยายทั้งสิ้น 48 ชั่วโมง) - สอบวัดผล
จัดสอบ 1 ครั้ง ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
การประเมินผล
- การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน คิดเป็นร้อยละ 30
- สอบวัดผลและรายงาน คิดเป็นร้อยละ 70
โดยประเมินผลแบบ Letter Grade มีเกณฑ์การวัดผล ดังนี้
Letter Grade |
ช่วงคะแนน |
A |
85 คะแนนขึ้นไป |
B+ |
80 – 84 คะแนน |
B |
75 – 79 คะแนน |
C+ |
70 – 74 คะแนน |
C |
65 – 65 คะแนน |
D |
60 – 64 คะแนน |
F |
ต่ำกว่า 60 คะแนน |
หลักเกณฑ์การบันทึกระบบคลังหน่วยกิต / เทียบโอนรายวิชาเมื่อเข้าศึกษา
Certificate of Achievement
- ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเข้าเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากทั้งหมด 16 หัวข้อ
- ผู้เข้าร่วมโครงการต้องสอบผ่านโดยได้รับการประเมินผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 (B ขึ้นไป)
- มีระยะเวลาการขอเทียบโอนได้ โดยต้องสอบผ่านโดยต้องได้รับวุฒิบัตรรับรองผลการเรียนและการสะสมหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิต ของคณะจิตวิทยา มาแล้วไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่ภาคการศึกษาถัดไปจากปีที่เข้าร่วมโครงการ (ผู้เข้าร่วมโครงการประจำปี พ.ศ. 2567 สามารถเทียบโอนรายวิชาได้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 – ปีการศึกษา 2571)
Certificate of Attendance
- ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าเรียนในหัวข้อที่อบรม
- มีระยะเวลาเก็บในแต่ละหัวข้อ ตั้งแต่หัวข้อที่ 1 ถึงหัวข้อที่ 16 เป็นระยะเวลา 5 ปี จึงมีสิทธิ์ขอสอบรับวุฒิบัตรรับรองผลการเรียนเพื่อเทียบโอนรายวิชา (Certificate of Achievement)
- มีระยะเวลาการขอเทียบโอนได้ โดยต้องเข้าร่วมโครงการครบ 16 หัวข้อ นับตั้งแต่ภาคการศึกษาถัดไปจากปีที่เข้าร่วมโครงการในหัวข้อแรก จนถึงสอบผ่านการอบรมโครงการ รวมแล้วไม่เกิน 5 ปี
การเทียบโอนรายวิชา
รหัสรายวิชา |
ชื่อรายวิชา |
จำนวนหน่วยกิต |
3802601 |
ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
|
3 (3-0-9) |
คำอธิบายรายวิชา |
การวิเคราะห์เปรียบเทียบและการประเมินโดยประสบการณ์เกี่ยวกับทฤษฎีและเทคนิคในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด
|
|
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม |
|
* การเทียบโอนรายวิชาจะสมบูรณ์เมื่อได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการบริหารคณะจิตวิทยา ภายในภาคการศึกษาแรกของการเข้าศึกษาในหลักสูตร
หัวข้อการฝึกอบรม / วิทยากร
อัตราค่าลงทะเบียน
|
ประเภทผู้เข้าร่วมอบรม |
อัตราค่าลงทะเบียน |
1 |
บุคคลทั่วไป (Early Bird) |
18,000 บาท (16 หัวข้อ) |
2 |
บุคคลทั่วไป (หัวข้อละ 2,000 บาท) |
20,000 บาท (16 หัวข้อ) |
3 |
* บุคคลทั่วไป สำหรับสอบวัดผล |
500 บาท |
หมายเหตุ
- บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
- * ผู้ที่มีสิทธิ์ลงทะเบียนสำหรับการสอบวัดผล ต้องเป็นผู้เคยเข้าร่วมอบรมความทางรู้ทางจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หัวข้อ ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัด (THEORIES OF COUNSELING AND PSYCHOTHERAPY) มาแล้วไม่เกิน 5 ปี และผ่านการทดสอบโดยได้ระดับคะแนนการทดสอบอยู่ระหว่างร้อยละ 60 – 74
- Early Bird ช่วงระยะเวลารับสมัคร ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567
- ลงรายหัวข้อ หัวข้อละ 2,000 บาท (โทรสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนชำระเงิน)
เงื่อนไขการลงทะเบียน
- กรุณาติดต่อผู้จัดงานเพื่อตรวจสอบที่นั่งว่างก่อนชำระค่าลงทะเบียน
- กรุณาชำระค่าลงทะเบียนก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
- การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
- เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วัน
- บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
- เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี
(มีผู้สมัครเต็มจำนวนแล้ว)
เปิดรับสมัครในเวลาทำการ ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. (จันทร์ – ศุกร์)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี สนลอย งานบริการวิชาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Tel. 02-218-1307 E-mail: wathinee.s@chula.ac.th
คำอธิบายหัวข้อการเรียน
Why be a counsellor |
นักจิตวิทยาการปรึกษาคืออะไร แล้วทำไมเราจึงอยากเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา |
Difference, Diversity, and Power |
ความแตกต่างหลากหลายและมิติทางอำนาจในกระบวนการปรึกษา |
Wounded Counsellor: Therapeutic Use of Self |
ประสบการณ์บาดแผลทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อกระบวนการปรึกษา |
Logotherapy |
จิตบำบัดแนวความหมายในชีวิต : แม้ไม่มีอะไรเหลืออยู่ ชีวิตก็ยังมีความหมาย มีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเองเสมอ |
Humanistic Approach – Rogerian Client-Centered Approach |
ทฤษฎีจิตบำบัดแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง : เมื่อศักยภาพของมนุษย์เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลง |
Gestalt Therapy |
จิตบำบัดแนวเกสตัลท์ : สุขภาวะทางจิตดีขึ้นได้ด้วยการตระหนักรู้อย่างเป็นปัจจุบันขณะ |
Psychoanalytic and Psychodynamic Therapy |
ทฤษฎีจิตบำบัดแบบจิตวิเคราะห์และพลวัต: เหตุใดทฤษฎีต้นตำรับของจิตบำบัดนี้ยังคงใช้ได้อยู่ในปัจจุบัน |
Cognitive Behavioral Therapy |
จิตบำบัดแบบมุ่งเน้นความคิดและพฤติกรรมนิยม : จิตบำบัดที่ได้รับการยอมรับสำหรับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล |
Acceptance and Commitment Therapy |
จิตบำบัดแนวการยอมรับและพันธสัญญา : ยอมรับความท้าทาย พร้อมยืนหยัดต่อความหมายในชีวิต |
Adlerian Therapy & Behavioral Therapy |
จิตบำบัดแบบแอดเลอเรียนเพื่อการเข้าใจและแก้ไขปมในใจที่บ่มเพาะในวัยเด็ก และจิตบำบัดมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : เมื่อความสุขและความทุกข์กำหนดโดยสิ่งแวดล้อม |
Couple and Family Therapy |
พื้นฐานจิตวิทยาความสัมพันธ์และครอบครัว |
Art Therapy |
ศิลปะบำบัดในศาสตร์กระบวนการปรึกษา |
Buddhist Approach |
จิตวิทยาการปรึกษาเชิงพุทธ : บูรณาการพุทธธรรมสู่การดูแลใจเชิงจิตวิทยา |
The Controversy of Diagnosis |
มองข้อถกเถียงเกี่ยวกับการวินิจฉัยในศาสตร์จิตวิทยาการปรึกษาในมุมต่าง ๆ |
Reality Therapy |
การปรึกษาแบบเผชิญความจริง : ชีวิตมีทางเลือก เมื่อทางเลือกเปลี่ยน
|
Therapeutic Relationship: A significant predictor of
|
สัมพันธภาพในกระบวนการปรึกษา : ปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของจิตบำบัด |
การเดินทางมายังคณะจิตวิทยา
ขนส่งสาธารณะ
BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทางออก 2 แล้วเดินตรงเข้ามาทางประตูสนามนิมิบุตร ประมาณ 300 เมตร
รถเมล์ ป้ายสนามกีฬาแห่งชาติ / มาบุญครอง / โอสถศาลา
ที่จอดรถ
อาคารจอดรถ 4 ติดกับอาคารจุฬาพัฒน์ 14