โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง” ประจำปี 2566
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง” ประจำปี 2566 ในวันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ ประธานแขนงวิชาจิตวิทยาสังคมพื้นฐานและประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร
การเจรจาต่อรอง เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาระหว่างครอบครัว การเจรจาทางธุรกิจ เป็นต้น ผลประโยชน์ที่เราจะได้รับจาก “การเจรจาต่อรอง” ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากและมักจะเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อเราจะต้องประสานงานการทำงานกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นการเจรจาต่อรองกับผู้ที่เราจะต้องดำเนินธุรกิจด้วยหรือแม้แต่การเจรจาต่อรองที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในมิติอื่นๆ ได้ เพียงแต่ว่าเรื่องนั้นควรต่อรองหรือไม่ คุ้มหรือไม่กับการต้องต่อรอง หากต้องนิยามคำว่าเจรจาต่อรอง ก็สามารถให้ความหมายแบบกว้างๆ คือ กระบวนการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) มีบุคคลร่วมเจรจา 2 ฝ่ายขึ้นไป ถือเป็นกิจกรรมที่มีความทางการ มีการกำหนดจุดยืน มีผลประโยชน์ที่ต้องการแลกเปลี่ยนกัน และมุ่งหวังให้ผลประโยชน์หรือข้อกำหนดนั้นบรรลุความต้องการของทุกฝ่าย
โครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง” จึงเป็นโครงการสำหรับผู้ที่ต้องเข้าใจในพื้นฐานของการเจรจาต่อรอง โดยมุ่งเน้นการศึกษาไปยังเทคนิคพื้นฐานในกระบวนการของการต่อรอง ว่าการออกไปพบปะผู้คนนั้น ควรวางแผนและเตรียมตัวล่วงหน้าในการเจรจาอย่างไร จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับสิ่งต่างๆ รวมถึงการคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมไปนั้น จะสามารถนำเทคนิคดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถรับมือและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการจากคณะจิตวิทยา
วิธีการฝึกอบรม
- ภาคทฤษฎี – โดยการบรรยาย ระยะเวลา 3 ชั่วโมง เวลา 9.00 – 12.00 น.
- ภาคปฏิบัติ – โดยการฝึกปฏิบัติ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง เวลา 13.00 – 16.00 น.
การอบรมมีอัตราค่าลงทะเบียน ท่านละ 3,500 บาท
เงื่อนไขการลงทะเบียน
- กรุณาชำระค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
- การส่งแบบฟอร์มลงทะเบียน จะต้องแนบหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนมาด้วย จึงจะถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์
- เมื่อผู้จัดงานได้ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งยืนยันการลงทะเบียนให้ทราบภายใน 3 วันทำการ
- บุคลากรของรัฐและหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมการอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบของทางราชการ
- ใบเสร็จรับเงินจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์
- เมื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ทุกกรณี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาทินี โทร. 02-218-1307 E-mail: wathinee.s@chula.ac.th